#AI

Generative AI คืออะไร? Prompt Message คืออะไร? เราจะเริ่มต้นใช้ Generative AI เพื่อสร้างงานให้กับ การตลาดได้อย่างไร?

Generative AI and Prompt Message


หากใครทำธุรกิจ หรือ ทำงานสายการตลาดหรือสนใจเรื่องของเทคโนโลยี คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ AI (Artificial Intelligence) กันบ่อยมากๆ และ เราก็จะได้เห็นกรณีศึกษาที่ใช้ Generative AI  ในการสร้างชิ้นงานออกมาได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านคอนเทนต์ ประเภทตัวอักษร ด้านรูปภาพ ด้านวิดีโอ ทำให้เปิดโอกาสในการทำงานได้จำนวนชิ้นงานที่มากขึ้นและหลากหลายมากขึ้น โดยส่วนตัวของเอ็มมี่เองก็ได้มีโอกาสขึ้นพูดในงาน Martech Expo 2024 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาทักษะของเราให้พร้อมเพื่อรับมือกับ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปไว เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสที่สร้างผลงานที่คุณภาพให้เราได้มากขึ้น
Generative AI ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ถูกกล่าวถึงเยอะในงาน Martech Expo 2024 ที่ผ่านมาค่ะ 

Generative AI คืออะไร?

>>>Generative AI (สำหรับผู้อ่านท่านไหนที่อยากเรียนรู้กับ Generative AI เพิ่มเราก็มีรายละเอียดอยู่ในบทความนี้นะคะ)<<<

Generative AI ย่อมาจาก Generative Artificial Intelligence ถ้าเราเปิดหาคำแปลของคำว่า Generative AI คงได้คำที่เป็นการแปลที่ตรงตัว Generative มากรากศัพท์มาจากคำว่า Generate คือการสร้างขึ้นมา หรือการเริ่มต้นสร้าง พอมารวมกับคำว่า Artificial Intelligence แล้ว ก็แปลตรงตัวว่าเป็นการสร้างปัญญาประดิษฐ์สำหรับการใช้งาน และมาเพื่อช่วยงานของมนุษย์ในหลากหลายด้านด้วยกัน และถ้าตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Wikipedia สําหรับ Generative AI คือปัญหาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาเป็นตัวอักษร รูปภาพหรือสื่อต่างๆ ได้เกิดจากการเรียนรู้ที่เป็นแพทเทิร์นและโครงสร้างของข้อมูลที่มนุษย์ป้อนเข้าไปค่ะ 

Generative AI เกิดจากอะไร?

ที่เราเริ่มรู้จักกันในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมาไม่ว่าเป็น ChatGPT, Bards หรือ Gemini, Dall-E และ Mid Journey นั้นก็มาจาก Generative AI ที่มีการเรียนรู้จากการป้อนภาษาที่เราเรียกว่า Large Language Model ค่ะ หรือที่ย่อว่า LLM นั้นเองคือการป้อนภาษาเข้าไปหรือข้อมูลขนาดใหญ่และให้ระบบของปัญญาประดิษฐ์ได้เรียนรู้ องค์ประกอบของภาษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ บริบท วิธีคิด การสะกด วิธีการตอบจากมนุษย์ค่ะ 

และแน่นอนว่าในปี 2024 นี้ บริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายๆ เจ้าไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Baidu และ Amazon ก็กำลังเร่งลงทุน ลงแรง เพื่อนำเรื่องของ Generative AI ไปต่อยอดเทคโนโลยีต่างๆ ขององค์กรอย่างต่อเนื่องค่ะ 

แล้ว Generative AI จะสามารถช่วยงานการตลาดของเราได้หรือไม่? 

คำตอบคือ ได้แน่นอนค่ะ 

สำหรับบทความนี้เราจะไม่ได้เฉพาะเจาะจงเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นแต่เราจะนำเสนอหลักการที่สามารนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเครื่องมือนะคะ  

อยากให้ผู้อ่านลองจินตนาการและ เปรียบ Generative AI เสมือนมนุษย์ที่เพิ่งเกิดใหม่ เรียกว่าแรกเริ่มของทารก เราสามารถสอนให้เขาพูดภาษาเราได้ เข้าใจเราได้เพียงแค่ระบบในการเรียนรู้ของเขา รวดเร็วกว่ามนุษย์หลายเท่าตัว เพราะฉะนั้นหากเรารู้วิธีการที่จะพูดคุยกับ Generative AI และป้อนคำสั่งในการเรียนรู้เข้าไปในระบบอย่างละเอียดและครบถ้วน และสำหรับการใช้งาน Generative AI สำหรับสายงานการตลาดและคอนเทนต์ ก็ถูกนำมาใช้หลากหลาย อย่างรูปภาพด้านล่างนี้ก็เป็นการคัดเครื่องมือทั้ง Martech Tools ต่างๆ ที่มีทั้งเป็นลักษณะ Generative AI และไม่ใช่อยู่ในตารางนี้ด้วยเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพว่า ณ ปัจจุบัน มีเครื่องมือหลากหลายที่สามารถช่วยงานส่วนของ การตลาด (Marketing) ได้ 

การเลือกใช้งานเครื่องมือ Martech สำหรับการสร้าง Content Marketing 

Martech Tools for Content Creators and Marketers

จากภาพด้านบนนี้เป็นตัวอย่างที่เอ็มมี่สรุปมาให้เวลาใช้งานจริงค่ะ ตั้งแต่ 

1. การวางแผนกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ 

หากเราอยากเริ่มต้นทำแผน หรือเป็น canvas เพื่อให้ทุกคนในทีมเข้าใจตรงกัน เราสามารถใช้ whiteboard ของ canva หรือ เราจะใช้ ตัวเว็บของ canvanizer ในการสร้าง canvas ของเราขึ้นมาก็ได้ 

2. การหาข้อมูลเชิงลึก

ใช้ตัว insight tool อื่นๆ ที่ใช้ฟรี เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมมาต่อยอดไอเดีย คีย์เวิร์ดต่างๆ ค่ะ หากเราไม่ได้มีการเก็บ Survey หรือข้อมูลการวิจัยใดๆ ก็อาจจะแนะนำให้ใช้ Google Trends / Facebook Insight / Tiktok Trends / Trending Video ของ Youtube และ Social Listening Tools อื่นๆไม่ว่าจะเป็น Mandala AI / Wisesight / Real Smart แนะนำให้ใช้ของไทยหากท่านไหนทำการตลาดในไทยอยู่เพราะจะได้ Insight ที่เป็นของคนไทยมากกว่าและประยุกต์ใช้ได้ตรงจุดกว่าค่ะ  

3. Keyword Research เพิ่มเติม 

จะมาจาก Google Keyword Planner / Ubersuggest / ahrefs 

4. Text Content Creation หรือการสร้างคอนเทนต์ตัวอักษร 

ถึงตรงนี้จะเป็นส่วนของ Generative AI แล้วค่ะที่จะเข้ามามีบทบาทช่วยงานสาย Marketing และ Content Marketing จริงๆ มีหลายตัวเลย แต่หลักๆที่เอ็มมี่และทีม STEPS เราใช้กันจะมี ตัว Chatgpt  / Gemini By Google / Jasper.ai / และ Ryte ค่ะ มีทั้งฟรีและคิดค่าบริการเป็นหลายเดือนทั้งนี้ทั้งนั้น สำหรับการใช้ เครื่องมือแต่ละตัวเดี๋ยวเราจะมาอัพเดทกันอีกทีในคอนเทนต์หน้านะคะ 

5. Text to Image Generative Tools 

เราจะใช้เป็น ChatGPT 4 บวกกับ Dall-E และ Canva เป็นหลักค่ะเพราะใช้งานง่าย สำหรับ Gemini เรากำลังอยู่ในช่วงการทดลองเดี๋ยวจะมาอัพเดทกันอีกทีค่ะ

6. Text to Video Tools 

เราใช้ ChatGPT 4 และ บวก Plugin ในส่วนของ Video มาช่วยสร้าง Storyboard / สคริปต์/ และร่างของวิดีโอขึ้นมาค่ะ ตัวอย่างของ Plugin: Video GPT by Veed หรืออาจะใช้ Canva และรอตัว Text Generative to Video อย่าง Sora ของค่าย Open AI ก็ได้ค่ะ

7. Marketing Automation Tools 

Martech Tools สำหรับการทำระบบอัตโนมัติของการตลาดไม่ว่าจะเป็น Zapier / Hubspot / Active Campaign เป็นต้น รายละเอียดด้านบนก็จะทำให้เห็นว่า ณ​ ปัจจุบัน Generative AI มีส่วนในงานของการตลาดเยอะมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราอยากได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และ ตรงใจกับสิ่งที่เราต้องการมากขึ้นเราต้องรู้หลักการ PROMPT Message ค่ะ 

Prompt Message คืออะไร?

ถ้าอธิบายให้ง่ายที่สุดคือการ สั่งการ สั่งงานหรือการบรีฟค่ะ บรีฟอย่างไรให้ Generative AI สามารถผลิตชิ้นงานได้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด โดยหลักการของ Prompt Message ประกอบไปด้วย 

Effective Prompt Message

 

1. Context บริบท

บริบท พูดง่ายคือแบ่งออกมาเป็น 2 ส่วน คือ 

ส่วนที่ 1 บทบาทที่เราอยากให้ AI เป็น และ

ส่วนที่ 2 สิ่งแวดล้อมของ สถานการณ์ นั้นๆ เช่น 

เราบอกว่า ตอนนี้คุณเป็นนักการตลาดของแบรนด์ๆ นี้ ที่มีประสบการณ์ทางด้านการทำ Content Marketing มาแล้วในด้านอุตสาหกรรมอะไรบ้าง คุณเป็นคาแรกเตอร์ครีเอทีฟ ใช้คำเก่ง และแบรนด์นี้มีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสื่อสารดังต่อไปนี้ ธุรกิจนี้ทำเกี่ยวกับอะไรบ้าง  

ยิ่งเราบอกชัดเท่าไหร่ ตัว AI จะสามารถทำความเข้าใจในการ Mapping Data ที่มีอยู่ได้รวดเร็วขึ้น 

อย่าลืมว่า.. เราต้องใช้ Generative AI ให้มีความแตกต่างจากการใช้ Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล เพราะใน Search Engine เราอาจจะพิมพ์คำว่า What หรืออะไร ทำไม และเราก็จะเป็นคนรวบรวมข้อมูลนั้นๆ ประมวลผลว่าใช่สิ่งที่เราต้องการหรือไม่ ทำมาวิเคราะห์ ต่อยอดและขยายความเพิ่มเติม

สำหรับ Generative AI ที่ช่วยเราทำงานในส่วนของการรวบรวม วิเคราะห์และต่อยอดข้อมูลเราต้องทำให้ละเอียดขึ้นไป

เพื่อให้เขาทำงานให้เราเร็วและไวขึ้น คิดง่ายๆว่าเหมือนเรารับคนทำงานสายการตลาดมาอาจจะมีประสบการณ์มาประมาณ 1-2 ปี แต่เราต้องทำ Onboarding Training ให้เขาก่อน ว่าพื้นหลังของธุรกิจของเราเป็นอย่างไรบ้าง?

เราเป็น USP (Unique Selling Point) หรือมีจุดขายอะไร มีลูกค้าเป็นใคร สินค้าของเรามีลักษณะโดดเด่นอะไรบ้าง 

คำถาม คือ Context หรือบริบทต้องละเอียดขนาดนี้เลยหรอ? คำตอบ คือ ต้องละเอียดเพื่อเพราะอย่าลืมว่า Generative AI ไม่ใช่การที่เราจะได้คำตอบจากเขาอย่างเดียวแต่เราต้องสอนเขาด้วย ให้เขาสามารถช่วยเราได้ค่ะ

2. Tasks รายละเอียดงานที่เราอยากให้เขาผลิตให้เรา 

เช่น หัวข้อคอนเทนต์สำหรับลงในช่องทางอะไร โดยใช้คำอะไรประกอบบ้าง เพื่อจุดประสงค์อะไร 

    • ชิ้นงานที่เราอยากให้เขาผลิตเป็นชิ้นงานอะไร
    • มีจุดประสงค์อะไรบ้าง 
    • มีรูปแบบแบบไหน เอาไปใช้เพื่ออะไร 

ในส่วนของ Tasks ก็สำคัญที่สุดสำหรับ Objective หรือจุดประสงค์ของ Tasks ที่เกิดขึ้น เช่น เราบอกให้ AI ผลิตหัวข้อคอนเทนต์สำหรับสินค้าอาหารสุนัขมาให้ อันนี้เขาก็จะคิดหัวข้อคอนเทนต์มาให้แต่ โดยรวมแล้วจะไม่ได้แบ่งออกมาว่าหัวข้อนี้เหมาะสำหรับการนำไปประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดแบรนด์ใหม่นะ หรือ หัวข้อนี้เหมาะกับการนำไป กระตุ้นยอดขายนะ แต่ถ้าเราระบุชัดว่า เราต้องการให้เขาคิดหัวข้อคอนเทนต์เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักเรามากขึ้น เพราะเราเพิ่งเปิดแบรนด์ใหม่ มีจุดประสงค์คือ awareness เราต้องการหัวข้อคอนเทนต์สำหรับลงแพลตฟอร์ม …. (อย่างเช่น Facebook, TikTok หรือ Line) ตรงนี้ AI ก็จะผลิตหัวข้ออกมาให้ละเอียดและชัดขึ้นด้วยค่ะ 

3. Boundaries จำนวนชิ้น ขอบเขตของชิ้นงาน 

มีข้อควรอะไรที่ต้องระวังไหมในการใช้คํา ขอบเขต คือให้เราต้องคํานึงถึงอะไรบ้าง เช่น คำที่มันทำให้ดู Over Claim เกินไป หรือคำที่เราอยากให้โฟกัสเป็นพิเศษเพราะเราต้องการให้ติด SEO เป็นต้น ซึ่งขอบเขตเพิ่มเติมอาจจะใส่ข้อมูลด้วยว่า ข้อมูลแบบไหนที่เราไม่ต้องการ ถ้าอยากได้คำตอบเชิงลึก อยากได้ประมาณไหนบ้าง ระบุลงไปให้ชัดเจนได้เลยค่ะ

4. Extra Information ข้อมูลเพิ่มเติม

เช่น Mood & Tone ของภาษาที่ใช้หรืออยากจะสื่อสารออกมา หรือมี Request อะไรพิเศษที่เราอยากได้ มีคำขยายเพิ่มเติมเพื่อให้ผลงานเราออกมาชัดขึ้น เช่น ทำให้เป็นสไตล์โมเดิร์น ทำให้ดูเหมือนมาจากอนาคต ประมาณนี้ค่ะ เอาละค่ะเดี๋ยวเรามาดูตัวอย่างกันนะคะ 

ตัวอย่างของการเขียน Prompt Message สำหรับงานสร้างคอนเทนต์

1. Context: บทบาท 

ตอนนี้คุณมีบทบาทหน้าที่เป็นนักการตลาดที่ต้องทำการโปรโมทแบรนด์เครื่องหอมแบรนด์ใหม่ที่มีชื่อว่า Emmie Scent เป็นแบรนด์สำหรับคนทำงานที่ต้องได้รับการผ่อนคลาย สดชื่น  และ สงบ ในระหว่างวันที่เกิดจากความเครียดของการทำงาน แบรนด์มีคาแรกเตอร์เหมือนเพื่อนที่อยากให้คำแนะนำที่ดีในการดูแลสุขภาพเพื่อการทำงานผ่าน 5 ประสาทสัมผัส กลุ่มเป้าหมายจะเป็นคนวัยทำงาน อายุ 28-38 ปี ที่เริ่มมีตำแหน่งเป็น Senior และ Manager ความรับผิดชอบที่เยอะขึ้น ใช้เวลาทำงานเยอะขึ้น รายได้อยู่ตั้งแต่ 50,000-70,000 บาท  เราอยากให้คุณที่ในฐานะเป็นนักการตลาดที่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว 3 ปี 

2. Tasks: งานที่เราอยากให้เขาทำให้

วางแผนหัวข้อคอนเทนต์สำหรับทำคอนเทนต์ผ่าน Instagram โดยมีจุดประสงค์เพื่อการเปิดตัวของแบรนด์ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้เยอะขึ้น อยากให้คุณลิสต์หัวข้อคอนเทนต์ที่จะทำลงบน Instagram มา 10 หัวข้อพร้อมบอกรายละเอียดประเภทของรูปภาพ และ แคปชั่น และ Hashtag ที่คุณจะใช้ด้วย

3. Boundaries: ข้อคำจำกัดและเงื่อนไข

จำนวน Hashtag จำนวน 7-8 hashtag 

4. Extra Information: ข้อมูลเพิ่มเติม

Mood & Tone ให้มาในโทนของความเป็นเพื่อน 

จากตัวอย่างด้านบนเป็นการที่เราให้ ChatGPT หรือหนึ่งในเครื่องมือ Generative AI ช่วยสร้างคอนเทนต์สำหรับการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ 

ด้านบนเป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวค่ะ ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างคอนเทนต์ และสร้างชิ้นงานด้านการตลาดจาก Generative AI ด้วยหลักการของ Prompt ได้ สำหรับที่สนใจอยากเรียนรู้เกี่ยวกับ Generative AI เพิ่มเติมอย่าลืมติดตามบทความของเราที่จะมีอัพเดทผ่านเว็บไซต์ STEPSTRAINING.CO และ อีเมล์ทุกๆ สัปดาห์ และหากใครอยากเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กรและธุรกิจของท่านเรามี

หลักสูตร ChatGPT for Content Marketing ในรอบถัดไป เปิดรับสมัครแล้วค่า 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ