เจาะลึก 7 เทรนด์ Digital Marketing ในปี 2021

เจาะลึก 7 เทรนด์ Digital Marketing ในปี 2021

 

ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา นอกจากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ และการพัฒนาแผนการตลาด ที่มีการใช้เครื่องมือดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่องแล้ว ธุรกิจทั่วโลกต้องประสบปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งเศรษฐิกิจทั่วโลก จำเป็นต้องหันมาพิจารณาแผนธุรกิจ เพื่อปรับให้เข้ากับเทรนด์ใหม่ (หรือ New Normal คำที่เราได้ยินกันจนคุ้นหู) และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

ถึงแม้ว่า การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในระดับอันตราย หรือต้องเฝ้าสังเกตการณ์เฉกเช่นเดิม แต่ถึงอย่างนั้น หลาย ๆ พฤติกรรมของลูกค้า เทรนด์การตาด และบางธุรกิจก็ได้มีการเปลี่ยนทิศทางการนำเสนอแบรนด์กันไปในช่วงตลอดปีที่ผ่านมา เช่น จำนวนการสั่งซื้อสืนค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น คนให้ความสำคัญกับการตกแต่งบ้าน เนื่องจากสถานการณ์ Work from Home หรือ การประชุมวิดีโอคอลผ่าน Zoom แทนการไปทำงานที่ออฟฟิศ

ดังนั้นทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้แบรนด์นั้นอยู่รอด และคอยจับตาดูเทรนด์การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกในอนาคต เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อการวางแผนรับมือได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในวันนี้ STEPS Academy ได้รวบรวม สุดยอดเทรนด์ Digital Marketing สำหรับปี 2021 ขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนทราบว่า ตลอดที่ผ่านมา เทรนด์ไหนและแผนธุรกิจออะไรทำแล้วดี สามารถสร้าง Conversion และ Engagement ให้กับแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวโน้มว่า เทรนด์เหล่านี้จะสามารถนำไปปรับใช้ต่อไปในอนาคตค่ะ

สำหรับเทรนด์ Digital Marketing ปี 2021 ที่เราจะพูดถึงกันวันนี้มีทั้งหมด 7 เทรนด์ด้วยกันดังต่อไปนี้

  1. Search Engine optimization (SEO)
  2. Pay-Per-Click (PPC) Advertising
  3. Conversion Rate Optimization (CRO)
  4. Social Media Marketing
  5. Paid Social
  6. Video Marketing
  7. Email Marketing

 

1 Search Engine Optimization (SEO)

ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ SEO (Search Engine Optimization) นั้นมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับผู้บริโภคที่ต้องการค้นหาบทความและเว็บไซต์ที่มีความสดใหม่ และตอบโจทย์อยู่เสมอ  ซึ่งในวันนี้เราจะมาดู 5 เทรนด์การตลาดแบบย่อย ที่มีผลต่อการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณ ถูกค้นเจอเป็นอันดับต้นๆ บนหน้า Search Engine กันค่ะ

 

1.1 User Experience

User Experience (UX) คือ ประสบการณ์ ความพึงพอใจ หรือความคาดหวังของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือบริการจากแบรนด์ ซึ่ง UX ไม่ได้เป็นแค่เพียงการออกแบบดีไซน์หน้าเว็บไซต์ให้ดูใช้งานได้ง่ายเท่านั้น แต่ยังเป็นการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มความสะดวกต่อผู้ใช้งาน ให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีดีไซน์ที่สวยงาม (User Interface หรือ UI) นั่นคือ หัวใจหลักของการสร้าง UX ที่มีคุณภาพ

สถิติที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ User experience

การทำ SEO ให้ติดลำดับการค้นหาหน้าแรก หนึ่งในปัจจัยหลักคือ การสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดความประทับใจ และทำให้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากที่สุด หากผู้ที่เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกลับไป คุณอาจเสียโอกาสในการสร้าง Brand Awareness ไปเลยก็ได้ เช่น การใช้งานยาก, โหลดช้า, ข้อมูลไม่เป็นระเบียบ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้รวบรวมสถิติความพึงพอใจ และประสบการณ์ที่ลูกค้ามีต่อการใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันมาฝากกันค่ะ

  •     25 % ของแอปพลิเคชันถูกดาวน์โหลดมาใช้แค่ครั้งเดียว (Statista)
  •     50 % ของลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า จากการดีไซน์เว็บไซต์ที่ดูทันสมัยและเข้าถึงง่าย (Think With Google)
  •     33 % จากผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน จะเปลี่ยนใจเข้าเว็บไซต์ของแบรนด์อื่นทันที หากพบว่าพวกเขาไม่พบเจอข้อมูลที่ต้องการ  (Think With Google)
  •     การลงทุนกับการสร้าง UX ทุก ๆ  $1 ดอลลาร์สหรัฐ จะได้รับกำไรกลับมา $100 (Forrester)
  •     54 % จากผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน มักไม่พอใจหากการดาวน์โหลดแอปฯ ใช้เวลานานเกินไป                     (Think With Google)
  •     60 % ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน เลือกติดต่อแบรนด์ที่สามารถหาได้จากช่องทางการค้นหาบน Search Engine
  •     39 % ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเลือกซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันของแบรนด์ เนื่องจากฟังก์ชันการใช้งานที่รวดเร็วและง่ายในการชำระเงิน  (Think With Google)

แนวทางการปรับใช้ UX ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

  • การดาวน์โหลดแอปฯ และเว็บไซต์จะต้องไว

การปรับปรุงความเร็วและคุณภาพของเว็บไซต์ มีส่วนช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความพึงพอใจได้ ซึ่งบางครั้งคุณควรตรวจเช็ค รูปภาพ ในคอนเทนต์นั้น  ๆ ว่ามีขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่ ซึ่งรูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกินไป ดาวน์โหลดช้า มีผลต่อประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า

  • การออกแบบเว็บไซต์ ให้ง่ายต่อการใช้งาน

คำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก ว่า Landing Page แบบใดเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ดีไซน์ทันสมัย หรือมีฟังก์ชันใดที่ควรนำมาใช้เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้มากที่สุด

  • คำนึงถึงผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์มือถือ ( Mobile Friendly )

การออกแบบควรคำนึงถึง ดีไซน์การใช้งาน หรือหน้าเว็บไซต์เมื่อปรากฏอยู่บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ด้วย เช่น สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เป็นต้น

 

1.2 Semantic Search

Semantic Search คือ การปรับปรุงผลการค้นหาเว็บไซต์ของเรา ให้มีคุณภาพ ด้วยการใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำ SEO โดยมีการวางแผนใช้ Keyword หรือวลีที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับเนื้อหา และสร้างคอนเทนต์ให้ตรงกับความต้องการของคนอ่านในช่วงเวลานั้น ๆ

ในปี 2021 ที่จะถึงเร็ว ๆ นี้ Semantic Search จะกลายเป็นวิธีการทำ SEO ที่สามารถสร้างบทความที่มีคุณภาพให้แก่ผู้อ่าน

Semantic SEO จะเป็นการปรับแต่งบทความให้มีความสัมพันธ์กัน เลือกใช้คีย์เวิร์ดหรือวลีที่ความหมายคล้ายกันแทนการย้ำคีย์เวิร์ด เพื่อนำไปสร้างบทความที่มีคุณภาพต่อผู้อ่าน ซึ่งนักการตลาดสามารถใช้เครื่องมืออย่าง Ubersuggest เข้ามาเป็นตัวช่วยในการหา Keyword ดี ๆ ที่ตรงกับการค้นหา

สถิติที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ Semantic Search

  • 85 % ของการค้นหาผ่านมือถือเริ่มต้นใช้คำว่า “Can I” ( Think With Google )
  • 65 % ของการค้นหาผ่านมือถือใช้คำว่า “Do I need” เพิ่มขึ้น ( Think With Google )
  • 65 % ของการค้นหาผ่านมือถือใช้คำว่า “Should I” เพิ่มขึ้น (Think With Google )

 

หากลองสังเกตคำค้นหาในปัจจุบัน ก็จะเห็นว่า เราไม่ได้ใช้แค่ Keyword หลัก ๆ คำเดียว แต่เราเริ่มค้นหาบทความ หรือข้อมูลบางอย่าง ด้วยการสร้างประโยคคำถามขึ้น ซึ่งสิ่ง ๆ นี้ เรียกว่า Long Tail Keywords

แนวทางการปรับใช้ Semantic ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

ตัวอย่างประโยคการค้นหาที่ผู้ใช้งานเลือก Search

  1.    เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของ …. มีความสำคัญอย่างไร
  2.     … คืออะไร และใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
  3.    การตอบคำถาม FAQ หรือคำถามที่มักถูกถามบ่อย ๆ
  4.    การสัมภาษณ์บุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ หรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจของแบรนด์
  • คอนเทนต์มีเนื้อหาที่คนทั่วไปอ่านแล้วเข้าถึงได้และเข้าใจง่าย
  • สร้าง Internal link (Internal Link คือการสร้างลิงก์เพิ่มเชื่อมโยงบทความจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง ภายในเว็บไซต์ของคุณ) เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้เพิ่มเติม และใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์นานขึ้น
  • สร้างหัวข้อบทความที่มี Keyword ซึ่งหัวข้อบทความ มีความสำคัญในการทำ SEO มากพอ ๆ กับเนื้อหาเลยล่ะค่ะ ดังนั้นการเลือก Keyword ที่ตรงใจผู้ค้นหา หรือเลือกกลุ่มคำและวลีทีม่ีความคล้ายคลึงกัน จะช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถเจอบทความของคุณได้

 

1.3 Search Intent

Search Intent (หรือ User Intent) คือ เจตนาของผู้ใช้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการค้นหา Keyword ลงบนเครื่องมือค้นหา ว่าเป็นการค้นหาแบบเจาะจงเพื่อนำทางไปยังเป้าหมาย (Navigation) การให้ข้อมูล (Information) และ เพื่อทำธุรกรรมซื้อสินค้า (Transaction)

เนื่องจากระบบอัลกอริทึ่มของ Google สามารถตีความเจตนาในการค้นหาของผู้ใช้ได้ทั้งในรูปแบบคำสั้น ๆ หรือแบบประโยคได้ทุกภาษา ดังนั้นการปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับกับประสบการณ์ และเป้าหมายของผู้ใช้ในการค้นหา Keyword จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คอนเทนต์ของเราอยู่ในลำดับที่สูงขึ้นค่ะ

สถิติที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ Search Intent

  • เจตนาของผู้ค้นหาประกอบไปด้วย 4 เป้าหมายหลัก คือ เพื่อนำทางไปยังเป้าหมาย (Navigation) การให้ข้อมูล (Information) เพื่อทำธุรกรรมซื้อสินค้า(Transaction) และสถานที่หรือสินค้าท้องถิ่น (Local) (Moz)
  • แบรนด์ที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพตามจุดประสงค์ของการค้นหา พบว่า Organic Traffic เพิ่มขึ้น 667 % บนหน้า  Landing Page (Ahrefs)

แนวทางการปรับใช้ Search Intent ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

  • สร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับเจตนาของผู้ค้นหา และเลือกใช้คำและประโยคที่คนทั่วไปใช้และพูดถึงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาภายในต้องตอบคำถามผู้ค้นหาได้
  • สร้าง FAQs เพื่อให้ระบบอัลกอริทึมรู้ว่าคุณได้ทำคอนเทนต์เอง เป็นเจ้าของเอง หรือที่เราเรียกว่าการทำ SEO ด้วยเทคนิค E-A-T ซึ่งการแสดงความเป็นเจ้าของคอนเทนต์นั้น ๆ คือ Authority
  • ลิสต์ Keyowrd ที่เหมาะสมกับคอนเทนต์เพื่อนำไปใช้ โดยคำนึงถึงเจตนาในการค้นหา

ลองใช้เครื่องมือ  Ubersuggest  เพื่อค้นหาคำและวลีที่ตอบโจทย์กับการทำคอนเทนต์ของคุณ

 

1.4 Zero-Click Search Results

หากแปล Zero-Click Search Results แบบตรงตัวก็คือ ผลการคลิกจากการค้นหาเป็น 0  ซึ่ง ผลการค้นหานี้ตอบสนองผู้ค้นหาด้วยการไม่ต้องคลิกไปยังหน้าใด ๆ ก็สามารถหาคำตอบให้ได้ทันทีซึ่งในหน้าผลลัพธ์การค้นหา หรือ SERP จะมีคำตอบเอาไว้ให้ในรูปแบบของ

  • Instant Answers   คำตอบจะปรากฏเอาไว้ให้ทันที
  • Knowledge panel ความรู้
  • Calculators           การคำนวณ
  • Definitions            คำจำกัดความ
  • Maps                     แผนที่
  • Featured snippets ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนบนตำแหน่งด้านบนสุของ SERP เมื่อมีการค้นหาผ่าน Googleโดยในปี 2021 นี้ มีความเป็นไปได้ว่า Google จะพยายามนำเสนอเนื้อหาให้ผู้ใช้งานสามารถเจอคำตอบได้เลยโดยไม่ต้องคลิกไปยังหน้าอื่น ๆ เพิ่มเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และความรวดเร็ว

ตัวอย่างของ Zero-Click Searches:

สมมติว่าเราค้นหาคำว่า Corona Virus กันและเมื่อเราดูผลลัพธ์การค้นหาบนหน้า SERP ก็จะพบว่า Google มีข้อมูลต่าง ๆ เตรียมเอาไว้ให้เรา ไม่ว่าจะเป็น อาการของโรค สถิติผู้ติดเชื้อ ผลการตรวจ และข่าวท้องถิ่นที่เราสามารถอ่านได้ในทันทีค่ะ

นอกจากนี้ตัวอย่างของ Zero-Click Search Result จะเป็นรูปแบบของกราฟในหัวข้อต่าง ๆ การคำนวณสูตรทั่วไป หรือคอนเทนต์วิดีโอ และภาพแบบ Carousel นั่นเอง

Zero-Click Search Result จะเป็นรูปแบบของกราฟในหัวข้อต่าง ๆ การคำนวณสูตรทั่วไป หรือคอนเทนต์วิดีโอ และภาพแบบ Carousel

สถิติที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ  Zero-Click Search Result

  • Zero-click Search Results มักปรากฏอยู่บนการค้นหาบนมือถือ (Smart Insights)
  • Zero-click Search Results เติบโตขึ้น 11 % และ 9 % ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (SparkToro).
  • 62 % ของผู้ค้นหาผ่านอุปกรณ์มือถือไม่คลิกผลการค้นหา แต่เลือกดูหน้า SERP อย่างเดียว (Search Engine Journal)
  • Featured Snippet ทำให้ค่า CTR ลดลง 5.3 %  (Sistrix)

แนวทางการปรับใช้ Zero-Click Search Results ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

  • สร้างวิดีโอคอนเทนต์ลงใน YouTube
  • อัปเดต Google My Business ในทุก ๆ สาขาของคุณ
  • สร้างและคอยอัปเดตข้อมูลที่มักถูกถาม FAQ รวมไปถึงรายละเอียดของ และงาน Event ที่แบรนด์จัดขึ้น

 

1.5 Google My Business

Google My Business เป็นเครื่องมือฟรีที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณถูกค้นเจอในสถานที่และท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • รายละเอียดการให้บริการ
  • ช่วงเวลาเปิด-ปิด
  • ที่อยู่ และรายละเอียดการติดต่อ
  • เมนู
  • รูปภาพ และวิดีโอของลูกค้า
  • เว็บไซต์แบรนด์
  • รีวิวและคะแนนจากผู้ใช้งาน

สถิติที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ   Google My Business

  • ปัจจุบันมีคนใช้เครื่องมือ  Google My Business มากกว่า 5 พันล้านคนทั่วโลก
  • มากกว่า 5 ล้านแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ใช้ Google Map ทุกสัปดาห์
  • โดยเฉลี่ยแล้วแบรนด์ต่าง ๆ มักถูกค้นหามากกว่า 1 พันครั้งต่อเดือน และ 84 % นั้นสามารถค้นเจอจาก Google
  • ผู้ที่ค้นหาผ่านอุปกรณ์มือถือมักหาคำว่า “near me” หรือสถานที่ ๆ ใกล้ที่สุด มักประกอบกับคำว่า “can I buy” หรือ “to buy” (Think With Google)

แนวทางการปรับใช้ Zero-Click Search Results ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

Google My Business สามารถช่วยให้ธุรกิจท้องถิ่นถูกค้นหาได้ง่ายขึ้น และสะดวกต่อผู้ใช้งานมาก ดังนั้นการใช้เครื่องมือเพื่อใส่รายละเอียดต่าง ๆ ของร้านค้า จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น และ ถูกค้นหาได้บน Google

 

2 Pay-Per-Click (PPC) 

Pay-Per-Click (PPC) เป็นการโฆษณาบนหน้าผลการค้นหาของ Google ซึ่งมีหลักการใช้ Keyword เพื่อให้โฆษณานั้น ๆ  ปรากฏขึ้นเมื่อมีการค้นหาคำเหล่านั้น Keyword ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนโฆษณานั้นถือว่าคุ้มค่า และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจทางหนึ่ง โดยเทรนด์ในปีหน้า 2021 คาดการณ์ว่ากลยุทธ์การทำ PPC นั้นควรใช้หลักการดังนี้

  • อัปเดตข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับ Covid-19

เช่น ช่วงวันและเวลาที่เปิดบริการหลังจากการกักตัวก่อนหน้านี้ ยังคงสามารถให้บริการได้เหมือนเดิมหรือไม่        ทาง  ร้านจำเป็นต้องแจ้งรายละเอียดใดเป็นพิเศษก่อนเข้ามาที่หน้าร้านหรือเปล่า หรือมาตรการควบคุมที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัย เป็นต้น

  • การแชร์รีวิวจากผู้ใช้งาน

ในยุคที่คนธรรมดาทั่วไปก็เป็น Influencer ให้กับผู้บริโภคได้ การแชร์รีวิวผลจากการใช้งาน หรือการบริการมีส่วนให้ กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจที่เข้ามาซื้อสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น

  • โพสต์คอนเทนต์ที่เป็นคำถามที่มักถูกถามบ่อย ๆ (FAQs) เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณมากขึ้น และไม่ต้องเสียเวลาติดต่อเข้ามา
  • ใส่รูปภาพ วิดีโอ ที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการ รวมไปถึงหน้าตาของร้านค้า สถานที่และโลโก้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
  • แชร์โพสต์ หรือบทความที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

การอัปเดต Blog หรือประชาสัมพันธ์งาน Event ที่ทางแบรนด์จัดตั้งขึ้น รวมทั้งโปรโมชันลดราคาต่าง ๆ แบรนด์จะต้องโพสต์อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เพื่อให้เพจมีการเคลื่อนไหว และทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากที่สุด

แนวทางการปรับใช้ Zero-Click Search Results ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

  • PPC Data Privacy เป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องให้ความสำคัญ

Data Privacy เป็นการกำหนดกฎหมายเพื่อทำการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ว่าข้อมูลส่วนไหนจะนำไปใช้อะไรบ้าง และต้องมีมาตรการในการจัดเก็บข้อมูลไม่ให้รั่วไหล ซึ่งทุกภาคธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญและเก็บข้อมูลของผู้บริโภคไว้เป็นความลับ

  • 84 % ของนักการตลาดเผยว่า Machine Learning หรือระบบคอมพิวเตอรที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเองช่วยเร่งการทำงานของ PPC ได้

 

3 Conversion Rate Optimization (CRO)

ในปี 2021 นักการตลาดและผู้ประกอบการยังคงต้องโฟกัสไปที่การสร้าง Conversion Rate ให้แก่เว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์บางอย่างกับเว็บไซต์ เช่นการซื้อสินค้า หรือการสมัครสมาชิก ซึ่งยิ่ง Conversion ของเว็บเพิ่มสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเท่านั้น

ในการพิจารณายอด CRO นั้นสามารถคำนึงได้จาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ

  1. วิธีการที่ผู้ใช้งานเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ หรือองค์ประกอบของ UX (ประสบการณ์การทำงานของผู้ใช้งาน)
  2. กิจกรรมที่ผู้ใช้งานทำ เมื่อเข้ามายังหน้าเว็บไซต์
การสร้าง Conversion Rate

3.1 Mobile Optimization 

การเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่มือถือ หรือ Mobile Optimization ในยุคดิจิทัลที่มีการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่หลากหลาย และใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากกว่า 1 ช่องทาง แน่นอนว่า การออกแบบแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ให้รองรับกับการทำงานของอุปกรณ์เคลื่อนที่ อย่างมือถือ มีความสำคัญไม่แพ้กัน กับการนำเสนอเว็บไซต์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

สถิติจาก Statista เผยว่า ในปัจจุบันผู้คนราว ๆ 3 พันล้านคน ใช้มือถือในการเข้าถึงข้อมูล ทั้งช่องทางแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ เพิ่มขึ้นราว ๆ 23 นาที ต่อวัน ดังนั้นการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ และตัวแอปฯ ของแบรนด์ให้มีความไว ใช้งานง่าย จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้าง Conversion Rate ได้อย่างต่อเนื่อง

 

3.2 Personalization 

การสร้างประสบการณ์แบบส่วนตัวให้กับลูกค้า  เป็นการทำการตลาดแบบรู้ใจ หรือ เลือกเจาะจงตัวลูกค้า เพื่อมอบประสบการณ์ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการลูกค้า ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งการเอาใจลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนพิเศษ สามารถสร้าง Conversion Rate ได้ และยังสามารถเปลี่ยนลูกค้าธรรมดา ให้กลายเป็นลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ได้ในอนาคต

ตัวอย่างการทำการตลาดแบบเจาะจงผู้บริโภคจาก Netflix ที่จะปรากฏซีรีส์ภาพยนต์ที่ผู้ใช้งานเคยดู หรือแนวภาพยนต์ที่ผู้ใช้งานชอบ
ตัวอย่างการทำการตลาดแบบเจาะจงผู้บริโภคจาก Netflix ที่จะปรากฏซีรีส์ภาพยนต์ที่ผู้ใช้งานเคยดู หรือแนวภาพยนต์ที่ผู้ใช้งานชอบ

สถิติที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ  Personalization

  • 80 % ของผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการจากแบรนด์ที่นำเสนอได้ ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้า (Personalized Marketing)
  • การทำการตลาดที่เจาะจงและตรงกับความต้องการของลูกค้า มีผลทั้งธุรกิจในรูปแบบ B2B และ B2C
  • 90 % ของนักการตลาดกล่าวว่า การทำการตลาดแบบ Personalization สร้างกำไรให้แก่ธุรกิจได้อย่างมหาศาล (Think With Google)
  • 33 % ของนักการตลาดเชื่อว่า การทำการตลาดแบบรู้ใจลูกค้า เป็นวิธีการสร้าง Engagement ที่ถูกต้อง และแบรนด์สามารถนำมาใช้เป็นเป้าหมายได้ในระยะยาว (Think With Google)
  • 36 % ของลูกค้าเลือกซื้อสินค้า และบริการที่ตอบโจทย์กับความต้องการของตนเอง (Retail TouchPoints)
  • 84 % ของลูกค้าชอบการบริการแบบคนพิเศษ (Salesforce)

แนวทางการปรับใช้  Personalization ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

 

3.3 Data & Design

การนำทั้งข้อมูล และดีไซน์การออกแบบมาใช้ในเว็บไซต์ จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าอีกทางหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การออกแบบ Landing Page ให้ใช้งานง่าย และสร้าง Call To Action เพื่อเพิ่มโอกาสในการคลิก การเก็บข้อมูลในการคลิกต่าง ๆ เพื่อดูว่า สิ่งไหนทำแล้วรุ่ง และมีสิ่งไหนต้องปรับปรุงเพิ่ม

 

4 Social Media Marketing

การทำการตลาดบนสังคมออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักการตลาดและผู้ใช้ในปี 2021 อย่างแน่นอน ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจ E-Commerce และผู้บริโภคเองต่างคุ้นชินกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกันแน่ ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาหน้าตาของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ความทันสมัย และฟังก์ชันการใช้งานย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคสมัยนั้น ๆ ดังนั้น เราไปดูกันค่ะ ว่า Social Media Marketing ที่หน้าจับตาในปี 2021 จะมีอะไรบ้างที่น่าสนใจ และควรนำไปปรับใช้

4.1 การวิวัฒนาการของผู้บริโภค 

อย่างที่ผู้เขียนได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั่วโลก จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในช่วงต้นปีและกลางปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การซื้อสินค้า และบริการเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น

  • ผู้บริโภคในช่วงอายุต่าง ๆ ทั้งยุค Gen Z, Gen X and Baby Boomers ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ ต่างหันหน้ามาชอปปิงออนไลน์ในระหว่างกักตัวอยู่บ้าน ( Facebook )
  • จำนวนผู้เล่น Instagram เพิ่มสูงขึ้นมาก รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในแอปพลิเคชัน ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน

( Searchenginejournal )

นอกจากนี้ยังมี  สถิติที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโซเชียลมีเดียมาฝากกันอีกเพิ่มเติมค่ะ

  • 46 – 51 % ของผู้บริโภคใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นในช่วงกักตัว
  • ปริมาณการใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวันบน Facebook เพิ่มขึ้น 27 % ( New York Times)
  • มีการคาดการณ์ว่าไตรมาสแรกในปี 2021 จะมียอดดาวน์โหลดแอปฯ Instagram มากกว่า 100 ล้านครั้ง และยอดดาวน์โหลดแอปฯ Tik Tok อีกกว่า 300 ล้านครั้ง จากผู้บริโภครุ่น Gen Z และ Millennial
  • ยอดสปอนเซอร์บน Instagram เพิ่มขึ้น 76 % ตั้งแต่ช่วง Covid-19 ( Mediakix )

4.2 วัฒนธรรมคว่ำบาตร หรือ Cancel Culture

สำหรับปรากฏการณ์คว่ำบาตรแล้วนั้น หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้างในเรื่องของการเมือง และเศรษฐกิจ แต่ในยุคดิจิทัล 2021 นั้น ประเด็นร้อนหลายประเด็นที่เกิดเป็นกระแสทั่วโลก จะส่งผลให้ การคว่ำบาตรมีผลต่อโลกออนไลน์ด้วยเช่นกัน ซึ่งการคว่ำบาตรที่ว่านั้น จะเป็น

การเลิกสนับสนุนคนดังที่มีการกระทำที่ไม่เหมาะสม หรือไม่สนับสนุนทิศนคติในเชิงลบ เช่น การเหยียดเพศ สีผิว เชื้อชาติ การเล่นมุกตลกกับเกี่ยวกับการข่มขืน และการสนับสนุนความรุนแรง 

เราลองไปดูตัวอย่างจากปีที่ผ่านมากันว่า เหตุการณ์ Cancel Culture ที่เกิดขึ้นน้นมีอะไรบ้าง

  • การบอยคอต ภาพยนต์เรื่องมู่หลาน หรือ แฮชแท็ก #BoycottMulan เนื่องจากนักแสดงหลักสนับสนุนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศฮ่องกง และสนับสนุนรัฐบาลจีน ซึ่งผลกระทบนี้ Disney หรือผู้สร้างหนังก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
การบอยคอต ภาพยนต์เรื่องมู่หลาน หรือ แฮชแท็ก #BoycottMulan
ภาพจาก: https://www.bbc.com
  • หลาย ๆ บริษัทพร้อมใจกันคว่ำบาตร Facebook จากเหตุการณ์ที่ Facebook ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความรุนแรง หรือคำพูดเชิง Hate Speech บนแพลตฟอร์ม
  • นักเขียนชื่อดังอย่าง J. K. Rowling แสดงออกทางทวิตเตอร์ เกี่ยวกับการไม่ยอมรับสตรีข้ามเพศ ซึ่งก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจทั่วโลก และอาจมีผลกระทบกับผลงานของตัวนักเขียนในอนาคต

4.3 วิธีการ Cancel Culture ในปี 2021

ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่กับแคมเปญใดก็ตาม หรือแบรนด์ได้ออกมาสนับสนุนแคปเปญคว่ำบาตรหรือไม่ หากแบรนด์ของคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการกลายเป็นกระแส ผู้เขียนมีวิธีป้องกัน และการรับมือที่อาจเกิดขึ้นมาแนะนำให้ทุกท่านลองทำตามกันค่ะ

  • ตรวจสอบโฆษณาอยู่เสมอ เพื่อควบคุมสปอรเซอร์ หรือโฆษณาบนพื้นที่หน้าเว็บไซต์ของคุณ มีเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยง หรือไม่เหมาะสม
  • จัดการตรวจสอบขั้นตอนโฆษณาบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อหาจุดบอดก่อนการโพสต์ทุกครั้ง
  • คอยจับตาดูเทรนด์ และกระแสบนโลกโซเชียล ว่ามีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง ตรวจเช็ค Influencer ที่จะมาเป็นตัวแทนของแบรนด์ ว่ามีทัศนคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือไม่

4.4 ความโปร่งในการตรวจสอบโซเชียลมีเดีย 

ในปัจจุบัน การรับข่าวสาร จำเป็นต้องกรองให้มาก และอ่านบทความหรือข่าวให้หลากหลาย รวมทั้งการอ่านข่าวจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากในโลกโซเชียลมีเดีย มีทั้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง และเรื่องแต่ง ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งใน Facbook และ Twitter ซึ่งในปี 2020 นี้ ทั่วโลกมีมาตรการคอยตรวจสอบข้อความเท็จ และข่าวบิดเบือนดังนี้

  • FBI ออกมาตรการแจ้งเตือนแคมเปญที่บิดเบือนในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่มีผลต่อการเลือกตั้งในสหรัฐ
  • Twitter สร้างปุ่มข้อความแจ้งเตือน “Fact Check” เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  • แบรนด์ดังร่วมกันคว่ำบาตร ด้วยการถอนโฆษณาบน Facebook ( #StopHateforProfit ) จากปัญหาเกี่ยวกับความรุนแรง หรือ Hate Speech ที่ Facebook ไม่อาจควบคุมได้บนแพลตฟอร์ม

5 Paid Social

การทำการตลาดแบบการจ่ายเงินเพื่อซื้อพื้นที่โฆษณา ควบคู่ไปกับการทำการตลาดแบบ Organic เป็นกลยุทธ์ของหลาย ๆ แบรนด์น้อยใหญ่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียนได้สรุป Paid Ad หลัก ๆ เอาไว้ 3 ช่องทางด้วยกันคือ Facebook Ads, Instagram Ads และ Linkedin Ads ค่ะ

5.1 Facebook Ads

ในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้ Facebook มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งตัวผู้ใช้งานเอง และเพจจากแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าจำนวนการโฆษณาก็ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง Statista คาดการณ์เอาไว้ว่าในปี 2021 รายได้การโฆษณาของ Facebook จะอยู่ที่ประมาณ เก้าพันสี่ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงมาก ๆ เลยทีเดียว

เหตุผลที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการลงทุน Facebook Ad เป็นจำนวนมาก นั่นก็เพราะผลตอบแทน หรือรายได้จากการลงทุนนั้นคุ้มค่า ซึ่งเรามาดูกันค่ะว่า กลยุทธ์การตลาดสำหรับการลงทุนใน Facebook Ads มีแนวทางการทำการตลาดอย่างไรบ้าง

  • เลือกโฆษณาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการในตลาด

ตัวอย่างในปีที่ผ่านมาจากการกักตัวอยู่บ้าน โฆษณาเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องครัว ของใช้ภายในบ้าน และ การตกแต่งบ้าน มีเพิ่มสูงขึ้น

  • เลือกใช้เครื่องมือ Facebook Business Manager เพื่อวางแผนการลงงบประมาณที่จำเป็น และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
  • สร้างแคมเปญโฆษณา ที่สามารถรองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ (Mobile Friendly)
  • สร้างโฆษณาในรูปแบบของวิดีโอ เนื่องจาก อัลกิริทึมของ Facebook ในปี 2020 มีการจัดลำดับให้คอนเทนต์ประเภทวิดีโอมีเนื้อหาน่าสนใจมากที่สุด และมักจัดลำดับ Ranking บนหน้าฟีดให้ได้เห็นวิดีโอก่อนเสมอ เมื่อเทียบกับคอนเทนต์ประเภทรูปภาพและบทความ
  • การทดสอบทำ A/B Testing เพื่อหารูปแบบดีไซน์ที่กลุ่มเป้าหมายสนใจมากที่สุด

 

5.2 Instagram Ads

Instagram ถือได้ว่าเป็นแอปฯ ยอดฮิตติดเทรนด์ ทั้งในไทย และต่างประเทศ โดยนอกจากที่ผู้ใช้จะโพสต์รูปภาพสวย ๆ และแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ให้แก่เพื่อนแล้ว การเช็คอินสถานที่สุดปัง การสร้าง Community หรือแคมเปญต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้บนแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ธุรกิจออนไลน์ทั้งหลายได้ลงทุนไปกับการสร่างแคมเปญโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

  • Stories Ads          การลงโฆษณาผ่านสตอรี่
  • Photo Ads            การโพสต์รูปภาพเพื่อโฆษณาสินค้า
  • Video Ads            การโพสต์วิดีโอเพื่อโฆษณาสินค้า
  • Carousel Ads       การลงรูปภาพแบบอัลบัมเพื่อนำเสนอสินค้าที่หลากหลายในโพสต์เดียว
  • Collection Ads     การโพสต์รูปสินค้าในรูปแบบของคอลเลคชัน
  • Ads in Explore     การยิงโฆษณาในหน้า Explore (หน้าที่ใช้ค้นหาบัญชีผู้ใช้รายอื่น ๆ )
  • Reels                   การโฆษณาผ่านวิดีโอใน 15 วินาที

 

Instagram Reel ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับ Tik Tok
ภาพจาก: https://www.cardinaldigitalmarketing.com

แนวทางการปรับใช้  Personalization ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

  • สร้าง Instagram Shoppable เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการ
  • สร้าง Stories Ads เพื่อให้เกิด Brand Awareness
  • ทดลองทำโฆษณาผ่านรูปแบบแพลตฟอร์มต่าง ๆ บน Instagram เพื่อให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้
  • เลือก Key Opinion Leader หรือ Influencer มาเป็นผู้รีวิว และช่วยโฆษณาสินค้าจากแบรนด์ของคุณ

 

6 Video Marketing

ในปี 2021 จะกลายเป็นยุคทองของวิดีโอคอนเทนต์ ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมา วิดีโอถือได้ว่า เป็นคอนเทนต์ที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค และสร้างไวรัลได้มากที่สุด! นอกจากนี้วิดีโอยังสามารถสร้างทั้งการรับรู้แบรนด์ และ Engagement ผ่านโซเชียลมีเดียได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น เราไปดูกันว่า เทรนด์ไหนใช้แล้วดี เทคนิคไหนใช้แล้วดัง เพื่อนำไปวางแผนงานการตลาดสำหรับปี 2021 ที่จะถึงนี้กันค่ะ

1 คอนเทนต์ประเภทวิดีโอ จะถูกค้นหามากขึ้นบนช่องทาง Search Engine Results Page (SERP)

2 การทำคอนเทนต์สำหรับวีดีโอให้ติด SEO ต้องประกอบไปด้วย

  • Thumbnail
  • Transcription
  • Description

3 TikTok ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดย 37 % ของผู้ใช้แอปฯ สร้างรายได้มากถึง 1 แสน ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

4 Webinar และ Virtual Event จะกลายเป็น การสัมนาออนไลน์ที่คนให้ความสนใจมากขึ้น

5 YouTube เป็นช่องทางการค้นหา (Search Engine) อันดับ 2 ของโลก และ วิดีโอคอนเทนต์ในแอปฯ มียอด Engagement เพิ่มขึ้น 30 % ในช่วงปีที่ผ่านมา

6 56 % จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกในปี 2020 ดูวิดีโอผ่านช่องทาง Facebook, Twitter, Instagram และ  Snapchat มากที่สุด

7 การเล่าเรื่องแบบ Story Telling เหมาะสำหรับการสร้างคอนเทนต์วิดีโอ

8 Live Video สร้างไวรัลและ Engagement ได้มากถึง 79 %

9 วิดีโอแบบ 2D และ 3D สามารถสร้างความบันเทิงและนำเสนอไอเดียให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

6.1 วิดีโอจะปรากฏอยู่บนหน้าการค้นหาของ Search Engine Results Page (SERP)

 

วิดีโอคอนเทนต์ปรากฏขึ้น พร้อม ๆ กับเว็บไซต์ เมื่อมีผู้ใช้งานค้นหาบางอย่างตรงกับ Keyword ของหัวข้อนั้น ๆ

vdo-content-on-serp

เมื่อเราเข้าไปค้นหาบทความ หรือเรื่องราวบางอย่าง ในปัจจุบันนี้ Google มักนำเสนอวิดีโอในหัวข้อที่เรากำลังมองหาด้วยเช่นกัน หากผู้ประกอบการต้องการให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น การสร้างวิดีโอคอนเทนต์ให้ติด SEO จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คนสามารถเห็นวิดีโอและคลิกเข้ามาง่ายยิ่งขึ้น โดยวิดีโอของคุณจะต้องประกอบไปด้วย

  • Thumbnail     รูปภาพของคอนเทนต์นั้น ๆ ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร
  • Transcription คำอธิบายที่มาพร้อมกับวิดีโอ เพื่อรองรับผู้ใช้ที่ไม่ได้เปิดเสียง หรือการแปลภาษา
  • Description    รายละเอียดของคอนเทนต์โดยสรุป

 

6.2 เทรนด์การตลาดบนแพลตฟอร์มของ TikTok

ตั้งแต่ช่วงกักตัวจากการแพร่ระบาดของ Cpvid-19 จนถึงปัจจุบันที่สถานการณ์กลับมาปกติกันแล้ว (สำหรับในไทย) TikTok ยังคงได้รับความนิยมจากผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนักการตลาดทั้งหลาย ควรจับตาดูเทรนด์การตลาดในแพลตฟอร์มนี้ต่อไป เพื่อหาช่องทางการโฆษณาที่เหมาะสม และคุ้มค่า ให้กับธุรกิจของคุณ

แนวทางการโฆษณาบน Tik Tok ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021

  • นอกจากการซื้อพื้นที่โฆษณาแล้ว แบรนด์สามารถการทำการตลาดด้วยการสร้างแคมเปญ Challenge ต่าง ๆ โดยมีแบรนด์ของเราเป็นผู้สนับสนุน เพื่อสร้างความสนุก และสร้างการรับรู้แบรนด์
  • การใช้แฮชแท็กในการโพสต์โฆษณา เพื่อสร้าง Engagement กับผู้ใช้แอปฯ
  • เน้นการทำโฆษณาแบบวิดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าแพลตฟอร์มนี้ 99 % เป็นคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ ซึ่งสามารถเพิ่ม Engagement ได้ดีมากกว่าคอนเทนต์บทความ
  • การใช้ Influencer ช่วยรีวิวสินค้าและบริการจากแบรนด์ เพื่อช่วยโฆษณาอีกทางหนึ่ง
  • สร้างโฆษณาแบบ Brand Takeover ซึ่งโฆษณาจะปรากฏขึ้นมา 3 วินาที เมื่อมีการเปิดเแอปฯ ใช้งาน
  • สร้างโฆษณาแบบ TopView โดยมีความยาวไม่เกิน 60 วินาทีในตำแหน่งด้านบนของแอปฯ เพื่อให้คนคลิกเข้ามายังหน้าเว็บไซต์
  • สร้างโฆษณาแบบ In-Feed Ads ซึ่งเป็นโฆษณาที่จะปรากฏระหว่างการชมคอนเทนต์ของผู้ใช้งาน

6.3 การประชุมออนไลน์ หรือ Webinar

ในช่วงปีที่ผ่านมา หลาย ๆ Event และการสัมมนา เป็นอันต้องล่มไป เนื่องจากการป้องกันโรค Covd-19 ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจทั้งหลายเสียหายไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ฮีโร่อย่างเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลนั้น สามารถเข้ามากอบกู้สถานการ์ณเอาไว้ได้ในระยะเวลาต่อมา โดยธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์และแผนงาน ด้วยการใช้ Webinar และ Virtual Event กัน โดยมีสถิติการใช้งานที่ผ่านมาดังนี้

การประชุมออนไลน์ หรือ Webinar
ภาพจาก: https://www.cardinaldigitalmarketing.com

แนวโน้มการเข้าร่วม Virtual Event ในปี 2021 ถูกคาดการณ์ว่าจะยังคงใช้วืธีการสัมนาหรือประชุมออนไลน์กันต่อไป

  • 87 % ของงานสัมมนาและงาน Event ถูกยกเลิกเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19
  • 66 % ของงานสัมมนามีการเลื่อนออกไป
  • 70 % ของคนที่เข้าร่วมประชุม เลือกวิธีการสัมมนาออนไลน์แทนการเจอหน้ากัน เพื่อลดระดับความเสี่ยงของโรคระบาด

 

6.4 การประชุมผ่าน Zoom

ในปี 2020 Zoom กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 30 เท่า นับตั้งแต่ช่วงเมษายนปี 2020 และมีผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 300 ล้านคน ซึ่งส่งผลให้แบรนด์ได้กำไรมากถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับปี 2021 ที่จะถึงนี้ ธุกิจและองค์กรทั้งหลายคาดการณ์ว่า Zoom จะยังคงเติบโตต่อไป และถูกใช้เพื่อประชุมออนไลน์สำหรับธุรกิจ เนื่องจากในหลาย ๆ ประเทศยังคงทำงานกันแบบ Work from Home และ ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมยังสามารถแชร์ไฟล์ได้หลากหลาย ดังนั้น กระแสการใช้แอปฯ นี้จะยังคงมีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2021 อย่างแน่นอนค่ะ

 

7 Email Marketing

การทำการตลาดบนช่องทางอีเมล หรือ Email Marketing จะยังคงได้รับความนิยมต่อไปในปี 2021 ซึ่งแบรนด์สามารถสร้าง Conversion Rate ได้จากช่องทางนี้ เพิ่มขึ้นประมาณ 21 % หลังจากการกักตัวอันเนื่องมาจากกระแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้านั้น ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก ๆ คือ

การลงทุนบนช่องทาง Email Marketing มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 

 

email marketing
ภาพจาก: https://www.smartinsights.com

จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า สถิติการทำการตลาดผ่านอีเมลสามารถสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ ซึ่งสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 59 % ในปี 2020 และยังสามารถเพิ่ม Lead Generation (ว่าที่ลูกค้า) เพิ่มขึ้นอีก 49 % ดังนั้น นักการตลาดไม่ควรมองข้ามการส่งอีเมลเพื่อบอกเรื่องราวดี ๆ หรือการนำเสนอโปรโมชัน และบทความที่มีสาระให้กับลูกค้าเพื่อสร้างยอด Conversion และ การขายได้นอกจากการโฆษณา

นอกจากนี้การทำ Email Marketing ที่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้แก่แบรนด์สามารถใช้เทคนิคดังต่อไปนี้

  • สร้าง Email เพื่อต้อนรับผู้ติดตามรายใหม่
  • ส่งคำขอบคุณให้แก่ลูกค้า และมอบสินค้าลดราคาให้แก่ลูกค้ารายพิเศษ หรือลูกค้าที่อยู่กับแบรนด์มาครบ 1 ปี
  • ส่ง Email เพื่อแจ้งเตือนเมื่อลูกค้า ยังไม่ได้ชำระสินค้า และยังคงมีสินค้าอยู่ในตะกร้า รวมทั้งส่ง Promo Code เป็นของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของกับเรา
  • เลือกส่งคอนเทนต์ที่น่าสนใจให้แก่ลูกค้าแบบเจาะจง หรือแบบ Personalization เพื่อให้ตรงใจกับผู้อ่าน
  • สร้าง Email ให้รองรับกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้ผู้อ่านสามารถเปิดอ่านได้ตลอดเวลา และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
  • เลือกวัน และเวลาที่เหมาะสมในการส่ง Email

แถม! 8 นวัตกรรม AR ที่มีแนวโน้มว่าจะถูกนำมาใช้ในการตลาดปี 2021

1  การตกแต่งบ้าน 

ปัจจุบัน หลาย ๆ แบรนด์เริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบภายในบ้าน เพื่อทดลองใช้สีที่เข้ากันกับเฟอร์นิเจอร์ หรือการ Match สิ่งของภายในบ้าน เพื่อประเมิณความเหมาะสม หรือ ถูกใจลูกค้าก่อนซื้อสินค้าจริงหรือไม่

แบรนด์ที่ใช้ AR ในปัจจุบันเพื่อตกแต่งบ้านคือ Home Depot, IKEA, Lowe’s

2 AR Avatar 

จากนี้ไป หากลูกค้าที่มาชอปปิงซื้อสินค้า แต่ยังไม่แน่ใจว่าใส่แล้วสวยหรือไม่ เข้ากันกับสไตล์ที่ชอบหรือเปล่า หรือการทดลองใช้เครื่องสำอางที่ลูกค้ายังไม่สามารถตัดสินใจเลือกได้ เทคโนโลยี AR จะช่วยสร้าง Avatar ของลูกค้า เพื่อทดลองใช้สินค้าผ่านหน้า Screen โดยไม่ต้องลองเปลี่ยนชุด หรือแต่งหน้าจริง ให้เสียเวลา

แบรนด์ที่ใช้ AR การสร้างสร้างห้องแต่งตัว: Timberland เพื่อสร้าง Avatar ของลูกค้า โดยมีหน้าของลูกค้าปรากฏอยู่บนจอขนาดใหญ่ และมีความสูงและรูปร่างที่เท่ากัน เพื่อลองใส่เสื้อผ้า และเครื่องประดับต่าง ๆ จากทางร้าน โดยไม่ต้องเสียเวลาซื้อสินค้า และกลับมาเปลี่ยนทีหลัง

แบรนด์ที่ใช้ AR การสร้าง Avatar : Sephora เพื่อทดลองใช้สินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง Eye Shadow หรือลิปสติกเพื่อประหยัดเวลาในการลองสินค้า

3. 5G 

การพัฒนาเครือข่ายของระบบ 5G ที่ผสมผสานความเป็นจริงและโลกเสมือนจริงเข้าไว้ด้วยกัน โดย 5G สามารถเปลี่ยนความรู้ไปยังระบบ Cloud เพื่อประมวลผล และสร้างภาพดิจิทัล หรือภาพจำลอง เพื่อสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้แบบใหม่  ให้แก่ผู้ใช้งาน

4. การตลาดเชิงประสบการณ์

หลาย ๆ แบรนด์ใช้ AI ในการสร้างคอนเทนต์ที่แปลกใหม่ เพื่อโปรโมตสินค้าและบริการ โดยแบรนด์  Streaming ได้ลองเปิดตัวเลนส์ AR ผ่านแอปพลิเคชัน โดยผู้เล่นแอผ สามารถจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่านระบบ AR และสามารถบันทึกวิดีโอในขณะที่เล่นได้

แบรนด์ที่ใช้ AR ในการสร้าง เลนส์ AR จำลอง: Snapchat และ Facebook ร่วมมือกันกับ Netflix เพื่อโปรโมตหนังเรื่อง Stranger Things

นวัตกรรม AR ที่จเกิดขึ้นในปี 2021

5  Event 

ในช่วงปีที่ผ่านมา การจัดงานแบบ Virtual Event หรือ หรือการ Live Streaming ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่ง Event ในรูปแบบออนไลน์นี้ จะเป็นการจำลองงาน Event ที่จัดขึ้นจริงมาแสดงในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งผู้ร่วมงานสามารถแสดงความเห็น หรือมีส่วนร่วมผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทั่วโลก

แพลตฟอร์มยอดนิยที่มักจัดงาน Virtual Event คือ Facebook และ YouTube

6  AR Cloud

AR Cloud คือระบบ 3 มิติแบบ Real Time  ที่ช่วยให้ข้อมูลหรือแชร์ สถานที่ทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจงผ่านแอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Location-Based AR ที่สามารถแสดงผลถึงสถานที่นั้น ๆ หรือแผนที่โลก โดยอ้างอิงจากระบบ GPS  การดูชื่อถนน หรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ

7 ระบบ AR ในรถยนต์

ระบบ AR จะถูกนำมาใช้ในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ขับรถ ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ ได้นำ เทคโนโลยี AR เข้ามาช่วยในการ บ่งบอกสิ่งกีดขวางที่อาจเกิดอันตรายในรัศมีที่สามารถมองเห็น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เส้นทางและสถานที่ ๆ ที่สำคัญกับผู้ขับรถยนต์ผ่านหน้ากระจก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถ และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน

8 ภาพจำลองสถานที่ 3 มิติ

ระบบ AR สามารถช่วยให้เราเห็นภาพจำลองสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดงานผ่านแอปพลิเคชัน ก่อนที่เราจะเดินทางไปยังสถานที่จริง

แบรนด์ที่ใช้ AR ในการจำลองสถานที่แบบ 3 มิติ : StubHub ออกแบบ AR Feature ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ เพื่อให้ผู้ที่ซื้อตั๋ว Super Bowl สามารถเห็นภาพจำลอง และที่นั่งใน Stadium ของสถานที่การแข่งขัน

ข้อมูลจาก

https: //www.cardinaldigitalmarketing.com

https: //blog.hubspot.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

ขั้นตอนการสมัคร Facebook Pay ที่ลูกค้าจะเปย์ผ่านแชทได้อย่างมั่นใจ
“Facebook Pay” ฟีเจอร์ฟรี ! ให้ลูกค้าจ่ายได้ทันทีบน Messenger