อาชีพ Copywriter VS UX Writer ต่างกันอย่างไร

อาชีพ Copywriter VS UX Writer ต่างกันอย่างไร

ในระหว่างการใช้แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มดิจิทัล หากแพลตฟอร์มเหล่านั้นใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อ่านแล้วลื่นไหล จะส่งผลให้ผู้อ่านเกิดประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน ทำให้อยากอยู่บนแอปพลิเคชันต่อไป ไม่มีสะดุดในระหว่างการใช้ โดยการเขียนที่พวกเราเห็นบนแอป และ แพลตฟอร์มเหล่านั้น เกิดจากการออกแบบ เลือกใช้คำที่เหมาะสม จากทีมคอนเทนต์หรือนักเขียน เพื่อตอบโจทย์ต่อผู้อ่านบนโลกออนไลน์

คำว่านักเขียนคอนเทนต์ในยุคดิจิทัลไม่ได้จำกัดแค่ นักเขียนนวนิยายเชิงสร้างสรรค์ หรือ หรือผู้เขียนสารคดีที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านเพียงเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน นักเขียนมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของธุรกิจ และมีทักษะที่ต่างกันออกไป โดยวันนี้เรามาทำความรู้จักกับอาชีพ Copywriter และ UX Writer กันค่ะ ว่าทั้งสองอาชีพนี้มีความโดดเด่นอย่างไรในอุตสาหกรรมการตลาด และ แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

อาชีพ Copywriter VS UX Writer ต่างกันอย่างไร

Copywriter

Copywriter คือนักเขียนที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของตัวสินค้า และ บริการ หรือตัวแบรนด์เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่คล้อยตาม เน้นไปยังด้านของความสละสลวยของภาษาเพื่อสื่อสารไปยังผู้อ่าน และการตุ้นอารมณ์เพื่อให้เกิดการตัดสินใจบางอย่างในเชิงของการตลาด เช่น การขาย การสมัครสมาชิก เป็นต้น

ในมุมของการประสานงาน Copywriter จะทำงานร่วมกันกับทีมการตลาด และทีมขาย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเขียนข้อความ ร้อยเรียงเนื้อหาให้เกิดความรู้สึกต่อตัวผลิตภัณฑ์ และ Copywriter สามารถทำงานคนเดียวได้เช่นกัน

UX Writer 

UX Writer คือผู้ที่เขียนข้อความบนผลิตภัณฑ์ทั้งตัวสินค้า และ บริการ โดยเน้นการออกแบบคำต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ แนะนำให้ผู้ใช้งานสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการผ่าน User Interface

คำว่า UX มาจากคำว่า User Experience หากแปลตรงตัวก็จะหมายถึง “ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน” ซึ่ง User Experience นั้นจะคำนึงถึงความพึงพอใจ ความต้องการ และ  ประสบการณ์ของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล และแอปพลิเคชัน ซึ่งผู้ที่ทำงานด้านนี้จะคอยพัฒนาระบบ และ Product ของแบรนด์เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความพึงพอใจ ใช้งานง่าย สะดวก และ รู้สึกในเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์พัฒนาขึ้น

กลับมาที่ UX Writer กันอีกที เมื่อเราพอเข้าใจความหมายของ UX กันคร่าว ๆ แล้ว UX Writer คือผู้ที่เขียนข้อความบนผลิตภัณฑ์ทั้งตัวสินค้า และ บริการ โดยเน้นการออกแบบคำต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ แนะนำให้ผู้ใช้งานสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการผ่าน User Interface ซึ่ง UX Writer นั้นจะคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้ (User) เป็นหลัก กล่าวคือ UX Writer มีหน้าวางกลยุทธ์ทางการตลาดโดยเน้นด้านการออกแบบข้อความ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งาน และ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ค่ะ

UX Writer ในบางกลุ่มธุรกิจอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น Content Designer หรือ นักวางกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ในการทำงานของอาชีพนี้คือ การเขียนข้อความที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้ โดยกลยุทธ์การตลาดที่ UX Writer ใช้นั้นมาจากการเก็บ Data และ นำมาประมวลผลหาความพึงพอใจ จุดบกพร่อง และวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อปรับปรุงข้อความให้น่าใช้มากขึ้น อีกทั้งยังคำนึกถึงความสะดวกต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความราบรื่นในทุกขั้นตอน

นอกจากนี้ UX Writer จะทำงานร่วมกับทีมอื่น ๆ เพื่อพัฒนาหลักการเขียน UX Writing ให้ดีขึ้น เช่น การประสานงานร่วมกับทีมผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ ทีมออกแบบ และ ทีมที่เกี่ยวข้องกับ User Interface เพื่อให้การเขียนที่ออกแบบมานั้นไปในทิศทางเดียวกัน

 

กรณีศึกษาตัวอย่างจาก Google

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างระหว่างความแตกต่างของ UX Writer และ Copywriter ในกรณีตัวอย่างด้านล่างนี้ เพื่อให้คุณผู้อ่านได้เห็นภาพ และเข้าใจมากขึ้นจากกรณีศึกษาของ Google ค่ะ

บริษัทเทคโนโลยีเจ้าดังอย่าง Google ที่ผู้ใช้งานนิยมใช้เพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เผยว่า กลุ่มผู้ใช้งานที่ค้นหาห้องว่าง และ โรงแรมนั้น มีทั้งกลุ่มที่ต้องการ “จองห้องพัก” และกลุ่มที่ต้องการจะทราบว่าห้องพักว่างหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นคำว่า “เช็กห้องว่างและราคา” ซึ่งคำสองคำนี้มีจุดประสงค์แตกต่างกัน

คำว่า จองห้องพัก ในเชิงของการตลาด เป็น Call to Action ที่กระชับ ชัดเจน และกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเกิด Action บางอย่างโดยในกรณีนี้คือการจองห้องพัก โดยเป็นการเขียนแบบ Copywriter ที่เป็นการเขียนเชิงการตลาด หรือ เน้นการขาย

ในขณะเดียวกัน คำว่า เช็กห้องว่างและราคา มุ่งเน้นถึงจุดประสงค์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก นอกเหนือจากการเน้นการขาย โดยข้อความนี้คือคำแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถบรรลุผลที่ต้องการบนหน้า User Interface ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งใน Case Study จาก Google นี้ระบุว่าข้อความที่มาจาก UX Wrting นั้นทำใหเเกิด Engagement เพิ่มขึ้น 17% (สถิติจาก uxdesign.cc)

คำว่า จองห้องพัก ในเชิงของการตลาด เป็น Call to Action ที่กระชับ ชัดเจน และกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเกิด Action บางอย่างโดยในกรณีนี้คือการจองห้องพัก โดยเป็นการเขียนแบบ Copywriter ที่เป็นการเขียนเชิงการตลาด หรือ เน้นการขาย
ภาพจาก directyourbookings

สรุปคือ Copywriter นั้นจะเขียนข้อความ และ คอนเทนต์ที่เน้นด้านการตลาด โดยนำกลยุทธ์การตลาดด้าน การ Research Data มาใช้เพื่อคำนึงถึงการสร้างยอดขายให้กับแบรนด์ ในขณะที่ UX Writer คือผู้ที่ออกแบบข้อความให้กับแบรนด์เช่นเดียวกัน แต่เน้นการออกแบบ และ การใช้งานผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพเป็นหลัก โดยทำงานร่วมกันกับทีมดีไซน์ ทีมผลิตภัณฑ์ และ ทีมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องค่ะ

ความสำคัญของ Copywriter และ UX Writer ในเชิงธุรกิจ 

เพื่อให้เห็นความแตกต่างในแง่ของประโยชน์ทางการตลาด และ ทางธุรกิจ ผู้เขียนจะขออธิบายถึงเนื้องาน และ ความสำคัญของสองอาชีพนี้ค่ะ

อาชีพ Copywriter

1. โฟกัสด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ ปรับปรุงการตลาด 

ถึงแม้ว่าทั้ง UX Writer และ Copywriter จะช่วยพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น แต่ความแตกต่างของสองอาชีพนี้คือ การสร้างคุณค่าให้เกิดต่อธุรกิจที่ต่างกันออกไปค่ะ

การทำธุรกิจจำเป็นต้องเน้นการสร้างยอดขายเพื่อให้มีรายได้ และเกิดกำไร ดังนั้น อาชีพ Copywriter จึงมีบทบาทในการสร้างงานเขียน Copywriting โดยการเขียนประเภทนี้จะสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นอารมณ์กลุ่มเป้าหมายให้เกิดการซื้อ ทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไป

ตัวอย่างงานเขียนจาก invideo ที่เน้นงานเขียนแบบกระชับ ตรงตัว และ มี CTA ที่ชัดเจน

ตัวอย่างงานเขียนจาก invideo ที่เน้นงานเขียนแบบกระชับ ตรงตัว และ มี CTA ที่ชัดเจน
ภาพจาก invideo

2. สร้างคอนเทนต์เพื่อการขาย

Copywriter มุ่งเน้นการเขียนเพื่อขายสินค้า และ บริการ เพื่อให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมาย เช่น การเขียน Call to Action เช่น

  • รับสิทธิฟรี
  • จองเลย
  • ดูสินค้าใหม่ที่นี่
ตัวอย่างหน้าโฮมเพจของ Brooklinen ที่เน้นข้อความกระตุ้นให้ผู้ใช้งานอยากคลิกเข้าไปดูสินค้าใหม่ ๆ
ตัวอย่างหน้าโฮมเพจของ Brooklinen ที่เน้นข้อความกระตุ้นให้ผู้ใช้งานอยากคลิกเข้าไปดูสินค้าใหม่ ๆ

 

3. ให้ความสำคัญกับจำนวนการทำวิจัยเชิงปริมาณ

อาชีพ Copy Writer ที่สามารถทำงานเดี่ยว ๆ ด้วยตนเองได้ จะเน้นไปที่การทำงานวิจัย Data หรือค้นหาข้อมูลเชิงปริมาณ และ เขียนเนื้องานออกมาจากความสร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์กับแคมเปญ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโปรโมต

ตัวอย่างสถิติจาก Jeffrey Vocell ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเขียน CTA (Call to Action) กว่า 330,000 รูปแบบ ซึ่งตัวเขาเผยว่า การทดลองการเขียน CTA แบบ Personalization หรือแบบเฉพาะเจาะจงไปยังตัวบุคคลผู้ใช้งาน ได้ผลดีกว่าการเขียน CTA แบบธรรมดาทั่วไป เนื่องจาก User รู้สึกว่า การใช้ CTA ที่มีระดับภาษาใกล้เคียงกับที่ตนใช้ ดูโดนใจกว่า ทำให้มีโอกาสที่คนจะคลิก CTA มากขึ้น

อาชีพ Copy Writer ที่สามารถทำงานเดี่ยว ๆ ด้วยตนเองได้ จะเน้นไปที่การทำงานวิจัย Data หรือค้นหาข้อมูลเชิงปริมาณ
ภาพจาก khrisdigital

 

4. โดดเด่นด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 

หากพูดถึงทักษะเฉพาะที่โดดเด่นของสองอาชีพนี้ Copywriter จะเน้นไปยังด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing) มากกว่า UX Writer เนื่องจากงานเขียนในเชิง Copywriting เป็นการร้อยเรียงเรื่องราวที่สะท้อนความรู้สึก และ กระตุ้นอารมณ์ผู้อ่านเพื่อตัดสินใจกระทำบางอย่างให้เป็นไปตามเป้าหมายที่นักการตลาดวางไว้

ภาพด้านล่าง เป็นตัวอย่างงานเขียนเชิงสร้างสรรค์จาก Nike ที่กระตุ้นให้คนเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ค้นหาตัวตนของตัวเอง

creative writing
อาชีพ Copy Writer ที่สามารถทำงานเดี่ยว ๆ ด้วยตนเองได้ จะเน้นไปที่การทำงานวิจัย Data หรือค้นหาข้อมูลเชิงปริมาณ

5. งานเขียนเพื่อการตลาด 

Copywriter จะออกแบบคอนเทนต์ในเชิงการการตลาด กล่าวคือนอกจจากการเขียนโปรโมตเพื่อการขายแล้ว ยังมีหน้าที่เขียนคอนเทนต์เชิงโฆษณา และการโปรโมตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ด้วยค่ะ

6. คอนเทนต์ที่บอกเล่าเรื่องราว 

Copywriter โฟกัสไปที่การเล่าเนื้อหาต่าง ๆ และ สร้างข้อความเพื่อกระตุ้นให้ User เกิดการตัดสินใจลงมือทำบางอย่าง โดยการบอกเล่าเรื่องราวนั้นสามารถสร้างอารมณ์บางอย่างให้กับผู้อ่านได้

 

อาชีพ UX Writer

1. โฟกัสในเรื่องของการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน

อาชีพ UX Writer คำนึงถึงคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ ข้อความในเชิง UX จะออกแบบเพื่อแนะนำ และ ช่วยเหลือผู้ใช้งานให้เกิดความลื่นไหลเมื่อใช้เว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน รวมทั้งลดความซับซ้อนของการใช้งาน ด้วยการเลือกภาษาให้กระชับ เข้าใจได้ง่าย โดยคุณค่าที่ลูกค้าได้รับนี้ ก็คือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อใจต่อตัวแบรนด์ในระยะยาว

2. สร้างคอนเทนต์ให้เข้าใจง่าย และเปิดสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน

UX Writer มุ่งเน้นการเขียนเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนหน้าแพลตฟอร์มดิจิทัลได้ง่าย ไม่มีสะดุด รวมทั้งการสร้าง Engagement ที่ดีระหว่างผู้ใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่า UX Writer จะออกแบบข้อความที่คำนึงถึงผู้ใช้งานให้เกิดความพึงพอใจ และ เพิ่มทางเลือกให้ มากกว่าการสร้างข้อความที่ทำให้เกิดการซื้อขาย

ตัวอย่างเช่น

  • ตรวจสอบวัน และ เวลาที่ว่าง
  • ทดลองใช้ฟรี

เช่น ตัวอย่างแอปพลิเคชันจาก Bunq บริษัทเทคโนโลยีทางการเงินของยุโรป (Fintech Company) ที่สร้างข้อความ ทดลองใช้ฟรี เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เปิดบัญชี

การเขียนเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ช้งาน
ภาพจาก netguru
  • ขอข้อมูลเพิ่มเติม คลิก
  • ตรวจสอบราคาสินค้า

3. ให้ความสำคัญกับเครื่องมือดีไซน์

เครื่องมือดีไซน์ที่ UX Writer นิยมใช้กันคือ Figma และ Adobe XD ค่ะ ทั้งสองเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือสำหรับออกแบบหน้าแพลตฟอร์ม และ แอปพลิเคชันที่ทีม UX และ UI สามารถทำงานร่วมกันได้แบบ Real-Time เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น สื่อสารได้ตรงกัน โดย UX Writer นั้นจะมุ่งเน้นการใช้เครื่องมือเหล่านี้พัฒนางานของตัวเอง และร่วมมือกับทีมอื่น ๆ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างหน้าตาของเว็บไซต์ Figma ที่มีคอนเซปต์การทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม
ตัวอย่างหน้าตาของเว็บไซต์ Figma ที่มีคอนเซปต์การทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม

 

4. โดดเด่นด้านเทคนิคเฉพาะ

UX Writer มีความโดดเด่นในด้านการใช้เทคนิคในการเขียนเพื่อพัฒนาข้อความ หรือ ภาษาให้ซับซ้อนน้อยลง และ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานมากขึ้น ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย ก็เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกอยากใช้เวลาอยู่บนแอปพลิเคชัน หรือบนแพลตฟอร์มเหล่านั้นต่อไปค่ะ

5. งานเขียนเพื่อประสบการณ์ของผู้ใช้งาน 

ความแตกต่างของสองอาชีพนักเขียนนี้คือจุดประสงค์ของการทำงานค่ะ นักเขียนสาย UX Writer ผลิตชิ้นงานขึ้นมาเพื่อช่วยให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีขึ้น ลดความซับซ้อน และ คอยแนะนำข้อมูลต่าง ๆ ให้กับ User แต่ไม่ได้เน้นการเพิ่มยอดขาย

ตัวอย่าง

ในบางครั้งที่เราเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์แล้วเจอข้อความ “404 Error” อาจทำให้รู้สึกหงุดหงิดใจ และปิดหน้าต่างนั้นไป แต่ Pixar ได้เพิ่มลูกเล่นเข้าไปด้วยการใส่ตัวละครของ Pixar และเพิ่มข้อความน่ารัก ๆ เพื่อให้ดูน่าสนใจ ทำให้ผู้ใช้งานเกิดประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ

ตัวอย่างงานเขียน ux writing
ภาพจาก uxdesign.cc

 

5. คอนเทนต์แนะนำแนวทางแก้ปัญหา

UX Writer ออกแบบข้อความเพื่อช่วย User แก้ปัญหา โดยไม่ได้เน้นการสร้างอารมณ์ แต่สร้าง Engagment ให้ผู้อ่านอยากอยู่กับแบรนด์ไปให้นานยิ่งขึ้น

 

สรุป

1 อาชีพ UX Writer 

UX Writer เน้นด้านการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานบนหน้า User Interface เน้นงานเขียนที่ช่วยอำนวยความสะดวก และ แก้ปัญหาให้ผู้อ่าน ทำให้ผู้ใช้งานอยากใช้เวลาอยู่บนหน้าแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันนานยิ่งขึ้น

2 อาชีพ Copywriter 

Copywriter เน้นด้านการทำการตลาด และ การขาย เพื่อสร้างกำไร รวมทั้งการเขียนเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์สินค้า และ บริการ และโฆษณาผ่านการเล่าเรื่องราวที่กระตุ้นอารมณ์ให้ผู้อ่านเกิดการตัดสินใจกระทำบางอย่าง

3 อาชีพ Copywriter สามารถเปลี่ยนสายงานมาเป็น UX Writer ได้ไหม 

คำตอบคือได้ค่ะ พื้นฐานงานของสองอาชีพนี้คือการผลิตคอนเทนต์ แต่ต่างกันตรงจุดประสงค์ของเนื้อหา และเป้าหมายของการเขียน หาก Copywriter จะลองเปลี่ยนสายอาชีพมาทำงานเป็น UX Writer สิ่งแรกที่ควรทำคือการมุ่งเน้นความสำคัญของการออกแบบถ้อยคำ ข้อความ และคอนเทนต์ที่คำนึงถึงผู้อ่าน หรือผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี และแนะแนวทางให้กับผู้ใช้งาน มากกว่าการคำนึงถึงการตลาด หรือเขียนงานในเชิงกระตุ้นการขาย

4 Copywriter และ UX Writer เหมาะกับธุรกิจแบบไหน 

Amazon, Google, Microsoft, และ บริษัทใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีล้วนมีนักเขียน UX writer และ Copywriter เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ต่างกันออกไป หากธุรกิจของคุณกำลังสงสัยว่า Copywriter และ UX Writer เหมาะกับธุรกิจแบบไหน ความจริงแล้วทุกกลุ่มธุรกิจจำเป็นจะต้องมีทั้งสองสายอาชีพนี้เข้าไปทำงานค่ะ แต่ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแคมเปญ และธุรกิจ ว่าแคมเปญของเน้นการสร้างยอดขาย หรือต้องการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ซึ่งทั้งสองสายงานนี้ ล้วนมีส่วนให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้า

หากคุณเป็นนักการตลาดหรือผู้ที่ต้องทำงานด้านคอนเทนต์ ทาง STEPS Academy ขอแนะนำหลักสูตร Content Marketing ซึ่งจะช่วยให้คุณวางกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น ผ่านการทำความเข้าใจกลไกของ Marketing Funnel การวิเคราะห์ Customer Avatar รวมไปถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณมีไอเดียดี ๆ ในการทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและสร้างยอดขายได้มากขึ้นค่ะ

 

 

ข้อมูลจาก

uxdesign.cc

khrisdigita

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

4 เทคนิคช่วยกระตุ้นยอดขายผ่าน Instagram
5 ตัวชี้วัดผลลัพธ์คอนเทนต์บนเว็บไซต์ที่นักการตลาดออนไลน์ควรรู้