ผู้เขียน: STEPS Academy

Data-driven Decision-making (DDDM) ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจในยุค 2024

Data Driven Decision Making Blog Banner


คุณรู้หรือไม่ว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน มีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งโดยเฉลี่ย 25% ซึ่ง การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรด้วยการตัดสินใจด้วยข้อมูล เป็นการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในยุค 2024 ที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในทุกระดับ เพื่อการตัดสินใจโดยใช้หลักฐาน และข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของการตัดสินใจด้วยข้อมูล และขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพกัน

Data Driven Decision Making Top Blog Pic

Data-driven Decision-making (DDDM) คืออะไร

Data-driven Decision-making (DDDM) หรือการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เป็นแนวทางที่เน้นการใช้ข้อมูล และการวิเคราะห์มากกว่าสัญชาตญาณในการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น ความคิดเห็นของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และข้อมูลทางการเงิน มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในกระบวนการตัดสินใจ

ประโยชน์ของการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ธุรกิจสามารถเปลี่ยนการดำเนินงาน และวางจุดยืนของตนเอง เพื่อความสำเร็จในระยะยาวที่ยั่งยืน โดยการนำโมเดลการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้ ปรับปรุงประสบการณ์ให้กับลูกค้า และลดต้นทุนในกระบวนการทำงาน

การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า

องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลให้ความสำคัญกับลูกค้ามากขึ้น และเข้าใจ Customer Journeys อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ Data-driven Decision-making ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้า ช่วยให้คุณปรับแต่งข้อเสนอทางธุรกิจ ปรับปรุงบริการ ด้วยการทำ Data Analysis คือ การแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งนี้จะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล ความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แข็งแกร่งขึ้น และรายได้ที่สูงขึ้น

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีขึ้น

การใช้ข้อมูลเพื่อสร้างทางเลือก ทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายที่สามารถทำได้จริง และนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ เพราะ Data-driven Decision-making ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน โดยการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างแผนกต่างๆ สนับสนุนการสื่อสาร และส่งเสริมความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

สร้างโอกาสในการเติบโต

Data-driven Decision-making ช่วยให้คุณสามารถระบุโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และพื้นที่สำหรับการปรับปรุงเพิ่มเติมในแต่ละภาคส่วน ทำให้เราเห็นแนวโน้ม และรูปแบบในการมองหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจของคุณค้นพบปัญหาคอขวด และสิ่งที่คุณต้องดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

ความท้าท้ายในปี 2567 หรือ 2024 สำหรับแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะแบรนด์ใหญ่หรือแบรนด์เล็กก็ตาม เพราะช่องทางการทำการตลาด พฤติกรรมของลูกค้า ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการใช้ Influencer ในการทำการตลาด ดังนั้นเพื่อการตัดสินใจในแนวทางดำเนินการธุรกิจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ วางกลยุทธ์มากขึ้นในปีนี้ ซึ่งเราจะมาพูดถึงกันในหัวข้อถัดไปกับ

6 ขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณค้นหาคำตอบได้ว่า “ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร และทำไม” เพื่อใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการวางแผนธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่า

1. ระบุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

ขั้นตอนแรกนี้เราจะต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร และเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ  ซึ่งข้อมูลนี้ควรเจาะจงออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเหมือนกับการเพิ่มยอดขาย และการเพิ่มจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ เพื่อนำไปใช้ต่อในขั้นตอนการกำหนดตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) และหน่วยวัดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจากข้อมูล ช่วยให้คุณพิจารณาว่าข้อมูลใดที่จะวิเคราะห์ และคำถามใดที่ควรถาม

2. สำรวจทีมเพื่อหาแหล่งข้อมูลสำคัญ

ขั้นตอนต่อมาคือ การขอข้อมูลจากทุกฝ่ายทั่วทั้งองค์กร เพื่อนำมาประกอบกันและทำความเข้าใจกับเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เรารวบรวมเป็นฐานข้อมูลกลาง และนำไปใช้ในการตอบคำถามต่างๆ ที่ผู้คนเกิดข้อสงสัย รวมไปถึงวิธีที่คุณจัดลำดับความสำคัญของแหล่งข้อมูลที่ได้รับ

ดังนั้นข้อมูลอันมีค่าจากทั่วทั้งองค์กรจะช่วยเป็นแนวทางในการปรับใช้การวิเคราะห์ และบอกสถานะในอนาคต รวมถึงบทบาท ความรับผิดชอบ สถาปัตยกรรม และกระบวนการ ตลอดจนการวัดค่าความสำเร็จของสิ่งที่องค์กรดำเนินมา

3. รวบรวมและเตรียมข้อมูลที่คุณต้องการ

การเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพ และเชื่อถือได้อาจเป็นอุปสรรคใหญ่หากข้อมูลธุรกิจของคุณอยู่ในแหล่งที่เข้าถึงยาก ดังนั้นเมื่อคุณมีแนวคิดเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลที่หลากหลายทั่วทั้งองค์กรของคุณแล้ว คุณก็สามารถเริ่มต้นการเตรียมข้อมูลได้ โดยเริ่มต้นด้วยการเตรียมแหล่งข้อมูลที่มีผลกระทบต่อองค์กรสูง และมีความซับซ้อนต่ำก่อน และต่อมาให้ทำการจัดลำดับความสำคัญแหล่งข้อมูลที่มีผู้ชมมากที่สุดก่อนเพื่อให้คุณและทีมงานสามารถนำไปใช้ได้ทันที

เอเจนซี่การตลาด Tinuiti จาก New York ได้ใช้ขั้นตอนในการตัดสินใจด้วยข้อมูล เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและพนักงานกว่า 1,000 คนสามารถเข้าถึง และใช้ข้อมูลได้จากการรวมแหล่งข้อมูลมากกว่า 100 แห่งไว้ที่ศูนย์กลางเดียวกันด้วยแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ช่วยรองรับการเตรียมข้อมูลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแดชบอร์ดที่เราสามารถกำหนดค่าได้เองว่าต้องให้แสดงผลข้อมูลแบบใดบ้างให้กับลูกค้ามากกว่า 500 ราย และส่งมอบเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับความพยายามในการสร้างแบรนด์ของพวกเขาสู่กลุ่มเป้าหมาย

4. ดูและสำรวจข้อมูล

การแสดงข้อมูลออกมาให้เห็นเป็นภาพ หรือ Data Visualization คือสิ่งสำคัญสำหรับ Data-driven Decision-making ที่จะช่วยให้คุณมีโอกาสมากขึ้นในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำระดับสูง และพนักงานคนอื่นๆ ด้วยองค์ประกอบมากมายอย่าง แผนภูมิ กราฟ และแผนที่ ที่จะทำใหการแสดงภาพข้อมูลเป็นวิธีที่ทำให้เข้าถึง และเข้าใจทิศทางของแนวโน้ม ความผิดปกติ และรูปแบบของข้อมูล 

การแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) มีหลากหลายรูปแบบที่ได้รับความนิยม เพื่อการแสดงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ  ได้แก่ แผนภูมิแท่งสำหรับการเปรียบเทียบ แผนที่สำหรับข้อมูลเชิงพื้นที่ แผนภูมิเส้นสำหรับข้อมูลชั่วคราว และอื่นๆ

5. หาข้อสรุป

หาข้อสรุปที่ชัดเจนจากการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytics คือ การนำข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือในอดีตมาวิเคราะห์ และสื่อสารความหมายอย่างมีประสิทธิภาพโดยสร้างรูปแบบการจัดวางข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กรของคุณ และมุ่งหวังที่จะทำให้ข้อมูลเข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

JPMorgan Chase & Co บริษัทการเงินข้ามชาติสัญชาติอเมริกันที่มีสำนักงานใหญ่ที่ New York นำโซลูชันการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจที่สำคัญต่อสุขภาพของธนาคารทำให้ JPMC ได้รับมุมมองที่ครอบคลุมทั้งหมดเกี่ยวกับ Customer Journey โดยการตรวจสอบความสัมพันธ์สายงานธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์ การตลาด และจุดสัมผัสการบริการของข้อมูลลูกค้า เพื่อนำมาประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ขององค์กร และโปรโมชั่นต่างๆ

6. ดำเนินการและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของคุณ

เมื่อคุณค้นพบข้อมูลเชิงลึกแล้ว คุณจำเป็นต้องดำเนินการ หรือแบ่งปันกับผู้อื่นเพื่อการทำงานร่วมกัน หนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีและสะดวกคือการแชร์แดชบอร์ดกับทุกคนในองค์กร ซึ่งการเน้นข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญโดยการใช้ข้อความตัวอักษร และการแสดงภาพ สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ชม และช่วยให้พวกเขาใช้ข้อมูลมากขึ้นในการทำงานประจำวันของพวกเขา

และสำหรับใครที่อยากเริ่มต้นเรียนรู้การใช้ Data สำหรับธุรกิจเรามีหลักสูตร Data สำหรับการต่อยอดธุรกิจและการตลาดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://stepstraining.co/data-analytics-marketer

บทสรุป

6 ขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วย

  1. ระบุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร
  2. สำรวจทีมเพื่อหาแหล่งข้อมูลสำคัญ เพื่อนำมาประกอบกันและทำความเข้าใจกับเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว
  3. รวบรวมและเตรียมข้อมูลที่คุณต้องการ
  4. ดูและสำรวจข้อมูล และการแสดงข้อมูลด้วยภาพมีหลากหลายรูปแบบ
  5. หาข้อสรุปที่ชัดเจนจากการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณและสื่อสารความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ดำเนินการและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของคุณให้กับผู้คนทั้งองค์กร

ฝากติดตามบทความต่อๆไป ที่อัพเดทเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัลจากทีมงาน STEPS ด้วยนะคะ

แหล่งที่มา:

  1. https://www.tableau.com/learn/articles/data-driven-decision-making#:~:text=Data%2Ddriven%20decision%2Dmaking%20
  2. https://www.datamation.com/big-data/data-driven-decision-making/#:~:text=The%20data%2Ddriven%20decision%2Dmaking,a%20plan%20based%20on%20those

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

คนดูคอนเทนต์เยอะ ไม่ได้แปลว่าจะเป็นลูกค้า: Story telling เล่าเรื่องยังไงให้ขายของได้ปัง

many people watch content doesn't mean you'll become a customer: story telling: how to tell a story to sell products successfully?

Story telling หรือ การเล่าเรื่องเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวางกลยุทธ์การตลาดที่สามารถช่วยกระตุ้นยอดขายให้กับคุณ ผ่านสิ่งที่

เจาะลึกกลยุทธ์ E-E-A-T: ทําให้เว็บไซต์กลายเป็นเว็บโปรดของ Google ได้ยังไง

e-e-a-t-strategy-how-to-help-your-site-become-google's-favorite-site

เคยสงสัยกันไหมว่าทําไมบางเว็บไซต์ถึงดูขึ้นมาในหน้าแรกของการค้นหาตลอด โดยที่ไม่ว่าจะเสิร์ชกี่ครั้งเว็บไซต์นั้นก็ยังขึ้นโชว์อยู่

อนาคตของแบรนด์ในปี 2024: การตลาดสู่ผู้บริโภคในอนาคต

brand time future: marketing to future consumers

ลองนึกภาพการก้าวเข้าสู่ตลาดที่มีรายล้อมไปด้วยคําที่คุ้นหูกันอย่าง “Metaverse Marketing” หรือ “AI-Powered Personalization” “Gen Alpha Loyalty”

5 แนวทางที่นักการตลาดควรเริ่มใช้ Generative AI ได้แล้วตั้งแต่วันนี้

5-ways-marketers-should-be-using-generative-ai-now

นักการตลาดหรือ Marketer ทั้งหลายควรอัพเดทเครื่องมือที่อาจช่วยให้การทํางานในทุกวันนี้ง่ายขึ้นหรือได้เทคนิคใหม่ๆ สร้างสรรค์งาน

Digital Marketing 101: 4 ขั้นตอนเข้าใจการตลาดดิจิทัลขั้นพื้นฐาน

digital-marketing-101:-4-steps-to-understand-basic-digital-marketing

การตลาดดิจิทัลจริงๆแล้ว คืออะไร? คือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อเข้าถึงและเชื่อมต่อกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็น

เทรนด์กราฟิกที่น่าใช้ตามมากที่สุดในปี 2024

the-most-interesting-graphics-trends-to-follow

ในวันนี้ STEPS จะมาอัพเดทเทรนด์กราฟิกที่กําลังมาแรงในปีนี้ เพราะนอกจากเราจะสร้างคอนเทนต์ที่ตามเทรนด์แล้ว ภาพประกอบหรือกราฟิก..

Global SEO Strategy Update 2024 กลยุทธ์ SEO ระดับโลก ฉบับปี 2024

global seo strategy update 2024

กลยุทธ์ SEO ระดับโลก ที่ให้ความสําคัญกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่แพ้การจัดอันดับบนหน้าการเสิร์ช Google 
วงการการทํา SEO จะต้องสั่นสะเทือน..

เปลี่ยนเกมการตลาดด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างความสําเร็จจากธุรกิจชั้นนํา

changing the marketing game with data analysis techniques

เราอยู่ในยุคที่ต้องทํางานร่วมกับข้อมูล..ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่ง หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าและบริการ

Social Media Algorithm Update สําหรับปี 2024

social media algorithm update for 2024

อัลกอริทึมโซเชียลมีเดียคืออะไร? คือการคํานวณอัตโนมัติที่เป็นตัวชี้วัดโพสต์โซเชียลมีเดียไหนจะอยู่ด้านบนสุดของหน้าฟีดของผู้ใช้งาน

3 กลยุทธ์สร้างความแตกต่างสําหรับธุรกิจ SME ปี 2024

3-strategies-to-make-a-difference-in-sme-businesses

ออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ทําให้เกิดการเเข่งขันทางการตลาดสูง