คุณรู้หรือไม่ว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน มีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งโดยเฉลี่ย 25% ซึ่ง การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรด้วยการตัดสินใจด้วยข้อมูล เป็นการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในยุค 2024 ที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในทุกระดับ เพื่อการตัดสินใจโดยใช้หลักฐาน และข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของการตัดสินใจด้วยข้อมูล และขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพกัน
Data-driven Decision-making (DDDM) คืออะไร
Data-driven Decision-making (DDDM) หรือการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เป็นแนวทางที่เน้นการใช้ข้อมูล และการวิเคราะห์มากกว่าสัญชาตญาณในการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น ความคิดเห็นของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และข้อมูลทางการเงิน มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในกระบวนการตัดสินใจ
ประโยชน์ของการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
ธุรกิจสามารถเปลี่ยนการดำเนินงาน และวางจุดยืนของตนเอง เพื่อความสำเร็จในระยะยาวที่ยั่งยืน โดยการนำโมเดลการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้ ปรับปรุงประสบการณ์ให้กับลูกค้า และลดต้นทุนในกระบวนการทำงาน
การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า
องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลให้ความสำคัญกับลูกค้ามากขึ้น และเข้าใจ Customer Journeys อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ Data-driven Decision-making ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้า ช่วยให้คุณปรับแต่งข้อเสนอทางธุรกิจ ปรับปรุงบริการ ด้วยการทำ Data Analysis คือ การแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งนี้จะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล ความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แข็งแกร่งขึ้น และรายได้ที่สูงขึ้น
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีขึ้น
การใช้ข้อมูลเพื่อสร้างทางเลือก ทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายที่สามารถทำได้จริง และนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ เพราะ Data-driven Decision-making ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน โดยการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างแผนกต่างๆ สนับสนุนการสื่อสาร และส่งเสริมความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
สร้างโอกาสในการเติบโต
Data-driven Decision-making ช่วยให้คุณสามารถระบุโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และพื้นที่สำหรับการปรับปรุงเพิ่มเติมในแต่ละภาคส่วน ทำให้เราเห็นแนวโน้ม และรูปแบบในการมองหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจของคุณค้นพบปัญหาคอขวด และสิ่งที่คุณต้องดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
ความท้าท้ายในปี 2567 หรือ 2024 สำหรับแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะแบรนด์ใหญ่หรือแบรนด์เล็กก็ตาม เพราะช่องทางการทำการตลาด พฤติกรรมของลูกค้า ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการใช้ Influencer ในการทำการตลาด ดังนั้นเพื่อการตัดสินใจในแนวทางดำเนินการธุรกิจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ วางกลยุทธ์มากขึ้นในปีนี้ ซึ่งเราจะมาพูดถึงกันในหัวข้อถัดไปกับ
6 ขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณค้นหาคำตอบได้ว่า “ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร และทำไม” เพื่อใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการวางแผนธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่า
1. ระบุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
ขั้นตอนแรกนี้เราจะต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร และเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลนี้ควรเจาะจงออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเหมือนกับการเพิ่มยอดขาย และการเพิ่มจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ เพื่อนำไปใช้ต่อในขั้นตอนการกำหนดตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) และหน่วยวัดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจากข้อมูล ช่วยให้คุณพิจารณาว่าข้อมูลใดที่จะวิเคราะห์ และคำถามใดที่ควรถาม
2. สำรวจทีมเพื่อหาแหล่งข้อมูลสำคัญ
ขั้นตอนต่อมาคือ การขอข้อมูลจากทุกฝ่ายทั่วทั้งองค์กร เพื่อนำมาประกอบกันและทำความเข้าใจกับเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เรารวบรวมเป็นฐานข้อมูลกลาง และนำไปใช้ในการตอบคำถามต่างๆ ที่ผู้คนเกิดข้อสงสัย รวมไปถึงวิธีที่คุณจัดลำดับความสำคัญของแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
ดังนั้นข้อมูลอันมีค่าจากทั่วทั้งองค์กรจะช่วยเป็นแนวทางในการปรับใช้การวิเคราะห์ และบอกสถานะในอนาคต รวมถึงบทบาท ความรับผิดชอบ สถาปัตยกรรม และกระบวนการ ตลอดจนการวัดค่าความสำเร็จของสิ่งที่องค์กรดำเนินมา
3. รวบรวมและเตรียมข้อมูลที่คุณต้องการ
การเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพ และเชื่อถือได้อาจเป็นอุปสรรคใหญ่หากข้อมูลธุรกิจของคุณอยู่ในแหล่งที่เข้าถึงยาก ดังนั้นเมื่อคุณมีแนวคิดเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลที่หลากหลายทั่วทั้งองค์กรของคุณแล้ว คุณก็สามารถเริ่มต้นการเตรียมข้อมูลได้ โดยเริ่มต้นด้วยการเตรียมแหล่งข้อมูลที่มีผลกระทบต่อองค์กรสูง และมีความซับซ้อนต่ำก่อน และต่อมาให้ทำการจัดลำดับความสำคัญแหล่งข้อมูลที่มีผู้ชมมากที่สุดก่อนเพื่อให้คุณและทีมงานสามารถนำไปใช้ได้ทันที
เอเจนซี่การตลาด Tinuiti จาก New York ได้ใช้ขั้นตอนในการตัดสินใจด้วยข้อมูล เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและพนักงานกว่า 1,000 คนสามารถเข้าถึง และใช้ข้อมูลได้จากการรวมแหล่งข้อมูลมากกว่า 100 แห่งไว้ที่ศูนย์กลางเดียวกันด้วยแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ช่วยรองรับการเตรียมข้อมูลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแดชบอร์ดที่เราสามารถกำหนดค่าได้เองว่าต้องให้แสดงผลข้อมูลแบบใดบ้างให้กับลูกค้ามากกว่า 500 ราย และส่งมอบเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับความพยายามในการสร้างแบรนด์ของพวกเขาสู่กลุ่มเป้าหมาย
4. ดูและสำรวจข้อมูล
การแสดงข้อมูลออกมาให้เห็นเป็นภาพ หรือ Data Visualization คือสิ่งสำคัญสำหรับ Data-driven Decision-making ที่จะช่วยให้คุณมีโอกาสมากขึ้นในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำระดับสูง และพนักงานคนอื่นๆ ด้วยองค์ประกอบมากมายอย่าง แผนภูมิ กราฟ และแผนที่ ที่จะทำใหการแสดงภาพข้อมูลเป็นวิธีที่ทำให้เข้าถึง และเข้าใจทิศทางของแนวโน้ม ความผิดปกติ และรูปแบบของข้อมูล
การแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) มีหลากหลายรูปแบบที่ได้รับความนิยม เพื่อการแสดงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แผนภูมิแท่งสำหรับการเปรียบเทียบ แผนที่สำหรับข้อมูลเชิงพื้นที่ แผนภูมิเส้นสำหรับข้อมูลชั่วคราว และอื่นๆ
5. หาข้อสรุป
หาข้อสรุปที่ชัดเจนจากการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytics คือ การนำข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือในอดีตมาวิเคราะห์ และสื่อสารความหมายอย่างมีประสิทธิภาพโดยสร้างรูปแบบการจัดวางข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กรของคุณ และมุ่งหวังที่จะทำให้ข้อมูลเข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
JPMorgan Chase & Co บริษัทการเงินข้ามชาติสัญชาติอเมริกันที่มีสำนักงานใหญ่ที่ New York นำโซลูชันการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจที่สำคัญต่อสุขภาพของธนาคารทำให้ JPMC ได้รับมุมมองที่ครอบคลุมทั้งหมดเกี่ยวกับ Customer Journey โดยการตรวจสอบความสัมพันธ์สายงานธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์ การตลาด และจุดสัมผัสการบริการของข้อมูลลูกค้า เพื่อนำมาประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ขององค์กร และโปรโมชั่นต่างๆ
6. ดำเนินการและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของคุณ
เมื่อคุณค้นพบข้อมูลเชิงลึกแล้ว คุณจำเป็นต้องดำเนินการ หรือแบ่งปันกับผู้อื่นเพื่อการทำงานร่วมกัน หนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีและสะดวกคือการแชร์แดชบอร์ดกับทุกคนในองค์กร ซึ่งการเน้นข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญโดยการใช้ข้อความตัวอักษร และการแสดงภาพ สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ชม และช่วยให้พวกเขาใช้ข้อมูลมากขึ้นในการทำงานประจำวันของพวกเขา
และสำหรับใครที่อยากเริ่มต้นเรียนรู้การใช้ Data สำหรับธุรกิจเรามีหลักสูตร Data สำหรับการต่อยอดธุรกิจและการตลาดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://stepstraining.co/data-analytics-marketer
บทสรุป
6 ขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วย
- ระบุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร
- สำรวจทีมเพื่อหาแหล่งข้อมูลสำคัญ เพื่อนำมาประกอบกันและทำความเข้าใจกับเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว
- รวบรวมและเตรียมข้อมูลที่คุณต้องการ
- ดูและสำรวจข้อมูล และการแสดงข้อมูลด้วยภาพมีหลากหลายรูปแบบ
- หาข้อสรุปที่ชัดเจนจากการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณและสื่อสารความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- ดำเนินการและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของคุณให้กับผู้คนทั้งองค์กร
ฝากติดตามบทความต่อๆไป ที่อัพเดทเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัลจากทีมงาน STEPS ด้วยนะคะ
แหล่งที่มา: