เขียน Copywriting ให้คนตัดสินใจซื้อ ด้วยเทคนิค “FOMO”

fomo-copywriting-example

ในการทำการตลาดออนไลน์ เป้าหมายสูงสุดของการสร้างแคมเปญโฆษณาคือ “ทำให้ผู้ชมตัดสินใจซื้อ” ซึ่งการเขียน Copywriting หรือการเขียนโฆษณาที่ดี เป็นอีกวิธีการที่จะทำให้คุณบรรลุเป้าหมายนี้ได้ แต่ถ้าหากแคมเปญโฆษณาของคุณไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ เพราะกำลังประสบปัญหาดังต่อไปนี้

“เขียน Copywriting แล้วคนอ่านไม่ Take Action ไม่เกิดการซื้อ”

“ทำโฆษณา แต่ไม่เกิดยอดขาย”

FOMO คืออะไร?

“FOMO” ย่อมาจาก “Fear of Missing Out” หรือความรู้สึกกลัว ว่าจะพลาดบางสิ่งบางอย่าง เป็นจิตวิทยาที่สามารถทำให้ผู้คนตัดสินใจทำบางสิ่งเช่น ซื้อสินค้า ลงทะเบียน หรือคลิก ในช่วงขณะนั้นได้

“ไม่มีใครอยากรู้สึก…พลาด ต่อบางสิ่งบางอย่างที่มุ่งหวังอยากจะได้”

หลักจิตวิทยาด้านความรู้สึกนี้ จึงทำให้ FOMO ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด ซึ่งความหมายของ FOMO ในมุมการตลาดนั้น คือ ข้อความหรือวิธีการใดๆ ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าจะพลาดบางสิ่งไป เพื่อเพิ่มโอกาสหรือแนวโน้มที่พวกเขาจะลงมือทำในสิ่งที่คุณต้องการ อย่างเช่น กดสั่งซื้อสินค้า เป็นต้นค่ะ

FOMO เป็นเพียงจิตวิทยา ที่ทำให้ผู้พบเห็นโฆษณารู้สึกไม่อยากพลาดสิ่งๆนั้น รูปแบบของ FOMO จึงไม่ตายตัว แต่ละธุรกิจสามารถคิดค้นขึ้นมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแคมเปญโฆษณาของตนเองได้

รูปแบบ FOMO ที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้

fomo-copywriting-examples

 

  1. กำหนดเวลา
  2. แสดงให้เห็นว่ามีคนกำลังซื้อสินค้าอยู่
  3. ให้รางวัลหรือของขวัญกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าก่อน (จำกัดจำนวนคน)
  4. จำกัดระยะเวลาการส่งฟรี
  5. ใส่ความพิเศษ “Exclusive” ลงไป
  6. แสดงปริมาณสินค้าให้เห็นว่าเหลือน้อย
  7. ระบุให้ทราบว่า… พวกเขาได้พลาดข้อเสนอหรือสินค้านั้นไปแล้ว
  8. กล่าวอย่างตรงไปตรงมา ถ้าไม่ทำสิ่งๆนี้คุณจะพลาด…

1. กำหนดเวลา

การกำหนดเวลา โดยเฉพาะการกำหนดเวลาแบบเร่งด่วน (Urgency) เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่พบบ่อยที่สุดและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นหนึ่งในเทคนิคการตลาด FOMO ด้วยเช่นกันค่ะ

การทำให้ผู้พบเห็นข้อความโฆษณาตระหนักถึงเวลา และรับรู้ว่าตนเองมีเวลาจำกัดในการได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อเสนอนั้นๆ ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อสูงขึ้นมาก เป็นเทคนิคสร้างแรงจูงใจที่ดีสำหรับการทำการตลาด

การกำหนดเวลาก็มีหลากหลายรูปแบบการนำเสนอไม่ว่าจะเป็น

  • การกำหนดเวลาโดยไม่ได้ระบุวันที่
  • การกำหนดเวลาแบบระบุวันที่ชัดเจน
  • การกำหนดเวลาในรูปแบบการนับถอยหลัง (Countdown)

ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการใช้ FOMO จำกัดเวลาข้อเสนอโดยไม่ระบุวันที่ เป็นตัวอย่างจากแบรนด์ Soylent ที่จำหน่ายเครื่องดื่มให้พลังงานค่ะ

fomo-example-limit-time-this-week

ที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

สำหรับโฆษณานี้ ผู้พบเห็นจะรับรู้ว่าตนเองจะได้รับส่วนลด 35% ถ้าหากเป็นผู้ติดตามเพจ แต่ส่วนลดจะใช้ได้ ก็ต่อเมื่อสั่งซื้อภายในสุดสัปดาห์นี้เท่านั้น ถ้าใครตัดสินใจซื้อช้า ก็จะพลาดส่วนลดนี้ไปค่ะ

การจำกัดเวลานี้ทำให้หลายคนสังเกตและให้ความสนใจ ซึ่งเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อของพวกเขาเป็นอย่างมาก

สำหรับกรณีถัดไปนี้ เป็นของแพลตฟอร์มพัฒนาเว็บไซต์ ที่มีชื่อว่า Wix ซึ่งแบรนด์มอบข้อเสนอให้กับลูกค้าเป็นส่วนลด 50% แต่กำหนดเวลาชัดเจนไปเลยว่าภายใน 20 ธันวาคมนี้เท่านั้น

fomo-example-limit-time-withinที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

สองตัวอย่างสุดท้ายเป็นการกำหนดเวลาแบบนับถอยหลัง “Countdown” ที่ผู้ซื้อสินค้าทั้งหลายจะสามารถเห็นระยะเวลาจริงๆ ของข้อเสนอ ว่าอีกนานแค่ไหนที่สิทธิประโยชน์นี้จะหมดเวลาค่ะ

fomo-example-limit-time-countdown

ที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

fomo-example-limit-time-countdown-supersales

ที่มา : https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/

2. แสดงให้เห็นว่ามีคนกำลังซื้อสินค้าอยู่

บอกผู้พบเห็นไปเลยว่า “มีใครบางคนกำลังสนใจสินค้านี้อยู่เหมือนกันนะ”

บางครั้งผู้ที่สนใจสินค้ามักจะเข้ามาในเว็บไซต์เพื่อศึกษา หรือค้นหาว่าแบรนด์นั้นๆ สามารถแก้ปัญหาที่เขามีอยู่ได้หรือไม่ แต่โดยพฤติกรรมพวกเขาจะยังไม่ตัดสินใจเลย…

การทำให้พวกเขารู้ว่า มีคนกำลังซื้อสินค้า หรือสนใจสินค้านี้อยู่เหมือนกัน จะทำให้เกิดแรงจูงใจที่หนักแน่นขึ้นมาก ในการตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้น

และนี่คือตัวอย่างจากบริษัทเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ที่ใช้เทคนิค FOMO นี้ดึงดูดให้ลูกค้าซื้อสินค้าค่ะ

fomo-example-show-someone-buy

ที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

จากตัวอย่างนี้ เมื่อลูกค้าเข้ามายังเว็บไซต์เพื่อเลือกดูเสื้อผ้า พวกเขาจะเห็นกล่องข้อความที่แสดงขึ้นมา (Popup) โชว์ว่ามีลูกค้าคนอื่นๆจ่ายเงินซื้อสินค้าประเภท “Knitted top” อยู่นะ ทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่กดเข้าไปดู จะต้องพลาดสินค้าพิเศษบางอย่างที่คนอื่นกำลังซื้ออยู่ค่ะ

อีกหนึ่งตัวอย่างเป็นของเว็บไซต์ SeedProd ที่แสดงข้อมูลสดๆ ว่าลูกค้าที่มีชื่อนี้ และอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งนี้ เพิ่งจะกดซื้อสินค้าไป เป็นการแสดงข้อมูลที่ทำให้ผู้พบเห็นรับรู้ว่าเป็นลูกค้าจริงๆ เมื่อเห็นคนอื่นๆกำลังซื้อสินค้า ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจ และสนใจที่จะซื้อสินค้านั้นตามไปด้วยค่ะ

fomo-example-show-customer-buy

ที่มา : https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/

3. ให้รางวัลหรือของขวัญกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าก่อน (จำกัดจำนวนคน)

การให้สินค้าพิเศษ “ฟรี” ยังคงเป็นวิธีการที่ดีเสมอในการดึงดูดลูกค้า แต่อย่างไรก็ตามคุณสามารถเพิ่มระดับความต้องการให้มากขึ้นได้ด้วยการจำกัดจำนวนสินค้าแจกฟรีเหล่านี้ สำหรับหน้าร้านหรือการตลาดแบบออฟไลน์ คุณสามารถเห็นเทคนิคนี้ได้จากร้านค้าต่างๆ ซึ่งจะมีการมอบของขวัญ หรือส่วนลดพิเศษให้กับลูกค้า 100 ท่านแรก หรือลูกค้าในจำนวนจำกัดที่มาที่ร้านเท่านั้น ซึ่งหลายๆคนคงจะเคยเห็นภาพลูกค้าต่อคิวยาวเพื่อรับส่วนลดที่หน้าร้านกันอยู่บ่อยๆนะคะ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ก็คือร้านค้าเครื่องสำอางอย่าง Eveandboy เป็นต้นค่ะ

สำหรับในส่วนของออนไลน์ วิธีการรูปแบบนี้ก็เป็นที่นิยม และให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกันค่ะ ตัวอย่างการใช้ FOMO รูปแบบนี้เป็นของแบรนด์โทรศัพท์มือถืออย่าง Huawai ที่มอบของขวัญให้กับ 100 คนแรกที่ดำเนินการซื้อสินค้าค่ะ

fomo-example-free-gift-for-first-purchase

ที่มา : CoreDNA

อีกหนึ่งตัวอย่างที่ใช้เทคนิค FOMO รูปแบบนี้ เป็นของร้านอาหาร Red Chili ที่มอบส่วนลด 50% พร้อมกับเครื่องดื่มและคัพเค้กฟรี ให้กับลูกค้า 100 ท่านแรก ที่สั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันของทางร้านค่ะ

fomo-example-limit-first-customer

ที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

4. จำกัดระยะเวลาการส่งฟรี

ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่า ผู้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ แทบจะทุกคนนั้นชอบข้อเสนอ “การส่งฟรี” มากๆ

“ผู้บริโภคเก้าในสิบคนกล่าวว่า การจัดส่งฟรีเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุด ที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และอัตราการสั่งซื้อสินค้าที่มีการจัดส่งฟรีโดยเฉลี่ยสูงกว่าประมาณร้อยละ 30 ของการสั่งซื้อปกติ”  

แต่ก็มีหลายๆครั้งที่ลูกค้า กดเลือกสินค้าลงตะกร้าไว้ แต่ไม่ตัดสินใจซื้อ

โชคดีที่เทคนิค FOMO เข้าใจในจุดนี้ ดังนั้นนอกเหนือจากการให้ข้อเสนอส่งฟรีแล้ว คุณจะต้องจำกัดเวลาการส่งฟรีนั้นด้วย

เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการระบุเวลาหมดเขตไว้ ผู้คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากกว่าการส่งฟรีแบบไม่มีกำหนดเวลาค่ะ

ตัวอย่างด้านล่างเป็นโปรโมชันส่งฟรี แต่มีกำหนดเวลาถึงสิ้นปีเท่านั้น ทำให้คนที่กำลังลังเลในช่วงเวลานั้นตัดสินใจซื้อง่ายมากขึ้น

fomo-example-limit-free-shipping

ที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

5. ใส่ความพิเศษ “Exclusive” ลงไป

ถ้าแคมเปญนั้นๆ เป็นการมอบข้อเสนอหรือส่วนลดบางอย่าง ที่ไม่ได้ให้สำหรับทุกคนหรือให้กับใครก็ได้ กลุ่มเป้าหมายของข้อเสนอเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากขึ้นไปอีกค่ะ

เพราะเป็นการทำให้พวกเขารู้สึกถึง “ความพิเศษ”

การออกแบบข้อเสนอ และวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้มีเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมาก และไม่ใช่เรื่องแปลกที่โฆษณารูปแบบนี้เป็นหนึ่งในเทคนิค FOMO ที่มีประสิทธิภาพมากๆค่ะ

fomo-example-exclusive-offer

ที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

จากโฆษณาดังกล่าว นอกเหนือจากการได้รับคูปองส่วนลด 15% แล้ว ผู้ที่สมัครใช้งานยังจะได้รับข้อเสนอพิเศษอื่นๆเพิ่มเติมด้วย การใช้ FOMO รูปแบบนี้นอกเหนือจากการทำให้บุคคลที่ไม่สมัครใช้งานรู้สึกพลาดแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังความรู้สึกภักดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ร่วมด้วย เพราะพวกเขาจะเกิดความรู้สึกขอบคุณที่ได้รับสิทธิพิเศษ ที่คนอื่นๆทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ค่ะ

นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มความพิเศษลงไปให้กับสินค้าและบริการ ในรูปแบบ “Limited edition” ได้ ดังตัวอย่างด้านล่างของแบรนด์ Heinz ที่ใช้ FOMO รูปแบบนี้ดึงดูดลูกค้าผู้หลงใหลในซอสมะเขือเทศของแบรนด์ได้ค่ะ

fomo-example-exclusive-limited-edition

ที่มา : https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/

6. แสดงปริมาณสินค้าให้เห็นว่าเหลือน้อย

การทำให้เกิดความรู้สึกขาดแคลน จากจำนวนสินค้าที่มีอยู่น้อย เป็นหนึ่งในเทคนิค FOMO เช่นเดียวกัน เพราะหากสิ่งที่ผู้คนสนใจอยู่กำลังจะหมดลงไป พวกเขาจะมีแรงจูงใจเพิ่มขึ้นมหาศาล ที่จะซื้อสินค้าทันทีในตอนนั้น

ตัวอย่างการนำไปใช้ เช่น หากคุณเป็นบริษัทที่มีร้านค้าบนโลกออนไลน์ หรือเป็น E-commerce คุณสามารถใช้วิธีการแสดงจำนวนสินค้าที่เหลืออยู่ กระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้าได้ ดังตัวอย่างของ Amazon ด้านล่างนี้ค่ะ

fomo-examples-show-stock

ที่มา : https://optinmonster.com/scarcity-examples-to-boost-your-conversions/

หรือหากคุณอยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก คุณสามารถใช้เทคนิคนี้แสดงจำนวนห้องพักที่เหลืออยู่ กระตุ้นให้พวกเขาอยากทำการจองในเวลานั้นมากขึ้นได้ ดังตัวอย่างจาก Booking.com ด้านล่างนี้ค่ะ

fomo-marketing-example-booking-2-rooms-left

ที่มา : https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/

นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ FOMO รูปแบบนี้เพิ่มขึ้นได้อีก ด้วยการใช้คำโฆษณาที่ว่า “while stocks last”  “เหลือสินค้าชิ้นสุดท้าย” “เหลือสินค้าชิ้นเดียวเท่านั้น” เพื่อทำให้ผู้เห็นโฆษณารับรู้ว่าสินค้าที่คุณสนใจกำลังจะหมดลงไปแล้ว ดังตัวอย่างด้านล่างค่ะ

fomo-example-while-stocks-last

ที่มา : https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/

7. ระบุให้ทราบว่า…พวกเขาได้พลาดข้อเสนอหรือสินค้านั้นไปแล้ว

สำหรับเว็บไซต์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดในการใช้เทคนิคนี้คือ Booking.com จริงๆแล้ว Booking.com เป็นเว็บไซต์ที่มีการใช้  FOMO ในหลากหลายรูปแบบมาก และใช้ในทุกๆหน้าของเว็บไซต์ด้วย แต่สำหรับหัวข้อนี้เราจะพิจารณาการใช้ FOMO ในรูปแบบของวิธีการแสดงให้ผู้เยี่ยมชมรับรู้ว่าพวกเขาได้พลาดข้อเสนอพิเศษนี้ไปแล้ว

FOMO รูปแบบนี้ใช้เพื่อทำให้ผู้เข้าชมรับรู้ว่า พวกเขาได้พลาดข้อเสนอ หรือสิทธิประโยชน์บางอย่างไปแล้ว จากการตัดสินใจช้าหรือลังเลที่จะซื้อสินค้าในตอนนั้น การใช้ FOMO รูปแบบนี้ จึงทำให้ผู้รับชมรู้สึกว่า ครั้งหน้าพวกเขาจะตัดสินใจซื้อให้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการขายสินค้าในครั้งถัดๆไป และเป็นผลดีต่อสินค้าบริการอื่นๆของแบรนด์ด้วยค่ะ

จากตัวอย่างด้านล่างของ Booking.com ทางเว็บไซต์จะแสดงข้อความเพื่อบ่งบอกให้ทราบว่า ห้องพักนั้นๆที่กำลังมองหาได้ถูกจองเต็มหมดแล้ว ด้วยตัวอักษรหนาสีแดงดังรูปด้านล่างค่ะ

fomo-marketing-tactics-bookingcom-sold-out

ที่มา : https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/

8. กล่าวอย่างตรงไปตรงมา ถ้าไม่ทำสิ่งๆนี้คุณจะพลาด…

เทคนิคหนึ่งของการใช้ FOMO เพื่อการเขียนโฆษณาทางการตลาด คือการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าไม่สั่งซื้อ หรือลงมือทำบางสิ่งในตอนนี้ คุณจะพลาด…

เทคนิคนี้จะช่วยดึงความสนใจ ทำให้พวกเขาเกิดความสงสัยว่า “จะเป็นอย่างไรถ้า…”

ดังตัวอย่างโฆษณาของแบรนด์ RuLaLa ด้านล่าง ที่กล่าวถึง Fear of Missing Out  อย่างตรงไปตรงมาว่า “อย่าพลาดถ้าคุณยังสนใจเสื้อผ้ารูปแบบอื่นๆอยู่ ถ้าคุณไม่คลิก อีเมลนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่คุณจะได้รับ” เป็นต้นค่ะ

fomo-example-you-will-miss-ruelala

ที่มา : https://socialhospitality.com/2016/05/marketers-fear-of-missing-out/

อีกหนึ่งตัวอย่างเป็นของ Walmart canada ซึ่งใช้วิธีการบอกผู้รับชมแบบตรงไปตรงมาเช่นกันว่า Don’t miss out นะ ถ้าไม่ Subscribe คุณจะพลาดสิ่งดีๆอย่างสินค้าราคาถูกลดล้างสต็อก หรือกิจกรรมลดราคาอย่าง Black friday ดังรูปภาพด้านล่างเป็นต้นค่ะ

fomo-example-don't-miss-out

ที่มา : https://www.walmart.ca/flyer

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับเทคนิค FOMO ที่ทีมงานของเรารวบรวมมานำเสนอ หวังว่าเทคนิคต่างๆที่กล่าวไปนี้จะช่วยให้การเขียนโฆษณา หรือ Copywriting ของผู้อ่านทุกคนบรรลุเป้าหมายทำให้คนกด “ซื้อ” สินค้า และยอดขายเพิ่มมากขึ้นดังความตั้งใจนะคะ

แต่อย่างไรก็ตาม FOMO นี้เป็นเพียงเทคนิคหนึ่งของการเขียน Copywriting และเป็นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์เท่านั้น ซึ่งหากใครสนใจความรู้เพิ่มเติมอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำแคมเปญการตลาดบนช่องทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ลูกค้าก่อนทำการเขียนโฆษณา การวิเคราะห์ช่องทางที่เหมาะสม และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเขียน Copywriting การทำแคมเปญโฆษณา รวมถึงการตลาดออนไลน์ของคุณบรรลุเป้าหมายมากที่สุด ทุกๆปัจจัยที่คุณควรรู้ทั้งหมดนี้ จะอยู่ในคอร์สเรียน DMS (Digital Marketing Specialist) หลักสูตรพัฒนาทักษะ ที่จะทำให้คุณรับรู้และเข้าใจการวางกลยุทธ์สำคัญทั้งหมดของ Digital marketing ค่ะ

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และติดต่อสอบถามตามลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ

https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist

 

ที่มา

https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/

https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

https://www.crazyegg.com/blog/fomo-marketing/

https://optinmonster.com/scarcity-examples-to-boost-your-conversions/

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

วางกลยุทธ์ Video Marketing ให้คนรู้จักและรักแบรนด์มากขึ้น ด้วยโมเดล “Hero Hub Help”
7 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ