เพิ่มยอดขายลดต้นทุนทางการตลาดให้กับธุรกิจ ด้วย Performance Marketing

PMT Blog Banner

ปรับกลยุทธ์การโฆษณาจากหลาหลายช่องทางด้วยการบริหารจัดการเพื่อสร้างผลลัพธ์ตามแบบ Performance Marketing

 

Introduction

การซื้อสื่อโฆษณาบนออนไลน์กลายเป็นปัจจัยหลักสำคัญ ที่สามารถสร้างโอกาสความสำเร็จให้กับธุรกิจได้ทุกขนาดตั้งแต่ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ธุรกิจ SME จนถึงองค์กรขนาดใหญ่ในขณะเดียวกัน ก็ถือเป็นส่วนหลักที่อาจจะทำให้ก่อเกิดต้นทุนมหาศาล หากเราไม่ได้เข้าใจถึงหลักและวิธีการบริหารจัดการงบประมาณ แต่ละช่องทางให้เหมาะสม ร่วมถึง อาจจะเกิดจากการไม่รู้เทคนิคในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านการโฆษณาบนโลกออนไลน์อีกด้วย  

ช่องทางการโฆษณาบนโลกออนไลน์ไม่ได้มีแค่ 1 ช่องทาง

การบริหารจัดการโฆษณา ณ ปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่ 1 ช่องทางแต่มีช่องทางหลากหลายไม่ว่าจะเป็น
Google Ads, Facebook Ads, Tiktok Ads, Instagram Ads, Youtube Ads และ ช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้การร้อยเรียงช่องทางต่างๆให้เกิดเป็นผลลัพธ์ตามที่เราวางเป้าหมายให้กับธุรกิจไว้ ก่อเกิดเป็นงานที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ที่ต้องเหมาะสมกับแต่ละช่องทาง เทคนิคการโฆษณาแต่ละช่องทาง การติดตามผลลัพธ์ แต่ละช่องทางก็มีความแตกต่างกัน 

การบริหารจัดการโฆษณา ณ ปัจจุบัน จึงมีความซับซ้อนมากกว่าในอดีตค่อนข้างมาก แต่หากเรารู้หลักการในการบริหารจัดการงบประมาณ ก็จะทำให้เราสามารถ สร้าง Return on Investment (ROI) หรือผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุนเม็ดเงินในการโฆษณาออนไลน์ ในหลากหลายแพลตฟอร์ม 

และไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ นักการตลาดที่เพิ่งเริ่มต้น ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นแนวทางสำคัญให้คุณจับหลักในการบริหารจัดการโฆษณาบนโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอีกด้วย  

สำหรับบทความนี้เราจะรวบรวมขั้นตอนสำหรับการทำความเข้าใจภาพรวมของการสร้างผลลัพธ์ให้กับโฆษณาบนโลกออนไลน์ด้วยหลักการ Performance Marketing ผ่าน 5 ขั้นตอนด้วยกันเริ่มต้นจาก 

ขั้นตอนที่ 1: ทำความเข้าใจภาพรวมของ Online Performance Marketing กันก่อน 

Online Performance Marketing คืออะไร?

Online Performance Marketing คือ กระบวนการสร้างผลลัพธ์เพื่อให้ตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจและการกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจนั้นผ่านผลลัพธ์ของการโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ ประสิทธิภาพของการโฆษณา สามารถวัดผลได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการวัดผลจากจำนวนการคลิกโฆษณา  จำนวนข้อมูลของลูกค้าที่สนใจ (Prospect Leads), ยอดขาย และจำนวนการมองเห็นเป็นต้น 

ทำไม Online Performance Marketing ถึง จำเป็นต่อธุรกิจ

เพราะสำหรับธุรกิจแล้ว Performance Marketing คือองค์ประกอบที่จะทำให้เราสามารถวัดผลลัพธ์จากสิ่งที่เราลงทุนไปได้ และ ยังทำให้เราสามารถวิเคราะห์ไปถึงว่าช่องทางไหนที่คุ้มค่า สื่อไหนที่คุ้มค่าและเหมาะสมสำหรับสินค้าตัวไหนของธุรกิจในการทำการตลาดสำหรับการเข้าถึงและยอดขาย ทำให้เรารู้ที่มาที่ไปของลูกค้าและยอดขาย ต่อยอดให้การวางแผนในอนาคตสามารถตั้งต้นจากข้อมูลจากการทำ Performance Marketing โดยไม่ต้องเริ่มคิดกลยุทธ์ใหม่ทุกครั้งที่ต้องการสร้างสื่อโฆษณาบนออนไลน์ 

ขั้นตอนที่ 2: การกระจายของงบประมาณให้เหมาะสม

ก่อนที่เราจะเริ่มต้นเทงบประมาณไปกับช่องทางใดช่องทางหนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้ทางองรู้ว่า งบประมาณของเราถูกกระจายไปช่องทางไหนแล้วจะคุ้มค่ากับสิ่งที่เราลงไป เพราะไม่ใช่ทุกช่องจะตอบโจทย์ ในจุดประสงค์ของธุรกิจที่เราวางไว้ และกลุ่มตลาดแต่ละช่องทางก็จะมีวิธีการในการสื่อสารโต้ตอบกลับมากับโฆษณาในช่องทางต่างๆ แตกต่างกันไปอีกด้วย เพราะฉะนั้นขั้นตอนย่อยๆ สำหรับการกระจายและบริหารงบประมาณโฆษณาออนไลน์ให้เหมาะสมมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอน เริ่มจาก 

  1. การระบุกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ: การระบุเป้าหมายถึงกลุ่มที่เราต้องการให้มาเป็นลูกค้าของเรา หากเราสามารถระบุได้ละเอียดมากกว่าข้อมูลพื้นฐาน เช่น การระบุ ความชื่นชอบ งานอดิเรก ไลฟ์สไตล์ช่องทางที่เขาใช้ในการค้นหาข้อมูล ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าได้มากที่สุด หากเราสามารถระบุ รายละเอียดเหล่านี้ของกลุ่มเป้าหมายได้ กลไกของช่องทางการโฆษณาก็จะสามารถประหยัดเวลาในการเรียนรู้ได้มากขึ้น เราจะมีโอกากสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้น และ และ ค่าโฆษณาจะคุ้มค่ามากขึ้นเพราะประหยัดเวลาจากการลองผิดลองถูกได้มากขึ้นเช่นกัน

ตัวอย่างเพิ่มเติมจากการรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายสำหรับการโฆษณาให้คุ้มค่าบนโลกออนไลน์

การรู้ถึงกลุ่มที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของเราได้เป็นสิ่งสำคัญ เราอาจจะเริ่มต้นจากการ ค้นหากลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์มากที่สุดกับคอนเทนต์หรือสื่อโฆษณาของเราเรียกได้ว่ากลุ่มที่ engage กับสิ่งที่เราสื่อสารออกไป และเราสามารถตั้งสมมติฐานจากกลุ่มเหล่านั้นได้ว่า อาจจะมีความสนใจ เพื่อต่อยอดในการทดลองโฆษณาสำหรับการขายได้เพิ่มเติม 

  1. การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน: การตั้งเป้าหมายของแคมเปญการโฆษณาที่ชัดเจนสำหรับแต่ละช่องทางเป็นเรื่องที่สำคัญ บางครั้งเราอาจจะมองว่าหากเราหว่านการซื้อโฆษณาในทุกช่องทางได้ จะครอบคลุมและกระตุ้นยอดขายได้มากขึ้น จึงตั้งเป้าหมายแคมเปญในทุกช่องทางเป็นการขาย แต่ในความจริงแล้ว โฆษณาบนบางช่องทางอาจเป็นเพียงตัวช่วยย้ำข้อความสำคัญของแบรนด์หรือ Key Message เพื่อให้จดจำได้ แล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่กลุ่มเป้าหมายนั้นๆ มีความต้องการซื้อก็จะไปค้นหาและต้นสินค้าซื้อจากช่องทางอีกช่องทางหนึ่งอีกที เพราะฉะนั้นแล้วบางช่องทางจึงเหมาะกับการซื้อโฆษณาเพื่อวัตถุประสงค์ของการเข้าถึงหรือ Brand Awareness บางช่องทางเหมาะสำหรับการกระตุ้นให้เกิดการจดจำ และ บางช่องทางอาจจะเหมาะสำหัรบการโฆษณาเพื่อการขาย เป็นต้น เพราะช่องทางการเลือกใช้จุดประสงค์การโฆษณาให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและช่องทาง จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เราใช้งบประมาณหลายๆช่องทางแบบเกินกำลัง 
  2. การทำความเข้าใจจุดแข็งของแต่ละช่องทาง: บางช่องทางบนโลกออนไลน์เหมาะสำหรับการโฆษณาเพื่อการเข้าถึง การมองเห็น บางช่องทางเหมาะสำหรับการขายอย่างที่กล่าวมาข้อ 2 ว่าให้พิจารณา และ วิเคราะห์ ข้อมูลของพฤติกรรมของผู้บริโภคก่อนตัดสินใจเลือกใช้ช่องทางสำหรับการโฆษณาบนออนไลน์ อย่าวิ่งไล่ตามเพียงแค่เทรนด์ที่เข้ามาอย่างเดียว แต่ให้กลับมาวิเคราะห์เสมอว่า Customers Personas ลักษณะลูกค้าของเราเป็นอย่างไร มี Customers Journey หรือเส้นทางการค้นหาข้อมูลผ่านช่องทางการตลาดอย่างไรบ้าง 
  3. ทดสอบและวัดผลอย่างสม่ำเสมอ: การทดลอง และ ทดสอบการสร้างแคมเปญโฆษณาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก มักจะมีคำถามเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของงบประมาณที่ควรใช้ในการซื้อโฆษณาบนโลกออนไลน์ ว่าเราควรใช้กี่ เปอร์เซ็นหรือจำนวนเท่าไหร่ ถึงจะคุ้มค่า คำตอบที่สุดแล้วไม่มีอะไรตายตัว และ จะไม่มีใครทราบดีเท่ากับเจ้าของธุรกิจนั้นๆ หรือ นักการตลาดที่ดูแลแคมเปญการตลาดสำหรับธุรกิจนั้นๆ มาตั้งแต่ต้น แต่หากเรามีการทดสอบ ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของ A/B Testing การทดสอบเพื่อการเปรียบเทียบและมีการเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เราจะสามารถมีคลังของต้นแบบในการโฆษณาที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ได้มากขึ้น 

ขั้นตอนที่ 3: การกระจายโอกาสยอดขายผ่านการซื้อโฆษณาบน Google

สำหรับแพลตฟอร์มบน Google มักจะมีจำนวนธุรกิจที่หันมาให้ความสนใจในการสื่อโฆษณา ไม่เทียบเท่าการซื้อโฆษณาผ่านโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ รวมกัน เนื่องจากหลายๆคนอาจจะมองว่าการซื้อโฆษณาบน Google Ads มีความซับซ้อนมากกว่า และ กลุ่มลูกค้าอาจจะไม่ได้อยู่ในบ้าน Google แล้ว แต่ก็อย่าลืมว่า Google เองก็มีแพลตฟอร์มอื่นๆเช่น Youtube ที่ยังมีผู้ใช้งานอยู่ต่อเนื่องเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีกระแสการใช้งานใน Tiktok ที่เพิ่มทวีขึ้นในทุกๆ ปี และอีกประการคือ Google ก็มีการพัฒนาเทคโนโลยี AI เข้ามาผ่าน Gemini เพื่อตอบโจทย์การค้นหาผ่าน AI อีกด้วย เพราะฉะนั้นการทำโฆษณาบน Google จึงยังมีความสำคัญอยู่โดยเฉพาะประเทศไทยเราที่ยังค้นเน้นการใช้งาน Search Engine ผ่าน Google อยู่เป็นหลัก

3 สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจาณาก่อนตัดสินสินใจซื้อโฆษณาผ่าน Google Ads มีดังต่อไปนี้ 

  1. การวิเคราะห์คำและกลุ่มคำด้วยการทำกระบวนการ Keyword research ผ่านเครื่องมือของ Google อย่าง Google Keyword Planner หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยเสริมมาเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อสำรวจ Demand หรือความต้องการค้นหาโดยแท้จริง และ ตรงจุดกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายกำลังมองหาอยู่ ก่อนที่จะลงมือเข้าสู่ขั้นตอนการซื้อโฆษณา เพื่อประหยัดเวลาการลองผิดลองถูก และ ใช้งบประมาณให้คุ้มค่ามากที่สุด ดีกว่าการนั่งเดา ว่าลูกค้าจะใช้กลุ่มคำไหนในการค้นหาเอง
  2. การใช้ Long-Tail Keywords หรือกลุ่มคำที่เป็นประโยคมากขึ้นในการหาข้อมูลเพื่อรองรับการค้นหาที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้คือการค้นหาข้อมูลโดยการใช้ Generative AI ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อให้โฆษณาของเรารวมถึงการทำคอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์ SEO สามารถตอบโจทย์ SEO สำหรับ Generative AI ได้อีกด้วย และ อีกประการคือเพื่อตอบโจทย์ กลุ่มคนที่มีความต้องการสินค้าอยู่แล้วอีกด้วย 
  3. เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เราต่อยอดเรื่องของการทำ Remarketing Campaign เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจอยู่แล้ว เราสามารถประหยัดงบประมาณจากการซื้อโฆษณาออนไลน์ได้จากช่องทางนี้ด้วยค่ะ 

 

ขั้นตอนที่ 4: ใช้การโฆษณาบนโซเชี่ยลมีเดียเพื่อเพิ่มความสนใจและการเข้าถึง

ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Facebook และ Instagram ที่มีระบบหลังบ้านสำหรับการโฆษณาค่อนข้างละเอียดกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ และยังถือว่าเป็น 2 แพลตฟอร์มที่มีจุดเชื่อมโยงกันสำหรับการโฆษณาอีกด้วย 

Tiktok Ads ที่เป็นแพลตฟอร์มสุดฮิต ณ ปัจจุบัน ระบบหลังบ้านสำหรับการโฆษณาอาจจะไม่ได้ละเอียดเท่ากับบ้าน Facebook แต่ก็ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มียอดผู้ใช้ที่เติบโตมาที่สุด ทั้งนี้ทั้งนั้นการซื้อโฆษณาบน Tiktok มีจุดประสงค์ที่หลากหลายก็แล้วแต่ว่า ธุรกิจของเราจะเหมาะสำหรับจุดประสงค์อะไรในการใช้ Tiktok เช่น เราอาจจะซื้อโฆษณาบน Tiktok เพื่อทำให้เกิดการเข้าถึง หรือรู้จักมากขึ้น แต่อาจจะไม่เหมาะกับเรื่องของการขายเพราะสินค้าเราอาจจะต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม กระบวนการขายที่มีทีมขายเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นต้น หรือสินค้าของเราซื้อมาขายไปได้ง่าย เข้าใจง่ายราคาเอื้อมถึงง่าย ไม่ต้องเปรียบเทียบเยอะหรือหาข้อมูลเยอะ เราอาจจะใช้การโฆษณาบน Tiktok Ads สำหรับจุดประสงค์การขายก็เป็นได้ 

และนอกเหนือจากแพลตฟอร์มข้างต้นยังมี แพลตฟอร์มอื่นๆ อีกด้วยไม่ว่าจะเป็น Youtube Ads, Line Ads Platform อีกด้วยที่สามารถให้เราต่อยอดการโฆษณาออนไลน์ได้อีก

ขั้นตอนที่ 5: การเพิ่ม ROI หรือ Return on Investment โดยการวิเคราะห์และการรายงานผลลัพธ์หรือ Report

การวิเคราะห์ข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จากการโฆษณาจะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นสำหรับการต่อยอดและการบริหารจัดการงบประมาณ สำหรับการโฆษณา เพราะฉะนั้นการใช้เครื่องมือเพื่อติดตามผลลัพธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง Google Analytics, การหาข้อมูลจาก Facebook Insight, การวิเคราะห์ผลลัพธืด้วย Tiktok Analytics, Youtube Analytics การใช้เครื่องมือเหล่านี้ก็จะทำให้เราสามารถเห็นข้อมูลสถิติและผลลัพธ์ของแต่ละแพลตฟอร์มได้ชัดเจนขึ้น เราสามารถตรวจสอบข้อมูลไม่ว่าจะเป็น

  • Cost-per-click (CPC): ต้นทุนต่อ การคลิกโฆษณา 
  • Conversion Rates: อัตรายอดขายต่อการเข้าถึงโฆษณา 
  • Cost Per Acquisition: ต้นทุนการได้มาซึ่ง 1 ลูกค้า 
  • Return on Ad Spending: ROAS ผลตอบแทนซึ่งมาเป็นยอดขายจากการโฆษณาไป ได้กลับมากี่เท่าตัว ในการลงทุนโฆษณา

ขั้นตอนที่ 6: ติดตามเทรนด์ และ เทคนิคที่อัพเดทอยู่ตลอดเวลา

การติดตามเทรนด์ความรู้และอัพเดทเทคนิคตลอดเวลาจะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนและบริหารงบประมาณการซื้อโฆษณาได้ทันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของเรา ตัวอย่างเช่นเทรนด์ที่เกิดขึ้นตอนนี้คือการใช้ AI ค้นหาข้อมูลแทน Search Engine แล้วจะมีผลอย่างไรบ้างต่อโฆษณาของเรา เราจึงต้องปรับเปลี่ยนการใช้ โฆษณาที่มีกลุ่มคำเป็น Long-Tail Keyword มาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ การค้นคำตอบใน AI อีกด้วย

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Generative AI คืออะไร? Prompt Message คืออะไร? เราจะเริ่มต้นใช้ Generative AI เพื่อสร้างงานให้กับ การตลาดได้อย่างไร?

Generative AI and Prompt Message


หากใครทำธุรกิจ หรือ ทำงานสายการตลาดหรือสนใจเรื่องของเทคโนโลยี คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ AI (Artificial Intelligence) กันบ่อยมากๆ และ เราก็จะได้เห็นกรณีศึกษาที่ใช้ Generative AI  ในการสร้างชิ้นงานออกมาได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านคอนเทนต์ ประเภทตัวอักษร ด้านรูปภาพ ด้านวิดีโอ ทำให้เปิดโอกาสในการทำงานได้จำนวนชิ้นงานที่มากขึ้นและหลากหลายมากขึ้น โดยส่วนตัวของเอ็มมี่เองก็ได้มีโอกาสขึ้นพูดในงาน Martech Expo 2024 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาทักษะของเราให้พร้อมเพื่อรับมือกับ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปไว เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสที่สร้างผลงานที่คุณภาพให้เราได้มากขึ้น
Generative AI ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ถูกกล่าวถึงเยอะในงาน Martech Expo 2024 ที่ผ่านมาค่ะ 

Generative AI คืออะไร?

>>>Generative AI (สำหรับผู้อ่านท่านไหนที่อยากเรียนรู้กับ Generative AI เพิ่มเราก็มีรายละเอียดอยู่ในบทความนี้นะคะ)<<<

Generative AI ย่อมาจาก Generative Artificial Intelligence ถ้าเราเปิดหาคำแปลของคำว่า Generative AI คงได้คำที่เป็นการแปลที่ตรงตัว Generative มากรากศัพท์มาจากคำว่า Generate คือการสร้างขึ้นมา หรือการเริ่มต้นสร้าง พอมารวมกับคำว่า Artificial Intelligence แล้ว ก็แปลตรงตัวว่าเป็นการสร้างปัญญาประดิษฐ์สำหรับการใช้งาน และมาเพื่อช่วยงานของมนุษย์ในหลากหลายด้านด้วยกัน และถ้าตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Wikipedia สําหรับ Generative AI คือปัญหาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาเป็นตัวอักษร รูปภาพหรือสื่อต่างๆ ได้เกิดจากการเรียนรู้ที่เป็นแพทเทิร์นและโครงสร้างของข้อมูลที่มนุษย์ป้อนเข้าไปค่ะ 

Generative AI เกิดจากอะไร?

ที่เราเริ่มรู้จักกันในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมาไม่ว่าเป็น ChatGPT, Bards หรือ Gemini, Dall-E และ Mid Journey นั้นก็มาจาก Generative AI ที่มีการเรียนรู้จากการป้อนภาษาที่เราเรียกว่า Large Language Model ค่ะ หรือที่ย่อว่า LLM นั้นเองคือการป้อนภาษาเข้าไปหรือข้อมูลขนาดใหญ่และให้ระบบของปัญญาประดิษฐ์ได้เรียนรู้ องค์ประกอบของภาษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ บริบท วิธีคิด การสะกด วิธีการตอบจากมนุษย์ค่ะ 

และแน่นอนว่าในปี 2024 นี้ บริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายๆ เจ้าไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Baidu และ Amazon ก็กำลังเร่งลงทุน ลงแรง เพื่อนำเรื่องของ Generative AI ไปต่อยอดเทคโนโลยีต่างๆ ขององค์กรอย่างต่อเนื่องค่ะ 

แล้ว Generative AI จะสามารถช่วยงานการตลาดของเราได้หรือไม่? 

คำตอบคือ ได้แน่นอนค่ะ 

สำหรับบทความนี้เราจะไม่ได้เฉพาะเจาะจงเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นแต่เราจะนำเสนอหลักการที่สามารนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเครื่องมือนะคะ  

อยากให้ผู้อ่านลองจินตนาการและ เปรียบ Generative AI เสมือนมนุษย์ที่เพิ่งเกิดใหม่ เรียกว่าแรกเริ่มของทารก เราสามารถสอนให้เขาพูดภาษาเราได้ เข้าใจเราได้เพียงแค่ระบบในการเรียนรู้ของเขา รวดเร็วกว่ามนุษย์หลายเท่าตัว เพราะฉะนั้นหากเรารู้วิธีการที่จะพูดคุยกับ Generative AI และป้อนคำสั่งในการเรียนรู้เข้าไปในระบบอย่างละเอียดและครบถ้วน และสำหรับการใช้งาน Generative AI สำหรับสายงานการตลาดและคอนเทนต์ ก็ถูกนำมาใช้หลากหลาย อย่างรูปภาพด้านล่างนี้ก็เป็นการคัดเครื่องมือทั้ง Martech Tools ต่างๆ ที่มีทั้งเป็นลักษณะ Generative AI และไม่ใช่อยู่ในตารางนี้ด้วยเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพว่า ณ ปัจจุบัน มีเครื่องมือหลากหลายที่สามารถช่วยงานส่วนของ การตลาด (Marketing) ได้ 

การเลือกใช้งานเครื่องมือ Martech สำหรับการสร้าง Content Marketing 

Martech Tools for Content Creators and Marketers

จากภาพด้านบนนี้เป็นตัวอย่างที่เอ็มมี่สรุปมาให้เวลาใช้งานจริงค่ะ ตั้งแต่ 

1. การวางแผนกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ 

หากเราอยากเริ่มต้นทำแผน หรือเป็น canvas เพื่อให้ทุกคนในทีมเข้าใจตรงกัน เราสามารถใช้ whiteboard ของ canva หรือ เราจะใช้ ตัวเว็บของ canvanizer ในการสร้าง canvas ของเราขึ้นมาก็ได้ 

2. การหาข้อมูลเชิงลึก

ใช้ตัว insight tool อื่นๆ ที่ใช้ฟรี เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมมาต่อยอดไอเดีย คีย์เวิร์ดต่างๆ ค่ะ หากเราไม่ได้มีการเก็บ Survey หรือข้อมูลการวิจัยใดๆ ก็อาจจะแนะนำให้ใช้ Google Trends / Facebook Insight / Tiktok Trends / Trending Video ของ Youtube และ Social Listening Tools อื่นๆไม่ว่าจะเป็น Mandala AI / Wisesight / Real Smart แนะนำให้ใช้ของไทยหากท่านไหนทำการตลาดในไทยอยู่เพราะจะได้ Insight ที่เป็นของคนไทยมากกว่าและประยุกต์ใช้ได้ตรงจุดกว่าค่ะ  

3. Keyword Research เพิ่มเติม 

จะมาจาก Google Keyword Planner / Ubersuggest / ahrefs 

4. Text Content Creation หรือการสร้างคอนเทนต์ตัวอักษร 

ถึงตรงนี้จะเป็นส่วนของ Generative AI แล้วค่ะที่จะเข้ามามีบทบาทช่วยงานสาย Marketing และ Content Marketing จริงๆ มีหลายตัวเลย แต่หลักๆที่เอ็มมี่และทีม STEPS เราใช้กันจะมี ตัว Chatgpt  / Gemini By Google / Jasper.ai / และ Ryte ค่ะ มีทั้งฟรีและคิดค่าบริการเป็นหลายเดือนทั้งนี้ทั้งนั้น สำหรับการใช้ เครื่องมือแต่ละตัวเดี๋ยวเราจะมาอัพเดทกันอีกทีในคอนเทนต์หน้านะคะ 

5. Text to Image Generative Tools 

เราจะใช้เป็น ChatGPT 4 บวกกับ Dall-E และ Canva เป็นหลักค่ะเพราะใช้งานง่าย สำหรับ Gemini เรากำลังอยู่ในช่วงการทดลองเดี๋ยวจะมาอัพเดทกันอีกทีค่ะ

6. Text to Video Tools 

เราใช้ ChatGPT 4 และ บวก Plugin ในส่วนของ Video มาช่วยสร้าง Storyboard / สคริปต์/ และร่างของวิดีโอขึ้นมาค่ะ ตัวอย่างของ Plugin: Video GPT by Veed หรืออาจะใช้ Canva และรอตัว Text Generative to Video อย่าง Sora ของค่าย Open AI ก็ได้ค่ะ

7. Marketing Automation Tools 

Martech Tools สำหรับการทำระบบอัตโนมัติของการตลาดไม่ว่าจะเป็น Zapier / Hubspot / Active Campaign เป็นต้น รายละเอียดด้านบนก็จะทำให้เห็นว่า ณ​ ปัจจุบัน Generative AI มีส่วนในงานของการตลาดเยอะมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราอยากได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และ ตรงใจกับสิ่งที่เราต้องการมากขึ้นเราต้องรู้หลักการ PROMPT Message ค่ะ 

Prompt Message คืออะไร?

ถ้าอธิบายให้ง่ายที่สุดคือการ สั่งการ สั่งงานหรือการบรีฟค่ะ บรีฟอย่างไรให้ Generative AI สามารถผลิตชิ้นงานได้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด โดยหลักการของ Prompt Message ประกอบไปด้วย 

Effective Prompt Message

 

1. Context บริบท

บริบท พูดง่ายคือแบ่งออกมาเป็น 2 ส่วน คือ 

ส่วนที่ 1 บทบาทที่เราอยากให้ AI เป็น และ

ส่วนที่ 2 สิ่งแวดล้อมของ สถานการณ์ นั้นๆ เช่น 

เราบอกว่า ตอนนี้คุณเป็นนักการตลาดของแบรนด์ๆ นี้ ที่มีประสบการณ์ทางด้านการทำ Content Marketing มาแล้วในด้านอุตสาหกรรมอะไรบ้าง คุณเป็นคาแรกเตอร์ครีเอทีฟ ใช้คำเก่ง และแบรนด์นี้มีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสื่อสารดังต่อไปนี้ ธุรกิจนี้ทำเกี่ยวกับอะไรบ้าง  

ยิ่งเราบอกชัดเท่าไหร่ ตัว AI จะสามารถทำความเข้าใจในการ Mapping Data ที่มีอยู่ได้รวดเร็วขึ้น 

อย่าลืมว่า.. เราต้องใช้ Generative AI ให้มีความแตกต่างจากการใช้ Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล เพราะใน Search Engine เราอาจจะพิมพ์คำว่า What หรืออะไร ทำไม และเราก็จะเป็นคนรวบรวมข้อมูลนั้นๆ ประมวลผลว่าใช่สิ่งที่เราต้องการหรือไม่ ทำมาวิเคราะห์ ต่อยอดและขยายความเพิ่มเติม

สำหรับ Generative AI ที่ช่วยเราทำงานในส่วนของการรวบรวม วิเคราะห์และต่อยอดข้อมูลเราต้องทำให้ละเอียดขึ้นไป

เพื่อให้เขาทำงานให้เราเร็วและไวขึ้น คิดง่ายๆว่าเหมือนเรารับคนทำงานสายการตลาดมาอาจจะมีประสบการณ์มาประมาณ 1-2 ปี แต่เราต้องทำ Onboarding Training ให้เขาก่อน ว่าพื้นหลังของธุรกิจของเราเป็นอย่างไรบ้าง?

เราเป็น USP (Unique Selling Point) หรือมีจุดขายอะไร มีลูกค้าเป็นใคร สินค้าของเรามีลักษณะโดดเด่นอะไรบ้าง 

คำถาม คือ Context หรือบริบทต้องละเอียดขนาดนี้เลยหรอ? คำตอบ คือ ต้องละเอียดเพื่อเพราะอย่าลืมว่า Generative AI ไม่ใช่การที่เราจะได้คำตอบจากเขาอย่างเดียวแต่เราต้องสอนเขาด้วย ให้เขาสามารถช่วยเราได้ค่ะ

2. Tasks รายละเอียดงานที่เราอยากให้เขาผลิตให้เรา 

เช่น หัวข้อคอนเทนต์สำหรับลงในช่องทางอะไร โดยใช้คำอะไรประกอบบ้าง เพื่อจุดประสงค์อะไร 

    • ชิ้นงานที่เราอยากให้เขาผลิตเป็นชิ้นงานอะไร
    • มีจุดประสงค์อะไรบ้าง 
    • มีรูปแบบแบบไหน เอาไปใช้เพื่ออะไร 

ในส่วนของ Tasks ก็สำคัญที่สุดสำหรับ Objective หรือจุดประสงค์ของ Tasks ที่เกิดขึ้น เช่น เราบอกให้ AI ผลิตหัวข้อคอนเทนต์สำหรับสินค้าอาหารสุนัขมาให้ อันนี้เขาก็จะคิดหัวข้อคอนเทนต์มาให้แต่ โดยรวมแล้วจะไม่ได้แบ่งออกมาว่าหัวข้อนี้เหมาะสำหรับการนำไปประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดแบรนด์ใหม่นะ หรือ หัวข้อนี้เหมาะกับการนำไป กระตุ้นยอดขายนะ แต่ถ้าเราระบุชัดว่า เราต้องการให้เขาคิดหัวข้อคอนเทนต์เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักเรามากขึ้น เพราะเราเพิ่งเปิดแบรนด์ใหม่ มีจุดประสงค์คือ awareness เราต้องการหัวข้อคอนเทนต์สำหรับลงแพลตฟอร์ม …. (อย่างเช่น Facebook, TikTok หรือ Line) ตรงนี้ AI ก็จะผลิตหัวข้ออกมาให้ละเอียดและชัดขึ้นด้วยค่ะ 

3. Boundaries จำนวนชิ้น ขอบเขตของชิ้นงาน 

มีข้อควรอะไรที่ต้องระวังไหมในการใช้คํา ขอบเขต คือให้เราต้องคํานึงถึงอะไรบ้าง เช่น คำที่มันทำให้ดู Over Claim เกินไป หรือคำที่เราอยากให้โฟกัสเป็นพิเศษเพราะเราต้องการให้ติด SEO เป็นต้น ซึ่งขอบเขตเพิ่มเติมอาจจะใส่ข้อมูลด้วยว่า ข้อมูลแบบไหนที่เราไม่ต้องการ ถ้าอยากได้คำตอบเชิงลึก อยากได้ประมาณไหนบ้าง ระบุลงไปให้ชัดเจนได้เลยค่ะ

4. Extra Information ข้อมูลเพิ่มเติม

เช่น Mood & Tone ของภาษาที่ใช้หรืออยากจะสื่อสารออกมา หรือมี Request อะไรพิเศษที่เราอยากได้ มีคำขยายเพิ่มเติมเพื่อให้ผลงานเราออกมาชัดขึ้น เช่น ทำให้เป็นสไตล์โมเดิร์น ทำให้ดูเหมือนมาจากอนาคต ประมาณนี้ค่ะ เอาละค่ะเดี๋ยวเรามาดูตัวอย่างกันนะคะ 

ตัวอย่างของการเขียน Prompt Message สำหรับงานสร้างคอนเทนต์

1. Context: บทบาท 

ตอนนี้คุณมีบทบาทหน้าที่เป็นนักการตลาดที่ต้องทำการโปรโมทแบรนด์เครื่องหอมแบรนด์ใหม่ที่มีชื่อว่า Emmie Scent เป็นแบรนด์สำหรับคนทำงานที่ต้องได้รับการผ่อนคลาย สดชื่น  และ สงบ ในระหว่างวันที่เกิดจากความเครียดของการทำงาน แบรนด์มีคาแรกเตอร์เหมือนเพื่อนที่อยากให้คำแนะนำที่ดีในการดูแลสุขภาพเพื่อการทำงานผ่าน 5 ประสาทสัมผัส กลุ่มเป้าหมายจะเป็นคนวัยทำงาน อายุ 28-38 ปี ที่เริ่มมีตำแหน่งเป็น Senior และ Manager ความรับผิดชอบที่เยอะขึ้น ใช้เวลาทำงานเยอะขึ้น รายได้อยู่ตั้งแต่ 50,000-70,000 บาท  เราอยากให้คุณที่ในฐานะเป็นนักการตลาดที่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว 3 ปี 

2. Tasks: งานที่เราอยากให้เขาทำให้

วางแผนหัวข้อคอนเทนต์สำหรับทำคอนเทนต์ผ่าน Instagram โดยมีจุดประสงค์เพื่อการเปิดตัวของแบรนด์ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้เยอะขึ้น อยากให้คุณลิสต์หัวข้อคอนเทนต์ที่จะทำลงบน Instagram มา 10 หัวข้อพร้อมบอกรายละเอียดประเภทของรูปภาพ และ แคปชั่น และ Hashtag ที่คุณจะใช้ด้วย

3. Boundaries: ข้อคำจำกัดและเงื่อนไข

จำนวน Hashtag จำนวน 7-8 hashtag 

4. Extra Information: ข้อมูลเพิ่มเติม

Mood & Tone ให้มาในโทนของความเป็นเพื่อน 

จากตัวอย่างด้านบนเป็นการที่เราให้ ChatGPT หรือหนึ่งในเครื่องมือ Generative AI ช่วยสร้างคอนเทนต์สำหรับการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ 

ด้านบนเป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวค่ะ ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างคอนเทนต์ และสร้างชิ้นงานด้านการตลาดจาก Generative AI ด้วยหลักการของ Prompt ได้ สำหรับที่สนใจอยากเรียนรู้เกี่ยวกับ Generative AI เพิ่มเติมอย่าลืมติดตามบทความของเราที่จะมีอัพเดทผ่านเว็บไซต์ STEPSTRAINING.CO และ อีเมล์ทุกๆ สัปดาห์ และหากใครอยากเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กรและธุรกิจของท่านเรามี

หลักสูตร ChatGPT for Content Marketing ในรอบถัดไป เปิดรับสมัครแล้วค่า 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Data-driven Decision-making (DDDM) ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจในยุค 2024

Data Driven Decision Making Blog Banner


คุณรู้หรือไม่ว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน มีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งโดยเฉลี่ย 25% ซึ่ง การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรด้วยการตัดสินใจด้วยข้อมูล เป็นการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในยุค 2024 ที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในทุกระดับ เพื่อการตัดสินใจโดยใช้หลักฐาน และข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของการตัดสินใจด้วยข้อมูล และขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพกัน

Data Driven Decision Making Top Blog Pic

Data-driven Decision-making (DDDM) คืออะไร

Data-driven Decision-making (DDDM) หรือการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เป็นแนวทางที่เน้นการใช้ข้อมูล และการวิเคราะห์มากกว่าสัญชาตญาณในการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น ความคิดเห็นของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และข้อมูลทางการเงิน มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในกระบวนการตัดสินใจ

ประโยชน์ของการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ธุรกิจสามารถเปลี่ยนการดำเนินงาน และวางจุดยืนของตนเอง เพื่อความสำเร็จในระยะยาวที่ยั่งยืน โดยการนำโมเดลการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้ ปรับปรุงประสบการณ์ให้กับลูกค้า และลดต้นทุนในกระบวนการทำงาน

การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า

องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลให้ความสำคัญกับลูกค้ามากขึ้น และเข้าใจ Customer Journeys อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ Data-driven Decision-making ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้า ช่วยให้คุณปรับแต่งข้อเสนอทางธุรกิจ ปรับปรุงบริการ ด้วยการทำ Data Analysis คือ การแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งนี้จะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล ความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แข็งแกร่งขึ้น และรายได้ที่สูงขึ้น

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีขึ้น

การใช้ข้อมูลเพื่อสร้างทางเลือก ทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายที่สามารถทำได้จริง และนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ เพราะ Data-driven Decision-making ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน โดยการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างแผนกต่างๆ สนับสนุนการสื่อสาร และส่งเสริมความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

สร้างโอกาสในการเติบโต

Data-driven Decision-making ช่วยให้คุณสามารถระบุโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และพื้นที่สำหรับการปรับปรุงเพิ่มเติมในแต่ละภาคส่วน ทำให้เราเห็นแนวโน้ม และรูปแบบในการมองหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจของคุณค้นพบปัญหาคอขวด และสิ่งที่คุณต้องดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

ความท้าท้ายในปี 2567 หรือ 2024 สำหรับแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะแบรนด์ใหญ่หรือแบรนด์เล็กก็ตาม เพราะช่องทางการทำการตลาด พฤติกรรมของลูกค้า ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการใช้ Influencer ในการทำการตลาด ดังนั้นเพื่อการตัดสินใจในแนวทางดำเนินการธุรกิจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ วางกลยุทธ์มากขึ้นในปีนี้ ซึ่งเราจะมาพูดถึงกันในหัวข้อถัดไปกับ

6 ขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณค้นหาคำตอบได้ว่า “ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร และทำไม” เพื่อใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการวางแผนธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่า

1. ระบุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

ขั้นตอนแรกนี้เราจะต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร และเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ  ซึ่งข้อมูลนี้ควรเจาะจงออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเหมือนกับการเพิ่มยอดขาย และการเพิ่มจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ เพื่อนำไปใช้ต่อในขั้นตอนการกำหนดตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) และหน่วยวัดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจากข้อมูล ช่วยให้คุณพิจารณาว่าข้อมูลใดที่จะวิเคราะห์ และคำถามใดที่ควรถาม

2. สำรวจทีมเพื่อหาแหล่งข้อมูลสำคัญ

ขั้นตอนต่อมาคือ การขอข้อมูลจากทุกฝ่ายทั่วทั้งองค์กร เพื่อนำมาประกอบกันและทำความเข้าใจกับเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เรารวบรวมเป็นฐานข้อมูลกลาง และนำไปใช้ในการตอบคำถามต่างๆ ที่ผู้คนเกิดข้อสงสัย รวมไปถึงวิธีที่คุณจัดลำดับความสำคัญของแหล่งข้อมูลที่ได้รับ

ดังนั้นข้อมูลอันมีค่าจากทั่วทั้งองค์กรจะช่วยเป็นแนวทางในการปรับใช้การวิเคราะห์ และบอกสถานะในอนาคต รวมถึงบทบาท ความรับผิดชอบ สถาปัตยกรรม และกระบวนการ ตลอดจนการวัดค่าความสำเร็จของสิ่งที่องค์กรดำเนินมา

3. รวบรวมและเตรียมข้อมูลที่คุณต้องการ

การเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพ และเชื่อถือได้อาจเป็นอุปสรรคใหญ่หากข้อมูลธุรกิจของคุณอยู่ในแหล่งที่เข้าถึงยาก ดังนั้นเมื่อคุณมีแนวคิดเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลที่หลากหลายทั่วทั้งองค์กรของคุณแล้ว คุณก็สามารถเริ่มต้นการเตรียมข้อมูลได้ โดยเริ่มต้นด้วยการเตรียมแหล่งข้อมูลที่มีผลกระทบต่อองค์กรสูง และมีความซับซ้อนต่ำก่อน และต่อมาให้ทำการจัดลำดับความสำคัญแหล่งข้อมูลที่มีผู้ชมมากที่สุดก่อนเพื่อให้คุณและทีมงานสามารถนำไปใช้ได้ทันที

เอเจนซี่การตลาด Tinuiti จาก New York ได้ใช้ขั้นตอนในการตัดสินใจด้วยข้อมูล เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและพนักงานกว่า 1,000 คนสามารถเข้าถึง และใช้ข้อมูลได้จากการรวมแหล่งข้อมูลมากกว่า 100 แห่งไว้ที่ศูนย์กลางเดียวกันด้วยแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ช่วยรองรับการเตรียมข้อมูลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแดชบอร์ดที่เราสามารถกำหนดค่าได้เองว่าต้องให้แสดงผลข้อมูลแบบใดบ้างให้กับลูกค้ามากกว่า 500 ราย และส่งมอบเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับความพยายามในการสร้างแบรนด์ของพวกเขาสู่กลุ่มเป้าหมาย

4. ดูและสำรวจข้อมูล

การแสดงข้อมูลออกมาให้เห็นเป็นภาพ หรือ Data Visualization คือสิ่งสำคัญสำหรับ Data-driven Decision-making ที่จะช่วยให้คุณมีโอกาสมากขึ้นในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำระดับสูง และพนักงานคนอื่นๆ ด้วยองค์ประกอบมากมายอย่าง แผนภูมิ กราฟ และแผนที่ ที่จะทำใหการแสดงภาพข้อมูลเป็นวิธีที่ทำให้เข้าถึง และเข้าใจทิศทางของแนวโน้ม ความผิดปกติ และรูปแบบของข้อมูล 

การแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) มีหลากหลายรูปแบบที่ได้รับความนิยม เพื่อการแสดงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ  ได้แก่ แผนภูมิแท่งสำหรับการเปรียบเทียบ แผนที่สำหรับข้อมูลเชิงพื้นที่ แผนภูมิเส้นสำหรับข้อมูลชั่วคราว และอื่นๆ

5. หาข้อสรุป

หาข้อสรุปที่ชัดเจนจากการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytics คือ การนำข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือในอดีตมาวิเคราะห์ และสื่อสารความหมายอย่างมีประสิทธิภาพโดยสร้างรูปแบบการจัดวางข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กรของคุณ และมุ่งหวังที่จะทำให้ข้อมูลเข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

JPMorgan Chase & Co บริษัทการเงินข้ามชาติสัญชาติอเมริกันที่มีสำนักงานใหญ่ที่ New York นำโซลูชันการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจที่สำคัญต่อสุขภาพของธนาคารทำให้ JPMC ได้รับมุมมองที่ครอบคลุมทั้งหมดเกี่ยวกับ Customer Journey โดยการตรวจสอบความสัมพันธ์สายงานธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์ การตลาด และจุดสัมผัสการบริการของข้อมูลลูกค้า เพื่อนำมาประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ขององค์กร และโปรโมชั่นต่างๆ

6. ดำเนินการและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของคุณ

เมื่อคุณค้นพบข้อมูลเชิงลึกแล้ว คุณจำเป็นต้องดำเนินการ หรือแบ่งปันกับผู้อื่นเพื่อการทำงานร่วมกัน หนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีและสะดวกคือการแชร์แดชบอร์ดกับทุกคนในองค์กร ซึ่งการเน้นข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญโดยการใช้ข้อความตัวอักษร และการแสดงภาพ สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ชม และช่วยให้พวกเขาใช้ข้อมูลมากขึ้นในการทำงานประจำวันของพวกเขา

และสำหรับใครที่อยากเริ่มต้นเรียนรู้การใช้ Data สำหรับธุรกิจเรามีหลักสูตร Data สำหรับการต่อยอดธุรกิจและการตลาดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://stepstraining.co/data-analytics-marketer

บทสรุป

6 ขั้นตอนในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วย

  1. ระบุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร
  2. สำรวจทีมเพื่อหาแหล่งข้อมูลสำคัญ เพื่อนำมาประกอบกันและทำความเข้าใจกับเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว
  3. รวบรวมและเตรียมข้อมูลที่คุณต้องการ
  4. ดูและสำรวจข้อมูล และการแสดงข้อมูลด้วยภาพมีหลากหลายรูปแบบ
  5. หาข้อสรุปที่ชัดเจนจากการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณและสื่อสารความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ดำเนินการและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของคุณให้กับผู้คนทั้งองค์กร

ฝากติดตามบทความต่อๆไป ที่อัพเดทเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัลจากทีมงาน STEPS ด้วยนะคะ

แหล่งที่มา:

  1. https://www.tableau.com/learn/articles/data-driven-decision-making#:~:text=Data%2Ddriven%20decision%2Dmaking%20
  2. https://www.datamation.com/big-data/data-driven-decision-making/#:~:text=The%20data%2Ddriven%20decision%2Dmaking,a%20plan%20based%20on%20those

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

คนดูคอนเทนต์เยอะ ไม่ได้แปลว่าจะเป็นลูกค้า: Story telling เล่าเรื่องยังไงให้ขายของได้ปัง

many people watch content doesn't mean you'll become a customer: story telling: how to tell a story to sell products successfully?

Story telling หรือ การเล่าเรื่องเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวางกลยุทธ์การตลาดที่สามารถช่วยกระตุ้นยอดขายให้กับคุณ ผ่านสิ่งที่

เจาะลึกกลยุทธ์ E-E-A-T: ทําให้เว็บไซต์กลายเป็นเว็บโปรดของ Google ได้ยังไง

e-e-a-t-strategy-how-to-help-your-site-become-google's-favorite-site

เคยสงสัยกันไหมว่าทําไมบางเว็บไซต์ถึงดูขึ้นมาในหน้าแรกของการค้นหาตลอด โดยที่ไม่ว่าจะเสิร์ชกี่ครั้งเว็บไซต์นั้นก็ยังขึ้นโชว์อยู่

อนาคตของแบรนด์ในปี 2024: การตลาดสู่ผู้บริโภคในอนาคต

brand time future: marketing to future consumers

ลองนึกภาพการก้าวเข้าสู่ตลาดที่มีรายล้อมไปด้วยคําที่คุ้นหูกันอย่าง “Metaverse Marketing” หรือ “AI-Powered Personalization” “Gen Alpha Loyalty”

5 แนวทางที่นักการตลาดควรเริ่มใช้ Generative AI ได้แล้วตั้งแต่วันนี้

5-ways-marketers-should-be-using-generative-ai-now

นักการตลาดหรือ Marketer ทั้งหลายควรอัพเดทเครื่องมือที่อาจช่วยให้การทํางานในทุกวันนี้ง่ายขึ้นหรือได้เทคนิคใหม่ๆ สร้างสรรค์งาน

Digital Marketing 101: 4 ขั้นตอนเข้าใจการตลาดดิจิทัลขั้นพื้นฐาน

digital-marketing-101:-4-steps-to-understand-basic-digital-marketing

การตลาดดิจิทัลจริงๆแล้ว คืออะไร? คือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อเข้าถึงและเชื่อมต่อกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็น

เทรนด์กราฟิกที่น่าใช้ตามมากที่สุดในปี 2024

the-most-interesting-graphics-trends-to-follow

ในวันนี้ STEPS จะมาอัพเดทเทรนด์กราฟิกที่กําลังมาแรงในปีนี้ เพราะนอกจากเราจะสร้างคอนเทนต์ที่ตามเทรนด์แล้ว ภาพประกอบหรือกราฟิก..

Global SEO Strategy Update 2024 กลยุทธ์ SEO ระดับโลก ฉบับปี 2024

global seo strategy update 2024

กลยุทธ์ SEO ระดับโลก ที่ให้ความสําคัญกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่แพ้การจัดอันดับบนหน้าการเสิร์ช Google 
วงการการทํา SEO จะต้องสั่นสะเทือน..

เปลี่ยนเกมการตลาดด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างความสําเร็จจากธุรกิจชั้นนํา

changing the marketing game with data analysis techniques

เราอยู่ในยุคที่ต้องทํางานร่วมกับข้อมูล..ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่ง หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าและบริการ

Social Media Algorithm Update สําหรับปี 2024

social media algorithm update for 2024

อัลกอริทึมโซเชียลมีเดียคืออะไร? คือการคํานวณอัตโนมัติที่เป็นตัวชี้วัดโพสต์โซเชียลมีเดียไหนจะอยู่ด้านบนสุดของหน้าฟีดของผู้ใช้งาน