เคยสงสัยกันหรือไม่ ? ในสายตาของ Google แล้วเว็บไซต์ของเราเป็นอย่างไรกัน แต่ด้วยเครื่องมือ Google Search Console ปัญหาเหล่านั้นก็จะหมดไป
โดยเครื่องมือ Google Search Console คือ เครื่องมือที่ใช้ในการดูแล และสังเกตการณ์ประสิทธิภาพ การทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์และปรับใช้ เพื่อคุณภาพของเว็บไซต์ที่ดีมากขึ้น ซึ่งในวันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่การใช้ Google Search Console เพื่อการวางกลยุทธ์ Search Engine Optimization เพื่อเป็นการดันให้เว็บไซต์ของเรามี Traffic (จำนวนการเข้าชม) ที่สูงขึ้น โดยตัวอย่างของข้อมูลที่เราสามารถวิเคราะห์ได้ด้วย Google Search Console เช่น การรองรับโทรศัพท์มือถือ คีย์เวิร์ดที่ใช้ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์และ อื่น ๆ
ทำไมต้องใช้ Google Search Console
เหตุผลแรกเลยคือ เราสามารถใช้เครื่องมือ Google Search Console ได้แบบฟรี ๆ ซึ่งข้อจำกัดของมัน ก็เพียงแค่เราต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเท่านั้น
เหตุผที่สองคือเครื่องมือ Google Search Console สามารถใช้งานได้ง่าย ด้วยรูปแบบการทำงานที่ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไร ก็สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องศึกษามากนัก
เหตุผลสุดท้ายคือ ฟีเจอร์ของ Google Search Console เองที่สามารถทำได้หลากหลาย ซึ่งสำหรับใครที่มีเว็บไซต์ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะพลาดการใช้เครื่องมือตัวนี้ โดยประโยชน์ของ Google Search Console ก็มีทั้งสิ้น 6 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน
- ช่วยยืนยันได้ว่า Google สามารถค้นหา และ ให้คะแนนเว็บไซต์ของเรา
- ใช้ในการแก้ไขปัญหาการให้คะแนน และการค้นหาเว็บไซต์โดย Google ที่ในบางครั้งคอนเทนต์ใหม่ของเรา Google อาจจะหาไม่เจอ ซึ่งเราสามารถใช้เครื่องมือนี้ ในการให้ Google เข้ามาค้นหาใหม่
- สามารถดูข้อมูลการแสดงผลบนหน้าการค้นหาของเว็บไซต์ของเรา เช่น แสดงขึ้นมาบนหน้าการค้นหาบ่อยแค่ไหน ? เว็บไซต์ของเราจะแสดงขึ้นเมื่อค้นหาด้วยคำว่าอะไร เป็นต้น
- รู้ได้ทันทีว่าเกิดปัญหาอะไรกับเว็บไซต์ ที่เป็นปัญหาของ Google ในเชิงเทคนิค
- แสดง Backlinks ให้เห็นว่ามีเว็บไซต์ไหนบ้าง ที่มีการเชื่อมกลับมาที่บ้านหลังนี้
- ทำการค้นหาข้อผิดพลาดอื่น ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราควรแก้ไข เช่น ข้อผิดพลาดในการรองรับสมาร์ทโฟน เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ล้วนมีผลกับการทำ Search Engine Optimization ทั้งสิ้น
ใครต้องใช้ Google Search Console
Google ได้ทำการระบุบุคคลที่เหมาะสมจะนำ Google Search Console ไปใช้ ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่มด้วยกันได้แก่
- เจ้าของธุรกิจ ถึงแม้อาจจะไม่ได้ใช้โดยตรง แต่เจ้าของธุรกิจทุกคนที่มีเว็บไซต์ ก็จำเป็นที่จะต้องรู้จัก และ มีการบอกลูกทีมให้ใช้เครื่องมือ Google Search Console ตัวนี้ และควรเข้าใจฟีเจอร์พื้นฐานเพื่อทำให้รู้ว่าอะไร เป็นอะไร
- นักการตลาด หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO เครื่องมือ Google Search Console จะทำให้นักการตลาด และ ผู้ทำ SEO รู้ว่าปัจจุบันเว็บไซต์มีคุณภาพแค่ไหน และต้องแก้ไขอะไรบ้าง ซึ่งนอกจากนี้ยังรวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และ ใช้เป็นแนวทางในการทำการตลาดทั้งคอนเทนต์ หรือ ยิงโฆษณาได้
- ผู้ดูแล ผู้จัดการเว็บไซต์ หนึ่งในข้อมูลที่ Google Search Console สามารถแสดงผลออกมาให้เราเห็น คือ การทำงานของเว็บไซต์ ว่ามีคุณภาพมากแค่ไหน และ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า เพื่อทำให้เราสามารถเข้าไปแก้ไขได้ทัน
- ผู้พัฒนาเว็บไซต์ คล้ายกันกับผู้ดูแล ที่ Google Search Console จะช่วยบอกข้อผิดพลาดต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงสร้างของเว็บไซต์ ทำให้ผู้พัฒนาสามารถรู้ได้ และเข้าไปแก้ไขทัน
การเพิ่มเว็บไซต์ลงใน Google Search Console
ในการใช้งาน Google Search Console สำหรับเว็บไซต์ของเรานั้น เราจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเว็บไซต์ลงใน Google Search Console ก่อน โดยขั้นตอนมีทั้งหมดดังนี้
- ลงชื่อเข้าใช้บัญชี “Google Account” ซึ่งถ้าหากเป็นเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ เราต้องมั่นใจว่าบัญชีของ Google ที่เราใช้เป็นบัญชีธุรกิจ ไม่ใช่บัญชีส่วนตัว
- ไปที่ “Google Search Console”
- คลิกที่เมนูตรงมุมซ้าย แล้วเลือก “Add Property”
- เลือกตัวเลือก “Website” แล้วใส่ URL ของเราลงไป พร้อมคลิก “Continue”
- เลือกตัวเลือกในการยืนยันตน ซึ่งจะมีให้เลือก 6 วิธีด้วยกัน ได้แก่ การอัปโหลดไฟล์ HTML, การยืนยันตนด้วย Domain name Provider, การใส่ HTML Tag, การใช้ GA tracking Code, และ GTM Container Snippet
- ถ้าหากเว็บไซต์ของเรา รองรับทั้ง http:// และ https:// เราจำเป็นที่จะต้องใส่ทั้งคู่ ซึ่งรวมทั้งโดเมนอื่น ๆ ที่มีด้วยเช่นกัน เช่น stepstraining.co กับ blog.stepstraining.co เป็นต้น
การยืนยันตัวตนใน Google Search Console
อันเนื่องมาจากเครื่องมือ Google Search Console เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเข้าถึง ข้อมูลเชิงลึกของเว็บไซต์ ซึ่งบางส่วนก็จะเป็นข้อมูลลับ ดังนั้นการยืนยันตนกับ Google Search Console จึงเป็นเรื่องจำเป็น และอย่างที่ได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ว่าวิธีการยืนยันตนสำหรับ Google Search Console มีทั้งหมด 5 วิธีด้วยกัน ซึ่งจะลงรายละเอียดได้ดังนี้
- การอัปโหลดไฟล์ HTML คือ การนำไฟล์ HTML สำหรับยืนยันตนที่ได้จาก Google Search Console ไปอัปโหลดในส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ เพื่อยืนยันตนว่าเราเป็นผู้มีสิทธิ์ในการจัดการเว็บไซต์นั้น ๆ
- การใช้ Domain Name Provider คือ การลงชื่อเข้าใช้ในไปยังผู้ให้บริการด้านโดเมนของเรา แล้วเลือกสองช่องทางระหว่างการเข้าไปยืนยันตนโดยตรงจาก Google Search Console กับการเพิ่ม “DNS TXT” หรือ “CNAME record” เข้าไป
- การใส่ HTML Tag คือ การใส่ <meta> tag เข้าไปยัง <HEAD> ของ HTML Code ในหน้าเว็บไซต์
- การใช้ Google Analytic Tracking Code คือ การใช้ Tracking Code ของ Google Analytic ที่ใช้กับเว็บไซต์ของเราเพื่อยืนยันตน
- Google Tag Manager Container Snippet Code โดยเราสามารถนำ Code ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราเพื่อทำการยืนยันตน
การใช้ Google Search Console ในการวิเคราะห์ด้าน SEO
หลังจากที่เราสามารถเข้าใช้ Google Search Console ได้แล้วเราจะมาดูกันว่าเจ้า Google Search Console นี้สามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับ SEO ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้เราจะเจาะไปที่ตัวเลือก “Search Result” ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับคอนเทนต์ และ SEO ได้
ที่มา masterseosem
เมื่อเราทำการเลือกตัวเลือก “Search Result” แล้ว เราจะเจอหน้าแสดงผลสถิติด้านการถูกค้นหาของเว็บไซต์ใน Google ซึ่งเราสามารถใส่คำต่าง ๆ เพื่อเช็คได้ว่าในคำนั้น ๆ เว็บไซต์ของเราติดอันดับเท่าไหร่ ? ซึ่งแต่ละตัวชี้วัด หรือ ตัวเลือกที่สำคัญ ๆ มีความหมายดังต่อไปนี้
1. Search Type คือ ตัวเลือกประเภทของการค้นหาที่เราอยากดูข้อมูลจาก Google Search Console เพื่อวิเคราะห์ โดยสามารถเลือกได้ทั้งรูปแบบการค้นหาเว็บไซต์ รูปภาพ วิดีโอ และ ข่าว นอกจากนี้เรายังสามารถเลือกให้มีการเปรียบเทียบกันได้ระหว่าง 2 รูปแบบอีกด้วย
2. Date คือ ช่วงเวลาของข้อมูลที่เราต้องการให้ Google Search Console แสดงผลออกมา ซึ่งสามารถกำหนดได้ตามรูปภาพด้านล่าง
3. Query คือ คำที่ผู้ใช้ใช้ในการค้นหาใน Search Engine ซึ่งเราสามารถกดที่ New เพื่อเพิ่ม Filter เป็นคำดังกล่าวได้ เช่น หากเราต้องการวิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ของเราติดอันดับคำว่า “Google Search Console” หรือไม่ ? ให้เรากดเพิ่มแล้วเลือก Query เพื่อเติมคำว่า Google Search Console เข้าไป
4. Page คือ การกำหนดหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการค้นหา ซึ่งเราสามารถกำหนดได้เลยว่าอยากดูเฉพาะคอนเทนต์ไหน
5. Click คือ จำนวนการคลิกเข้ามาชมเว็บไซต์ของเราผ่านหน้าการค้นหา ซึ่ง Google Search Console จะแสดงผลส่วนนี้แค่สำหรับการคลิกที่เป็น Organic หรือ ที่ไม่ใช่การโฆษณาเท่านั้น
6. Impression คือ ค่าการถูกแสดงผล ซึ่งเป็นจำนวนที่เว็บไซต์เราถูกแสดงขึ้นในหน้าการค้นหา ซึ่งก็เช่นกันที่ Google Search Console จะไม่นับการแสดงผลที่มาจากโฆษณา โดยจะนับแค่ที่เป็น Organic เท่านั้น
7. AVG. CTR คือ ค่าเฉลี่ยของ “Click Through Rate” ซึ่งเป็นค่าการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น ซึ่งจะช่วยแสดงให้เรารู้ว่าคอนเทนต์ หรือ โฆษณาของเราน่าคลิกแค่ไหน
8. AVG. Position คือ ค่าเฉลี่ยของตำแหน่งที่เว็บไซต์ของเราถูกแสดงผล ตัวอย่างเช่น เมื่อคนค้นหาคำว่า “Google Search Console” เว็บไซต์ของเรามักจะถูกแสดงขึ้นมาในหน้าผลการค้นหา อันดับที่ 2 เป็นต้น
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักตัวชี้วัดต่าง ๆ ไปแล้ว เรามาดูที่ตัวอย่างการวิเคราะห์กันบ้าง โดยหากเราต้องการให้เว็บไซต์ของเราติด SEO ในอันดับสูง ๆ ตัวชี้วัดพวกนี้จะเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ เช่น
หากค่า CTR ของเราน้อย แปลว่าเราจำเป็นที่จะต้องปรับคอนเทนต์ของเราให้ดูน่าสนใจขึ้น เมื่ออถูกแสดงผลในหน้าการค้นหา เพื่อให้เกิดการคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ Traffic มากขึ้น และส่งผลต่อดับ SEO โดยวิธีการอาจทำได้ โดยการปรับ Headline หรือ Meta Description ซึ่งอาจจะปรับการใช้คำที่ทำให้เกิดความรู้สึกน่าคลิกขึ้นได้
หากค่า Average Position มีค่าที่สูง (ไม่ได้อยู่อันดับต้น ๆ) แสดงว่าในเนื้อหา หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ของคอนเทนต์ รวมทั้งองค์ประกอบของเว็บไซต์ที่เป็นผลต่ออันดับ SEO อาจจะไม่ดีพอ ซึ่งเรามีหน้าที่ต้องวิเคราะห์ต่อว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดที่มีน้อยไป หรือ คุณภาพเว็บไซต์ที่ทำให้โหลดช้า
นอกจากนี้เรายังสามารถดูได้ด้วยนะคะว่าเว็บไซต์ของเราหน้าใดที่ติดอันดับใน Keyword นั้น ๆ หรือในทางกลับกันก็สามารถดู Keyword ที่หน้าเว็บไซต์ของเราติดอันดับไปด้วยเช่นเดียวกันนะคะ (เช่น เพิ่มคำว่า Google Search Console เข้าไปใน Query แล้วกดดู Page ที่ตัวเลือกด้านล่าง)
สรุป
เครื่องมือ Google Search Console เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับทุกคนที่มีเว็บไซต์ แล้วอยากลองวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับคุณภาพของ SEO ซึ่งเครื่องมือตัวนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่าย และมีประโยชน์ที่หลากหลายที่ไม่ได้มีเพียงแค่ SEO เท่านั้น ทั้งนี้การใช้ Google Search Console สำหรับการวิเคราะห์ด้าน SEO ไม่ได้มีเพียงเท่านี้นี้ แต่ยังมีเทคนิคอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น การนำไปใช้ร่วมกันกับเครื่องมือต่าง ๆ อย่าง Ubersuggest หรือ Google Trend เพื่อนำข้อมูลไปอ่านและวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั้งหมดนี้คุณจะสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลักสูตรใหม่ของเราที่ชื่อว่า Data-Driven Content Strategy ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จะสอนให้คุณเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้เครื่องมือเพื่อการทำคอนเทนต์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการตอบโจทย์ลูกค้า และการได้มาซึ่งอันดับ SEO รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
ที่มา Hubspot และ Google