Business Model Canvas คืออะไร และวางกลยุทธ์ธุรกิจอย่างไรให้ได้ผล

Business Model Canvas คืออะไร

ในการทำธุรกิจต้องมีสิ่งที่เรียกว่า โมเดลธุรกิจ เป็นสิ่งที่บอกเกี่ยวกับธุรกิจว่ากำลังดำเนินการอย่างไร รายได้มาจากช่องทางไหน รวมถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราโฟกัส และ พันธมิตรหรือ Partners ที่เราสามารถร่วมงานกันได้ หรืออยากเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจที่มีอยู่ทันโลกในยุคปัจจุบัน วันนี้ STEPS Academy มีเครื่องมือช่วยในการทำโมเดลธุรกิจที่เห็นภาพรวมได้ในกระดาษเพียงหน้าเดียว

Business Model Canvas คืออะไร ?

Business Model Canvas หรือ BMC ได้รับการพัฒนาโดย Alex Osterwalder และ Yves Pigneur เปิดตัวครั้งแรกในหนังสือ ‘Business Model Generation’

ซึ่ง BMC สามารถอธิบายแผนธุรกิจของเราได้ตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  • แบรนด์สามารถสร้างรายได้อย่างไร
  • แคมเปญที่จะวางแผนไว้ทำแล้วคุ้มค่าหรือไม่
  • กลุ่มลูกค้าคือใคร
  • แผนที่จะทำคืออะไร
  • ส่งมอบคุณค่าได้อย่างไร

 วิดีโออธิบายเกี่ยวกับ Business Model Canvas

“ดังนั้น นักการตลาด และ ผู้ประกอบการที่กำลังทำธุรกิจ สามารถคิด วิเคราะห์ และ วางแผนได้ด้วยการใช้แนวคิด BMC เพื่อให้เห็นส่วนประกอบเหล่านี้ได้ในกระดาษเพียงหน้าเดียว”

 

ทำไมถึงควรใช้ Business Model Canvas ในการวางกลยุทธ์ ?

จากงานวิจัยของทาง Strategyzer พบว่า ได้มีการนำ Business Model Canvas ไปใช้มากกว่า 5 ล้านรายทั่วโลก มีการนำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจใหม่สูงถึง 36% และสถิตใน Google Trend ยังมีการเติบโตของ Business Model Canvas ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจุดเด่นของ Business Model Canvas มีดังนี้ค่ะ

  • Business Model Canvas ทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและไม่มีข้อมูลที่ไม่จำเป็นในแผนภาพ เมื่อเทียบกับโมเดลธุรกิจแบบดั้งเดิม
  • สามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้นและช่วยกัน brainstorm เพื่อให้เกิดชุดความคิดใหม่ๆ ในการร่วมกันวางแผนกลยุทธ์
  • Business Model Canvas สามารถใช้ได้ตั้งแต่ Startup ที่พึ่งก่อตั้งไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ก็ใช้ BMC ตัวอย่างเช่น บริษัท 3M, Microsoft, Lego, Coca Cola ฯลฯ
  • Business Model Canvas ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ของธุรกิจไปในแนวทางเดียวกัน

 

business model canvas
ภาพจาก https://www.strategyzer.com/

 

Business Model Canvas ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

Business Model Canvas สามารถแบ่งออกเป็น 9 หัวข้อ ดังนี้

 

Business Model Canvas ประกอบด้วยอะไรบ้าง
  1. Customer Segments กลุ่มลูกค้าของเรา
  2. Value Propositions   คุณค่าที่ส่งมอบให้กับลูกค้า
  3. Channels ช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า
  4. Customer relationships ความสัมพันธ์กับลูกค้า
  5. Revenue Streams รายได้หลักของธุรกิจ
  6. Key Resources ทรัพยากรหลักของธุรกิจ
  7. Key Activities กิจกรรมหลักที่ช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ
  8. Key Partners พันธมิตรหรือหุ้นส่วนของเรา
  9. Cost Structure ต้นทุนในการทำธุรกิจทั้งหมด

 

เริ่มต้นการสร้าง Business Model Canvas

 

Business Model Canvas

 

1. Customer Segments

Customer Segments (CS) คือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราที่เราจะนำเสนอการบริการหรือสินค้าของเรา โดยการแบ่งกลุ่มลูกค้าต้องชัดเจน เช่น พื้นที่ที่อยู่อาศัยอยู่ประเทศ จังหวัดไหน อายุ เพศ พฤติกรรมความสนใจ ฯลฯ เพื่อการทำการตลาดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

 

2. Value Propositions

Value Propositions (VP) คือ คุณค่าที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า สินค้าหรือบริการของเราจะช่วยเข้าไปแก้ Paint Point ของลูกค้าได้อย่างไร

ตัวอย่างเช่น

  • ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการใหม่ คุณอาจใช้ไอเดียที่เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม
  • ถ้าเป็นสินค้าที่มีในตลาดอยู่แล้ว ควรโดดเด่นและมีคุณสมบัติใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคู่แข่ง
Value Propositions (VP) คือ คุณค่าที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า สินค้าหรือบริการของเราจะช่วยเข้าไปแก้ Paint Point ของลูกค้าได้อย่างไร

3. Channels

Channels (CH) คือ ช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า ซึ่งแบรนด์สามารถใช้เป็นพื้นที่ในการสื่อสาร นำเสนอสินค้า และ ติดต่อกับลูกค้าของเรา

Channels (CH) คือ ช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า ซึ่งแบรนด์สามารถใช้เป็นพื้นที่ในการสื่อสาร นำเสนอสินค้า และ ติดต่อกับลูกค้าของเรา โดยใช้ช่องทางต่างๆ ที่แบรนด์มี จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลูกค้ามองเห็นสินค้าหรือบริการของเรา ยิ่งไปกว่านั้นการใช้ช่องทางที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้านั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มเป้าหมายในช่วงวัย 23-29 เป็นวัยทำงาน ชอบดูวิดีโอสั้น การเลือกลงช่องทาง Instragram ด้วยรูปภาพที่ถ่ายออกมาสวยงานและวิดีโอสั้นจะช่วยให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้านั้นได้อีกด้วย ซึ่งช่องทางแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ช่องทางที่เป็นเจ้าของ : เว็บไซต์ของบริษัท , สื่อ social media อาทิ Facebook , Line OA และ Instagram เป็นต้น
  • ช่องทางพันธมิตร : เว็บไซต์ที่เป็นของพันธมิตร, สินค้าขายส่ง, การค้าปลีก อาทิ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ

 

4. Customer Relationships

Customer Relationships (CR) คือ ความสัมพันธ์ของเรากับลูกค้า นอกจากการทำสินค้าที่มีคุณภาพ การบริหารก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การที่เราสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งลูกค้าประจำหรือลูกค้าทั่วไป มีหลายวิธี อาทิ

  • ความช่วยเหลือส่วนบุคคล : 

การตอบลูกค้าผ่านทางอีเมล โทรศัพท์ และช่องทาง social media ผ่านการแชท

  • บริการอัตโนมัติ : 

การทำ chatbot รวบรวมปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ได้จากการคุยกับลูกค้า ให้ลูกค้าได้รับแนวทางการ

ช่วยเหลือ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการรอคิวและความรวดเร็วในการให้บริการ

  • การสร้างชุมชน :

การสร้างชุมชนหรือกลุ่ม ในช่องทาง Facebook เพื่อการพูดคุยและมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าคนสำคัญ

การสร้างชุมชนหรือกลุ่ม ในช่องทาง Facebook เพื่อการพูดคุยและมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าคนสำคัญ

5. Revenue Streams

Revenue Streams (RS) คือ รายได้หลักของธุรกิจ ในช่องนี้ เราต้องทราบว่ารายได้ของธุรกิจมาจากช่องทางไหนบ้าง อาทิ การขายสินค้า การสมัครสมาชิกแบบรายเดือน/รายปี และ การให้ยืมหรือเช่าสินค้าและบริการ เป็นต้น

6. Key Resources

Key Resources (KR) คือ ทรัพยากรหลักของธุรกิจ ในการดำเนินธุรกิจสำหรับสินค้า เราต้องใช้ วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ต้นทุน เป็นต้น

ภาพจาก https://medium.com/seed-digital
ภาพจาก https://medium.com/seed-digital

7. Key Activities

Key Activities (KA) คือ กิจกรรมหลักที่ช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ ควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าทั้ง การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและการสร้างรายได้ กิจกรรมหลักแบ่งได้ 3 ประเภท คือ

  • การผลิต : การออกแบบการผลิตและการส่งมอบสินค้า ในปริมาณมากและคุณภาพที่ดีกว่า
  • การแก้ปัญหา : ค้นหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาในสิ่งที่ลูกค้าต้องเผชิญ
  • แพลตฟอร์ม : การสร้างและบํารุงรักษาแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่น Microsoft มีระบบปฏิบัติการที่เชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น

 

8. Key Partners

Key Partners

Key Partners (KP) คือ พันธมิตรหรือหุ้นส่วนของเรา ในการดำเนินธุรกิจการมีพาร์ทเนอร์เป็นสิ่งสำคัญ ในเรื่องของการหาวัตถุดิบที่ดีและมีคุณภาพ การช่วยประชาสัมพันธ์ จะทำให้ธุรกิจของเรามีความน่าเชื่อถือ ประเภทของพันธมิตร แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ : ความร่วมมือระหว่างผู้ที่ไม่ใช่คู่แข่ง
  • ความร่วมมือ : การร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างคู่ค้าในสินค้าบางประเภท
  • การร่วมทุน : พันธมิตรที่ร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจใหม่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่
  • ผู้ซื้อ-ผู้จัดจำหน่าย : การหาวัตถุดิบที่ดีและมีคุณภาพสำหรับสินค้าและบริหารของเรา ที่มีความน่าเชื่อถือ

 

9. Cost Structure

Cost Structure (CS) คือ ต้นทุนในการทำธุรกิจทั้งหมด ในเรื่องของต้นทุนในการผลิต เพื่อช่วยในเรื่องของการลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ค่าเครื่องผลิต เครื่องจักร ค่าแรงงาน เป็นต้น เพื่อที่เราจะสามารถคำนวณกำไรในการตั้งราคาสินค้าและบริการของเราได้

Case Studies : APPLE COMPUTERS

Case Studies : APPLE COMPUTERS
ภาพจาก https://medium.com/seed-digital

 

 

 

สรุป

Business Model Canvas เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับธุรกิจ Startup ที่กำลังเริ่มวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ หรือแม้แต่บริษัทใหญ่ก็สามารถนำ Business Model Canvas ไปใช้ในการปรับปรุงหรือต่อยอดโมเดลธุรกิจแบบเก่าได้  หากนักการตลาดหรือบุคคลทั่วไปที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจที่อ่านบทความนี้จบแล้ว สนใจอยากนำไปเริ่มใช้กับธุรกิจในแบบฉบับของคุณเอง สามารถดาวน์โหลดเทมเพลตเพื่อนำไปใช้งาน ได้ที่ลิงค์นี้เลยครับ

อ้างอิงจาก

https://creately.com

https://medium.com/seed-digital

https://www.strategyzer.com/

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learning More

Recommended Topics

เทคนิคการทำ SEO ด้วยการใช้ Low Search Volume Keywords
10 เคล็ดลับในการออกแบบ Facebook Ads อย่างมืออาชีพ เพื่อเพิ่มยอด Conversion ที่นำไปสู่ยอดขาย