ห้ามพลาด! เทคนิคการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ด้วยการใช้ Data Point ให้เกิดประโยชน์

เทคนิคการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ด้วยการใช้ Data Poin

 

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม การบริหารงานในองค์กรใด ๆ ในปัจจุบันต่างก็ใช้ “ ข้อมูล ” เพื่อวิเคราะห์แผนงาน และช่วยในการตัดสินใจในการทำธุรกิจทั้งสิ้น โดยปัจจุบัน 90 % ของข้อมูลทั่วโลก ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในช่วงระยะเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น 

(ข้อมูลจาก: bigdata-madesimple)

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ E-Commerce ขนาดเล็กหรือใหญ่ในปัจจุบัน ต่างก็ใช้ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ และช่วยในการตัดสินใจในการทำการตลาด ซึ่งในปัจจุบัน แบรนด์ออนไลน์ทั้งหลายได้ผลิตคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับลูกค้ามากขึ้น ด้วยการนำ ข้อมูลมาเป็นตัวช่วยในการวางกลยุทธ์ ผสมผสานกับไอเดียที่สร้างสรรค์

 

สถิติการใช้ Data เพื่อต่อยอดทางธุรกิจมีเพียง 12% จากกลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่
ภาพจาก: https://databox.com

อย่างไรก็ตาม ในบางธุรกิจยังไม่เริ่มนำข้อมูลมาวิเคราะห์ หรือยังไม่เริ่มเก็บข้อมูลมาต่อยอด ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า แบรนด์ยังไม่ทราบว่าข้อมูลที่ควรนำมาปรับใช้มีส่วนไหนบ้าง หรืออาจทราบอยู่แล้วว่าแบรนด์ของเรามีข้อมูลอะไรบ้าง แต่ยังไม่รู้วิธีการนำมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงคอนเทนต์  หรืออาจคิดว่าเป็นเรื่องยากและไกลตัว

เมื่อแบรนด์ผลิตคอนเทนต์ออกไปแล้ว คุณจะทราบได้อย่างไรว่าคอนเทนต์และ โฆษณานั้น ๆ ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการทำธุรกิจ หรือแบรนด์กำลังหลงทางอยู่ ? 

ดังนั้น บทความนี้จะช่วยให้คุณได้ทำความเข้าใจและวิธีการใช้ Data Points เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างคอนเทนต์ และช่วยผลิตคอนเทนต์ได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม

 

“Data Point” คืออะไร

รู้จัก Data Point เพื่อนำมาใช้ในการเขียนคอนเทนต์อย่างสร้างสรรค์

Data Point คือข้อมูลที่แบรนด์นำมาใช้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ ซึ่งแหล่งข้อมูลนั้น มาได้จากหลากหลายช่องทาง ทั้งกลุ่มลูกค้าเก่าที่เคยซื้อสินค้าและบริการไปแล้ว และลูกค้าใหม่ที่เพิ่งเข้าชมเว็บไซต์ในปัจจุบัน สาเหตุที่นักการตลาดจำเป็นต้องนำ Data Point มาใช้นั้นก็เพื่อ ช่วยวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าแบบเชิงลึก และช่วยพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้แม่นยำกว่าเดิม และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งข้อมูลที่แบรนด์สามารถนำไปใช้เพื่อธุรกิจ จำต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนด GDPR ของสากล และ PDPA ของไทย

( GDPR หรือ General Data Protection Regulation คือกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในการใช้อินเทอร์เน็ต ธุรกิจ E-Commerce และแคมเปญโฆษณาในโลกดิจิทัล

และ PDPA หรือ Personal Data Protection Act คือกฏหมายที่คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ที่ผู้เก็บข้อมูล จำเป็นต้องรู้ถึงขอบเขตการเก็บข้อมูล )

 

1. รู้จักกลุ่มเป้าหมายจากข้อมูล Demographic และ Interest 

 

รู้จักกลุ่มเป้าหมายจากข้อมูล Demographic และ Interest

ก่อนที่จะเริ่มสร้างคอนเทนต์อะไรก็ตาม อย่าลืมศึกษากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการทำคอนเทนต์ที่ดีไม่ใช่แค่การเน้นที่ปริมาณ แต่คือการปั้นผลงานด้วยคุณภาพ และยังสามารถตอบโจทย์ผู้อ่านได้อีกด้วย

ดังนั้น Data Point สามารถช่วยหา Customer Persona หรือผู้ซื้อในอุดมคติให้คุณได้ เพื่อให้คุณได้ทราบว่าใครคือผู้อ่านบทความ และเข้าใจความต้องการของกลุ่มคนเหล่านั้น

ก่อนที่เราจะเริ่มผลิตคอนเทนต์ นักการตลาดควรวิเคราะห์ Data จาก:

Demographic คือข้อมูลพื้นฐานทั่วไป เช่น อายุ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา ที่อยู่อาศัย

Psychographic คือความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ทัศนคติที่มี ความเชื่อ รสนิยม พฤติกรรมการใช้โซเชียล และความชอบ

 

2. วิเคราะห์ Conversion Rate 

Conversion Rate คือจำนวนอัตราของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าชมหน้าเว็บไซต์ ที่มีการกระทำใด ๆ ก็ตาม เช่น จำนวนรายการสั่งซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ การคลิกเข้ามาจากข่องทาง Call to Action การกดรับสิทธิขอส่วนลด การกรอก Emai เพื่อติดตามเพจ การติดต่อเจ้าหน้าที่และอื่น ๆ

การวิเคราะห์ Conversion Rate จะช่วยคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่สนใจแบรนด์ของคุณมากขึ้น เพราะคนที่คลิกส่วนใหญ่ คือคนที่สนใจสินค้าและบริการ ซึ่งในแง่ของการสร้างคอนเทนต์ คุณอาจตรวจสอบได้จาก

  • การเขียน Call to Action เพื่อเชิญชวนลูกค้าให้เข้าร่วมงาน Event หรือการซื้อสินค้า ว่ามีคนกดคลิกเข้ามามากน้อยเท่าไหร่
  • ข้อความจากแบนเนอร์โฆษณา
  • แบบฟอร์มคอนเทนต์ในการรับสมัครสมาชิก หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น
ตัวอย่างการเขียน Call to Action เพื่อให้ผู้อ่านคลิกเพื่อขอคำปรึกษา
ตัวอย่างการเขียน Call to Action เพื่อให้ผู้อ่านคลิกเพื่อขอคำปรึกษา

หากคุณทราบแล้วว่า Conversion Rate มีผลลัพธ์เป็นอย่างไรบ้าง จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ได้ว่า คอนเทนต์นั้น ๆ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเพียงพอหรือไม่ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์มากขึ้นหรือเปล่า รวมทั้งทิศทางของกลยุทธ์ในการทำการตลาดอาจเปลี่ยนไป เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ตรงจุดมากขึ้น

สำหรับนักการตลาดและผู้ประกอบการบางท่านที่ยังเคยใช้เครื่องมือดิจิทัลมาก่อน หรือกำลังมองหาเครื่องมือออนไลน์ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลให้สะดวกยิ่งขึ้น เร็วยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพ คุณสามารถใช้ Google Analytics เพื่อจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ Conversion Rate ได้ค่ะ

 

3. วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาหัวข้อที่ตรงใจผู้อ่าน

สิ่งสำคัญในการทำการตลาดผ่านคอนเทนต์ เป็นมากกว่าการนำเสนอสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดการขาย แต่ยังเป็นการสร้างคุณค่า และประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน

แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้ โลกโซเชียลมีประเภทคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้เลือกอ่านและเลือกดูกันนับไม่ถ้วน เช่น คอนเทนต์ข่าวบนหน้า Facebook คอนเทนต์วิดีโอบน YouTube หรือแคมเปญโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ต่าง แต่คอนเทนต์แบบไหนที่กลุ่มเป้าหมายของเราจะเทใจ เป็นสิ่งที่นักการตลาดจะต้องใช้ข้อมูลเพื่อทำการศึกษาความสนใจ และพฤติกรรมของผู้อ่าน ก่อนตัดสินใจสร้างคอนเทนต์ เพื่อผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย หากหัวข้อคอนเทนต์มีจุดดึงดูด และเนื้อหามีประโยชน์ต่อผู้อ่าน แบรนด์ของท่านก็จะสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์และสร้างยอดขายตามมา

 

4. ใช้ Data จาก Organic Traffic 

Organic Traffic เป็นการวัดผลจำนวนยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือโพสต์ใดโพสต์หนึ่ง ที่เราต้องการประเมิณ โดยจำนวนผู้ที่เข้ามาที่หน้าคอนเทนต์หรือเว็บไซต์นั้น มาจากการค้นหาผ่านช่องทาง Search Engine

วิธีการวัดผลจากการวิเคราะห์ Organic Traffic ผ่านระบบ Google Analytics สามารถเข้าไปได้ที่เมนู Acquisition และเลือก Overview

จากนั้นคลิก “Organic Search” และเลือก “Landing Page” ในช่อง Primary Dimension.” เพื่อดูว่า คอนเทนต์ไหนบ้างในเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามาอ่านมากที่สุด และคุณจะทราบด้วยเช่นกัน ว่าคอนเทนต์ไหนที่มีผู้เข้าไปอ่านน้อย และสามารถหาได้ต่อจากนี้ว่า สาเหตุที่คอนเทนต์นี้มียอด Organic Traffic น้อยเป็นเพราะอะไร

วิธีการใช้ Google Analytics เพื่อวิเคราะห์ Landing Page
ภาพจาก: https://databox.com

 

5.  Search Terms ช่วยคุณได้

Search Term เป็นหนึ่งในเมนูจากเครื่อง Google Analytics ซึ่งคุณสามารถหา Keyword ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ในการค้นหาคอนเทนต์ต่าง ๆ หากคุณต้องการทราบว่า Keyword ที่เราเคยใช้ในคอนเทนต์ต่าง ๆ มียอดการค้นหามากน้อยเท่าไหร่ สามารถเข้าไปได้ที่

  1. เลือกเมนู Behaviour จากทางช่องด้านซ้าย
  2. คลิก Site Search
  3. เลือกเมนู Search Terms

เมื่อคุณพบว่า Keyword ที่คุณได้เขียนไปก่อนหน้านี้มียอด Total Unique Search น้อย นั่นหมายความว่าคุณอาจต้องปรับเปลี่ยน Keyword ให้ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหามากขึ้น หรืออยู่ในเทรนด์การค้นหามากขึ้น เพื่อให้คอนเทนต์ของเราถูกค้นหาได้ง่ายขึ้น โดยสามารถใช้เครื่อง Google Trends เพื่อช่วยให้คุณสามารถคอนเทนต์ได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย

 

วิธีการวัดผลจากการวิเคราะห์ Organic Traffic ผ่านระบบ Google Analytics สามารถเข้าไปได้ที่เมนู Acquisition และเลือก Overview
ภาพจาก: https://databox.com

 

6. Repurpose คอนเทนต์ให้น่าสนใจอีกครั้ง

 

Repurpose คอนเทนต์ให้น่าสนใจอีกครั้ง

Repurpose คอนเทนต์ คือกลยุทธ์การนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ด้วยการนำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาแบบ Evergreen คอนเทนต์ (คอนเทนต์ที่มีคนสนใจตลอดเวลา) และคอนเท็นต์ที่ได้รับความนิยม มารีโพสต์อีกครั้ง ซึ่งเราอาจะเลือกคอนเทนต์ที่เคยได้รับความนิยมในอดีต หรือในปัจจุบันก็ได้ เทคนิคนี้จะช่วยให้คอนเทนต์เดิมที่เรามี ได้รับการโปรโมตอีกครั้งเพื่อส่งสารไปยังกลุ่มผู้อ่าน โดย Databox เผยว่า 90 % ของนักการตลาดประสบความสำเร็จจากการ Repurpose คอนเทนต์มากกว่าการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ

หนึ่งในวิธีการที่สามารถ Repurpose คอนเทนต์ให้ดูน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากการ รีโพสต์คอนเทนต์ซ้ำ เพื่อโปรโมตผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียแล้ว นักการตลาดสามารถแปลงสารจากบทความให้กลายเป็นรูปภาพ และวิดีโอได้เช่นกัน

ตัวอย่างคอนเทนต์ที่ Repurpose ใหม่ 

ตัวอย่างการ Repuspose คอนเทนต์
ภาพจาก BACKLINKO

 

เว็บไซต์ BACKLINKO เคยโพสต์บทความเกี่ยวกับวิธีการทำ On-Page SEO ในปี 2013 ได้แปลงเนื้อหาในรูปแบบข้อความ เป็นวิดีโอ และรีโพสต์อีกครั้งในปี 2019 ฉบับอัปเดต

 

7. ประเมิณยอด Engagement 

Engagement คือหนึ่งใน Data Points จากช่องทางโซเชียลมีเดียที่ทรงพลังมากที่สุดทางหนึ่ง ที่นักการตลาด สามารถวัดผลความสำเร็จได้จากจำนวนยอดผู้ใช้โซเชียล ที่มีปฏิสัมพันธ์บางอย่างกับคอนเทนต์ ซึ่งในวันนี้เราจะเลือกใช้ข้อมูลจากยอด Like, Comment, Share และ การ Mention กันค่ะ

ประเมิณยอด Engagement
  •  Likes 

ยอด Like สามารถวัดได้จากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่แบรนด์ได้โพสต์บทความ หรือคอนเทนต์ต่าง ๆ เอาไว้ เช่น ช่องทาง Facebook Instagram หรือ YouTube ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิเคราะห์ข้อมูลแบบขั้นพื้นฐาน เพื่อประเมินว่า คอนเทนต์นั้น ๆ ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคหรือไม่

  •  Shares

การแชร์คอนเทนต์ต่าง ๆ ไปยังหน้าโพรไฟล์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือการแชร์ไปยังกลุ่มเพื่อนในโลกออนไลน์ เป็นการสร้าง Engagement ที่มีคุณภาพอีกช่องทางหนึ่ง เนื่องจากการแชร์เป็นการ “บอกต่อ” เรื่องราวเพื่อให้คนอื่นรับรู้เพิ่มเติม ซึ่งอีกนัยหนึ่ง การแชร์คอนเทนต์คือการช่วยแนะนำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

  • Comments

สำหรับใครที่เป็น Social Media Manager หรือผู้ที่คอยดูแลจัดการด้านโซเชียล การเก็บ Data Point จากการคอมเมนต์ หรือแสดงความเห็น สามารถเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ถึงแม้ว่าในการแสดงความคิดเห็นบางครั้งจะเป็นในเชิงลบ แต่แบรนด์สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงคอนเทนต์เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปในครั้งหน้า

  • Mentions

การ Mention คือการติดแท็กไปหาบุคคลใดบุคคลหนึ่งในโลกโซเชียล เพื่อให้บุคคลนั้น เข้ามาเห็นคอนเทนต์ และสามารถอ่านรายละเอียด ข้อดีจากการ Mention คือการขยายช่องทางให้ผู้ที่ไม่เคยมี Engagement หรือรู้จักแบรนด์ของเรามาก่อน ได้ทำความรู้จักและคุ้นเคยมาก ซึ่งนักกาตลาด สามารถเก็บข้อมูลตรงนี้มาเป็นการวัดผล Social Media Growth เพื่อต่อยอดการทำคอนเทนต์ได้ในอนาคต

 

สรุป 

 

ความก้าวหน้าของ Digital Transformation มีส่วนช่วยให้แบรนด์สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก Data Point ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์และทำการตลาด และเพื่อให้นักวางกลยุทธ์ดิจิทัล สามารถเข้าใจถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้การสร้างคอนเทนต์ที่ถูกใจกลุ่มเป้าหมาย จะกลายเป็นกลยุทธ์ในการหาลูกค้าให้กับแบรนดืของคุณอีกทางหนึ่ง

 

ข้อมูลจาก: 

databox.com

backlinko.com

backlinko.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

สร้างยอดไลก์ & กระตุ้นยอดขาย ด้วยกลยุทธ์ Key Opinion Leader (KOL)
7 ขั้นตอน แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กรของท่านด้วยการใช้ Digital Transformation