คนดูคอนเทนต์เยอะ ไม่ได้แปลว่าจะเป็นลูกค้า: Story telling เล่าเรื่องยังไงให้ขายของได้ปัง

many people watch content doesn't mean you'll become a customer: story telling: how to tell a story to sell products successfully?

Story telling หรือ การเล่าเรื่องเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวางกลยุทธ์การตลาดที่สามารถช่วยกระตุ้นยอดขายให้กับคุณ ผ่านสิ่งที่เรียกว่าคอนเทนต์ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาบอกถึงขั้นตอนการเล่าเรื่องอย่างไรให้ขายของได้ปัง รวมไปถึงโครงสร้างสำคัญของการเล่าเรื่อง

ก่อนอื่นเราจะมาอธิบายถึง Content หรือ คอนเทนต์ ก่อน ว่ามีวิธีการเขียนยังไง

content strategy

คอนเทนต์ เขียนยังไง? จะเริ่มเขียนคอนเทนต์

ต้องเข้าใจอะไรก่อนเป็นสิ่งแรก

แนวทางในการเขียนคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพในการตลาดดิจิทัล คือ การให้ความสําคัญกับขั้นตอนของการเขียน โดยที่ต้องคํานึงถึง 3 ส่วนด้วยกัน

  1. ความน่าสนใจ 
    • ในส่วนนี้จะให้ความสําคัญนําเสนอถึงข้อมูลที่น่าสนใจและคิดว่าเป็นประโยชน์สําหรับผู้อ่าน
    • หยิบเรื่องราวในมุมมองที่ไม่มีใครเคยได้ยิน เพื่อนํามาทําให้เนื้อหาน่าสนใจมากขึ้น 
  2. ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะเขียน 
    • รวมถึงค้นคว้าและศึกษาเนื้อหาให้มีความน่าเชื่อถือและมีเนื้อหาที่ถูกต้อง 
  3. การเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย
    • ในส่วนนี้จะเป็นการปรับเนื้อหาที่ให้ตรงกับความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย สร้างความสัมพันธ์ด้วยการให้ข้อมูลที่สามารถนําไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันของกลุ่มเป้าหมายได้

และถ้าหากเจาะลึกถึงโครงสร้างในการเขียนคอนเทนต์ 

คอนเทนต์มีหลายองค์ประกอบ เป็นเหมือนสิ่งที่มอบประสบการณ์ที่มีคุณค่าและมีผลสําหรับผู้อ่านหรือกลุ่มลูกค้า

องค์ประกอบหลักของคอนเทนต์นั้นประกอบด้วย

1. หัวข้อ (Headline) เป็นส่วนที่สําคัญที่ดึงดูดให้ผู้อ่านหันมาสนใจมากที่สุด หัวข้อควรสื่อถึงเนื้อหาหลักแบบที่สรุปใจความสําคัญมาแล้วและเลือกใช้คําที่น่าสนใจและควรเช็ค Keywords ที่จะนํามาใช้ เพื่อคํานึงถึงยอดคลิก

2. คอนเทนต์ (Content) ส่วนนี้เป็นส่วนที่สําคัญของคอนเทนต์ ควรสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีข้อมูลเป็นไปตามทิศทางของวัตถุประสงค์ของการสร้างคอนเทนต์นั้นๆ 

3. ภาพและสื่อ (Images and Media) ในส่วนนี้เกี่ยวกับรูปภาพ หรือวิดีโอ เพื่อตกแต่งและเสริมประสบการณ์ของผู้อ่านให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจาก text เพียงอย่างเดียว 

4. บทสรุป (Conclusion) ในทุกๆ เรื่องราวที่เล่า ควรมีบทสรุปในตอนท้ายเพื่อเป็นเหมือนการ recap สิ่งที่ได้เล่ามาทั้งหมดตั้งแต่ตอนต้นเป็นการยํ้าเตือนให้ผู้อ่านจําเรื่องราวที่ได้อ่านมาแล้วทั้งหมดได้ และเผื่อนําไปต่อยอดในเรื่องราวที่อยากรู้เพิ่มเติมในบทความต่อๆ ไป

5. Call-to-Action (CTA) เป็นส่วนที่เชิญชวนให้ผู้อ่านเกิด interactive กับคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกลิงก์ การสมัครสมาชิก หรือแชร์เนื้อหา ในส่วนนี้มีส่วนร่วมทําให้เกิด traffic บนหน้า blog บนเว็บไซต์มากขึ้นได้

content composition

 

ขั้นตอนการเล่าเรื่อง Story telling ให้ขายของได้ปัง

1. รู้จักกลุ่มเป้าหมายของคุณ

ข้อเท็จจริงอย่างนึงก็คือ คุณไม่สามารถใช้การเล่าเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกว่าคุณจะรู้ว่าคุณกำลังพูดคุยกับใคร นั่นเป็นเพราะว่าเรื่องราวที่มีอิทธิพลมากที่สุดแตกต่างกันออกไปตามผู้คนที่ต่างกัน ดังนั้นหากคุณกำลังจะใช้การเล่าเรื่องเพื่อนำเสนอในการขายของบางอย่าง คุณต้องมี Customer Personas เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญ  

customer personas

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Customer Personas ได้ที่ https://stepstraining.co/content/customer-personas

เมื่อคุณทำความเข้าใจ และรับรู้ถึงกลุ่มเป้าหมาย คุณจะสามารถปรับแต่งการเล่าเรื่องราวของคุณให้สอดคล้องกับความต้องการ ความท้าทาย และแรงบันดาลใจของกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการเข้าใจความเจ็บปวด และความปรารถนาของพวกเขา

2. เล่าเรื่องของคุณให้เฉียบมากขึ้นด้วยการเข้าใจโครงสร้าง 

เมื่อคุณรู้แล้วว่ากำลังจะสื่อสารไปยังใคร คุณสามารถเริ่มต้นวางโครงสร้าง Story telling ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้ามาย แต่การจะทำเช่นนั้น คุณต้องเข้าใจหลักการและโครงสร้างการเล่าเรื่องที่ดีก่อน และแม้ว่าสูตรการเล่าเรื่องจะมีหลากหลายรูปแบบก็ตาม แต่หลักการ 4 ข้อสำหรับการเล่าเรื่อง ของ Robert Carnes นักเล่าเรื่อง และผู้เขียนหนังสือ The Story Cycle ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นประโยชน์ซึ่งประกอบด้วย

  • Character ตัวละคร

character for content

จากที่ Robert Carnes เคยกล่าวไว้ว่า “ตัวละครหลักให้ความสำคัญกับเรื่องราวและบุคลิกภาพ การพัฒนาตัวละครอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ตัวละครได้พบเจอระหว่างการเล่าเรื่อง” ซึ่งในบริบทของการเล่าเรื่องเพื่อขาย ตัวละครของคุณคือ ลูกค้า ซึ่งอาจมาจากเรื่องราวของลูกค้าจริงๆ ที่คุณเคยให้บริการในอดีต ขึ้นอยู่กับประเภทของเรื่องราวที่คุณตัดสินใจเล่า หรืออาจเป็นการผสมผสานลักษณะทั่วไปของลูกค้าเข้าด้วยกัน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวแบบไหน เป้าหมายในการกำหนดตัวละครของคุณคือ การสร้างฮีโร่ที่น่าสนใจสำหรับเรื่องราวของคุณ และการที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกเข้าถึงเรื่องราวของคุณ ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณ

จำเป็นต้องมองเห็นตัวตนของเขาในตัวละครหลักของเรื่องราวของคุณ

  • Context บริบท

เป็นการสร้างโครงสร้างสำหรับการเล่าเรื่องราว Story telling ซึ่งในโครงสร้างการทำงานของ Robert Carnes จะต้องพิจารณาบริบททั้งภายในและภายนอก

context for contentบริบทภายใน หมายถึง การวางแผนแต่ละฉากของเรื่องราวตัวละครที่เราได้กำหนดไปในข้อก่อนหน้า นำมาเรียบเรียงเรื่องราว และอธิบายถึงความเป็นมา สภาพแวดล้อม บรรยากาศ อารมณ์ และลักษณะของตัวละคร  ว่ามีหน้าตาอย่างไร เช่น ตัวละครของคุณกำลังทำอะไร นั่งอยู่ในออฟฟิศหรือเปล่า? พวกเขารถติดอยู่บนท้องถนนหรือไม่? หรือ พวกเขาอยู่ในห้องทำงานของเจ้านายถูกตำหนิว่าไม่ปฏิบัติตามความคาดหวังหรือไม่? 

บริบทภายนอก ในทางกลับกันจะพูดถึงวิธีในการตอบรับกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ว่าพวกเขามีวิธีรับมือ หรือมีความคิดเห็นต่อสถานการณ์น้ันอย่างไร และตัดสินใจที่จะทำอย่างไรต่อ ซึ่งการเล่าเรื่องแบบดั้งเดิม จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ผู้ชมที่ได้รับเรื่องราวและสื่อในการถ่ายทอดเรื่องราว

  • Conflict ความขัดแย้ง

หัวใจหลักของการเล่าเรื่องที่ดี จะมีส่วนประกอบของความขัดแย้งอยู่ในเรื่องราวเสมอ อย่างเช่น เมื่อเรานึกถึงหนังสือดีๆ ทุกเล่มที่เคยอ่าน ภาพยนตร์ดีๆ ในทุกเรื่องที่เราเคยดู มันจะเห็นว่ามันมีความขัดแย้งบางอย่างที่ดึงดูดให้เราสนใจ และเป็นตัวกลไกที่ขับเคลื่อนโครงเรื่องให้ดำเนินไปข้างหน้าได้

conflict content

แม้แต่ในบริบทของการนำเสนอสินค้าหรือขายของ หากการเล่าเรื่องของคุณราบเรียบ ไม่มีข้อขัดแย้ง อุปสรรคที่ตัวละครหลักต้องเอาชนะให้ได้ คุณควรพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายของ ตัวละครของคุณของคุณอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวความเป็นจริงของลูกค้า และสร้างให้เห็นโอกาสที่จะสูญเสียหากพวกเราไม่ซื้อสินค้าของคุณ

  • Creation การสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์ คือ การที่เราสามารถดึงเอาตัวละคร บริบทต่างๆ และอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น มารวมเป็นเรื่องราวเดียวกันที่สามารถครอบคลุมประเด็นสำคัญเอาไว้ได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างสามารถจูงใจให้เกิดการขายได้ และหากคุณเคยฟังใครสักคนเล่าเรื่องยืดยาวที่ดูเหมือนจะไม่ตรงประเด็นบ้างไหม? หรือ การเร่งเล่าเรื่องที่ทำให้ผลกระทบของการเกิดความขัดแย้งหายไป? สิ่งเหล่านี้คือการขาดความสร้างสรรค์ในการเล่าเรื่อง

creation content

 

  • กรณีศึกษาที่แสดงออกให้เห็นถึงความสร้างสรรค์อย่าง Nike

nike

แคมเปญการร่วมงานกันของ Nike กับซูเปอร์สตาร์นักบาสเกตบอล Michael Jordan รองเท้าผ้าใบในกลุ่ม “Air Jordan” มาพร้อมกับโฆษณา และแคมเปญมากมายที่บอกเล่าเรื่องราวการก้าวขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ของ Jordan ที่แสดงถึง จิตวิญญาณแห่งการแข่งขัน และการแสวงหาความเป็นเลิศอย่างไม่หยุดยั้งในสนามบาสเก็ตบอล เรื่องราวเหล่านี้ไม่เพียงแต่เฉลิมฉลองความสำเร็จของ Jordan แต่ยังทำให้ Nike เป็นแบรนด์ที่ส่งเสริมความยิ่งใหญ่และเป็นแรงบันดาลใจให้นักกีฬาเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง

3. เป็นตัวของตัวเอง 

การแสดงตัวตนของแบรนด์ สิ่งที่แบรนด์ยึดถือ เพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจะสะท้อนถึงคุณค่าและพันธกิจของแบรนด์ของคุณ ที่สามารถเชื่อมโยงผู้คนกับความจริง และความซื่อสัตย์

  • ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Apple หรือ Apple Inc. เป็นแบรนด์ต้นแบบในการนําเรื่องราวมาประยุกต์ใช้ในการตลาด ซึ่งการเล่าเรื่องราวของ Apple ไม่เพียงแต่เป็นการโฆษณาเท่านั้น แต่เป็นการสร้างประสบการณ์และความรู้สึกที่ลึกลงไปในจิตใจของลูกค้า แสดงถึงความเป็นตัวของตัวเองในการเล่าเรื่องราว สร้างแรงบันดาลใจที่สะท้อนถึงความปรารถนาของลูกค้า
apple inc

4. เน้นไปที่ประโยชน์ของสินค้า

เน้นการเล่าเรื่องราว หรือนำเสนอคอนเทนต์ไปที่ประโยชน์ของสินค้าว่าจะช่วยให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้นอย่างไร เช่น ประหยัดเวลา ลดต้นทุน สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หรือแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างไร เป็นต้น มากกว่าการเล่าว่าสินค้าของคุณมีฟีเจอร์คุณลักษณะการใช้งานอย่างไรบ้าง เพราะจะทำให้กลุ่มเป้าหมายของคุณ เห็นภาพมากขึ้นว่าการที่พวกเขาซื้อสินค้าของคุณไปแล้วจะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร

หากยกตัวอย่างแบรนด์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นอย่าง Apple Inc. ได้มีการเล่าเรื่องราวของความท้าทายตนเองตลอดกาลในการสร้างเทรนด์และนวัตกรรมวิธีการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจําวันเป็นส่วนสําคัญของการสร้างความน่าทึ่งสําหรับลูกค้าผู้ใช้งาน โดยเล่าผ่านเรื่องราวของ iPhone, iPad และ Macbook

5. แสดงให้เห็นมากกว่าพูดให้ฟัง

ในการเล่าเรื่องแล้วทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจ หรือกระตุ้นให้เกิดการขายได้ ต้องแสดงให้พวกเขาเห็นว่าสินค้าของคุณช่วยให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้นได้อย่างไร ผ่านการอธิบายให้เห็นภาพที่ชัดเจน รายละเอียดทางประสาทสัมผัส และแม้แต่อารมณ์ขันเพื่อดึงดูดผู้ชมด้วยอารมณ์ความรู้สึก

ในส่วนนี้หากจะยกตัวอย่างให้เข้าใจกันง่ายขึ้น Apple ก้าวเข้าสู่การเล่าเรื่องราวที่มุ่งเน้นไปยังลูกค้าผู้ใช้ทั่วไป ให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น

apple inc product development

หากสรุปโดยรวมในตัวอย่างของแบรนด์ Apple ที่ใช้ Story telling ไม่เพียงแค่เฉพาะกับการตลาด แต่เป็นการสร้างประสบการณ์และความรู้สึกให้กับลูกค้าผู้ใช้งาน ที่เน้นรูปแบบเรื่องราวผ่านนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงในวิวัฒนาการของแบรนด์ช่วยเชื่อมโยงและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ Apple ในทุกช่วงเวลา ซึ่งจริงๆ แล้วเราจะเห็นกันได้ชัดเจนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถึงการเปลี่ยนแปลงของโปรดัคที่มีพัฒนาการตามยุคสมัยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

  • อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจของ Slack 

slack

แพลตฟอร์มการสื่อสารยอดนิยมที่หลายๆ คนอาจคุ้นเคยหรือเคยใช้งานมาก่อนมีฟีเจอร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของลูกค้า โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์ข้อมูลที่นำเสนอวิดีโอเกี่ยวกับการรีวิวหรือ เรื่องราวที่ลูกค้าของ Slack ได้ใช้งานจริงในแต่ละอุตสาหกรรม และช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาอย่างไรบ้าง ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ของลูกค้าที่หลากหลายและผลลัพธ์ที่จับต้องได้ เรื่องราวดังกล่าวจึงโดนใจหลายๆ คนที่กำลังตัดสินใจจะใช้บริการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของเราเล่าเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อแบรนด์สามารถแสดงให้เห็นมากกว่าพูดได้จริงๆ แล้ว ในแง่มุมของผู้ใช้หรือลูกค้า จะมีส่วนสร้าง UGC หรือ User-Generated Content ที่เป็นการนําเสนอเรื่องราวของลูกค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการ โดยที่เป็นการสร้างมาจากความชอบ ความหลงใหล และอาจมีความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับแบรนด์จนอยากแชร์เรื่องราวให้ผู้ใช้หรือลูกค้าคนอื่นได้รับประสบการณ์นี้ด้วยเช่นกัน อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับ UGC เพิ่มได้ที่: https://stepstraining.co/content/user-generated-content

บทสรุป

ขั้นตอนการเล่าเรื่อง Story telling ให้ขายของได้ปัง ประกอบไปด้วย

  1. รู้จักกลุ่มเป้าหมายของคุณ
  2. เล่าเรื่องของคุณให้เฉียบมากขึ้นด้วยการเข้าใจโครงสร้าง 
  3. เป็นตัวของตัวเอง 
  4. เน้นไปที่ประโยชน์ของสินค้า
  5. แสดงให้เห็นมากกว่าพูดให้ฟัง

จาก 5 ขั้นตอนการเล่าเรื่องนี้จะช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้กับธุรกิจเพื่อต่อยอดและเพิ่มยอดขายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่หากใครต้องการลงเจาะลึกในการทำคอนเทนต์ หรือการวางกลยุทธ์สำหรับธุรกิจทาง STEPS Academy เรามีหลักสูตรเรียน Content Marketing การสร้างเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของลูกค้า ที่จะช่วยให้คุณเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานในเรื่องของการสร้างคอนเทนต์ไปจนถึงการเรียนรู้เจาะลึกถึงเทคนิคต่าง ๆ ในการสร้างคอนเทนต์เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและสร้างความประทับใจใน Customer Journey ของกลุ่มลูกค้า

ซึ่ง Customer Journey คือแนวคิดที่อธิบายถึงการเดินทางของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์หรือสินค้า ซึ่งรวมถึงการติดต่อและการปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจตั้งแค่เริ่มต้นจนถึงการซื้อสินค้าตลอดจนการซื้อสินค้าหรือบริการซํ้า  สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/digital-content-marketing

และติดตามเรื่องเล่าเกี่ยวกับคอนเทนต์ วิธีการทํา Story telling เข้ามาเป็นเครื่องมือในการทําการตลาดดิจิทัลกันต่อได้ที่: https://stepstraining.co/blog

ฝากติดตามเนื้อหาความรู้ที่อัพเดทจากทีมงาน STEPS Academy ในบล็อกถัดไปด้วยนะคะ 🙂

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

Global SEO Strategy Update 2024 กลยุทธ์ SEO ระดับโลก ฉบับปี 2024