ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจออนไลน์ประเภทไหน มีขนาดองค์กรใหญ่หรือเล็ก ล้วนแล้วแต่มีการแข่งขันในโลกดิจิทัล เพื่อให้แบรนด์สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งการใช้เครื่องมือเพื่อวัดผลทางการตลาดหรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ธุรกิจออนไลน์ สามารถสร้างโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณเป็นที่รู้จักในโลกโซเชียลมีเดีย และยกระดับธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปในอนาคต
สำหรับวันนี้ STEPS Acaedmy จะพาคุณไปรู้จักเครื่องมือดิจิทัลที่เป็นกำลังเป็นที่นิยม เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจของคุณกลายเป็นเรื่องง่าย และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อต่อยอดการทำการตลาดในอนาคต เจ้าเครื่องมือที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้คือ Google Analytics ค่ะ
- Google Analytics เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ เพื่อนำไปพัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- Google Analytics สามารถช่วยวิเคราะห์ทิศทางการทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น
- ข้อมูลจาก Google Analytics สามารถนำไปใช้เพื่อทำ Remarketing ได้เพื่อเพิ่มยอดขาย
หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Remarketing บน Facebook สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงก์นี้เลยค่ะ
Google Analytics คืออะไร?
Google Analytics คือ เครื่องมือที่สามารถวัดผลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ด้วยการนำข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์มาวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นลักษณะการเก็บสถิติแบบละเอียด ว่าผู้ที่เข้ามาใช้งานคือใคร โดยแบ่งตามลักษณะดังต่อไป คือ
- Demographic; ภูมิประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ อาชีพ ภาษา สถานที่ที่อยู่อาศัย
- Behavior; พฤติกรรมของลูกค้า เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เมื่อเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ และสามารถวัดผล Traffic บนหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น
ความสามารถของ Google Analytics
ผู้เขียนได้รวบรวมความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลของ Google Analytics และสิ่งที่สามารถนำไปพัฒนาเว็บไซต์ของแบรนด์ได้ดังนี้
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูล Acquisition ของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ว่ามาจากช่องทางไหน เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ใดที่ใช้ในการทำโฆษณาแล้วได้ผลมากกว่ากันเช่น ช่องทาง Facebook มี Traffic การคลิกเข้ามามากกว่า Google ดังนั้นผู้ประกอบการอาจใช้งบในการทำโฆษณา จาก Facebook มากกว่า Google เพื่อให้โปรโมตแบรนด์ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ให้ดีขึ้น เพื่อให้ลูกค้าอยู่บนหน้าเว็บได้นานขึ้นและเกิดการซื้อขาย
- สามารถวิเคราะห์ Conversion Rate ซึ่งได้แก่ การคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ การสมัครสมาชิก การกด Subscribe การลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ เป็นต้น
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูล Demographic ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ เมืองหรือประเทศที่อยู่อาศัย ความสนใจและความชอบส่วนตัว สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เครื่องมือสามารถค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ในอนาคต และเจอฐานการตลาดของแบรนด์ ไม่ต้องเสียเวลา และงบประมาณในการทำโฆษณาแบบไม่มีจุดหมาย
- สามารถนำข้อมูลเชิงลึกไปต่อยอดการทำโฆษณาออนไลน์บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ
- สามารถวัดความเร็วของหน้าเว็บไซต์ได้ ซึ่งมีผลมากกับการทำ SEO (Search Engine Optimization) เนื่องจากระบบอัลกอริทึมจะจัดลำดับให้เว็บไซต์ที่ใช้เทคนิคนี้ กลายเป็นเว็บไซต์แนะนำและติดหน้าแรกบน Google ทำให้กลุ่มเป้าหมายเจอเว็บไซต์ของเราง่ายขึ้น
หากคุณสนใจบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิค SEO เพิ่มเติม คลิก >> ทำความรู้จักกับ E-A-T เพื่อปรับปรุง SEO และ เทคนิคการเขียนบทความให้ติดหน้าแรกของ Google
หน้าเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนหน้าร้านของคุณ ดังนั้นการหมั่นอัปเดตหน้าเว็บไซต์ให้น่าสนใจ ไม่ต้องรอโหลดหน้าเว็บนาน แถมยัง ค้นหาเจอง่ายบน Google คือวิธีการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน ผู้ประกอบการควรให้ตวามสำคัญเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าและยอดขายด้วยการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ โดยเครื่องมือ Google Analytics นี่แหละค่ะจะเข้ามาเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการต่อยอดธุรกิจให้แบรนด์ของคุณได้เปรียบในยุคดิจิทัล ซึ่งในปัจจุบันนักออกแบบเว็บไซต์นิยมใช้โปรแกรม Google Analytics มากถึง 56 % กันเลยทีเดียว (ข้อมูลจาก lyfemarketing)
จากภาพด้านล่าง เป็นหน้าตาของโปรแกรม Google Analytics ซึ่งการรายงานผลต่าง ๆ จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ซึ่งจะมีรายงานหลัก ๆ ทั้งหมด 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทก็จะมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่เป็นรายละเอียดย่อยลงมา ส่วนด้านขวาจะเป็นการรายงานจำนวน User ที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ ณ ขณะนั้นค่ะ
เครื่องมือ Google Analytics ที่ใช้ในการวิเคราะห์เว็บไซต์
ภาพจาก: lyfemarketing.com
วิธีการติดตั้ง Google Analytics
สำหรับผู้เริ่มต้นใช้เครื่องมือนี้ไม่ต้องกังวลค่ะ เราจะเริ่มต้นการใช้งานกันแบบ Step by Step โดยเริ่มจาก…
1. ติดตั้งแอคเคาท์ Google Tag Manager
เราสามารถเริ่มต้นใช้เครื่องมือ Google Analytics ด้วยการติดตั้งระบบ Google Tag Manager บน Google เพื่อสมัครแอคเคาท์ที่จะใช้ ซึ่งตรงนี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยที่เราจะเข้าไปที่เว็บไซต์ tagmanager.google.com
วิธีการทำงานของ Google Tag คือการนำข้อมูลของแบรนด์ที่เรามีอยู่ในเว็บไซต์มาลงที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Facebook และ Google Analytics ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและประหยัดเวลาเนื่องจาก ระบบจะมีการอัปเดตหรือแท็ก Code ให้โดยไม่ต้องเสียเวลาเขียน Code ขึ้นมาใหม่อีกตัวอย่างเช่น
หากคุณมีต้องการวัดผลจากปุ่ม Click ต่างๆบนหน้าเว็บไซต์ คุณสามารถใช้เจ้า Tag Manager ตัวนี้ เพื่อเข้าช่วยในการเพิ่มลิงก์ ซึ่งคุณไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนลิงก์ด้วยตัวเอง เป็นต้น
ผู้เริ่มต้นใช้จะต้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ ของแบรนด์รวมทั้งใส่ลิงก์ของเว็บไซต์เพื่อสร้าง Tag Manager ขึ้น เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วกด Create ซึ่งจะมีหน้าต่าง Agreement หรือข้อตกลงต่าง ๆ ที่เราควรทราบปรากฏขึ้น โดยเราจะกด ยอมรับ เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป
2. ติดตั้งแอคเคาท์ Google Analytics
ลำดับต่อไป เราจะทำการสร้างแอคเคาท์ใหม่ขึ้นบน Google Analytics ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับ Tag Manager โดยการสมัครแอคเคาท์ตรงนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกันค่ะ
เมื่อทำการสมัครเรียบร้อยแล้ว เราจะได้รับ Tracking ID ซึ่งเป็น Code ที่เอาไว้ติดตามและเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และวัดผล ซึ่งตัวเลขที่ได้มาจะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญมากในการนำไปต่อยอดการทำการตลาดในอนาคต ดังนั้น ผู้ที่มีข้อมูลสถิติเหล่านี้อยู่ในมือควรเผยแพร่ภายในทีมหรือองค์กรให้รับรู้เพียงกลุ่มเดียว เพื่อนำไปปรับใช้ในการวางแผนสร้างแคมเปญในอนาคต
3. ใช้ Google Tag Manager ในการติดตั้ง Analytics Tags
Tracking ID ที่คุณสร้างขึ้นจะถูกนำมาใช้งานในส่วนนี้เพื่อสร้าง Tag สำหรับการวัดผลบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งผู้ใช้จะต้องเลือกการตั้งค่าประเภท “Universal Analytics.” เพื่อเก็บข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ค่ะ
Google Tag Manager ทำงานอย่างไร
Tag Manager ใน Google ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆคือ
- Tags: คือ Code ที่เราเอาไปไว้บนหน้าเว็บไซต์เช่น Google Adword Remarketing, Facebook Pixel และ Google Analytics
- Triggers: จะคอยป้อนคำสั่งให้ Tag เริ่มทำงาน
- Variables: คือข้อมูลอื่น ๆ ใน Tag Manager ที่ใช้ทำงาน เช่น URL ต่าง ๆ
ตัวอย่าง Tag ที่ใช้ใน Tag Manager
- Google Analytics Universal Tracking
- Adwords Remarketing
- Adwords Conversion Tracking
- Facebook Pixels
ตัวอย่างประเภท Triggers ที่ใช้ใน Tag Manager
ตัวอย่างประเภท Variable ที่ใช้ใน Tag Manager
- Click Classes
- Event
- Click ID
- Click URL
หลังจากที่กำหนดการทำงานของ Tag, Trigger, และ Variable เรียบร้อยแล้ว สามารถกด Submit และ Publish เพื่อเริ่มทำงานได้เลย
4. การตั้ง Goals ในระบบ Google Analytics
โดยปกติแล้ว การตั้งเป้าหมายในการทำธุรกิจออนไลน์ เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนกันมาล่วงหน้า เพื่อคาดการณ์ผลกำไรที่จะได้รับ รวมไปถึงเป้าหมายที่ต้องการไปถึง ซึ่งผู้ใช้เครื่องมือ Google Analytics สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ จากการรายงานมาวิเคราะห์ผลได้เลยค่ะ
การตั้งเป้าหมาย (Goal)ในการทำธุรกิจออนไลน์ในระบบ Analytics เป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากระบบจะสามารถวัดค่าต่าง ๆ ออกมาในรูปแบบของตัวเลข กราฟ และชาร์ตต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่า กลยุทธ์ที่ได้วางแผนไปนั้นเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ สำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์ หรือมีส่วนไหนที่หน้าเว็บไซต์ควรแก้ไขเพื่อให้ Performance ดีขึ้น
การเลือกเป้าหมายในระบบการตั้งค่าสามารถเลือกได้หลากหลาย ผู้ใช้สามารถตั้งค่าให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งมีรายละเอียดการตั้งค่า Goal ดังนี้
1 Destination:
ข้อมูลจะถูกนำมาวัดผลเมื่อ User เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์หน้าใดหน้าหนึ่ง
2 Duration:
ข้อมูลจะถูกนำมาวัดผลเมื่อ User เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ในระยะเวลาหนึ่ง
3 Pages or Screens Per Session:
ข้อมูลจะถูกนำมาวัดผลเมื่อ User เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ในหน้าต่าง ๆ ที่กำหนด
4 Event:
ข้อมูลจะถูกนำมาวัดผลเมื่อ User เล่นวิดีโอ หรือคลิกลิงก์ที่กำหนดเอาไว้
5. เพิ่มช่องทางการค้นหาเว็บไซต์ของเราบน Google Search Console
Google Search Console คืออะไร ?
Google Search Console คือเครื่องมือที่ช่วยดูแลและตรวจสอบเว็บไซต์ของเรา ให้ปรากฏขึ้นบนหน้าเว็บ Google ซึ่งสามารถใช้ได้ฟรี
การทำงานของเครื่องมือ Search Console:
- Google สามารถพบหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ ทำให้มีโอกาสติด SEO
- รายงานผลการเข้าชมเว็บไซต์และข้อมูลอื่น ๆ เช่นความถี่ที่ผู้ต้นหาเว็บไซต์คลิกเข้ามา
- แสดงหน้าเว็บอื่น ๆ ที่สามารถลิงก์ไปยังหน้าเว็บไซต์ของเราได้
- มีการแจ้งเตือนหากการทำงานของเว็บไซต์ต่างไปจากเดิม
หลังจากที่ Google Analytics ติดตั้งเรียบร้อยแล้วเรามาดูกันที่ Report หลัก ๆ ที่นักการตลาดนิยมใช้เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์กันค่ะ
- Audience
ข้อมูลจาก Audience จะรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ของเราในลักษณะของ
- ภูมิประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ เมืองที่อาศัยอยู่
- ข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้า เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เมื่อเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ ระบบปฏิบัติการ มีความสนใจในสินค้าและบริการตัวไหนเป็นพิเศษ
- Acquisition
คือรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางที่ลูกค้าเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ ว่ามาจากแพลตฟอร์มอะไร เช่น Instagram, Facebook หรือการเสิร์ชจากหน้า Google
- Behavior Report
คือพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า เช่น ลูกค้าเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ไหนเป็นหน้าแรก และออกจากเว็บไซต์ที่หน้าไหน และระยะเวลาที่ใช้บนหน้าเว็บไซต์
- Conversion Report
คือรายงานที่เกี่ยวกับข้อมูลการคลิกจากกิจกรรมต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ เช่น การกดเลือกสินค้าใส่ตะกร้า การชำระเงิน การกดรับ Promo Code เป็นต้น
สรุป:
ข้อมูลจาก:
lyfemarketing.com
marketingplatform.google.com
bigdata-madesimple.com