อัปเดตสถิติและเทรนด์ Global E-Commerce ที่น่าจับตาในปี 2022

อัปเดตสถิติและเทรนด์ Global E-Commerce ที่น่าจับตาในปี 2022

การทำธุรกิจในยุคดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ทั้งด้านเทรนด์การบริโภค เครื่องมือในการทำการตลาด เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น การผสมผสานกลยุทธ์การขาย และ การตลาดดิจิทัลที่เหมาะสมกับแบรนด์ รวมทั้งการเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาด เพื่อลับคมแผนธุรกิจ หากแบรนด์มีเพียงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ แต่ขาดวิธีการในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในโลกออนไลน์ ก็อาจทำให้ธุรกิจ E-Commerce พลาดโอกาสในการก้าวสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจทำให้คู่แข่งแซงหน้าไปได้ง่าย ๆ

ดังนั้น STEPS Academy จึงได้รวบรวมสถิติที่น่าสนใจในการทำธุรกิจ E-Commerce มาฝากนักการตลาด และ ผู้ประกอบการทุกท่านที่กำลังมองหาช่องทางใหม่ ๆ และ เทรนด์ที่น่าสนใจสำหรับปี 2022 กัน เพื่อให้ทุกท่านได้นำ Guideline นี้ไปปรับใช้ให้เข้ากับแบรนด์ และ ชี้ช่องทางการสร้างไอเดียให้ตอบโจทย์กับผู้บริโภคยุคปัจจจุบันค่ะ

ในปี 2022 นี้ข้อมูลจากเว็บไซต์ emarketer คาดการณ์ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถสร้างยอดขายได้ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 21% และจะเติบโตขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ข้อมูลจากเว็บไซต์ emarketer คาดการณ์ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถสร้างยอดขายได้ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 21% และจะเติบโตขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ภาพจาก eMarketer

 

7 เทรนด์ด้าน Global E-Commerce ที่นักการตลาดไม่ควรพลาด

จะมีเทรนด์ไหนเกิดขึ้นใหม่ หรือจะมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจตัวไหนที่แบรนด์ธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ และนำมาปรับใช้กับการค้าขายระดับโลกบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ

1. ตอบสนอง และ เตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดให้ฟื้นตัวกลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วขึ้น

เนื่องจากผลกระทบจาก Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงักครั้งใหญ่ ทำให้ Supply Chains หรือโซ่ห่วงอุปทานถูกทำลายลง ดังนั้นความเสียหายนี้จึงกลายเป็นแรงผลักดันให้แบรนด์ และ บริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับ “ความยืดหยุ่น” ของโซ่อุปทาน และ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถฟื้นฟู และ ดำเนินต่อไปได้ อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่จะป้องกันไม่ให้โซ่อุปทานเสียหายในระดับรุนแรงในอนาคต ซึ่งสิ่งที่นักการตลาดต้องคำนึงถึงเพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัว และกลับมาในสภาวะปกติได้เร็วนั่นคือ

globalization
  • Globalization: ในแง่มุมของธุรกิจ จะต้องพิจารณาความสำคัญของระบบทางเศรษฐกิจ การสื่อสาร เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการทำธุรกิจออนไลน์ เพื่อให้เกิดการลงทุน สินค้า และ การบริการ
  • Low-Cost Supply: คำนึงถึงอุปทานต้นทุนต่ำ
  • Minimum Inventory: รักษาการลงทุนโดยมีสินค้าคงคลังขั้นต่ำ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ

ตัวอย่างกราฟที่แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์การปรับ Supply Chain ให้ยืดหยุ่นขึ้น

ตัวอย่างกราฟที่แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์การปรับ Supply Chain ให้ยืดหยุ่นขึ้น
ภาพจาก kearney

นอกจากนี้เหล่านักธุรกิจยังมองว่าระบบเศรษฐกิจจะยังไม่สามารถเข้าสู่สภาวะปกติได้ไปจนถึงปี 2023 หรืออาจนานกว่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการ และ นักการตลาดควรคำนึงถึงความยืดหยุ่นของกลุยทธ์ทางการตลาด ด้วยการสร้างห่วงโซ่อุปทานให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจเกิดความเสียหายน้อยที่สุดนั่นเอง

 

2. Mobile Shopping และ Social Commerce

 

M-Commerce (Mobile Commerce)
สถิติจาก Statista

M-Commerce (Mobile Commerce) ฟังดูอาจจะยังไม่คุ้นหูเท่าไหร่สำหรับคนไทย แต่แท้จริงแล้วการชอปปิงออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคในประเทศไทยนิยมมาก ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และการใช้ 5G จะทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการซื้อสินค้าผ่านหน้าจอมือถือได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และ เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้มากขึ้น โดยผู้ประกอบการที่มีหน้าร้านผ่าน Shopify เผยว่า 71% ของการชอปปิงออนไลน์ หรือ โซเชียลชอปมาจากการซื้อขายผ่านสมาร์ทโฟน

 

shopifymobile shopping statistics
ภาพจาก Shopify

นอกจากนี้ Shopify คาดการณ์ว่าในอนาคตอีกสามปีข้างหน้า หรือในปี 2025 Mobile Shopping และ Social Commerce จะสามารถเติบโตขึ้นไปอีก 3 เท่า โดยทำการตลาดผ่านแอปพลิเคชัน Facebook Messenger และการทำคอนเทนต์สร้างสรรค์ผ่าน TikTok และ Instagram

 

3. เทรนด์ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now, Pay Later)

Buy Now, Pay Later (BNPL) อาจไม่ใช่กลยุทธ์ใหม่ในตลาด แต่ความน่าสนใจคือเทรนด์การตลาดนี้กำลังบุกตลาด Global E-Commerce ในปี 2022 โดยในปีที่ผ่านมาแบรนด์ Klarna สัญชาติสวีเดนได้บุกตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์โดยใช้กลยุทธ์ BNPL ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้น พบว่าแบรนด์สามารถสร้างรายได้ในไตรมาศแรกของปี 2021สูงถึง 1.89 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น 125%

ตัวอย่างหน้าเพจของ Klana ที่ได้อธิบายวิธีการซื้อสินค้าแบบ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง พร้อมทั้งไม่คิดค่าธรรมเนียม
ตัวอย่างหน้าเพจของ Klana ที่ได้อธิบายวิธีการซื้อสินค้าแบบ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง พร้อมทั้งไม่คิดค่าธรรมเนียม

นอกจากนี้ผู้บริโภคในประเทศออสเตรเลียยังมีบัญชี BNPL โดยกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้เป็นลูกค้าที่มีอายุน้อย ซึ่ง 70% ของผู้บริโภคมีอายุต่ำกว่า 45 ปี แต่หากพูดถึงประเทศที่มีการใช้ BNPL มากที่สุดในโลก ประเทศเยอรมันมีผู้บริโภคที่นิยมการซื้อก่อน จ่ายทีหลังมากที่สุด คิดเป็นอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 30% ของการซื้อขายทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 33% ในปี 2024

 

4. Metaverse และ Interactive Shopping

Metaverse คือพื้นที่ดิจิทัลที่จำลองสภาพแวดล้อมโลกเสมือนจริงให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งผสมผสานเข้ากับ เทคโนโลยีจำลองภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) และ การผสมผสานระหว่าง โลกแห่งความเป็นจริง และ โลกเสมือน (Augmented Reality) โดย Metaverse นั้นเปรียบเสมือนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบสามมิติ ที่อาจมีมากกว่าแว่นตาสามมิติที่ใช้ดูภาพเสมือนจริงธรรมดา แต่จะเป็นการท่องโลกดิจิทัลแบบใหม่ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างตัวตนแบบ Avatar เพื่อทำกิจกรรมในโลกเสมือนได้ด้วยเช่นกัน

เทรนด์ Metaverse นี้ ได้มอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภคทั้งใน และ ต่างประเทศตั้งแต่ในปี 2021 ซึ่งแบรนด์ที่ทำการตลาดผ่านโลกเสมือนได้ดี คือแบรด์ Gucci และ Nike ที่ได้แสดงแฟชั่นโชว์ผ่าน Roblox โดย Nike ได้แสดงคอลเลกชัน NFT ร่วมกับ Bore Ape Yacht และ สร้าง Avatar ตัวละครในโลกเสมือนบนแอป Zepeto เพื่อเอาสร้าง Brand Awareness

ตัวอย่าง Metaverse ห้องในโลกเสมือนของ Roblox ที่จัดแต่งห้อง Gucci Bloom ให้ผู้ใช้งานเข้ามาพูดคุย และสร้าง Community ร่วมกัน

Metaverse ห้องในโลกเสมือนของ Roblox ที่จัดแต่งห้อง Gucci Bloom ให้ผู้ใช้งานเข้ามาพูดคุย และสร้าง Community ร่วมกัน
ภาพจาก vogue business

ในอีกแง่หนึ่งของการทำการตลาดในโลกเสมือน เทรนด์ของ E-Commerce นั้นจะเน้นไปที่ Interactive Shopping ซึ่งก็คือการทำการตลาดที่ผู้ส่งสาร และ ผู้รับสามารถสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ใหม่ ๆ และเข้าใจถึงสิ่งที่แบรนด์ต้องการสื่อออกไปมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ Interactive Marketing นั่นคือ Charlotte Tilbury แบรนด์เครื่องสำอางระดับ Hi-End ที่ยกเคาน์เตอร์สินค้าไปวางไว้ในโลกเสมือน เพื่อให้ลูกค้าเลือกชอปปิงออนไลน์ในรูปแบบสามมิติ

 

5. การเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในจีน และ เอเชีย-แปซิฟิก

สำหรับปี 2023 ที่จะถึงนี้ คาดว่าธุรกิจค้าปลีกแบบ E-Commerce ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และ ในประเทศจีนจะมียอดขายมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคในส่วนอื่น ๆ ทั่วโลกเนื่อง

  • จากการเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ผสมผสานกับธุรกิจ
  • การขยายฐานกลุ่มคนชนชั้นกลางที่มากขึ้นถึง 85%
  • ธุรกิจแบบ B2B ในเอเชีย-แปซิฟิกได้รับการฟื้นฟู
  • การเติบโตของธุรกิจ โดยใช้กลุยทธ์โฆษณาผ่าน Social Media บน Google, Facebook, Instagram และ YouTube ที่ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ไปยังฝั่งตะวันตก
ข้อมูลจากเว็บไซต์ emarketer คาดการณ์ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถสร้างยอดขายได้ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 21% และจะเติบโตขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ภาพจาก eMarketer

กราฟแสดงสถิติการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกแบบ E-Commerce ในจีนช่วงปี 2019 – 2024 โดยในปี 2022 นี้คาดว่าธุรกิจค้าปลีกสามารถสร้างรายได้รวมได้มากขึ้น 55.6%

ตัวอย่างการทำธุรกิจ E-Commerce ในประเทศจีน และ เอเชีย-แปซิฟิก

JD.com บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของจีน ได้ทำธุรกิจร่วมกันกับ Shopify เพื่อส่งสินค้าจากสหรัฐอเมริกาไปยังตลาดประเทศจีน โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานใน JD.com มาถึง 550 ล้านบัญชี

jd ecommerce
ภาพจาก blog.shippypro

 

6. การเปลี่ยนแปลงเนื้อหา และ ภาษาเพื่อให้เข้าถึงวัฒนธรรม Language localization

เว็บไซต์ Flow.io เผยผลสำรวจจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภคแบบสุ่มจากประเทศต่าง ๆ พบว่า การซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แบบข้ามประเทศเผชิญปัญหาในด้านการแปลภาษาที่ผิดเพี้ยนไปจากคอนเทนต์เดิมที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้บริโภคที่ใช้ภาษาอังกฤษจะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีภาษาอังกฤษติดอยู่บนฉลาก รวมทั้งการเติบโตของการซื้อสินค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดนในประเทศญี่ปุ่น และเกาหลียังมียอดต่ำที่สุด

ภาจาก f.hubspotusercontent10.net
ภาจาก f.hubspotusercontent10.net

ภาพแผนที่โลกที่แสดงตัวเลขการชอปปิงออนไลน์แบบข้ามพรมแดน หรือ Cross Border Commerce ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศเกาหลี และ ญี่ปุ่นมีการซื้อสินค้าในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ

ดังนั้น การสร้างคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับภาษา วัฒนธรรม และปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญในการสื่อสารไปยังผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการทำ Global E-Commerce ไม่ว่าจะเป็น

  • การใส่รายละเอียดสินค้าด้วยการใช้ภาษาในแต่ละประเทศที่ทำการตลาด 67%
  • การรีวิวสินค้าจากผู้ใช้จริง แต่ละประเทศ 63%
  • ขั้นตอนในการชำระสินค้าที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน 63%)

7. อุตสาหกรรมค้าส่งเดินหน้าการทำธุรกิจ E-Commerce

นอกจากแบรนด์ที่เป็น B2C ทีเดินหน้าทำธุรกิจค้าขายแบบไร้พรมแดนแล้ว ธุรกิจค้าส่ง หรือ ธุรกิจ B2B ก็เดินหน้าขยับขยายฐานลูกค้าในประเทศใหม่ ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งในปี 2021 ที่ผ่านมา การค้าขายสินค้าแบบ B2B สามารถสร้างยอดขายได้มากถึง $7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นหากคุณกำลังทำการตลาดในบริษัทที่อยู่ในวงอุตสาหกรรมการค้าส่ง อย่าปล่อยให้โอกาสการเพิ่มฐานลูกค้า และการสร้างรายได้ผ่านลอยไป โดยปีนี้ อาจเป็นปีทองของการขยายช่องทางธุรกิจให้เข้าสู่ตลาดโลกก็เป็นได้นะคะ

ตัวอย่างไอเดียการทำธรุกิจค้าส่งที่แบรนด์ควรรู้ในปี 2022

 

 

สรุปเรื่องน่ารู้ และ สถิติเกี่ยวกับ Global E-Commerce

1 ความหมาย และ ความสำคัญของ Global E-Commerce ในปี 2022

ก่อนอื่นผู้เขียนขอเกริ่นถึงความหมายของ Global E-Commerce คร่าว ๆ กันก่อนที่จะไปสู่สถิติ และ เทรนด์ที่เกิดขึ้นกันก่อน คำว่า Global E-Commerce คือการซื้อขายสินค้า และ บริการข้ามพรมแดนในรูปการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการชำระเงินด้วยเช่นกัน ซึ่งการชอปปิงสินค้าออนไลน์ทั่วโลกในขณะนี้มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี

Marketplace หรือยอดขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 5 อันดับโดยอันดับแรกตกเป็นของ TAOBAO ของประเทศจีน
ภาพจาก digitalcommerce360

ตัวอย่าง Marketplace หรือยอดขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 5 อันดับโดยอันดับแรกตกเป็นของ TAOBAO ของประเทศจีน

 

2 ทำไมธุรกิจควรก้าวเข้าสู่ Global E-Commerce

  • สามารถขยายฐานการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ในต่างประเทศได้
  • ไม่มีข้อจำกัดในด้านการสื่อสาร เพราะสามารถติดต่อกับลูกค้าผ่านอินเทอร์เน็ต และแพลตฟอร์มโซเชียลได้
  • ยอดขายเพิ่มขึ้น
  • ได้เปรียบทางการแข่งขันทางการตลาด
  • เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจได้ก้าวต่อไปในสนามแข่งขันที่กว้างขึ้น ทำให้แบรนด์เกิดเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ และ ช่องทางการขายใหม่ ๆ

 

3 ตลาด Global E-Commerce ในปัจจุบันมีขนาดใหญ่แค่ไหน

ตลาด Global E-Commerce ในปี 2022 มีแนวโน้มว่าจะมีรายได้สะพัดทั่วโลกมากถึง $5.55 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การคาดาการณ์มาจากข้อมูลในปี 2020 โดยเผยว่า 17.8% มาจากการซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้นักการตลาดมองว่าในปี 2022 รายได้จากการทำธุรกิจ E-Commerce ในระดับ Global จะเพิ่มขึ้นเป็น 21% และจะมีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นในปี 2025 ที่ประมาณ 24.5%

4 สถิติการเติบโตของ Global E-Commerce ด้านการขาย

เว็บไซต์ eMarketer ได้รายงานว่า ถึงแม้ว่าการค้าปลีกทั่วโลกในปี 2020 ตกต่ำลง แต่การทำการตลาดดิจิทัลนั้นช่วยกอบกู้ผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และทำให้ยอดขายพุ่งขึ้น 22.3 % นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ธุรกิจในเชิงบวก โดยมีเทคโนโลยี และ ระบบ E-Commerce เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ eMarketer ยังเผยถึงสถิติการขายในประเทศต่าง ๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ดังนี้

  • ปี 2021 ประเทศในแถบละตินอเมริกาสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้น 21% หรือคิดเป็นเงินราว ๆ $6.8 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับปี 2020
  • ตลาดอิคอมเมิร์ซในอินเดียคาดว่าธุรกิจ E-Commerce สามารถเติบโตและสร้างรายได้มากถึง 1.1 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2025 ที่จะถึงนี้ โดยเทียบกับยอดขายปี 2020 โดยมียอดขายอยู่ที่ $4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ อินเดียยังเป็นประเทศที่สามารถสร้างธุรกิจ E-Commerce ได้เร็วที่สุดในโลกอีกด้วย
ตลาดอิคอมเมิร์ซในอินเดียคาดว่าธุรกิจ E-Commerce สามารถเติบโตและสร้างรายได้มากถึง 1.1 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2025
ภาพจาก eMarketer
  • ประเทศรัสเซีย อังกฤษ และ ฟิลิปปินส์มียอดขายด้าน E-Commerce เพิ่มขึ้น 20% ในปี 2021

 

ที่มา:

shopify.com

eMarketer

f.hubspotusercontent10.net

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

5 ตำแหน่งซึ่งเป็นที่ต้องการในสายงานด้าน Digital Marketing สำหรับปี 2022
3 Features สำคัญที่ต้องมีใน CRM ยุคปัจจุบัน