4 เทคนิค Remarketing เพื่อเพิ่มยอดขายออนไลน์บน Facebook

การทำโฆษณา remarketing ในเฟสบุคเพื่อสร้างยอดขายให้แก่ธุรกิจออนไลน์

 

จากสถิติการชอปปิงออนไลน์ ปี 2020 พบว่า ผู้ประกอบการอาจเคยเจอกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า Shopping Card Abandonment มากถึง 75% หากจะพูดกันให้เห็นภาพมากกันขึ้น Card Abandonment นั้นหมายความว่า

ในขณะที่ลูกค้ากำลังซื้อสินค้าออนไลน์และหยิบสินค้าใส่ตะกร้าไปบ้างแล้ว แต่เกิดตัดสินใจยกเลิกซื้อสินค้ากลางคัน และหายออกจากหน้าเว็บไซต์หรือหน้าเพจของเรา

คงจะน่าเสียดายไม่ใช่น้อยใช่ไหมคะ หากลูกค้าและยอดขายขาดหายไปในขณะที่อยู่ในขั้นตอนการชำระเงินออนไลน์

อย่างที่เรารู้กันค่ะ ว่าการแข่งขันในธุรกิจออนไลน์มีอยู่สูง หากแบรนด์นำเสนอสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน นักการตลาดอาจจะใช้ ราคา มาเป็นข้อเสนอ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจ ผู้บริโภคมีสิทธิตัดสินใจ และใช้เวลาเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง เพื่อเปรียบเทียบราคาสินค้าและคุณภาพ

 

การทำ Remarketing ในเฟสบุคเพื่อเพิ่มยอดขาย

ภาพจาก: https://www.bigcommerce.com

แล้ววิธีไหนล่ะ ที่เราจะสามารถเรียกลูกค้าให้กลับมาซื้อสินค้าของเราอีกครั้ง และแบรนด์ของเราจะยังคงครองใจลูกค้าได้ในระยะยาว

วันนี้ STEPS Academy จะมาอธิบายให้ทุกท่านเข้าใจถึงความสำคัญของการทำ Remarketing ในเฟสบุค และแนะนำกลยุทธ์ที่สามารถสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้น โดยที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในธุรกิจ รวมไปถึงเทคนิคการสร้างโฆษณา ที่สามารถดึงดูดลูกค้าให้กลับมาซื้อสินค้าและบริการอีกครั้งค่ะ

 

Remarketing คืออะไร ?

อันดับแรก เราขออธิบายให้ทุกท่านเข้าใจถึงความหมาย ความสำคัญของการใช้กลยุทธ์นี้ รวมไปถึงเหตุผลที่ทำไมธุรกิจของคุณจำเป็นต้องใช้วิธี Remarketing กันค่ะ

ในแวดวงการทำโฆษณาออนไลน์ นักการตลาดจะใช้เทคนิค Retargeting หรือ Remarketing เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้า

โดยปกติแล้ว เมื่อลูกค้าเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ หรือหน้าเพจที่คุณมีบนโซเชียลมีเดีย ระบบซอฟต์แวร์จะสร้าง Cookie หรือ Pixel* เพื่อส่งโฆษณาหรือรูปภาพที่ลูกค้าเคยเปิดทิ้งไว้ ไปให้ในรูปแบบแบนเนอร์บนเฟสบุคในภายหลัง

(*Cookie หรือ Web cookie คือไฟล์ขนาดเล็กที่จะอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบสมาร์ทโฟน โดยมีหน้าที่บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเว็บไซต์ ทำให้เจ้าของเว็บสามารถรวบรวมข้อมูลเอาไว้ในบราวเซอร์ เช่น การกรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิก การซื้อสินค้าและหยิบใส่ตะกร้าออนไลน์ เมื่อผู้ใช้ปิดหน้าต่างเว็บไปและกลับมาอีกครั้ง ข้อมูลที่เคยกรอกไว้ หรือสินค้าที่เคยหยิบใส่ไว้ในตะกร้าจะยังคงอยู่

ส่วน Pixel นั้นมาจาก Facebook Pixel ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ติดตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อดูพฤติกรรมการใช้งานว่ากลุ่มเป้าหมายสนใจสินค้าหรือบริการใดเป็นพิเศษ ซึ่งการติดตั้ง Pixel จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้นค่ะ )

 

ภาพจากด้านบนเป็นโฆษณาตัวอย่างจากฟิตเนสเทรนเนอร์ที่เสนอคอร์สออกกำลังกายเพียงแค่ 1 ดอลลาร์เท่านั้นในเดือนแรก ซึ่งทำให้ลูกค้ายากที่จะปฏิเสธและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
ภาพจากด้านบนเป็นโฆษณาตัวอย่างจากฟิตเนสเทรนเนอร์ที่เสนอคอร์สออกกำลังกายเพียงแค่ 1 ดอลลาร์เท่านั้นในเดือนแรก ซึ่งทำให้ลูกค้ายากที่จะปฏิเสธและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

ภาพจาก: https://www.digitalmarketer.com 

 

บางครั้งลูกค้าอาจจะเคยเห็นโฆษณาผ่านตาแบบไม่รู้ตัวกันมาบ้าง แต่การที่ลูกค้าได้เห็นสินค้า หรือโปรโมชั่นบ่อยขึ้น ก็มีแนวโน้มที่ลูกค้าจะให้ความสนใจและตัดสินใจซื้ออีกครั้งค่ะ

เทคนิคนี้มักเป็นที่นิยมของธุรกิจแบรนด์ใหญ่ ๆ ในการทำ e-commerce เพื่อให้ลูกค้าเห็นแคมเปญโฆษณาอีกครั้งหลังจากเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือเมื่อลูกค้าค้นหาชื่อแบรนด์ของคุณ

ทำไมเทคนิคการทำ Remarketing ถึงสำคัญต่อธุรกิจออนไลน์ ?

เรามาดูข้อพิสูจน์จากข้อมูลสถิติการชอปปิงสินค้าออนไลน์กันค่ะ

 

สถิติทางการตลาดในปี 2020

 

  • บริษัทโฆษณาดิจิทัลชื่อดังอย่าง Criteo ได้เปิดเผยว่า 70% ของผู้ที่เห็นโฆษณาจากการทำ Remarketing มีแนวโน้มที่จะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่ได้ใช้เทคนิคนี้
  • งานวิจัยจาก comScore และ Value Click Media ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดทั้งหมด 6 วิธี เพื่อค้นหากลยุทธ์ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งปรากฏว่าผลลัพทธ์การทำ Remarketing นั้น ทำให้ยอดผลการค้นหาชื่อของแบรนด์เพิ่มขึ้นถึง 1,046 %
  • ผลตอบรับในเชิงบวกจากลูกค้าที่สังเกตเห็นแบนเนอร์โฆษณาซ้ำหลายครั้งจะอยู่ที่ 30% โดยเฉลี่ย ในขณะที่ผลตอบรับในแง่ลบจากลูกค้า เมื่อเห็นโฆษณาจากแบรนด์มีแค่ 11% เท่านั้นค่ะ

 

การทำ Remarketing ในเฟสบุค มีข้อดีอีกอย่างคือ ผู้ประกอบการสามารถตีตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากถึงมากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดตามกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยการใช้โปรแกรมวัดผลที่ชื่อว่า Facebook Pixel เพื่อรวบรวมข้อมูล และติดตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ที่มาเยี่ยมชมหน้าเว็บเพจ ซึ่งข้อมูลที่ Facebook Pixel ดึงออกมาใช้ได้ในธุรกิจนั้น มีประโยชน์ดังนี้ค่ะ:

  • ระบบ จะส่งข้อความไปหาลูกค้า หรือผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเพจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งโฆษณาไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์จริงๆ
  • สามารถแนะนำสินค้าเพิ่มเติม หรือข้อเสนอพิเศษให้ลูกค้าได้เลือกสรร
  • ช่วยเพิ่มยอดขายทั้งแบบ Up-selling และ Cross-selling **

(** Up-Selling คือกลยุทธ์ที่ผู้ขายแนะนำสินค้าหรือบริการที่มีคุณสมบัติ และราคาที่เหนือกว่าสินค้าหรือบริการที่ลูกค้ากำลังเลือก

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณไปร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ดเพื่อสั่งอาหารชุด A เป็นเบอร์เกอร์เนื้อที่มาพร้อมกับเฟรนส์ฟรายและน้ำแก้วเล็ก พนักงานอาจจะเสนอว่า 

“อัพไซส์เฟรนส์ฟรายกับน้ำเพิ่มไหมคะ ขนาดจัมโบ้ เพิ่มเงินอีกแค่ 10 บาทค่ะ” 

การเสนอสินค้าในขณะที่ลูกค้ากำลังอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการซื้อหรืออยากชอปปิง ก็สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้ค่ะ 

Cross-Selling คือกลยุทธ์ที่ผู้ขายนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเกี่ยวข้องกันกับสินค้าหลัก ที่ลูกค้าได้ตัดสินใจเลือกไปแล้ว 

เช่นการที่คุณไปธนาคารเพื่อเปิดบัญชี และพนักงานถามว่า 

“ต้องการทำบัตรเอทีเอ็มไปด้วยเลยไหมคะ” หรือหลังจากนั้น คุณอาจได้ข้อรับข้อเสนอให้ทำบัตรเครดิตในวงเงินที่น่าพอใจไปด้วยเลยพร้อมๆกัน)

 

วิธีการทำ remarketing เพื่อสร้างโฆษณา

นอกจากนี้ ธุรกิจออนไลน์ควรทำ Remarketing นั่นก็เพราะ…

  • ผู้ประกอบการได้อัปเดตโฆษณาสินค้าและบริการล่าสุดให้แก่ลูกค้า
  • ผู้ประกอบการได้ลูกค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
  • มีโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้งเมื่อผู้ประกอบการกระตุ้นขายโดยการยิงโฆษณา

สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่แน่ใจว่า ช่องทางไหนในโลกโซเชียลมีเดียจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างธุรกิจ เราขอแนะนำให้คุณได้ลองการทำการตลาดผ่านเฟสบุคในช่วงเริ่มต้นค่ะ

เหตุผลที่เฟสบุคเป็นช่องทางสร้างธุรกิจที่ดีที่สุดนั้น มาจากผลสำรวจจากเว็บไซต์ eMarketer ซึ่งได้รายงานว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในธุรกิจออนไลน์ (ROI) ที่ประสบความสำเร็จนั้น มาจากการทำธุรกิจผ่านช่องทางดังนี้

  • เฟสบุค 95% และช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆที่รองลงมาคือ
  • ทวิตเตอร์ 63.5%
  • อินสตาแกรม 40.1%
  • สแนปแชท 2.1%

จากผลสำรวจนี้ อาจทำให้คุณมองเห็นแผนการตลาดได้ชัดขึ้นว่าเฟสบุคจะช่องทางการทำโฆษณาที่สามารถเพิ่มยอดขายได้ดีที่สุด

เมื่อผู้ประกอบการแน่ใจแล้วว่า เฟสบุคนี่ล่ะ จะเป็นช่องทางที่ใช่ในการทำ Remarketing เพื่อยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่สำคัญลำดับต่อมาคือ

การสร้างเป้าหมายให้ชัดเจนว่าคุณต้องการอะไรจากการทำ Remarketing ในครั้งนี้ 

เนื่องจากคุณต้องลงทุนและเสียค่าใช้จ่าย ดังนั้นการสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนจะกำหนดทิศทางการวางแผนการตลาด ให้เป็นไปตามขั้นตอน และสามารถลงมือทำตามกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ค่ะ

1. เพิ่มโอกาสการสร้างยอดขายโดยการลด Cart Abandonment 

ก่อนอื่นเลย เราจะมาอธิบายกันแบบสั้นๆอีกทีนะคะว่า Cart Abandonment คือการที่ลูกค้ายกเลิกการสั่งซื้อสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ก่อนชำระเงินและออกจากหน้าเว็บไป ด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ทำให้ธุรกิจเสีย conversion และรายได้ที่ควรจะได้รับ ซึ่งผู้ประกอบการคงปวดหัวกันไม่ใช่น้อยกับปัญหา Cart Abandonment  ใช่ไหมคะ

ผู้ประกอบการอาจสงสัยว่า แล้วอะไรล่ะที่เป็นเหตุผลในการยกเลิกการสั่งสินค้ากลางคัน?

วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ

คือสถิติผลสำรวจเกี่ยวกับเหตุผลที่ลูกค้าตัดสินใจยกเลิกการซื้อของออนไลน์กลางคัน จากสถาบัน Baymard Institute ในปี 2020 
คือสถิติผลสำรวจเกี่ยวกับเหตุผลที่ลูกค้าตัดสินใจยกเลิกการซื้อของออนไลน์กลางคัน จากสถาบัน Baymard Institute ในปี 2020

ภาพจาก: https://www.emarketer.com 

จากภาพด้านบน คือสถิติผลสำรวจเกี่ยวกับเหตุผลที่ลูกค้าตัดสินใจยกเลิกการซื้อของออนไลน์กลางคัน จากสถาบัน Baymard Institute ในปี 2020 ซึ่งเหตุผลหลักจากการยกเลิกการชอปปิงออนไลน์นั้นมาจาก

  1. ราคาขนส่งแพงเกินไป 50%
  2. ลูกค้าไม่อยากสมัครสมาชิกออนไลน์ 28%
  3. ใช้เวลาสมัครหรือชำระเงินนานเกินไป หรือระบบชอปปิงออนไลน์มีความซับซ้อน  21%

นอกจากเหตุผลเหล่านี้ยังมีรายงานจาก Baymard อีกว่า สถิติการซื้อสินค้าที่ถูกยกเลิกแบบกลางคันบนหน้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น 80 % ในปี 2020

ไม่ว่าเหตุผลของการตัดสินใจยกเลิกการสั่งสินค้าจะเป็นอะไรก็ตาม อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ เพราะยังไม่สายเกินไปที่ผู้ประกอบการจะวางกลยุทธ์ในการทำ Remarketing ผ่านช่องทางเฟสบุค เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าอีกครั้ง และเป็นการย้ำให้ลูกค้านึกถึงแบรนด์ของเราขึ้นมา ทำให้โอกาสในการขายสินค้ามีเพิ่มสูงขึ้นค่ะ

บางครั้ง การทำ Remarketig ผู้ประกอบการอาจยื่นข้อเสนอพิเศษ ด้วยการสร้าง ***Event Tracking เพื่อใช้ติดตามผู้ที่มาเข้าชมหน้าเว็บไซต์ของเรา เพื่อวิเเคราะห์ว่าผู้ใช้มีความสนใจในสินค้าประเภทไหนบ้าง หรือติดตามดูพฤติกรรมอื่นๆ

(*** Event Tracking คือการนำ code มาติดตั้งในเว็บไซต์ของเราเพื่อเกาะติดพฤติกรรมของลูกค้า เมื่อเข้ามาบนหน้าเว็บไซต์ 

ตัวอย่างเช่น ลูกค้าที่เข้ามาหน้าเว็บไซต์อาจจะคลิกเข้าไปดูหน้าเฟสบุคเพิ่มเติม การคลิกดูวีดีโอในเว็บไซต์ การคลิกติดตามข่าวสาร (subscribe) เป็นต้น 

ดังนั้น ลูกค้าที่เคยชอปปิงออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของเรา แต่ยังไม่ได้ชำระเงินและออกจากหน้าเว็บไซต์ไปเสียก่อน มีโอกาสที่จะเห็นโฆษณาเพื่อย้ำเตือนอีกครั้ง ทำให้ลูกค้าเกิดความลังเลในการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งบางครั้ง ผู้ประการอาจมีเทคนิคอื่น ๆ เพื่อโน้มน้าวใจให้ลูกค้าเกิดความรู้สึก อยากชอปปิงมากขึ้น เช่น การลดราคาสินค้าจากเดิมอีก 10% หรือบริการส่งฟรีทั่วประเทศ เมื่อสั่งสินค้าครบ 1,000 บาท เป็นต้น)

 

หนึ่งในกลยุทธ์การโฆษณาเพื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจ คือบริการส่งสินค้าฟรีเมื่อซื้อสินค้าครบตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้
หนึ่งในกลยุทธ์การโฆษณาเพื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจ คือบริการส่งสินค้าฟรีเมื่อซื้อสินค้าครบตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้

ภาพจาก: https://www.digitalmarketer.com

หากอยากเขียน Headline โฆษณาให้น่าสนใจและสร้างสรรค์ลองอ่าน: เขียน Headline บน Facebook Ads อย่างไรให้โดนใจลูกค้า

2. ช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ด้วยวิธี Remarketing

 

การทำ Remarketing ไม่ได้เจาะจงเพียงแค่กลุ่มลูกค้าที่ยกเลิกกการซื้อสินค้ากลางคันบนหน้าเว็บไซต์เท่านั้น แต่กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาลองดูสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ แต่ยังไม่ได้เลือกซื้อสินค้าใด ๆ ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเช่นกัน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายนี้ มีความสนใจในตัวสินค้า และมีแนวโน้มว่าจะตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต

หนึ่งในเหตุผลที่ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจซื้อ นั่นเป็นเพราะลูกค้าอาจกำลังเปรียบเทียบราคาและคุณภาพระหว่างสินค้าในหน้าเว็บไซต์ของเรา และหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ ซึ่งการใช้วิธี Remarketing อาจทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้ในที่สุด  เนื่องจาก Facebook จะแสดงโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าที่ลูกค้าเคยเข้ามาดูที่หน้าเว็บไซต์ เมื่อลูกค้าเห็นโฆษณาซ้ำอีก ก็อาจจะเป็นการตอกย้ำลูกค้าอีกครั้งให้ตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์เราค่ะ

นอกจากนี้ อีกหนึ่งในกลุยทธ์ทางการตลาดที่นิยมใช้คือการทำ Link Retargeting ซึ่งโฆษณาจะถูกยิงไปยังผู้เล่น Facebook ที่เคยคลิกเข้ามาดูสินค้าในช่องทางโซเชียลมีเดียอื่น ๆ หรือลิงก์ URL อื่น ๆ ของเรา

 

3. ยื่นข้อเสนอพิเศษ เพื่อกระตุ้นการขายสินค้า

 

ในบางครั้งการยื่นข้อเสนอให้แก่ลูกค้า ภายในระยะเวลาที่จำกัด อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า เราจะพลาดโอกาสนี้ไปไม่ได้ และตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เช่น

  • ลดราคาเครื่องเล่นเกม Nintendo 30% เฉพาะวันนี้เท่านั้น
  • การทดลองใช้โปแกรมตัดต่อวิดีโอฟรี 7 วัน เป็นต้น
ตัวอย่างการโฆษณาสินค้าจาก MOO เพื่อเสนอโปรโมชั่นลดราคา 25 %
ตัวอย่างการโฆษณาสินค้าจาก MOO เพื่อเสนอโปรโมชั่นลดราคา 25 %

ภาพจาก: https://www.softwareadvice.com

4. ตามติดพฤติกรรมการบริโภคสินค้า

 

วิธีการตั้งค่า facebook pixel

 

ผู้ประกอบการสามารถติดตามพฤติกรรมการบริโภคสินค้าได้จากการใช้ Facebook Pixel ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ติดตั้งใน Facebook เมื่อลูกค้าเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์เพื่อซื้อสินค้าบางอย่าง หรือ เพียงแค่เปิดหน้าเว็บไซต์นั้นเพื่อเข้าไปดูเล่น ๆ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อ ระบบก็จะทำการติดตามพฤติกรรมของลูกค้าในทันที ซึ่งระบบจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่า ลูกค้าแต่ละคนนั้น มีความสนใจสินค้าตัวไหนบ้างเป็นพิเศษ หรือกำลังมองหาสินค้าประเภทใดอยู่

 

ภาพจากด้านบน เป็นเมนูสำหรับติดตั้งระบบ Behaviors ที่ผู้ประกอบการสามารถตั้งค่าเพื่อให้ระบบติดตามพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า
ภาพจากด้านบน เป็นเมนูสำหรับติดตั้งระบบ Behaviors ที่ผู้ประกอบการสามารถตั้งค่าเพื่อให้ระบบติดตามพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า

ภาพจาก: https://www.bigcommerce.com

ลำดับต่อไป จะเป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งข้อความแบบเฉพาะเจาะจงไปยังลูกค้า

เพื่อนำเสนอสินค้าและโปรโมชั่นพิเศษค่ะโดย มุ่งเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์

เครื่องมือ  Custom Audience ใน Facebook ออกแบบมาเพื่อสร้างโฆษณาให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีความสนใจในตัวสินค้าหรือตัวแบรนด์
  • ผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์
  • ผู้ที่มีแอปพลิเคชันของแบรนด์ในสมาร์ทโฟน

ลองอ่าน >> วิธีการใช้เครื่องมือ Custom Audience เพื่อหากลุ่มเป้าหมายเพิ่มให้ตรงจุด

จากกลุ่มเป้าหมายที่กล่าวมาข้างต้น จะต้องใช้กลยุทธ์แตกต่างกันออกไปตามโอกาส และความเหมาะสม ซึ่งเราสามารถทำการ Remarketing ได้โดยใช้กลยุทธ์ดังนี้ค่ะ

  • รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบัน

กลุ่มลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ไปแล้ว คือจุดเริ่มต้นที่ดีในการเริ่มทำ Remarketing เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงว่า ลูกค้าอาจจะกลับมาซื้อสินค้าซ้ำอีก

ลูกค้าที่มีเข้ามาซื้อสินค้าซ้ำนั้น มักจะเข้ามาดูสินค้าในเว็บไซต์บ่อยมากถึง 5 ครั้ง ซึ่งพฤติกรรมนี้ ผู้ประกอบการ สามารถยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ได้ใน Facebook ค่ะ

เรามาดูตัวอย่างจากโฆษณาจาก Airbnb กันค่ะ

Airbnb ใช้วิธีโฆษณาสินค้าที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ยัดเยียดจนเกินไป และจูงใจให้ลูกค้าคลิก Book Now เพื่อจองห้องด้วยการใช้ภาพที่ให้ความรู้สึกสบาย บรรยากาศชวนให้พักผ่อน โดยวิธีการนำเสนอลูกค้าด้วยการใช้ธีมสบายๆ ไม่เน้นการขายจนเกินไปแบบนี้ เหมาะกับการโฆษณาลูกค้าปัจจุบันที่เคยซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ไปแล้วค่ะ

 

การนำเสนอโฆษณาที่ไม่ยัดเยียดจนเกินไปให้แก่ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าจากแบรนด์ไปแล้ว
การนำเสนอโฆษณาที่ไม่ยัดเยียดจนเกินไปให้แก่ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าจากแบรนด์ไปแล้ว

 

ภาพจาก: https://www.bigcommerce.com

นอกจากนี้ การยื่นข้อเสนอด้วยการลดราคาพิเศษในช่วงวันหยุด หรือการเขียนคำบรรยายเพื่อเสนอสินค้าดี ๆ เพื่อจูงใจลูกค้า สามารถสร้างโน้มนาวให้ลูกค้า คลิก เพื่อเข้ามาทำการจองได้ค่ะ

 

  •  ตามติดลูกค้าจากการตั้งค่า “ Website Traffic ”

เมื่อผู้ประกอบการเริ่มทำ Ramarketing แล้วส่วนที่สำคัญอีกประการคือ เมนู Website Traffic ซึ่งเมนูนี้จะอยู่ในเมนูตั้งค่า Customer Audience ในระบบ Facebook Pixel

เมนู Website Traffic จะมีหน้าที่คอยติดตามผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ทั้งกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาดูสินค้าแล้วออกจากหน้าเว็บไซต์ไป และกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาแค่หน้าเว็บไซต์หน้าแรกเพียงอย่างเดียว

 

เมนู Website Traffic จะมีหน้าที่คอยติดตามผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์
เมนู Website Traffic จะมีหน้าที่คอยติดตามผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต

ภาพจาก: https://www.bigcommerce.com

จากภาพด้านบน จะแสดงให้เห็นเมนูการสร้าง Audience เมื่อคลิกไปที่เมนู Website Traffic แล้วจะสามารถเลือกได้ว่า คุณต้องการตามติด User หรือ ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ประเภทใดบ้าง โดยมี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. Anyone who visits your website (ทุกคนที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์)
  2. People who visit specific web pages (คนที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์บางหน้า)
  3. People visiting specific web pages but not others (คนที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์บางหน้า แต่ยังไม่ได้เข้าไปที่หน้าอื่น)
  4. People who haven’t visited in a certain amount of time (คนที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์และไม่ได้เข้ามาอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง)

ผู้ประกอบการสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ทั้ง 4 ประเภท โดยเลือกได้จากเมนูด้านล่างสุดที่เรียกว่า

Custom Combination

ข้อดีจากการตั้งค่า Website Traffic คือ สามารถช่วยให้ Click-Through Rate (CTR)  หรือ อัตราการคลิกผ่านโฆษณาจากการทำ Remarketing สูงขึ้นถึง 10 เท่า เมื่อเทียบจากโฆษณาทั่วไปค่ะ

 

  • ใช้ประโยชน์จาก App Activity

การตั้งค่า App Activity ในเมนูการสร้าง Custom Audience สามารถตามติดพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่มีแอพพลิเคชั่นของคุณ และใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนระบบ iOS หรือ Android ได้ค่ะ

 

การตั้งค่าเพื่อติดตามลูกค้าบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก: https://www.bigcommerce.com/

จากภาพด้านบน เมื่อคลิกเมนู App Activity แล้ว ระบบจากทำการติดตามลูกค้าที่มีแอปของคุณในสมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการประเภท iOS และ Android ทันที ซึ่งผู้ประกอบการสามารถตั้งค่าเลือกระยะเวลาในการติดตามเพื่อยิงโฆษณาไปยังลูกค้าได้เช่น ภายในเวลา 7 หรือ 30 วัน

นอกจากนี้ คุณสามารถอ่าน Do & Don’t สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มทำ Facebook Ad เพื่อนำไอเดียไปปรับใช้กันได้เลยค่ะ

4 เทคนิคในการสร้างยอดขายจากการทำ Remarketing

ใน Facebook

  1. ทำ Remarketing ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ
สร้างโฆษณาที่ตอบโจทย์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยการใส่รายละเอียดในเมนู Detailed Targeting 
สร้างโฆษณาที่ตอบโจทย์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยการใส่รายละเอียดในเมนู Detailed Targeting

ภาพจาก: https://www.bigcommerce.com

เรามาดูการตั้งค่าในระบบกันค่ะ เมื่อเราเข้าไปที่เมนู Detailed Targeting เราสามารถเลือกเมนู Interests เพื่อตั้งค่าหากลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงได้ โดยที่เน้นไปที่ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เช่น แบรนด์ของเรามีกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเกี่ยวกับกีฬาประเภทบาสเก็ตบอลและวอลเล่ย์บอล

ในการตั้งค่า ผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ว่า ระบบจะติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ชอบกีฬาทั้งสองอย่าง หรือชอบกีฬาประเภทใดประเภทหนึ่งก็ได้

  1. ตั้งเป้าหมายไปที่คนที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าจริงๆ

ผู้ประกอบการสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะยิงโฆษณาได้จากการตั้งค่าในเมนู Custom Audience เพื่อค้นหาผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้า Blog Post หรือเข้ามาดูราคาสินค้าของแบรนด์ โดยสามารถเลือกการตั้งค่าในระบบได้ดังนี้

  • ติดตามคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้า Blog Post มากกว่าหนึ่งหน้า
  • ติดตามคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้า Blog Post และหน้าเว็บไซต์หน้าแรกที่คลิกเข้ามา

การทำ Remarketing เพื่อเจาะจงหากลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มสูงว่าจะเป็นลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการแบบนี้ สามารถสร้างยอดขายให้กับแบรนด์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ

  1. ค้นหากลุ่มลูกค้าที่อาจมีความสนใจด้วย Facebook’s Lookalike Audiences 

 

วิธรการตั้งค่าในการทำ remarketing

ภาพจาก: https://adespresso.com

การขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น เป็นโอกาสที่ดีที่แบรนด์อาจได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น บวกกับยอดขายที่ตามมา ซึ่งวิธีการทำ Lookalike Audience จะเป็นขั้นตอนที่ต่อจากการสร้าง Custom Audience แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้จะมาจาก ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น

  • กลุ่มคนที่มาจาก Facebook ที่เข้ามาแวะชมหน้าเพจยังไม่เคยซื้อสินค้าหรือบริการ
  • กลุ่มคนที่เคยเข้ามาอ่านบทความใน Facebook ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า บทความที่เข้ามาอ่านนั้นมีความน่าสนใจและอาจจะสนใจในแบรนด์ของงคุณอยู่

 

  1. ใช้ “เวลา” เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจ
การสร้างโฆษณาด้วยการใช้เวลามาเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกให้รีบตัดสินใจซื้อ
การสร้างโฆษณาด้วยการใช้เวลามาเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกให้รีบตัดสินใจซื้อ

ภาพจาก: https://www.socialmediaexaminer.com 

เทคนิคกการทำ Remarketing ให้สำเร็จอีกประการ คือการสร้างข้อความให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกอยากตัดสินใจซื้อ โดยใช้เวลาเป็นตัวเสนอขายเพื่อให้เกิดความรู้สึก เร่งด่วน  เช่น

  •  “พิเศษสำหรับ 5 ท่านแรกเท่านั้นที่สมัครเข้ามา….”
  • “โปรดี ๆ วันนี้เท่านั้น”
  • “FLASH SALES!”

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับคำแนะนำและเทคนิคต่าง ๆ ในการทำ Marketing บนช่องทาง Facebook

 

ข้อมูลจาก :

https://www.softwareadvice.com

https://www.emarketer.com

https://baymard.com/lists/cart-abandonment-rate

https://www.bigcommerce.com

 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

เปิดข้อมูลสถิติ Instagram ในปี 2020 ที่คุณควรรู้
5 ประเภท #Hashtag ทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียให้ปัง