- 90% ของ Instagrammer ติดตามแบรนด์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มอย่างน้อย 1 แบรนด์
- 58% ของผู้ใช้งานบน Instagram สนใจสินค้าและบริการของแบรนด์มากขึ้นเมื่อเห็นโฆษณาผ่าน Stories
- แม้ว่า Reach จะเพิ่มขึ้นหลังจากที่โพสต์คอนเทนต์ลงบนอินสตาแกรม แต่รายได้หลัก 25% ของการโปรโมตสินค้าบนอินสตาแกรมมาจาก Stories
ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงสถิติส่วนหนึ่งที่นักการตลาดควรอัปเดตเพื่อนำไปต่อยอดการทำการตลาดผ่าน Instagram รวมทั้งการทำ Data Marketing เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์การทำโฆษณาของแบรนด์ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การยิงแอดผ่าน Instagram ไม่ใช่เพียงแค่การศึกษาข้อมูล และนำเสนอสินค้า และ บริการเพียงอย่างเดียว แล้วจะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้ แต่แบรนด์จะต้องดูภาพรวมในส่วนอื่น ๆ และวางแผนให้ดีก่อนที่จะยิงแอด ไม่เช่นนั้น การทำโฆษณาของคุณอาจสูญเปล่า ซึ่งในวันนี้ STEPS Academy จะพาคุณไปเจาะลึกกับ 10 ข้อผิดพลาดในการยิงแอดบน Instagram เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่วางไว้ และได้ยอด Conversion ที่จะนำไปสู่การรับรู้แบรนด์ การขาย และการกลับมาซื้อซ้ำในระยะยาวค่ะ
10 ข้อผิดพลาดในการยิงแอดบน Instagram และวิธีการแก้ไขเพื่อเพิ่มยอด Conversion
เราไปดูกันค่ะว่านักการตลาดส่วนใหญ่ที่ยิงแอด Instagram แล้วเกิดปัญหา หรือไม่ได้ผลลัพธ์ตรงตามเป้าหมายเกิดจากปัจจัยหลัก ๆ ในประเด็นใดบ้าง
1 ตั้งเป้าหมายไม่ชัดเจน
เบื้องต้นผู้ประกอบการ หรือนักการตลาดอยากทำโฆษณาบน Instagram เพื่อให้เป็นที่รู้จักในตลาด และขายสินค้าให้ได้ แต่เป้าหมายที่กว้างเกินไป หรือ การวางแผนที่ไม่มีระยะเวลา และ ผลลัพธ์ที่ชัดเจนอาจทำให้คุณเสียทั้งเงิน และ งบประมาณที่มากเกินไป
วิธีการแก้ไข
-
ตั้งเป้าหมายในระยะสั้น และ ระยะยาวให้ชัดเจน
-
กำหนดระยะเวลา และงบประมาณให้สอดคล้องกับช่วงเวลาในการยิงแอด โดยวิธีนี้ขึ้นอยู่กับ Budget ของแคมเปญเองได้เลย
-
เลือกเวลาในการยิงแอดให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
-
เลือก Location ในกานิงแอดเพื่อห้ได้ Reach ที่มีคุณภาพ
-
ตั้งเป้าหมายให้เป็นตัวเลข สามารถวัดผลได้ เพื่อนำไปปรับปรุงการทำการตลาดในอนาคต
2 กลุ่มเป้าหมายไม่เจาะจง ไม่ตรงกับแคมเปญ
การยิงแอดให้ได้ผล ไม่จำเป็นต้องทำโฆษณาแบบหว่าน หรือเพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์ แต่เราจะต้องเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มี Potential และ กำลังในการซื้อให้ตอบโจทย์
วิธีการแก้ไข
-
เลือก Custom Audiences จากคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์
-
เข้าใจ Customer Persona ของแบรนด์เพื่อหา Demographic และ Interest ให้ตอบโจทย์
ตัวอย่างด้านล่างเป็นการทำโฆษณาของแบรนด์ที่ขายสินค้าประเภท Plant Based ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่ทีกำลังซื้อในระดับ Premium มีกำลังซื้อสูง ดังนั้นเมื่อนักการตลาดจะต้องกำหนดการตั้งค่าที่ Custom Audience ก็อาจจะเลือกกลุ่มคนที่มีระดับรายได้ปานกลางขึ้นไป เจาะจงไปยัง Location ที่สามารถส่งของได้ถึงภายในเวลาที่เหมาะสม และเลือกหากลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบด้านการทำอาหาร หรือเจาะลึกอาหารประเภท Plant Based รักสุขภาพค่ะ
3 คอนเทนต์ไม่ได้สื่อสารไปยังผู้รับ
บางคอนเทนต์ใช้งบประมาณลงทุนสูง มีไอเดียสร้างสรรค์ แต่ Conversion กลับไม่เป็นไปตามที่คาดคิดไว้ ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น Keyword บนหัวข้อโฆษณา กราฟิก และวิดีโอไม่ได้ทำให้ผู้รับสารเข้าใจ ทำให้หมดความสนใจที่จะกดเข้ามาดูรายละเอียด ทำให้แบรนด์ของคุณมียอดขายที่น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
วิธีการแก้ไข
-
ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค และนำมาต่อยอด
-
ใช้กลยุทธ์โฆษณาผ่านกลุ่ม Influencer ที่ใช้สินค้าและบริการของแบรนด์จริง ๆ เพื่อโปรโมต
-
ร่วมทำการตลาดควบคู่กับ Partnership เพื่อหากลุ่มเป้าหมายที่มีความคล้ายกัน
จากภาพด้านบนจะเห็นว่า ความแตกต่างระหว่างการทำการตลาดผ่าน Influencer ในปี 2019 และ 2021 ในส่วนของ Instagram Stories และ Reels มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ผลสำรวจบน Instagram เผยว่า 71% ของผู้ใช้งานบน Instagram ติดตามเหล่าคนดัง และ Influencer ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็นโฆษณาของแบรนด์ที่มี Influencer โปรโมตย่อมมีมากขึ้น
4. คอนเทนต์ขาด Keyword:
ข้อผิดพลาดในประเด็นนี้จะคล้าย ๆ กับข้อที่ได้กล่าวไปข้างต้นก่อนหน้า กล่าวคือ การที่คอนเทนต์ หรือโฆษณาของเราขาด Keyword ในการสื่อสาร หรือมีหัวข้อที่กว้างเกินไป สื่อสารไม่ตรงจุด หรือกลุ่มเป้าหมายเห็นเพียงภาพโฆษณาแล้วไม่เข้าใจว่าคอนเทนต์นี้กำลังจะบอกอะไรกับผู้รับสาร ก็ทำให้กุล่เป้าหมายเลื่อนโฆษณาข้ามไป
วิธีการแก้ไข
-
เลือก Keyword ในการยิงแอด ให้ตรงกับเนื้อหาเพื่อเพิ่มความน่าสนใจโดยใช้ทั้ง Keyword สั้น ๆ ตรงตัว และ Long-Tail Keyword ผสมกันไป
-
ใช้ Google Sarach Console หรือ Keyword Planner ในการหา Keyword
โฆษณาจาก L’Oréal Paris เป็นตัวอย่างที่ดีในการยิงแอดบน Instagram เนื่องจากการนำเสนอที่รูปผลิตภัณฑ์แล้ว ยังมี Keyword ที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
-
การเลือก Keyword ให้ชัดเจนเพื่อให้เกิด Call to Action
5. โฆษณามีแค่คอนเทนต์รูปแบบเดียว
ถึงแม้ว่าคอนเทนต์ของแบรนด์จะน่าสนใจ ใช้รูปภาพสะดุดตา หรือลงทุนไปกับการทำวิดีโอคอนเทนต์เพื่อสร้าง Conversion แต่การนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบเดียวอาจไม่ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าบางกลุ่ม หรือยิงแอดในรูปแบบที่จำเจมากเกินไป
วิธีการแก้ไข
เลือกรูปแบบการทำโฆษณาให้หลากหลาย สร้างความแปลกใหม่ด้วยรูปแบบคอนเทนต์เหล่านี้บนไอจี
- โฆษณารูปแบบภาพเดี่ยว (Image Ads)
คอนเทนต์ภาพเดี่ยว เหมาะสำหรับการโปรโมตแคมเปญสินค้า และ บริการทั่วไป หรือเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสื่อสาร Keyword ที่ไม่มีความซับซ้อนมากเกินไป
- โฆษณาแบบวิดีโอ (Video Ads)
คอนเทนต์วิดีโอเหมาะกับคอนเทนต์ที่ต้องการสื่อสาร Keyword บางอย่างที่มีความซับซ้อน มีการบอกเล่าเรื่องราว Storytelling หรือ การสร้างอารมณ์ให้ผู้ชมถูกกระตุ้นให้รู้สึกอยากซื้อสินค้า และ บริการง่ายขึ้น
- โฆษณาบนสตอรี่ Stories (Ads)
คอนเทนต์สตอรี่เหมาะกับแคมเปญที่ต้องการปรับปรุง Engagement
- โฆษณาที่มีรูปภาพมากกว่า 1 ภาพในอัลบั้มเดียว (Carousel Ads)
คอนเทนต์ประเภทนี้เหมาะสำหรับการโปรโมตสินค้าและบริการที่อยู่ในเซ็ตเดียวกัน รูปแบบคล้าย ๆ กัน และ เหมาะกับแคมเปญที่ต้องการเน้นเพิ่มยอดขาย
- โฆษณาแบบ (Explore Ads)
โฆษณารูปแบบนี้จะปรากฏอยู่ในส่วนของฟีเจอร์ Explore คนที่เห็นแอดประเภทนี้จะเป็นกลุ่มคนที่สำรวจคอนเทนต์ใหม่ ๆ หากนักการตลาดต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ให้กับแคมเปญ และต้องการกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ควรใช้คอนเทนต์ประเภทนี้
- โฆษณาที่นำเสนอคอนเทนต์รูปแบบคอลเลคชั่น (Collection Ads)
คอนเทนต์รูปแบบนี้เหมาะกับการทำโฆษณาที่ลูกค้าสามารถคลิกซื้อสินค้าชิ้นนั้น ๆ ได้เลยโดยตรง
- โฆษณารูปแบบชอปปิง (Shopping Ads)
Shopping Ad มีลักษณะคล้ายกับ Collection Ad ตรงที่ลูกค้าสามารถกดดูสินค้าที่ต้องการและซื้อสินค้าได้เลย แต่จะต่างกันตรงที่ Shopping Ad นั้น ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องออกไปยังหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ ก็สามารถซื้อสินค้าได้
- Reels Ads
Reels เป็นโฆษณาแบบสั้น มีความยาวของวิดีโออยู่ที่ 15 วินาทีไปถึงจน 60 วินาที โดยผู้ใช้งานสามารถแชร์ Reels ลงไปใน Story ได้โดยจะอยู่บน Story เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยผู้ใช้งานท่านอื่นๆสามารถแชร์ Reels ลงใน Story ได้ด้วยเช่นกัน จึงสามารถเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้รับชมใหม่ๆได้ ฟิลเตอร์บน Instagram
6. คำนึงถึงผลลัพธ์ระยะสั้นเท่านั้น
การทำโฆษณาเพื่อเพิ่มยอดขายเพียงอย่างเดียว อาจได้ผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่การวางแผนให้ครอบคลุม และตั้งเป้าหมายในระยะยาว จะทำให้การยิงแอดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีการแก้ไข
-
วางแผนการตลาดให้ครอบคลุมทุก Marketing Funnel
7 ละเลยการเก็บข้อมูล
หลาย ๆ แบรนด์ยิงแอดไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่ลูกค้าตัวจริง ทำให้เสียเวลาในการหาฐานลูกค้า และเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งการทำการตลาดดิจิทัลในปัจจุบันหากมุ่งเน้นไปที่การเก็บ Data เพื่อนำมาวิเคราะห์หากลุ่มลูกค้าที่ใช่ และ นำผลลัพธ์มาปรับปรุงแคมเปญ จะทำให้แอดที่เราสร้างเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ตรงกับ Persona ของแบรนด์ได้มากขึ้น
วิธีการแก้ไข
-
วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และนำมาปรับปรุงการทำการตลาดด้วยเครื่องมือ Social Analytics ต่าง ๆ
เช่น Facebook Business Manager
Facebook Business Manager คือเครื่องมือที่ทาง Facebook สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่มีการทำการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook โดย Facebook Business Manager จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถจัดการการตลาดออนไลน์ ผ่าน Facebook ได้ครบจบในที่เดียว
8. รูปแบบการทำโฆษณาจำเจ:
ในบางครั้งรูปแบบแอดที่โปรโมตนั้นมีความจำเจ แทบไม่แตกต่างจากแคมเปญเดิม ๆ อาจทำให้กลุ่มเป้าหมายเริ่มหมดความสนใจและทำให้ Engagement ลดลง ซึ่งนักการตลาดควรหาทางแก้ไข เพื่อเพิ่มความหลากหลายและน่าสนใจลงไป
วิธีการแก้ไข
-
ทำ A/B Testing เพื่อปรับปรุงรูปแบบโฆษณา
ลองทำกราฟิก และเลือก Keyword ที่มีความแตกต่างกันมาสองรูปแบบ เพื่อทดสอบดูว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจ หรือมี Engagement และ ยอดคลิก กับคอนเทนต์ไหนมากกว่ากันเพื่อหารูปแบบที่ตอบโจทย์ในการยิงโฆษณามากขึ้น
-
ทดสอบการยิงแอดในช่วงวัน และเวลาที่ต่างกัน
เพื่อดูว่าช่วงเวลาไหนเหมาะสมที่สุดในการทำโฆษณา หรือหาช่วงเวลาที่คน Active มากที่สุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
9. ขาดความรู้ด้าน Data Privacy
ปัจจุบันสิทธิส่วนบุคคลทั้งในโลกความเป็นจริง และโลกออนไลน์มีความสำคัญมากเท่า ๆ กัน รวมทั้งการยิงแอดให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย และทำให้แคมเปญโฆษณาเราเป็น Brabd Safety ถือว่าสำคัญมาก ๆ ต่อการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ในโลกดิจิทัล ซึ่งหากนักการตลาดขาดความรู้ด้าน Data Privacy หรือนำเสนอเนื้อหาที่เป็นอันตราย หมิ่นเหม่ อาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านกฎหมายด้วยเช่นกัน
วิธีการแก้ไข
-
ศึกษาความรู้ และ อัปเดตเนื้อหาด้าน Data Privacy เพิ่มเติม
เช่น การศึกษากฎหมาย PDPA ( Personal Data Protection Act ) เป็น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยพ.ร.บ. นี้มีเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย ไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ และมีผลบังคับใช้ในภาคธุรกิจในวันที่ 1 มิถุนยน 2565 ซึ่ง PDPA มีผลบังคับใช้กับบุคคลธรรมดาทั่วไป และนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยด้ว
10. ไม่คำนึงถึง User Experience บน Landing Page
ข้อผิดพลาดประการสุดท้ายคือการทำการตลาดที่ไม่ได้ครอบคลุมทุกจุดการเดินทางของลูกค้า กล่าวคือ นักการตลาด หรือผู้ประกอบการอาจเน้นที่การยิงแอดบน Instagram เพื่อสร้างยอดขาย แต่ลืมคำนึงถึงความสวยงามของหน้าเว็บไซต์ รวมทั้งความเร็ว และ รูปแบบการใช้งาน เมื่อลูกค้ากดคลิกแอดเข้ามายังหน้า Landing Page ทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าอาจสะดุด และ ออกจากหน้าเว็บไปโดยที่ไม่ได้ซื้อสินค้า
วิธีการแก้ไข
-
ออกแบบกราฟิก และ Copywriting ให้ชัดเจนเพื่อให้เกิด Call to Action
จากภาพตัวอย่างเป็นหน้า Landing Page ที่ออกแบบทั้งกราฟิกให้โดดเด่น มีการวางข้อความให้ชัดเจน เข้าใจง่าย
สรุป
การยิงแอดบน Instagram ให้รอบคอบด้วยการคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับ Customer Persona และการออกแบบคอนเทนต์ให้หลากหลาย และการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงโฆษณาให้ดีขึ้นอยู่เสมอจะสามารถปิดช่องว่างของข้อผิดพลาดได้ดีขึ้น อีกทั้งการอัปเดตความสดใหม่ของข้อมูล การศึกษาความความรู้เพิ่มเติม และเลือกกราฟิกให้ตรงใจกับลูกค้าจะช่วยให้แคมเปญโฆษณาของเรามีโอกาสเพิ่มยอด Conversion ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว
ที่มา
Hootsuite
Business.instagram.com