อาจมีหลายธุรกิจที่เชื่อมั่นในการทำการตลาดหรือการขายแบบเดิม และยังประสบความสำเร็จในธุรกิจอยู่
คุณอาจมีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือ หรือทักษะด้านดิจิทัล ก็ยังคงมีลูกค้าแวะเวียนเข้ามาและซื้อสินค้าจากคุณ
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบ Digital Marketing ว่าเสมือนคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังพัดผ่านอยู่ในช่วงนี้ คุณสามารถว่ายน้ำตามที่คุณเคยว่ายได้ แต่ถ้าคู่แข่งธุรกิจของคุณ มองเห็นโอกาส และสร้างเรือใบตามกระแสคลื่น Digital ซึ่งสามารถกวาดส่วนแบ่งตลาดในส่วนที่คุณเข้าไม่ถึงไป วันนั้นคุณอาจจะกลายเป็นผู้ตามก็เป็นได้
เรามาดูตัวอย่างความสำเร็จ จากบริษัทที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัล เช่น
Work point
“คืนนี้คนไทยทั้งประเทศ จะได้รู้กันว่าใครที่อยู่ภายใต้หน้ากาก…”
เราอาจไม่ได้เปิดดูทีวีช่องโปรดเหมือนอย่างเคย แต่สามารถเข้าดูรายการยอดฮิตจากช่อง Work Point ได้เลยบน YouTube หรือการ Live สดผ่านช่องทาง Facebook
หลายคนคงเคยได้ยินว่าสื่อยุคเก่าถูกกลืนกินไปเรื่อยๆโดยสื่อออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ซึ่ง Work Point เป็นตัวอย่างของสื่อโทรทัศน์ที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย โดยนำช่องรายการยอดนิยม The Mask Singer หรือ I can see your voice ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live โดยล่าสุดรายการ The Mask Singer ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ ยอดวิว 1.6 ล้านวิว (ที่รับชมรายการถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook Live หรือ Youtube) และสร้างรายได้จากการขายโฆษณาได้นาทีละ 4.2 แสนบาท !! พร้อมสร้างกระแสฐานแฟนคลับให้กับนักร้อง นักแสดงที่ได้เข้ามาร่วมรายการอย่างล้นหลาม
Woody Show
เจ้าของธุรกิจรายการทีวีชื่อดัง ประกาศลุยทำรายการวาไรตี้จากช่องทางทีวีสู่โซเชียลมีเดีย ซึ่งตอนนี้ก็ยกรายการทีวีทั้งหมดขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งล่าสุดทำรายการสด ผ่าน Facebook Live ซึ่งที่ผ่านมา มีรายการทำทันที ที่นำนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิด ทัศนคติ ก็ประสบความสำเร็จมียอดวิวกว่า 1 แสนคน (ที่รับชมรายการถ่ายทอดสด)
เนื่องจากความก้าวหน้าในยุคดิจิทัล และตลาดการแข่งขันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ธุรกิจของคุณในวันนี้อาจก้าวกระโดดไปข้างหน้าในกลุ่มตลาดลูกค้าใหม่ และอาจไปไกลกว่าตลาดท้องถิ่นด้วยการใช้ Digital Marketing เข้ามาช่วย ดังนั้น STEPS Academy จะมาขอแบ่งปันเหตุผลว่า “ทำไมนักการตลาดต้องมีทักษะ Digital Marketing” กันค่ะ
1. Digital Marketing สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด
เราจะพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เคยเสพสื่อผ่าน mass media เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือ บิลบอร์ด กลายเป็นใช้เวลาส่วนใหญ่บนโลกออนไลน์ซะมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นGoogle, Facebook, YouTube, Instagram, Website, Mobile app
จากภาพด้านบน เป็นสถิติผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในปี 2020
2. Digital Marketing รวดเร็ว สามารถลงมือทำได้ทันที
หากคุณทำโฆษณาบนสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือบิลบอร์ด คุณอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-7 วัน กว่าที่โฆษณาของคุณจะได้ลงสื่อถึงผู้บริโภค
แต่ในขณะเดียวกัน ระยะเวลาในการสร้างสื่อของ Digital Marketing ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ก็สามารถทำ content ลงบนสื่อ Social Media หรือ Website ได้อย่างไม่ยากเย็นเลยทีเดียว อีกทั้งในปัจจุบันยังมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยให้นักการตลาดประหยัดเวลาในการสร้างคอนเทนต์ หรือการทำภาพตัดต่อแบบง่าย ๆ กัน เช่น เครื่องมือตัดต่อวิดีโออย่าง YouTube Video Builder และ เครื่องมือตัดต่อภาพและวิดีโอ เพื่อสร้างคอนเทนต์รูปภาพ และ Stories บน Instagram ต่าง ๆ
3. Digital Marketing สร้างความน่าเชื่อถือ
ในทุกวันนี้เราไม่ต้องมี bug 1113 หรือสมุดหน้าเหลืองในการค้นหาข้อมูลที่เราต้องการ เหมือนอย่างแต่ก่อน ก็สามารถไปค้นหาข้อมูลทุกอย่างบนโลกนี้ ได้อย่างรวดเร็ว ผ่านช่องเว็บไซต์ Google แถมยังสามารถสืบหาที่มาที่ไปของข้อมูลได้ เมื่อต้องการแหล่งอ้างอิงในการทำงาน และแนวทางการติดต่อ
นอกจากนี้ เราไม่ได้เพียงค้นหาแค่สินค้า และบริการผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่การค้นคว้าวิชาการ หรือสิ่งที่น่าเชื่อถือก็สามารถทำได้ โดยในปัจจุบันหลาย ๆ มหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศก็เปิดโลกให้คนทั่วไปได้อ่านกันแบบฟรี ๆ
ลองคิดดูว่าถ้าลูกค้าค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ แต่ไม่พบบริษัทของคุณ คุณเสียลูกค้าไปมากมายเท่าไหร่
4. Digital Marketing สามารถทำการสื่อสารแบบ Personalized ได้กับลูกค้าเป็นจำนวนมาก
สิ่งที่ Digital Marketing สามารถทำได้ คือ ลูกค้าแต่ละคนอาจจะเห็นสื่อโฆษณาในรูปแบบต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคนเลยทีเดียว โดยอาศัยข้อมูลจาก Data Point ที่เก็บข้อมูลต่างๆของลูกค้า
ตัวอย่าง กรณีศึกษาจากการทำ Personalization จากแบรนด์ Amazon และ Netflix
จากภาพด้านบน ผู้ใช้งาน Netflix แต่ละคนจะเห็นหน้าตาของหนังหรือสารคดีไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับหนังที่ user แต่ละคนเคยดู หรือเคยค้นหาก่อนหน้านี้ เช่น Netflix จะนำเสนอหนังสยองขวัญให้กับ User ที่เคยเลือกดูหนังสยองขวัญมาก่อน
5. Digital Marketing สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดการขายได้มากขึ้น
Digital Marketing จะสามารถ ทำ remargeting ให้กับลูกค้าที่เคยเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์หรือ Facebook ให้เห็นโฆษณาติดตามลูกค้าไปเรื่อยๆในสื่อออนไลน์อื่นๆ ทั้งหมดได้ การที่ลูกค้าที่มีความสนใจเห็นโฆษณาบ่อยๆ ก็มีโอกาสที่จะปิดการขายได้มากขึ้น หรือ บางธุรกิจออนไลน์ที่ใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing หรือวิธีการโปรโมตด้วย KOL เพื่อช่วยรีวิวสินค้า ก็สามารถเพิ่มโอกาสในการขายได้ดียิ่งขึ้น
6. Digital Marketing ทำให้เกิด Interaction กับกลุ่มเป้าหมายได้
คุณไม่สามารถทำการตลาดแบบ 1 ต่อ 1 โดยใช้วิธีการตลาดแบบเดิมได้ แต่คุณสามารถทำได้บนโลกของดิจิทัล ตัวอย่างเช่น การโพสต์รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหวลงบน Facebook เพื่อให้มีคนมากดไลค์ คอมเม้นต์ หรือแชร์โพสออกไป หรืออีกตัวอย่างนึง คือ Chat bot บน Facebook Messenger หรือ Line@ ได้ คล้ายๆกับรูปแบบของ ระบบ Call Center แต่สามารถพลิกแพลงรายละเอียดในการให้ข้อมูลได้สะดวกกว่า
7. Digital Marketing สามารถลงทุนเริ่มต้นได้ในราคาไม่สูงมาก
ต่างจากสื่อออฟไลน์อื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้เงินหลักแสนในแต่ละเดือนสำหรับการเริ่มต้นทำโฆษณา แต่ว่า Digital Marketing สามารถเข้าถึงกลุ่ม SME พ่อค้าแม่ค้า ที่มีงบการทำการตลาดไม่สูงมาก เช่น
- การทำการตลาดผ่าน Instagram ผ่าน Instagram Shopping
- การทำการตลาดด้วยการวิเคราะห์ Keyword ด้วย Google Search Console
- การทำ Remarketing ด้วยการใช้ Facebook Pixel
8. Digital Marketing เชื่อมโยงกับ Internet of Things
ปัจจุบันรูปแบบการทำโฆษณา มีการพัฒนารูปแบบอย่างรวดเร็ว การทำโฆษณาในอนาคตจะยิ่งเข้าถึงผู้บริโภคได้ใกล้กับชีวิตประจำวันมากขึ้น นักการตลาดสามารถเลือกโฆษณาที่เหมาะสมกับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำแบบนั้นได้ ต้องมีข้อมูลที่เชื่อมต่อระหว่างนักการตลาดและผู้บริโภคผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Digital Marketing สามารถตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้
9. Digital Marketing ตรวจสอบที่มาที่ไปได้
การทำ Digital Marketing สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น การมองเห็นยอดผู้ชมวิดีโอ จำนวนคนที่เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ จำนวนการคลิก และ จำนวนการลงทะเบียนของแต่ละสื่อโฆษณา และแต่ละแพลตฟอร์มได้ ซึ่งข้อดีในการตรวจสอบที่มาที่ไป สามารถช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์ได้ว่า ผลลัพธ์ที่ได้มาคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ หรือแคมเปญที่ได้วางแผนไปตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายหรือเปล่า คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ แถมยังประหยัดเวลาในการคำนวณได้อีก เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ สามารถคิดคำนวณได้ในเวลาสั้น ๆ
เช่น Facebook Ads, Google Analytics
10. Digital Marketing ลดความจำเป็นทีต้องใช้แรงงานคนลงได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้นได้
8 ทักษะ Digital Marketing ที่นักการตลาดควรมีในปี 2021
1 Writing Skills
ทักษะการเขียน คือสิ่งสำคัญในการเขียนโฆษณาและคอนเทนต์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจและการเกิด Call to Action นอกจากการสร้างกราฟิกและวิดีโอ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
Content Writing – เป็นงานเขียนประเภท Blog หรือ Longform ที่สามารถสร้าง Brand Awareness และสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน
Copy Writing – เป็นงานเขียนสั้น ๆ แต่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายในการซื้อสินค้า และบริการจากแบรน์ ซึ่งสามารถเห็นได้ในรูปแบบ E-mail, Social Media, Banner
2 Search Engine Optimization (SEO)
ทักษะ Search Engine Optimization (SEO) เป็นทักษะที่ผู้ที่ทำคอนเทนต์ออนไลน์ และนักการตลาดดิจิทัลควรมีไว้ เพื่อพัฒนาคอนเทนต์ต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ได้ตรงจุดมากขึ้นจากการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อทำกาตลาด เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเห็นคอนเทนต์ผ่านช่องทางการค้นหาได้ดีกว่าเดิม
3 Social Media Marketing
การมีประสบการณ์ขั้นพื้นฐานในการจัดการคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ สร้างโอกาสให้แบรนด์ได้ขยับขยายไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ลึกขึ้น อีกทั้งนักการตลาดยังสามารถดึงข้อมูลลูกค้าจาก Social Media ออกมาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดในอนาคตได้อีกด้วย
4 Marketing Automation and Technology
Marketing Automation and Technology หรือ MarTech คือเทคโนโลยีทางการตลาดที่จะเข้ามาช่วยทำการตลาดให้ง่ายและสะดวก สามารถเข้าถึงลูกค้าและช่วยรักษาลูกค้าให้อยู่กับธุรกิจคุณได้นานกว่าเดิม ด้วยการเก็บและวิเคราห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม หรือเครื่องมือดิจิทัล ซึ่งนักการตลาดจะได้ประโยชน์ในการสร้างแคมเปญใหม่ ๆ ในการทำโฆษณา สามารถสร้าง Personalized Marketing ได้ และประหยัดเวลาในการบันทึกข้อมูลเมื่อเทียบกับการจดบันทึกแบบเดิม ๆ
5 Audience Building (การสร้างฐานลูกค้า)
Audience Building หรือ Audience Development เป็นทักษะการสร้างฐานลูกค้าที่นักการตลาดควรหาวิธีการ เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ๆ เพื่อให้เกิด Lead และ Engagement ซึ่งจะนำไปสู่การปิดการขาย และเปลี่ยนจากลูกค้าธรรมดาให้กลายเป็น Loyal Customer ในอนาคต
และการสร้างฐานลูกค้าที่ดี นักการตลาดก็ไม่ควรมองข้าม ฐานลูกค้าเก่า ที่เราต้องดูแลให้ดี ด้วยเช่นกัน ซึ่งแบรนด์อาจใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สร้างความัมพันธ์ที่ดี และรู้สึกพิเศษต่อลูกค้ากลุ่มนี้ ให้เกิดการซื้อซ้ำค่ะ
6 Project Management
แน่นอนว่านักการตลาดและผู้ประกอบการ อาจไม่ได้มีแค่การเน้นการขายเพียงอย่างเดียว แต่การสร้างแคมเปญโฆษณษ และสร้าง Event ในแต่ละโปรเจคก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งแบรนด์ไม่ควรมองข้ามทักษะการจัดการโปรเจค เพื่อให้แผนธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
นักการตลาดทั้งหลายอาจต้องใช้ทักษะ การบริหารจัดการเวลาที่มีประสิทธิภาพ การมีทักษะการสื่อสารระหว่างทีม การเป็นผู้นำ หรือการบริหาร Risk Management เพื่อประเมิณความเสี่ยง
7 Data Analysis
ในยุคที่ข้อมูลคือกุญแจสำคัญในการทำการตลาด หากนักการตลาดทั้งหลาย หรือผู้ประกอบการทั้งหลาย มีโปรแกรมเข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ หรือวัดผลความสำเร็จ จะเป็นข้อดีที่แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้า และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ซึ่งเครื่งอมือที่สามารถใช้เพื่อวิเคราะห์ผลทางการตลาด และสามารถนำไปต่อยอดสร้างคอนเทนต์ได้ ได้แก่ Keyword Planner, Google Analytics, Insights บน Facebook และ Instagram เป็นต้น
8 Conversion Rate Optimization
นักการตลาดควรมีกลยุทธ์การพัฒนา Conversion Rate บนช่องทางเว็บไซต์และช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ด้วยการนำเทคนิคทางการตลาดมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ
ตัวอย่างการสร้าง Conversion Rate ที่สามารถนำไปปรับปรุงการตลาดของแบรนด์ : คลิก
ที่มา:
https://www.themuse.com