เขียนคอนเทนต์ติดอันดับ ด้วยเทคนิคการใช้ Keyword Planner

วิธีการใช้ เครื่งอมือ Keyword Planner

 

การเขียนบทความ หรือการสร้างคอนเทนต์ใด ๆ ก็ตามให้ประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล ไม่ได้มีแค่เพียงการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน รวมถึงการใช้คำ หรือวลีเด็ด ๆ เพียงเท่านั้น แต่การเลือกใช้ คำที่ใช่  (Keyword) ที่มีแนวโน้มว่า ผู้ค้นหาบทความใน Google มักนิยมใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคอนเทนต์ และการทำ SEO ให้แก่เว็บไซต์คุณไปในตัว ซึ่งนักการตลาดทั้งหลาย สามารถใช้โปรแกรมค้นหา Keyword ที่ใช่ ให้เข้ามาเป็นตัวช่วยในการสร้างคอนเทนต์ และค้นหาคำที่ควรใช้ได้อย่างแม่นยำ และสามารถสร้างสรรค์งานเขียนได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

สำหรับวันนี้ผู้เขียนขอแนะนำ Google Keyword Planner เครื่องมือฟรีจาก Google ที่จะช่วยให้เราสามารถค้นหา Keyword ที่ใช่และสามารถนำไปปรับใช้กับการทำ SEO ค่ะ

 

Keyword Planner คืออะไร 

Keyword Planner คือ เครื่องมือที่ใช้เพื่อตรวจสอบคำค้นหา หรือ Keyword ว่าในแต่ละเดือน มีผู้ค้นหาจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ โดยการตรวจสอบคำเหล่านั้น มีส่วนช่วยให้เราทราบว่า Keyword นั้น ๆ ได้รับความยอดนิยมมากพอที่จะนำมาใช้เพื่อสร้างคอนเทนต์ หรือทำโฆษณาหรือไม่ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ทำการตลาดออนไลน์ด้วยเทคนิค SEO (Search Engine Optimization) เพื่อพัฒนาการจัดลำดับคอนเทนต์และเว็บไซต์ให้อยู่ในลำดับที่สูงขึ้น และ SEM (Search Engine Marketing)

 

วิธีใช้ Keyword Planner 

วิธีการสมัครบัญชีผู้ใช้เครื่องมือ Keyword Planner

1  อันดับแรกคุณจะต้องมี Google Account ก่อนซึ่งคุณสามารถใช้เป็นบัญชีส่วนตัว หรือบัญชีสำหรับธุรกิจก็ได้ จากนั้นเข้าไปที่ ลิงก์ Keyword Planner หรือค้นหาคำว่า Keyword Planner

2  คลิก Go to Keyword Planner ตามภาพด้านล่าง
Note: ในบางครั้งโปรแกรมอาจจะขอรหัสผ่านเพื่อยืนยันตน

วิธีการสมัครบัญชีผู้ใช้เครื่องมือ Keyword Planner

ภาพจาก https://ahrefs.com

 

3  ระบบจะถามคุณว่า “What’s your main advertising goal” แต่คุณยังไม่ต้องกดเลือกนะคะ ให้กดเลือกเมนูด้านล่างสุดที่เขียนว่า l “Experienced with Google Ads?”

 

กดเลือกเมนูด้านล่างสุดที่เขียนว่า “Experienced with Google Ads?”
ภาพจาก https://ahrefs.com
ตัวอย่างวิธีการสมัคร Google Keyword Planner
ภาพจาก https://ahrefs.com

4  จากภาพด้านล่าง เลือก “Create an account without a campaign” link เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้โดยไม่ต้องใช้ลิงก์สำหรับทำแคมเปญ​

 

เลือก “Create an account without a campaign” link เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้โดยไม่ต้องใช้ลิงก์สำหรับทำแคมเปญ​

ภาพจาก https://ahrefs.com

5  เลือก “Submit” ในหน้าถัดไป ซึ่ง Google ไม่ได้เก็บเงินค่าใช้บริการ

เลือก “Submit” ในหน้าถัดไป ซึ่ง Google ไม่ได้เก็บเงินค่าใช้บริการ

ภาพจาก https://ahrefs.com

 

การสมัครเป็นอันเสร็จสมบูรณ์!

จบขั้นตอนการสมัครการใช้บริการ Keyword Planner

ภาพจาก https://ahrefs.com

 

6  เมื่อคุณสามารถใช้งานได้แล้ว เข้าไปที่ปุ่ม Tools จากไอคอนรูปเครื่องมือ และเลือก “Switch to expert mode.”

 

กดลือกเมนู  “Tools” อีกครั้ง จากนั้นเราจะเห็นเมนู   Keyword Planner ใต้เมนู Planner

ภาพจาก https://ahrefs.com

7. กดลือกเมนู  “Tools” อีกครั้ง จากนั้นเราจะเห็นเมนู   Keyword Planner ใต้เมนู Planner ค่ะ

กดลือกเมนู “Tools” อีกครั้ง จากนั้นเราจะเห็นเมนู Keyword Planner ใต้เมนู Planner ค่ะ

ภาพจาก https://ahrefs.com

 

วิธีการใช้งาน Keyword Planner 

ก่อนเริ่มใช้งานจริง Google Keyword Planner จะมีวิธีการหา Keyword 2 แบบคือ

  • Discover New Keywords

คือการหา Keyword ที่คนทั่วไปในช่วงเวลานั้นสนใจมากน้อยเท่าไหร่  ซึ่งสามารถใส่คีย์เวิร์ดได้สูงสุดถึง 10 คำ

  • Search Volume and Forecasts:

Search Volume คือการทราบจำนวนการค้นหาของ Keyword ในแต่ละเดือนอยู่ที่เท่าไหร่

เราลองเจาะลึกลงไปกับวิธีการใช้งานทั้ง 2 แบบกันค่ะ ว่ามีรายละเอียด และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

วิธีการหา Keyword ทั้งสองประเภท

1. Discover New Keywords

เมื่อคุณเข้ามาที่หน้า Keyword Planner แล้วให้เลือก Discover New Keywords จากนั้นคุณจะเห็นกล่องข้อความตามภาพด้านล่าง ซึ่งสามารถใส่ Keyword ที่ต้องการค้นหาลงไป และสามารถใส่ Keyword ได้สูงสุด 10 คำเพื่อเปรียบยอดจำนวนการค้นหาในแต่ละเดือน

มื่อคุณเข้ามาที่หน้า Keyword Planner แล้วให้เลือก Discover New Keywords จากนั้นคุณจะเห็นกล่องข้อความตามภาพด้านล่าง ซึ่งสามารถใส่ Keyword ที่ต้องการค้นหาลงไป

คุณสามารถเลือกใช้คำที่เป็นคำ ๆ เดียว วลี หรือ ลิงก์ URL ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณก็ได้

Discover New Keywords
ภาพจาก https://ahrefs.com

เมื่อเราคลิก Get Result แล้วคำที่คุณค้นหา รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องก็จะปรากฏขึ้นมา และนอกจากนี้เราจะได้เห็นเมนูส่วนอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อวัดผล และต่อยอดให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมในการสร้างคอนเทนต์ ได้แก่

  • Average monthly searches:  

จำนวนการค้นหาโดยเฉลี่ยต่อเดือน โดนคำนวณจาก Keyword โดยตรงและคำที่ใกล้เคียงกัน

  • Competition:     

การแข่งขันของคำที่เราเลือก  ซึ่งแบ่งได้ทั้งหมด 3 ระดับคือ

  1. ระดับสูง คือ Keyword คำนั้น ๆ มีการแข่งขันอยู่ในระดับสูง
  2. ระดับกลาง คือ Keyword คำนั้น ๆ มีการแข่งขันอยู่ในระดับปานกลาง
  3. ระดับต่ำ คือ Keyword คำนั้น ๆ มีการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ มีคนค้นหาน้อยกว่า ทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมา
  • Top of page bid (low range): 

การแสดงราคา Bid หรือราคาประมูลเฉลี่ยในตำแหน่งต่ำสุด หรือตำแหน่งลำดับท้าย ๆ  ของลำดับการค้นหาบน Search Engine

  • Top of page bid (high range):

การแสดงราคา Bid หรือราคาประมูลเฉลี่ยในตำแหน่งสูงสุด หรือตำแหน่งบน ๆ ของลำดับการค้นหาบน Search Engine

ภาพด้านล่าง เป็นตัวอย่างการค้นหา Keyword ทั้ง 10 คำ

ตัวอย่างการค้นหา Keyword ทั้ง 10 คำ

ภาพจาก https://ahrefs.com

 

หรือว่าจะลองใส่เป็นลิงก์ URL ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ

ใส่ Keyword ที่เป็นลิงก์ URL
ภาพจาก https://ahrefs.com

Here’s another trick: you can enter up to ten seed keywords and a URL at the same time.

ข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือ Google จะแนะนำ Keyword เพิ่มเติมให้ไม่เกิน 2000 -3000 คำนะคะ

จากตัวอย่างด้านล่างนี้ เราจะเห็นว่าผลลัพธ์จากการค้นหาจะมีไอเดียแนะนำมาให้ 4,715 คำ

 

จากตัวอย่างด้านล่างนี้ เราจะเห็นว่าผลลัพธ์จากการค้นหา จะมีไอเดียแนะนำมาให้ 4,715 คำ

2. Get search volume and forecasts

เมื่อเราได้ Keyword ครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว เราจะเริ่มใช้เครื่องมือ Forecast เพื่อค้นหาคำที่จะสามารถมาเป็นไอเดียในการเขียนคอนเทนต์ได้ในขั้นตอนต่อไปค่ะ

 

“Get search volume and forecasts”
ภาพจาก https://ahrefs.com

ในฟีเจอร์นี้จะไม่ปรากฏ Keyword ที่แนะนำ แต่เราจะเห็นไ้ว่า จำนวนคลิกและ  Impressions มีจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งนักการตลาดจะสามารถคาดการณ์ได้ว่า Keyword เหล่านั้น เหมาะสมที่จะนำไปสร้างแคมเปญโฆษณาหรือไม่สำหรับ 30 วันที่จะถึงข้างหน้า และนอกจากนี้ ราคาของ Keyword โดยเฉลี่ย, CTR, CPC ก็จะปรากฏให้เห็นด้วยเช่นกัน**

Note* 

Click Through Rate (CTR) หรือ อัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น คือ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการดูอัตราการคลิกโฆษณา หรือ เว็บไซต์ ต่อจำนวนการเห็นของผู้ใช้งานทั่วไปในอินเทอร์เน็ต

Cost Per Click (CPC คือการที่เจ้าของสินค้า หรือเว็บไซต์ จ่ายเงินให้กับผู้ที่เผยแพร่แคมเปญโฆษณา เมื่อเกิดการคลิก และมีข้อตกลงในการจ่ายเงินตามแต่ตกลง

โดยส่วนใหญ่แล้ว นักการตลาดมักใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อทำแคมเปญโฆษณา ซึ่งคุณสามารถเข้าไปที่ฟีเจอร์

Historical Metrics” เพื่อดูผลลัพธ์ของ Search Volume ได้ไกลถึง 12 เดือนย้อนหลังค่ะ

 

การใช้เมนู Historical metric เพื่อย้อนดูข้อมูลย้อนหลัง

4 เทคนิคในการใช้ Google Keyword Planner

1  ค้นหาไอเดียในการสร้างคอนเทนต์ ด้วยการเสิร์ชหา Keyword มากกว่า 1 คำขึ้นไปทุกครั้ง

นอกจากการใช้ Keyword ที่มีความคล้ายกัน หรืออยู่ในประเภทเดียวกันแล้ว อย่าลืมใช้ ลิงก์ URL เพื่อทำการวัดผลกันนะคะ

 

Get search volume and forecasts
ภาพจาก https://ahrefs.com

2  เปลี่ยนคำถามให้กลายเป็น Keyword 

หากเราลองมองในมุมของผู้บริโภคที่กำลังค้นหาสินค้าและบริการ บางครั้งเราอาจไม่ได้พิมแค่คำ ๆ เดียว หรือวลีสั้น ๆ แต่เราอาจเขียนยาวเป็นคำถามลงใน Search Engine กันใช่ไหมคะ

เปลี่ยนคำถามให้กลายเป็น Keyword 
ภาพจาก https://ahrefs.com

ดังนั้นการใช้ Keyword ที่เป็นคำถาม ก็สามารถช่วยผู้ที่ค้นหา Keyword เจอคอนเทนต์ของเราง่ายขึ้น

วิธีการตั้งค่า Keyword ที่เป็นคำถาม 

  1. เข้าไปที่เมนู Filter  เลือกฟีเจอร์ Keyword text 
  2. เลือก contains จากนั้นเลือกคำถามที่ต้องการเขียนเพื่อหา Keyword ที่ใช่  เช่น  who, what, why, when, where, how

จากตัวอย่างการค้นหา เราจะพบว่า Keyword ประเภทคำถามที่เป็นผลลัพธ์แนะนำมีทั้งหมด 211 คำถาม

ใช้ Suggested Bid เพื่อค้นหา Keyword ที่คุ้มค่า
ภาพจาก https://ahrefs.com

ตัวอย่างไอเดียคำถามที่เหมาะสำหรับการนำไปสร้างคอนเทนต์ ได้แก่

  • Link Building คืออะไร
  • Search Engine Optimization คืออะไร
  • เครื่องมืออะไรเหมาะสำหรับการทำ SEO เป็นต้น

 

3. ค้นหา Keyword ที่มีแนวโน้มว่าสามารถสร้างกำไรได้จาก Suggested Bid 

Keyword suggestions มีผลดีในการทำธุรกิจ เพราะระบบจะทำการวัดผลความสำเร็จของ Keyword แต่ละคำมาแล้ว ซึ่งคุณสามารถใช้ฟีเจอร์  “Top of page bid (High Range)” เพื่อดู Keyword ในอันดับต้น ๆ ของการค้นหา

 

ใช้ Suggested Bid เพื่อค้นหา Keyword ที่คุ้มค่า
ภาพจาก https://ahrefs.com

4. เลือก Keyword Volumes ยอดฮิตได้จากสถานที่

 

เครื่องมือ Keyword Research tools ไม่สามารถบอกคุณได้ว่า  Keyword ที่กำลังมองหามาจากจังหวัดอะไร หรือเมืองไหน

ยกตัวอย่างเช่น คำว่า plumber เราจะเห็นว่า มียอด CPC ยอดคลิก และยอด Impression เท่าไหร่ แต่คุณไม่สามารถเห็นได้ว่าคนจากเมืองไหนเป็นผู้ค้นหา

 

ตัวอย่างคำค้นหา
ภาพจาก https://ahrefs.com

 

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถทำได้ เมื่องใช้ฟิลเตอร์ Location ซึ่งฟิลเตอร์นี้จะทำให้คุณเห็นว่า คนในเมืองนั้น ๆ มีจำนวน Reach เท่าไหร่บ้าง ซึ่งเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจในท้องที่นั้น ๆ

 

ตัวอย่างการใช้ Location Filter
ภาพจาก https://ahrefs.com

และเมื่อคุณต้องการดูแบบเจาะรายละเอียดมากกว่านี้ สามารถเลือกฟีเจอร์ Your Targeted Locations เพื่อแสดงรายละเอียดในแต่ละจังหวัดได้อีกด้วย

การใช้ฟิลเตอร์ Location เพื่อดูยอด reach ของผู้ที่ค้นหา keyword ในแต่ละเมือง

สรุป:

Google Keyword Planner คือเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการค้นหา Keyword ที่ตอบโจทย์ในการทำคอนเทนต์เป็นอย่างมาก ซึ่งแบรนด์สามารถนำเครื่องมือมาใช้เพื่อช่วยในการพัฒนาแคมเปญ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Keyword Planner จะสามารถช่วยให้คุณการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าของคุณ และช่วยให้ลำดับการค้นหาในเว็บ Search Engine อยู่สูงขึ้นได้

อย่างไรก็ตามผู้ที่ทำคอนเทนต์ และผู้ที่พัฒนาบทความ ต้องคอยหมั่นตรวจสอบคอนเทนต์ของคุณให้น่าสนใจอยู่เสมอ ด้วยการใช้คำศัพท์ หรือ Keyword ให้ตรงกับเทรนด์ในช่วงเวลานั้น ๆ

หากคอนเทนต์เก่า ๆ ของคุณยังดี และมีประโยชน์ ก็สามารถเลือก Keyword ที่ติดเทรนด์ มี Search Volume จำนวนมากมาใช้เพื่อให้คอนเทนต์ของคุณไม่ตกกระแสไปค่ะ

 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

On-Page และ Off-Page SEO คืออะไร 
Click Through Rate หรือ CTR ตัวชี้วัดที่จะบอกว่าคอนเทนต์ของคุณน่าคลิกหรือไม่