นอกเหนือจากการวัดผลโดยปุ่มไลก์โพสต์แล้ว ยังมีอะไรบ้าง ที่จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าคอนเทนต์ของเรานั้นมีประสิทธิภาพ ?
ในส่วนของบทความนี้ STEPS Academy ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะสามารถเรียนรู้จากข้อมูลเชิงลึก เพื่อจะใช้เป็นเครื่องมือในการนำไปวิเคราะห์ และวางแผนกลยุทธ์ให้สามารตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายได้
หรือที่รู้จักกันว่า Facebook Insights ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่สำคัญมาก ในการทำการตลาดบน Facebook และล่าสุด ทาง Facebook ได้มีการปรับปรุงการทำงานของ Insight เพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดข้อมูลดังนี้
1 Overview
ในส่วนของ Overview จะเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นสถิติภาพรวมที่สำคัญของเพจในช่วงระยะเวลาสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น…
- Page Likes ยอดการกดถูกใจ หรือจำนวนผู้ติดตามเพจ ติดตามเพจ ที่เพิ่มขึ้น
- Post Reach แสดงการเข้าถึงโพสต์ จำนวนของคนที่เห็นโพสต์ของเรา
- Engagement แสดงปริมาณการมีส่วนร่วมของโพสต์ เช่น ยอดไลก์ คอมเมนต์ แชร์ และอื่น ๆ
จากรูปภาพด้านล่างนี้ จะเห็นว่ามีข้อมูลผลลัพธ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับโพสต์ล่าสุดที่เราได้ทำการโพสต์บนเพจเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นประเภทของโพสต์ที่เป็นลิงก์ รูปภาพ ฯลฯ โดยประกอบไปด้วยรายละเอียดเหล่านี้
- Targeting ที่ได้เราทำการระบุกลุ่มเป้าหมาย
- Reach แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนเข้ามายังเพจของเราเท่าไหร่ ในอัตรา 1 คน ต่อ 1 ครั้ง
- Engagement เป็นการมีส่วนร่วมกับโพสต์ เช่น การคลิกเข้ามาที่โพสต์ การกดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์ ควบคู่ไปกับจำนวนเงินที่เราใช้ในการโปรโมตโพสต์โดยใช้ Facebook Ads
และนอกจากนี้ เรายังสามารถคลิกที่ส่วนหัวของแต่ละส่วน เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกด้วย
2 Like Page
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเพจของเรามีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ?
เราสามารถดูได้ที่ เมนูของ Like Page โดยใช้วิธีการเลือกวันที่ เพื่อดูข้อมูล อาจจะเลือกเป็นสัปดาห์ เดือน หรือเป็นไตรมาสของเพจเราที่ผ่านมาก็ทำได้เช่นกัน และถ้าหากว่าเราต้องการดูข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงขึ้น เพียงแค่เลื่อนเม้าส์ไปที่เหนือกราฟที่แสดงยอดไลก์เพจทั้งหมด เราก็จะสามารถดูได้อีกว่า จำนวนการกดไลก์เพจ ที่เกิดขึ้นของวันใดวันหนึ่งนั้นมีจำนวนเท่าไหร่
จากภาพด้านล่างนี้ เราจะได้เห็นรายละเอียดว่า มีการกดถูกใจเพจ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในแต่ละวัน รวมถึงการกดเลิกถูกใจเพจ ทั้งจากแบบไลก์ออร์แกนิคที่ไม่เสียเงิน และแบบไลก์ที่ได้มาจากการเสียเงินค่าโฆษณา
และนอกจากนี้ เรายังสามารถดูได้ว่ายอดไลก์เพจนั้นได้มาจากช่องทางไหน โดยอาจจะเพิ่มขึ้นจากการที่มีคนกดไลก์เพจของเราโดยใช้ปุ่มกดติดตามบนเพจ หรือมาจากส่วนของการแนะนำเพจ การที่เราทำโฆษณา หรืออาจจะเข้าถึงผ่านฟีเจอร์สตอรี่จากผู้ที่ได้กดติดตามเพจของเรา หรือจากช่องทางอื่น ๆ
3 Reach
ส่วนของ Reach จะเป็นการให้ข้อมูลการเข้าถึงของหน้าเพจ ถ้าหากดูจากภาพกราฟด้านล่างนี้ เราก็จะสามารถเห็นได้ทันทีว่า การเข้าถึงโพสต์ Facebook มีแหล่งที่มาจากแบบออร์แกนิค หรือแบบที่ต้องเสียค่าโฆษณา ซึ่งจะแสดงรายละเอียดที่เห็นและเปรียบเทียบผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน
ข้อมูลนี้แสดงรายละเอียดของการกระทำเชิงบวก (Positive Action) เช่น การกดถูกใจ ความคิดเห็น และการแชร์ ของโพสต์ต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นของเพจได้
ในขณะเดียวกัน จากภาพตัวอย่างกราฟด้านล่างนี้ เราก็ยังสามารถเห็นในส่วนของการกระทำเชิงลบ (Negative Action) ที่มีต่อโพสต์และเพจได้ เช่น
- จำนวนครั้งที่โพสต์ที่ถูกซ่อน
- ถูกรายงานว่าเป็นสแปม
- เวลาที่มีคนกดเลิกถูกใจเพจของเรา
ในส่วนต่อมา Total Reach จะเป็นการแสดงให้เห็นการเข้าถึงโดยภาพรวม จากกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพจ อาจจะมาจากโพสต์ การโพสต์โดยผู้อื่น การโฆษณา การเมนชั่น และจากการเช็คอิน โดยจะช่วยให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดบนเพจ ซึ่งเราจะเห็นอีกว่าการ Boost Engagement หรือที่เราเข้าใจว่าเป็นการ Boost Post เพื่อซื้อช่องทางให้คนเห็นคอนเทนต์ โดยจากส่วน Total Reach ที่ว่านี้จะทำให้เราได้ทราบถึงการกระทำล่าสุดนั้น มีผลลัพธ์แตกต่างออกไปจากเดิมไหม
จากภาพด้านบน เราจะเห็นว่า โพสต์ต่าง ๆ ในแต่ละวัน หรือในแต่ละเดือนมียอด Reach จำนวนเท่าไหร่ ซึ่งข้อดีของฟีเจอร์ Reach นั่นก็คือการทำให้เราเห็นภาพรวมในการโพสต์คอนเทนต์ และนอกจากนี้ ฟีเจอร์ Reach ยังรายงานผลแยกคอนเทนต์ประเภทออร์แกนิค (แบบไม่เสียเงิน) และแบบ Boost Post (แบบเสียเงิน) อีกด้วย ทำให้เรารู้ตัวเลขข้อมูลที่แน่ชัดขึ้นว่า Performance ในคอนเทนต์นั้น ๆ มาจากช่องทางไหน
4 Engagement
Engagement คือปฎิสัมพันธ์ที่อยู่ในโพสต์ จะเป็นการวัดจำนวนการโต้ตอบกับโพสต์ ที่เกิดขึ้นโดย การสร้างปฎิสัมพันธ์ หรือ Reaction บางอย่างจากผู้อ่าน เช่น จำนวนคนที่เห็นโพสต์ของเรา ยอดคลิก การแสดงความคิดเห็น ยอดกดไลก์ และยอดแชร์ ซึ่งสามารถดูได้จากข้อมูลที่แสดงดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่างนี้
ตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม มีความสำคัญในการพิจารณาหรือตัดสินใจว่าเราควรสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า สร้างความภักดีต่อแบรนด์ในลักษณะใด หรือใช้วัดโอกาสในการที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าของเราได้
อย่างไรก็ตาม การที่มียอด Reach สูงไม่ได้หมายความว่าจะมี Engagement มากขึ้นตามเสมอไป ในทางกลับกัน ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะพบว่าเพจของเรานั้นมี Reach สูง แต่ว่าอัตราการมีส่วนร่วมจริง ๆ แล้วนั้นค่อนข้างต่ำ ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ อัตราการมีส่วนร่วม จะขึ้นอยู่กับว่าโพสต์ของเราสามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าหากว่าเรามี Engagement ที่สูง ก็จะส่งผลให้ โอกาสในการมองเห็นของเพจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่า คอนเทนต์แบบ Organic คือ การเขียนคอนเทนต์ที่ไม่ได้ทำการโฆษณา ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของคอนเทนต์ของเรา ถ้าคอนเทนต์ดีก็จะได้รับความสนใจ ทำให้ได้รับการมีส่วนร่วมมาก แต่ถ้าแบบ Boost Post คือ เสียเงินเพื่อเพิ่มโอกาสให้คนเห็นคอนเทนต์เรามากขึ้นนั่นเอง
5 Visits
จะเป็นส่วนที่บ่งบอกว่าส่วนไหนของเพจได้รับการเยี่ยมชมมากที่สุด เช่น หน้าไทม์ไลน์ ข้อมูลต่าง ๆ รูปภาพ และอื่น ๆ เมนูนี้จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเราได้อย่างมาก เพราะจะทำให้เราเห็นว่ามี Actions ใดเกิดขึ้นบ้าง
ในหัวข้อ Other Page Activity จะสามารถเห็นการดำเนินการที่เฉพาะเจาะจง เช่น Mention การที่มีผู้อื่นโพสต์บนเพจของเรา กดเช็คอิน และอื่น ๆ
จากภาพด้านล่าง เราจะเห็นกราฟที่มีหลายสีทับซ้อนกัน ซึ่งแสดงให้เห็นจำนวนครั้งที่มีคนเข้ามาดูเพจของเราจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เราทราบว่า คอนเทนต์ไหนของเราได้รับความนิยมมากที่สุด และเราควรโปรโมตคอนเทนต์ของเราผ่านเว็บไซต์ไหน ถึงจะมีคนเข้ามาอ่านมากที่สุด
6 Posts
ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าคนที่กดติดตามเราออนไลน์ช่วงไหนบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่า เราควรเลือกลงคอนเทนต์ในช่วงเวลาใด ที่จะมีโอกาสทำให้คนเห็นโพสต์ของเราเยอะมากขึ้น
หรือเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโพสต์ เราควรพิจารณาที่ฟีเจอร์ Post Type (ประเภทของโพสต์) ประกอบด้วยว่าโพสต์ประเภทไหนที่เราโพสต์แล้วได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุด
จากภาพด้านล่างนี้ เป็นตารางข้อมูลเชิงลึกของข้อมูลโพสต์แต่ละรายการ ซึ่งจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของโพสต์ดังนี้
เพิ่มเติมในส่วนของสัญลักษณ์ที่เป็นลูกศรชี้ลงบนมุมบนขวา แท็บ Reach: จะเป็นส่วนที่เราสามารถดูได้ว่าคนที่เห็นโพสต์ของเพจนั้น มาจากผู้ที่เป็นผู้ติดตามที่มีอยู่ หรือเป็นคนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามเพจ และยังสามารถเลือกดูระหว่างการกระทำเชิงบวกและเชิงลบในแต่ละโพสต์ได้
ในแท็บถัดมา ตรงนี้จะสามารถช่วยเลือกประเภทเนื้อหาที่เหมาะสมที่จะโพสต์บนเพจ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและลดการกระทำเชิงลบที่เกิดขึ้นจากการถูกแจ้งซ่อนโพสต์ ถูกรายงานว่าเป็นสแปม หรือเวลาที่มีคนกดเลิกถูกใจเพจของเรา ซึ่งจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าคอนเทนต์ควรจะเป็นไปในทิศทางไหน
7 People
ต่อมาในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูล Demographic ซึ่งในที่นี้หมายถึง ผู้ที่ติดตามเพจ ผู้คนที่เข้าถึงเพจ และจำนวนผู้คนที่มีส่วนร่วมกับเพจของเรา ซึ่งฟีเจอร์นี้ยังสามารถบอกรายละเอียดในเชิงลึกได้อีกว่า กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ มีสัดส่วนของเพศหญิงหรือเพศชายเท่าไหร่ ระดับช่วงอายุเท่าไหร่ และอาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนไหนบ้าง จากข้อมูลนี้จะช่วยพิจารณาให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ โดยการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เพจของเราเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
8 Pages to Watch
อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ ของ Facebook Insight คือ Pages to Watch หรือที่เข้าใจว่าเป็นหน้าที่เอาไว้ติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง โดยการที่เราระบุเพจที่มีความคล้ายคลึงกับเพจของเรา เพื่อให้เราได้รับรู้เกี่ยวกับเพจนั้น ๆ ว่ามีการกระทำอะไรเกิดขึ้นบ้าง และได้รับการมีส่วนร่วมอย่างไร จากการที่ได้สังเกตการณ์ข้อมูลเหล่านี้ ก็จะทำให้สามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบกับเพจของเรา และทำการปรับปรุงคอนเทนต์และเพจของเราให้ดียิ่งขึ้น
9 Google Analytics
นอกเหนือจากข้อมูลของ Facebook Insights แล้ว Google Analytics หรือ GA สามารถช่วยให้เราเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Traffic ของ Facebook มีผลต่อเว็บไซต์และธุรกิจอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวิเคราะห์ทิศทางการทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย หรือเพื่อนำไปพัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ
จากภาพด้านล่างเราจะเห็นว่า Facebook สามารถสร้าง Traffic ได้มากที่สุด และอยู่จัดอยู่ในอันดับหนึ่งจากแพลตฟอร์มโซเชียลทั้งหมด
เมื่อเราคลิกเข้าไปในหัวข้อ Facebook เราจะเจอตารางรายละเอียดและดูได้ว่าหน้าไหนบนเว็บไซต์ของเราได้รับ Traffic และถูกแชร์จาก Facebook มากที่สุด ตัวอย่างจากรูปภาพด้านล่างนี้
หรือ เข้าไปที่เมนู Acquisition > Social > Landing เราจะเห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้นว่าหน้าเพจอะไรเป็น Top Page บนเว็บไซต์ที่ได้รับการเข้าชมมากที่สุด จากนั้นคลิกที่หน้าใดหน้าหนึ่งเพื่อดูว่า Facebook มี Traffic เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับ Social Network อื่น ๆ
Google Analytics จะพิจารณาว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คใด ที่เหมาะสมและดีต่อธุรกิจของเราได้มากที่สุด ยิ่งไปกว่าการสร้างกิจกรรมบนเพจ แต่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ ปริมาณ Traffic จริงที่มาเข้าถึงเว็บไซต์จาก Facebook เพื่อให้เราสามารถนำไปวิเคราะห์เป้าหมายและวางแผนต่อยอดให้ธุรกิจได้
ตัวอย่าง: Flowchart ของผู้เยี่ยมชมจาก Facebook บนเว็บไซต์
สรุป
ข้อมูลจาก:
https:// neilpatel.com
https:// pyxl.com