หลายคนมักพูดว่า ข้อมูลในมือก็คือขุมทรัพย์ เนื่องจากทำให้เรารู้ว่าลูกค้าของเราเป็นใคร ต้องการอะไร หรือเรามีอุปสรรคอะไรที่ต้องปรับแก้ ซึ่งข้อมูลที่แต่ละธุรกิจมีนั้นมีจำนวนมาก มาจากหลายช่องทาง แต่ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการทำการตลาดควรเลือกมาจากช่องทางที่ถูกต้อง และ ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละแคมเปญ โดยนอกจากจะช่วยให้แบรนด์สามารถปรับปรุงแคมเปญการตลาดได้ในอนาคตแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนา SEO บนเว็บไซต์ได้อีกด้วย สำหรับในวันนี้ STEPS Academy จะมาแนะนำการเลือกดูข้อมูลจากช่องทาง Google Analytics 4 (GA4) ผ่าน 4 ไอเดียตัวอย่างในการทำรายงานผ่าน Google Analytics 4 กันค่ะ
ทำความรู้จักกับ Google Analytics 4
Google Analytics 4 คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับการดูข้อมูลหลังบ้าน หรือ ข้อมูลบนเว็บไซต์ของแบรนด์ทำให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์เชิงลึกในด้านต่าง ๆ สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ คอนเทนต์ แคมเปญ หรือ Landing Page หน้าใดหน้าหนึ่ง โดยข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำไปทำเป็นรายงานให้ตอบโจทย์กับจุดประสงค์ทางการตลาดได้ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทำให้นักการตลาดสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น และ แม่นยำขึ้นค่ะ
ทำไมการทำ Report จาก Google Analytics 4 ถึงให้ประโยชน์กับธุรกิจ
- Google Analytics 4 สามารถเลือกดูข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราได้หลากหลายประเภท เพื่อทำ Report ได้ตามจุดประสงค์ โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าเลือกตัวชี้วัด หรือ Metrics เพื่อดูข้อมูลที่จำเป็น และ เลือกช่วงเวลาที่ต้องการจะเจาะดูข้อมูลได้
- ทำความเข้าใจด้านพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการ และ ความสนใจเมื่อเข้ามาใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ โดยมีตัวชี้วัดที่เรียกว่า Event เป็นตัวกำหนดการเก็บ Data เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
- สามารถเลือกดูข้อมูลได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการ รวมทั้งข้อมูลแบบ Real-Time
- การทำ Report จาก GA4 สามารถวิเคราะห์ และ ช่วยพัฒนา SEO ได้ด้วยการเลือก Metrics ที่เหมาะสม โดยนักการตลาดสามารถใช้ใช้ Metrics เหล่านี้ เช่น
- จำนวนคนที่เข้ามาบนหน้า Landing Page
- ระยะเวลาที่คนใช้บนหน้าเว็บไซต์
- คอนเทนต์ประเภทไหนที่มีคนสนใจ และ คลิกต่อไปยังหน้า Landing Page
- กลุ่มเป้าหมายใช้อุปกรณ์อะไรในการเข้ามายังเว็บไซต์
นอกจากนี้ STEPS Academy ขอแนะนำ STEPS GA4 Services บริการที่พร้อมช่วยให้ท่านก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้อย่างราบรื่น ผนวกกับการสร้างผลลัพธ์ของการได้ผลลัพธ์จาก Data ที่แม่นยำขึ้น และ ออกแบบรายงาน ( Report ) ของ Google Anlytics4 ( GA4 ) ได้ตรงเป้าหมายของธุรกิจคุณมากขึ้น Google Analytics 4 Services
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: บริการ Google Analytics 4 ให้คำปรึกษา รับติดตั้ง สอนการใช้งาน และจัดฝึกอบรม GA4
4 ไอเดียตัวอย่าง Report จาก Google Analytics 4
ในหน้ารายงานของ Google Analytics จะมีฟังก์ชันให้ใช้งานเยอะมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักการตลาดว่าต้องการดู Data ในส่วนไหน หากคุณยังไม่มีไอเดียสำหรับการทำรายงาน เรามาดู 4 ตัวอย่างการทำรายงานที่น่าสนใจ และ ตัวชี้วัดหลักๆ สำหรับการทำ Report จาก GA4 กันค่ะ
1) Acquisition Report
นักการตลาดดิจิทัลมักใช้เวลาไปกับการวิเคราะห์ Data เกี่ยวกับ Traffic บนเว็บไซต์ และ ช่องทางที่ลูกค้านิยมคลิกเข้ามาเมื่อสนใจแคมเปญ ซึ่งเมนู Acquisition สามารถสร้างรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางที่คนคลิกเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง อีเมล, Meta, Google, หรือช่องทางที่ผู้อื่นอ้างอิงเป็น Referral เพื่อยกเครดิตให้กับเว็บไซต์ต้นทาง
นอกจากนี้ หากเว็บไซต์ของเรามีบัญชี Google Adwords สำหรับการยิงโฆษณาก็สามารถเชื่อมต่อไปยัง GA4 เพื่อดูข้อมูลได้เช่นกัน โดยตัวอย่างรายงาน Acquisition จะมี 3 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกันคือ
1 Acquisition Overview
คือรายงานที่แสดงผลโดยรวมเกี่ยวกับช่องทางที่ลูกค้าเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเราสามารถตั้งค่าเพื่อดู Data ย้อนหลังได้ หรือกดดู Data แบบ Real-Time นอกจากนี้รายงานยังสามารถบอกได้ด้วยว่าผู้เข้ามายังหน้าเว็บไซต์เป็นผู้ใช้งานใหม่ หรือผู้ใช้งานที่เคยเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ก่อนหน้านี้
2 User Acquisition
คือรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานใหม่ที่เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน ทั้งนี้เราสามารถปรับแต่งรายงานโดยเลือก Metrics ที่เราต้องการ หรือเลือกรูปแบบกราฟที่ต้องการใช้ ทั้งนี้ User acquisition สามารถช่วยตอบคำถามได้ในมุมของตัว User เช่น
- User ใหม่มาจากช่องทางไหน
- User ใหม่เข้ามายังหน้าไหนของเว็บไซต์มากที่สุด
- สามารถเปรียบเทียบช่องทางที่มี Traffic มากที่สุด
3 Traffic Acquisition
รายงาน Traffic acquisition สามารถช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์เกี่ยวกับ User ใหม่ และ User ที่กลับเข้ามาหน้าเว็บไซต์นั้นมาจากช่องทางใดบ้าง หากนักการตลาดต้องการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างแคมเปญ ก็สามารถทำได้เพื่อดูว่า User สนใจแคมเปญไหนมากกว่ากัน
2) Engagement
Engagement คือการกระทำ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานทำบนหน้าเว็บไซต์ ตามแต่ความสนใจของคนนั้น ๆ เช่น การเข้ามาดูรายละเอียดสินค้า และ ราคา การอ่านบทความ การกดลงทะเบียน การดูวิดีโอบนเว็บไซต์ หรือการใช้เวลาเพียงแค่อ่านเนื้อหาเพียงหน้าเดียว โดย Engagement จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ
1 Overview
ในหน้า Overview จะมีข้อมูลรายงานทั่วไปที่เกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานทำบนเว็บไซต์ รวมทั้งระยะเวลาที่ผู้ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ในหน้าต่าง ๆ ทำให้เราวิเคราะห์ และเปรียบเทียบได้ว่า Landing Page หรือ แคมเปญไหนน่าสนใจมากกว่ากัน
2 Event
Event สามารถเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน นอกเหนือจากการดู Data ทีละหน้าว่ามีคนเข้ามาดูมากน้อยเพียงไหน โดยนักการตลาดจะต้องมีการติดตั้งในส่วนของ Event เพิ่มเติม
หากคุณต้องการลองติดตั้ง GA4 บนหน้าเว็บไซต์ และสนใจ การเก็บข้อมูลด้าน Event ทาง STEPS Academy มีบริการ GA4 Services ที่พร้อมช่วยให้ท่านก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้อย่างราบรื่น และ ออกแบบรายงาน ( Report ) ของ Google Anlytics4 ( GA4 ) ได้ตรงเป้าหมายของธุรกิจคุณมากขึ้น Google Analytics 4 Services
คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด: Google Analytics 4 (GA4) Service
3 Conversion
Conversion จะแสดง Data ที่เกี่ยวกับการกระทําบางอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแคมเปญ เช่น การลงทะเบียน การชำระเงิน การดาวน์โหลดข้อมูล และ อื่น ๆ ซึ่ง Conversion สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Data ในแต่ละ Conversion ได้ว่ามีจำนวนผู้ใช้งานจำนวนกี่คน และ มียอดขายจำนวนเท่าไหร่
4 Page and Screen
เป็นรายงานที่แสดงถึง Performance ในหน้า Page ต่าง ๆ บนเว็บไซต์โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ ที่เราสามารถดึงมาทำรายงานได้ อาทิ
- View จำนวนครั้งที่มีคนเข้ามาในหน้าเพจ 1 หน้า
- Users จำนวนผู้ใช้งานที่เข้ามาในหน้าเพจ 1 หน้า
- Average Engagement Time เวลาที่ผู้ใช้งานเข้ามาบนหน้าเพจต่อ 1 หน้า
- Total Revenue รายได้โดยรวมในเพจ 1 หน้า
5 Website
ในส่วนรายงาน Website เป็นรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เข้าเยี่ยมชมบนเว็บไซต์ นอกจากนี้รายงานนี้ยังสามารถแยกช่องทางที่ User คลิกเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ เช่น การคลิกผ่านการคำค้นหาแบบ Organic ช่องทางอีเมล ช่องทางโฆษณา หรือการเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์โดยตรง
3) Monetization
ในส่วนของ Monetization จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของเราบนเว็บไซต์ว่าที่ผ่านมามียอดขายเท่าไหร่ หรือ ยอดขายโดยเฉลี่ยนต่อลูกค้า 1 ท่าน นอกจจกานี้ Monetization จะวิเคราะห์ Data ให้เราได้ว่าสินค้า และ บริการชิ้นไหนที่ขายดี โดยมีทั้งหมด 4 เมนูหลัก ๆ ด้วยกันคือ
1 Overview
เป็นรายงานทั่วไปที่แสดงถึงยอดขายโดยรวมบนเว็บไซต์จากช่องทางต่าง ๆ
2 Ecommerce purchase
เป็นเมนูรายงานที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ เพื่อดูรายละเอียดการขาย และ สินค้าที่มีคนเข้ามาดู รวมทั้งสินค้าที่คนนิยมกด Save ไว้ หรือเก็บลงตะกร้า และจำนวนสินค้าที่ขายได้ ทำให้นักการตลาดประเมินได้ว่ายอดขายสินค้าชิ้นนั้น ๆ เป็นอย่างไร
3 In-App purchase
ในกรณีที่แบรนด์ทีแอปพลิเคชัน สามารถใช้รายงานนี้ เพื่อรายงานข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ผ่านแอปพลิเคชัน
4 Publisher Ads
เป็นการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ผ่านการยิงโฆษณา หรือ Google Adwords ว่ามียอดขายผ่านช่องทางนี้เท่าไหร่ในแต่ละแคมเปญ
4) Search Console
รายงานที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือ Search Console แบ่งออกเป็นสอง 2 รายงานย่อยที่สำคัญได้แก่
1 Queries
คือการดู Data ที่เกี่ยวกับคำค้นหาต่าง ๆ ทั่วไปบน Google Search จากตัวอย่างด้านบนเราจะเห็นว่าคำค้นหา หรือ Querie ในลิสต์ด้านซ้าย มี User เห็นจำนวนเท่าไหร่ หรือ ผู้สนใจคลิกเมื่อเห็นคำเหล่านี้มากน้อยเพียงไหน รวมทั้งยังสามารถบอกตำแหน่งของเว็บไซต์เมื่อมีคำค้นหาเหล่านี้ ทำให้เราทราบว่า อันดับคำค้นหาเหล่านี้ควรปรับปรุงคุณภาพของ SEO ให้ดีขึ้นหรือไม่
2 Google Organic Search Traffic
คือการวิเคราะห์ดู Data ที่เกี่ยวกับ Traffic ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ ซึ่งนักการตลาดสามารถวิเคราะห์หน้า Landing Page ที่ต้องการได้ และรู้ว่ามีคนมองเห็นคอนเทนต์ หรือบทความนั้น ๆ จำนวนเท่าไหร่ มียอดคลิกแบบ Organic (ไม่มีการยิงโฆษณา) จำนวนเท่าไหร่ หรือหน้า Landing Page นี้สร้างรายได้ให้เราหรือไม่ สำหรับเว็บที่เป็นร้านค้าขายสินค้า