5 ปัจจัยที่เจ้าของกิจการมักพลาด ในการทำตลาดผ่าน Facebook

5 ปัจจัยที่เจ้าของกิจการมักพลาด ในการทำตลาดผ่าน Facebook

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ธุรกิจที่กำลังทำอยู่มีจุดหมายปลายทางคือการทำให้เกิดกำไร สุดท้ายแล้วก็ต้องมาคิดหาคำตอบว่า จุดคุ้มทุนหรือว่าปลายทางที่ต้องการเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ทั้งนี้จะสอดคล้องกับกระบวนการทำการตลาดด้วยเช่นกัน

ช่องทางการทำการตลาดในยุคปัจจุบันนั้นมีหลากหลายช่องทาง วันนี้ขอพูดถึงช่องทางที่มีคนใช้งานกัน เรียกได้ว่ามากที่สุดคือ Facebook และเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการมักจะตกหลุมพรางมากที่สุดด้วยเช่นกัน

การทำการตลาด Facebook มีมากกว่าการ Boost post???

สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยซื้อโฆษณาหลังบ้านของ Facebook แนะนำให้ศึกษาอย่างเร่งด่วน (เรียนรู้วิธีการสร้างโฆษณาให้โดนกลุ่มเป้าหมาย) เพราะว่าการซื้อโฆษณาที่ถูกกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นจะทำให้เงินที่คุณซื้อโฆษณาถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับ Objective ที่ Facebook ให้มานั้นสามารถใช้ได้หมดทุกอันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการทำโฆษณา(เป้าหมายที่อยากจะได้จากโฆษณาชิ้นนี้) ตัวอย่างเช่น ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ว่าแบรนด์ของคุณมีตัวตน มีสินค้าออกใหม่ ให้ใช้ประเภทโฆษณาแบบ Awareness  Facebook ก็กระจายการรับรู้ส่งต่อไปยังกลุ่มเป้าหมายที่คุณเลือกเอาไว้ แต่ถ้าคุณต้องการสร้างยอดขายก็ควรจะใช้การโฆษณาแบบ Conversions เพราะตัวนี้สามารถทำให้เกิดยอดขายได้ สำหรับมุมของผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างยอดขาย

 

5 ปัจจัยที่เจ้าของกิจการมักพลาด ในการทำตลาดผ่าน Facebook

จะเห็นได้ว่า Objective จะมีหน้าที่ ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจุดหมายปลายทางในการทำโฆษณาของคุณคืออะไร ?

 

5 ปัจจัยที่ผู้ประกอบการ มักพลาดมากที่สุด เวลาทำโฆษณา

1. Campaign

คนส่วนใหญ่ชอบเลือก Objective ของโฆษณาแบบ Engagement เพราะยังติดภาพจากการตลาดสมัยก่อนที่อยากเห็น Like, Comment, Share เยอะๆ (ซึ่งเป็นผลดีต่อจิตใจ) เลยทำให้คิดว่าตัวนี้เป็นโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ แต่ความจริงแล้วไม่ได้ทำให้เกิดยอดขายได้ ถ้าจุดประสงค์ในการทำโฆษณาเพื่อสร้างยอดขาย

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเลือก Objective ในการทำโฆษณาควรเลือกเป้าหมายก่อนว่าต้องการให้กลุ่มเป้าหมายทำอะไรกับโฆษณานี้

     อยากให้รู้จัก

     อยากให้คลิกไปที่เว็บไซต์

     อยากให้มีส่วนร่วม

     อยากทำให้เกิดยอดขาย

 

2. การเลือกลุ่มเป้าหมาย

ในบางครั้งผู้ประกอบการบางคนไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในใจที่อยู่บนโลกออนไลน์ (ไม่รู้ Customer Personas ของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์) ซึ่ง Facebook ไม่สามารถรู้ได้ว่าสินค้าของคุณควรจะไปขายใครถ้าไม่ได้ระบุ หรือกำหนดให้ชัดเจนในการทำโฆษณา หรือในบางครั้งก็มีการตั้งกลุ่มเป้าหมายที่กว้างมากเกินไป เช่น ระบุแค่ช่วงอายุเพียงอย่างเดียว เป็นต้น

ตัวอย่างการตั้งกลุ่มเป้าหมายที่ดี

สินค้าคือ กระเป๋าผ้าใบที่ถูกออกแบบมาเฉพาะคนและมีใบเดียวในโลก มีความทนทาน เหมาะกับสายลุยๆ

กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ชาย ช่วงอายุ 20-25 ปี นักศึกษาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ชอบท่องเที่ยวต่างจังหวัด ชอบกิจกรรมและเล่นกีฬา Adventure มีรายได้อยู่ที่ 15,000 – 30,000 บาท

 

3. ไม่ได้ทำ Funnel ไม่ได้ทำ Retargeting

Funnel เป็นกระบวนการที่สามารถเปลี่ยนจากคนแปลกหน้าให้เป็นคนรู้จัก จากคนรู้จักให้เป็นคนคุ้นเคยและ คนคุ้นเคยให้เป็นลูกค้า หรือ ถ้าแปลแบบเป็นทางการก็คือ วิธีการคัดกรองและเลือกลูกค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามที่เราต้องการ ผ่านขั้นตอนต่างๆที่เราเป็นคนกำหนด เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนในตัวลูกค้าจนได้ลูกค้าตัวจริงเป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา (ศึกษารายละเอียดการสร้าง Sales Funnel)

 

ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการมักจะหลงลืม บางครั้งเราทำโฆษณาไปแล้ว จ่ายเงินไปแล้ว Facebook จะให้ข้อมูลของคนมากลุ่มนึง จากจุดนี้สิ่งที่ผู้ประกอบการทำต่อคือ สร้างโฆษณาชุดใหม่ และจ่ายเงินอีกก้อนไปหาคนอีกกลุ่ม จ่ายและก็หาใหม่ วนซ้ำไปเรื่อยๆ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสำหรับโฆษณาเป็นจำนวนมาก

ความจริงคือเมื่อทำโฆษณาจะได้ข้อมูลมา 1 ชุด ข้อมูลชุดนี้สามารถยิงโฆษณาไปยังกลุ่มลูกค้าเดิมได้เลือกในสิ่งที่เพื่อนเขาสนใจ จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับโฆษณาได้ อีกทั้งยังทำโฆษณาได้โดนกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นด้วย

 

เมื่อไหร่ที่ควรเอา Retargeting มาใช้ ?

Retargeting  สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น เรายิงโฆษณาไปชุดแรก หรือทำแคมเปญโปรโมทวิดีโอ จะมีคนดูวิดีโอ มีคนทักมาในแชท  Message หรือมี Engagement (Like, Comment, Share) เราสามารถเลือกทำโฆษณากลับไปยังคนกลุ่มนั้นอีกได้ เพราะแนวโน้มคนที่ Engagement กับ Message จะมี % ในการซื้อมากกว่าคนที่เขาไม่ Engagement

ถ้าเป็น Retargeting ที่ใช้ได้ผลมากที่สุดจากการที่ทดลองมาคือใช้กับคนที่มาดู เว็บไซต์ คนที่เข้ามาอ่านมี % สูงที่เขาจะซื้อมากกว่า จะมีประสิทธิภาพมากกว่าเพราะเขาให้ความสนใจเรา

 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทำคือ สำหรับคนที่มีเว็บไซต์คุณควรนำ Pixel ของเฟสบุ๊คไปติดตั้งบนเว็บไซต์ (เป็น Code 1 ชุดที่จะทำให้สามารถรู้ได้ถึงคนที่เคยเข้าไปที่เว็บไซต์ เหมือนการติดสติ้กเกอร์ให้กับคนที่เข้ามาในบ้านของคุณ ผลลัพธ์คือคุณสามารถเลือกทำโฆษณาเพื่อให้คนกลุ่มนี้ที่เคยเข้าบ้านของคุณเห็นได้ซึ่งมี % ในการตัดสินใจซื้อที่สูง)

สำหรับคนที่ยังไม่ได้มีเว็บไซต์ถ้าหากคุณต้องการทำ Retargeting คุณสามารถทำโฆษณาให้กับคนที่เคยเข้ามาให้ความสนใจหรือมีส่วนร่วมกับ แคมเปญของคุณได้เช่นกัน

 

4. ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงาน

ถ้าทำโฆษณาแล้วมีกลุ่มเป้าหมายผ่านเข้ามาและผ่านไป ไม่ได้ให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเอาไว้ เปรียบเหมือนเดินแจกใบปลิวแล้วเราไม่มีอะไรให้เขา การจะรอให้เขาโทรกลับมาเป็นไปได้ยากมาก

แต่สำหรับบนโลกของ Digital Marketing ทุกโฆษณาที่คุณทำไปสามารถนำมาเป็นฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการได้ ที่สำคัญคือคุณต้องมีระบบสำหรับเก็บข้อมูลลูกค้าที่เข้ามา

ถ้าไม่เช่นนั้นต้นทุนที่คุณทำโฆษณา ก็จะลอยหายไป เหมือนทำใบปลิวแจก และหายไปไม่สามารถวัดผลอะไรได้เลย

คนมักพลาดคือ ทำ Digital Marketing แต่คิดแบบ Traditional Marketing ทำแบบใหม่แต่คิดแบบเก่า จะทำให้เสียเงินแบบเก่าๆ อย่างเช่น การใช้ Mass Media เปิดทีวี วิทยุ แต่ไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ ได้รับการสารที่คุณต้องการจะสื่อออกไปหรือไม่

เพราะฉะนั้นการตลาดในยุคปัจจุบันการที่คุณมีฐานข้อมูลของลูกค้าคุณมากเท่าไหร่ ละเอียดมากเท่าไหร่ จะทำให้คุณสามารถรู้จุดที่สามารถนำเอาสินค้าไปตอบโจทย์ของเขาได้ถึงช่วงเวลาที่เขาต้องการ และยังสามารถนำข้อมูลในส่วนนี้ ทำโฆษณาแบบ Custom Audience (ทำโฆษณาไปหากลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงและแม่นยำมากยิ่งขึ้น) โดยการนำข้อมูลที่คุณมีอย่างเบอร์มือถือ บางคนเลือกเป็นอีเมลล์ หรือทำการ Re-Marketing ด้วยการเอาคนที่เคยเข้ามาในเพจและเว็บไซต์ ให้คนเหล่านั้นได้เห็นโฆษณาอีกครั้ง

 

5. ไม่รู้ KPI ในการวัดผลโฆษณา

ถ้าต้องการให้ Brand เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลักๆ ในการเข้าถึง ต้องดู CPM (Cost Per Thousand Impression) “ต้นทุนต่อการมองเห็น”  คือค่าใช้จ่ายสำหรับการแสดงผลโฆษณาต่อ 1,000 ครั้ง (นับการมองเห็นซ้ำ) ถ้ามีค่าใช้จ่ายน้อยแสดงว่ากลุ่มคนเหล่านั้นเขาสนใจ แต่หลักๆ ถ้าคนคลิกเข้ามาก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะซื้อ

หลักของการทำ Ads ช่วงนี้คือทำยังไงก็ได้ให้คนสนใจ ให้คนหยุดอ่าน หยุดดู ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง วิดีโอ Photo series หรือ Collection ads

สำหรับคนอยากเพิ่มให้คนรับรู้สินค้าออกใหม่

1 ต้องรู้จริงๆ ว่าสินค้าขายได้ด้วยตัวเองไหม

2 คนที่อยู่ในเพจ เป็นกลุ่มคนที่เราอยากได้จริงๆ ไหม เป็นคนที่มีคุณภาพไหม

ถ้าต้องการยิงโฆษณา ควรใช้แคมเปญ Brand Awareness

หาก Brand มีคนรู้จักอยู่แล้ว โฆษณาที่ใช้ต้องรู้ก่อนว่า สิ่งที่เขาต้องการมันคืออะไร

ถ้าเขาต้องการยอดขายที่เพิ่มขึ้น โฆษณาควรจะเป็นพวก แคมเปญ Conversion ถ้ายิ่งมีเว็บไซต์จะยิ่งดี เราสามารถที่จะทำ Campaign Conversion เพื่อให้เกิด Lead generation และทำให้เกิด การซื้อ ซึ่ง KPI ควรดู CPC (Cost Per Click – ค่าใช้จ่ายต่อ 1 การคลิก) CTR (Click-Through-Rate (อัตราการคลิกต่อการมองเห็น) เพื่อดูว่าคนคลิกมาเยอะไหม (ดูว่าเกิดยอดขายได้จริงๆ หรือเปล่า) และ KPI วัดผลที่ควรดูอีกตัวคือ จำนวนเงินที่เราใช้ไปในการโฆษณากับยอดขายที่ขายได้ว่ามันคุ้มกันจริงๆ ไหมหรือที่เรียกว่า ROAS (Return on ad spend) คำนวณจากลงเงินค่าทำโฆษณา หารด้วยจำนวนเงินที่เราได้รับกลับมาว่ามันมากหรือน้อยเกินไปไหม ความจริงคือค่าการตลาด ไม่ควรเกิน 10%

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

7 เคล็ด (ไม่) ลับ เพิ่มยอดธุรกิจผ่าน INSTAGRAM
3 บทสรุปพัฒนาการของ AI (Artificial Intelligence) ที่มีผลกระทบต่อนักการตลาดในปี 2017 ที่ผ่านมา