4 วิธีเก็บข้อมูล (Data Collection) ให้มีประสิทธิภาพ

4 ways to collect data

เบื้องหลังการปรับตัวเท่าทันต่อสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาด มาจากการเก็บข้อมูล (Data Collection) กันทั้งนั้น.. 

การเก็บข้อมูลมีความสําคัญกับธุรกิจมาก 

▪️ ช่วยให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น เข้าใจความต้องการลูกค้า ความถึงพอใจของลูกค้าที่จะช่วยในการปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตอบสนองลูกค้ามากขึ้น 

▪️ ข้อมูลมีส่วนสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด การสร้างกิจกรรมโปรโมชั่น โดยใช้ข้อมูลเป็ยพื้นฐาน

▪️ นําเสนอสินค้าและบริหารที่ทันสมัย ข้อมูลช่วยในการรับรู้แนวโน้มและความต้องการใหม่ในตลาด เพื่อช่วยในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ทันสมัยและเป็นที่ต้องการ

เมื่อเห็นประโยชน์แล้วเราควรทําความรู้จักวิธีการเก็บข้อมูล Data (Data Collection)

STEPS นําเสนอวิธีเก็บข้อมูล 4 รูปแบบด้วยกัน

1. Social Listening

การเก็บข้อมูลโดยใช้ Social Listening เป็นการช่วยให้นักการตลาดหรือนักวางแผนกลยุทธ์เข้าใจความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้คนในสังคมออนไลน์ที่มีต่อแบรนด์ ต่อสินค้าหรือบริการ และกิจกรรมต่างๆที่แบรนด์จัดขึ้น 

ขั้นตอนการเก็บข้อมูลจาก Social Listening คือ 

▪️ การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมก่อนเป็นอันดับแรก โดยที่เป็นแพลตฟอร์มที่ลูกค้าใช้งานอยู่ด้วย เช่น Facebook, X, Instagram, Linkedin 

▪️ ตั้งคีย์เวิร์ดให้เหมาะสม สร้างคีย์เวิร์ดหรือข้อความค้นหาที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ คําหลักของสินค้า คําวิจารณ์และคําที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง 

▪️ เลือกใช้เครื่องมือ Social Listening คือ เลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ รวบรวมข้อมูลจากสื่อสังคม ออนไลน์ เช่น Brandwatch, Mention, Hootsuite, Sprout Social ค้นหาและติดตาม

▪️ ข้อมูลที่ได้จาก Social Listening ช่วยในการปรับแผนการตลาดให้เหมาะสมกับความต้องการลูกค้ามากขึ้น 

▪️ สามารถนํามาวิเคราะห์คู่แข่ง สํารวจข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งในตลาดได้ 

จะใช้ Social Listening มากน้อยเเค่ไหน ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของเป้าหมายทางการสื่อสารการตลาดของแต่ละธุรกิจแล้ว 

2. Google Analytics 4 (GA4)

การเก็บข้อมูลจาก Google Analytics 4 (GA4) เหมาะกับธุรกิจที่มีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นอยู่แล้ว จะสามารถใช้ Google Analytics 4 (GA4) ได้ตลอดเวลา เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากการติดตามพฤติกรรมการใช้งานบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นได้แบบละเอียด 

แล้วจะเริ่มใช้ Google Analytics 4 (GA4) ได้ตอนไหน ควรเริ่มที่ข้อความหรือหน้าเว็บไซต์ที่มีความสําคัญกับธุรกิจ เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ส่วนที่มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของธุรกิจและของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม 

ประโยชน์ของ Google Analytics 4 (GA4)

▪️ ทําให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าบนออนไลน์ โดยเฉพาะการใช้งานบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น เช่น การติดตามการเข้าชมหน้าเว็บไซต์ การสั่งซื้อสินค้า

ซึ่งขั้นตอนในการติดตั้ง GA4 ทาง STEPS เรามีบริการ ไม่เพียงแต่จะติดตั้งหรืออัปเกรด Google Analytics เวอร์ชั่นเดิม ให้เป็น Google Analytics 4 (GA4) ต่อยอดให้ Google Analytics 4 (GA4) เป็น Sustainable Strategy with GA4 รายละเอียดติดต่อได้ที่ 

Facebook : Inbox มาที่เพจ STEPS Academy หรือ bit.ly/3Rtb5eu

LINE OA : @STEPStraining หรือ https://bit.ly/3aPb6WX

3. การเก็บ Data และนํามาแปลงเป็นข้อมูลเป็นประโยชน์ นําไปใช้ต่อได้

หลายคนอาจจะงง เก็บข้อมูลมาแปลงเป็นข้อมูล คืออะไร และจะแปลงได้ยังไง 

จากการเก็บข้อมูลในวิธีที่ 1 – 2 ที่อธิบายมาข้างต้น เมื่อมีข้อมูลที่เก็บมาแล้ว นํามาแปลงเป็นข้อมูล เพื่อวางแผนธุรกิจได้อีกมากมาย 

▪️ ซึ่งตัวอย่างที่ทําให้ทุกคนเห็นได้ชัดคือ Netflix มีข้อมูลบัญชีผู้ใช้ในจํานวนที่สูงมาก กว่า Netflix จะเลือกหนังหรือซีรีส์เรื่องนึงเข้ามาใน Platform ได้นั้น ก็อาศัยข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ในมือ 

ตัวอย่าง การจะเอาหนังเรื่อง แฟนฉัน เข้ามาฉายใน Platform วิธีการแปลงข้อมูลของ Netflix คือการไล่ดูชุดข้อมูลบัญชีผู้ใช้ วันเดือนปีเกิด มีผู้ที่เกิดทันหนังเรื่องแฟนฉัน นําข้อมูลมาตีเป็นเปอร์เซ็นต์ได้สัดส่วนเท่าไหร่ หากมีจํานวนเปอร์เซ็นต์สูง เท่ากับว่าการเอาหนังเรื่องแฟนฉันเข้ามา สามารถเพิ่มยอดผู้กดดูได้และคุ้มค่ากับการนําเข้ามาฉาย 

นี่เป็นตัวอย่างที่ทําให้เห็นภาพถึงการแปลงข้อมูลที่ว่า 

▪️ อีกตัวอย่างที่คนอาจเห็นภาพ คือ การแปลงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ อายุ ออกมาเป็น Generation ช่วงวัย ที่เหล่านักการตลาดหรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ชอบใช้เรียกคนกลุ่มๆนึงว่า เป็นคนยุค Generation Y, Generation X หรืออยู่ในกลุ่ม Baby Boomer 

-Baby Boomer คือผู้ที่เกิด 1946 – 1964 ช่วงอายุ 59 – 77 ปี เทียบเท่าเป็นรุ่นคุณปู่คุณตา หรืออาจเป็นคุณพ่อของใครหลายๆคนนั่นเอง

-Generation X (Xennials) คือผู้ที่เกิด 1965 – 1980 ช่วงอายุ 43 – 58 ปี 

-Generation Y (Millennials) คือผู้ที่เกิด 1981 – 1996 ช่วงอายุ 27 – 42 ปี 

-Generation Z หรือเรียกว่า Generation Alpha คือผู้ที่เกิด 1997 – 2012 อายุ 11 – 26 ปี 

จะเห็นได้ว่าเราสามารถนําข้อมูลลูกค้าที่มีในมือมาแปลงเป็นข้อมูลช่วงอายุ เพื่อให้ match กับ Generation ใช้สําหรับการสื่อสารทางการตลาดได้ต่อ 

4. การจัดกิจกรรมบนโลกโซเชียลมีเดีย เช่น Event on Facebook

การจัดอีเวนท์ในเฟสบุค ก็เป็นทางเลือกหนึ่งของการเก็บข้อมูลลูกค้าได้โดยที่ไม่ต้องเสียค่าสถานที่ ค่าเช่า เหมือนการจัดงานอีเวนท์ในสถานที่จริงแบบ on-site 

รูปแบบของการจัดอีเวนท์บนเฟสบุค จะเริ่มได้จากฝ่ายการตลาดกระตุ้นการเป็นที่รู้จัก เพิ่มยอดการ Engagement ของลูกค้าและแบรนด์มากกว่าเป้าหมายเพื่อกระตุ้นยอดสั่งซื้อ หรือ Conversion 

ตัวอย่างของการจัดอีเวนท์บน Facebook 

▪️ การสัมมนาออนไลน์ หรือเรียกว่าเป็น Free Event โดยอาจกําหนดประเด็นสําคัญในการจัดสัมมนาครั้งนี้ และค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้เข้ามาลงทะเบียนรับชมและรับฟังสัมมนากัน ซึ่งรายชื่อลูกค้าที่ลงทะเบียนเข้ามา ถือว่าเป็น ข้อมูล (Data) ที่สําคัญและเป็นประโยชน์ต่อการนําไปส่งเสริมการตลาดหรือการสื่อสารอื่นๆ ต่อได้ 

ซึ่งในส่วนของการจัดกิจกรรมบนโลกโซเชียลมีเดียนี้สามารถทําได้กับทุกธุรกิจ เพียงแค่ต้องกําหนดเป้าหมายของการจัดกิจกรรมนั้นให้ชัดเจน เพื่อที่ลูกค้าที่เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมจะได้เกิดความประทับจิตประทับใจ และรอคอยการจัดกิจกรรมกับทางแบรนด์ต่อในครั้งถัดไป

นี่เป็นเพียง 4 วิธีเก็บข้อมูล Data (Data Collection) ที่ไม่ว่าจะทําธุรกิจประเภทไหนก็สามารถลองทําตามกันได้ ในฐานะของผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจที่อยากเรียนรู้เพิ่มเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลบนโลกออนไลน์ เรียนรู้ต่อกันได้ที่ คอร์ส Data Analytics for Marketing Management รอบสุดท้ายของปี 2023

ดูรายละเอียดของหลักสูตรต่อได้ที่ bit.ly/3RaSbsK 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

เข้าใจ DATA ก่อนเลือกเครื่องมือ CDP สำหรับธุรกิจ
มี DATA ในมือ แต่ไม่รู้จะจัดการยังไง?