9 KPIs สำคัญ สำหรับวัดผลแคมเปญบนเว็บไซต์ ด้วย Google Analytics

9 KPIs สำคัญสำหรับวัดผลแคมเปญ

“เว็บไซต์” หนึ่งช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์ที่ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า ยังคงมีความสำคัญอยู่ ตราบใดที่การค้นหาข้อมูลผ่าน Google ยังเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของเรา  แม้แต่ในมุมของธุรกิจ เว็บไซต์ยังเป็นช่องทางดีๆที่เราสามารถเก็บข้อมูล ศึกษาพฤติกรรมลูกค้าผ่านการใช้เครื่องมือวัดผลได้ และยังเป็นช่องทางที่เราสามารถบริหารจัดการ ปรับปรุงแก้ไขได้ตามที่ต้องการอีกด้วย

และนั่นทำให้หลายธุรกิจ ใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่จะมาเป็นลูกค้า ทั้งเรื่องของการซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ การลงทะเบียนข้อมูล หรือการเข้ามาอ่านบทความ ไม่ว่าพวกเขาจะเข้ามาด้วยจุดประสงค์อะไร ยิ่งเว็บไซต์เรามีคนค้นหาเจอและเข้าชมเยอะเท่าไหร่ นั่นจะเป็นผลดีให้คนรู้จักเรา และเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะเห็นสินค้าและบริการของเรามากขึ้นค่ะ

“แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เว็บไซต์เราตอนนี้ดีแล้วหรือยัง?”

เพื่อให้เราสามารถรู้ความเป็นไปของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาต่อได้ จึงมีเครื่องมือฟรีในการตรวจสอบวัดผลเว็บไซต์อย่าง Google Analytic ขึ้นมา ซึ่งบทความนี้จะขอหยิบ 9 ตัวชี้วัดสำคัญๆขั้นพื้นฐานที่ควรรู้ในการใช้งาน โดยจะเลือกหยิบตัวชี้วัดเหล่านั้นมานำเสนอแบบแบ่งตาม Category ของ Report ใน Google Analytic คือ

  • Audience
  • Acquisition
  • Behavior
  • Conversion

และเพื่อให้เห็นภาพรวมมากขึ้น ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าสู่เรื่องของ KPIs เรามาทำความรู้จักเครื่องมือ Google Analytics แบบเบื้องต้นกันก่อน ซึ่งหน้าตาของจอแสดงผลเครื่องมือเมื่อเข้ามาจะเป็นลักษณะนี้ค่ะ

google-analytics-homepage

Google Analytics จะแสดงผลของ Report ไว้ทางด้านขวา และแบ่งสัดส่วนของตัวเลือก Category Report ไว้ด้านซ้ายมือ โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่คือ

  • Realtime : แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ในช่วงเวลาปัจจุบัน มีคนเข้าชมจำนวนเท่าไหร่ ในหน้าไหนของเว็บไซต์ค่ะ
  • Audience : ดูภาพรวมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ว่ามีจำนวนมากแค่ไหน ช่วงอายุเท่าไร ความสนใจเป็นอย่างไร อาศัยอยู่ที่ไหน ใช้อุปกรณ์หรือระบบปฏิบัติการใด
  • Acquisition : แสดงถึงแหล่งที่มาของการเข้าชมเว็บไซต์ (Traffic) ว่าเป็นแบบ Organic Search, Paid Search หรือ Facebook มากที่สุด เป็นต้นค่ะ
  • Behavior : ดูภาพรวมพฤติกรรมว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์หน้าไหนมากที่สุด คลิกต่อหน้าอื่นหรือไม่ ออกจากหน้าไหนมากที่สุด หรือใช้เวลาอยู่บนหน้าไหนของเว็บไซต์มากที่สุด เป็นต้นค่ะ
  • Conversion : จะเป็นหมวดหมู่ของการตั้งเป้าหมาย (Goals) ซึ่งจะแสดงผลว่าเกิด Conversion ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ไปเท่าไหร่ค่ะ โดยการตั้ง Conversions เป็นได้หลากหลายแบบ เช่น การกดซื้อสินค้า, การกดติดตามใหม่, การอ่านบทความ, การกรอกแบบฟอร์มข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการของแต่ละธุรกิจค่ะ

หลังจากที่พอทราบรายละเอียดภาพรวมคร่าวๆแล้ว เรามาเริ่มต้นเข้าสู่ 9 KPIs สำคัญที่ใช้วัดผลกันได้เลยค่ะ เรามาเริ่มต้นกันที่….

Category : Audience

ใน Category ‘Audience’ นี้ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ “ผู้เข้าชมเว็บไซต์” ที่เราสามารถดูรายละเอียดอย่าง Demographics (ข้อมูลทั่วไป) / Interest (ความสนใจ) / Behaviors (พฤติกรรม) รวมถึงเบราว์เซอร์และเครือข่ายที่คนเหล่านั้นใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์เราได้

google-analytics-audience

ภาพแสดงผล Category ‘Audience’

1. จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Number of Visitors)

ใน Category ‘Audience’ เราสามารถดูจำนวนการเข้าชม ผู้เข้าชม สังเกตความนิยมของเว็บไซต์ และความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าชมได้

ข้อสังเกต : เพจที่ยอดนิยมสำหรับผู้เข้าชม มักจะมียอดวิว และจำนวนคนเข้ามาดูซ้ำมากกว่าหน้าเพจอื่นๆ

เราสามารถดูจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ได้ง่ายๆ ผ่าน Category ‘Audience’ หมวด ‘Behavior’ ในหัวเรื่อง ‘Frequency & Recency.’ ดังรูปที่แสดงด้านล่างค่ะ

google-analytics-frequency-and-recencyภาพแสดงผลในหมวด ‘Frequency & Recency’ ใน Google Analytics

จากผลลัพธ์ที่แสดงขึ้นมา ทำให้เราได้ข้อมูลว่า 

ga-detail-frequency-and-recency

กรอบที่ 1 : มีการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์กี่ครั้ง (Sessions) ในช่วงเวลาที่กำหนด

จากภาพ : มีจำนวนการเข้าชมเว็บ 101,132 ครั้ง (ในช่วง 7 พ.ค. 2019 ถึง 13 พ.ค. 2019)

กรอบที่ 2 : มีการเปิดดูเพจจำนวนเท่าไหร่ (Page Views)

จากภาพ : มีจำนวนการเปิดดูเพจทั้งหมด 310,090 ครั้ง (ในช่วง 7 พ.ค. 2019 ถึง 13 พ.ค. 2019)

สังเกตว่าจำนวน Page View นั้นมีมากกว่า จำนวน Session นั่นเพราะว่าการเข้ามายังเว็บไซต์หนึ่งครั้ง อาจจะไม่ได้เปิดดูเพจแค่เพียงหน้าเดียว แต่เปิดดูในหน้าอื่นๆของเว็บไซต์ด้วย

กรอบที่ 3 : เมื่อแบ่งตามจำนวนครั้งการเข้าชมแล้ว (Count of Sessions) จะมีจำนวนการเข้าเว็บ และ Page View เป็นเท่าไหร่จากทั้งหมด

จากภาพ : – มีจำนวนการเข้าชม 68,680 ครั้งจากทั้งหมด ที่มาจากการเข้าชมเว็บแค่ครั้งเดียว

                – จำนวนการเปิดอ่านเพจ 172,850 ครั้งจากทั้งหมด มาจากการเข้าชมเว็บครั้งเดียว 

จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์มักจะนำมาเปรียบเทียบตามช่วงเวลาในแต่ละเดือน เพื่อสังเกตว่าเดือนนี้มีจำนวนคนเข้าชมมากขึ้นกว่าเดือนก่อนๆหรือไม่ และวิเคราะห์ต่อว่า จำนวนการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น เกิดขึ้นเพราะสาเหตุอะไร และพัฒนาต่อไปได้ค่ะ

2. อัตราส่วนของผู้เข้าชมเว็บไซต์ใหม่และเก่า (Ratio of new/returning visitors)

Google Analytics จะใช้ Cookies ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ในการนับจำนวน Users จึงสามารถแยกได้ว่า Users นี้เคยเข้ามาที่เว็บไซต์แล้วหรือไม่ ซึ่งเราสามารถดูจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Users) ทั้งเก่า และใหม่ได้ ผ่าน Category ‘Audience’ หมวด ‘Behavior’ ในหัวเรื่อง ‘New vs Returning’ ได้ ดังรูปภาพด้านล่างค่ะ

google-analytics-new-vs-returning-visitors

ภาพแสดงผลในหมวด ‘New vs Returning’ ใน Google Analytics

จากภาพจะเห็นว่า

  • ในช่วงเวลา 7 พ.ค. 2019 ถึง 13 พ.ค. 2019 ที่แสดงในกรอบที่ 1 
  • มีจำนวนผู้เข้าชมใหม่จำนวน 68,680 คน และมีจำนวนผู้เข้าชมเก่าจำนวน 32,452 คน แสดงในกรอบที่ 2 ค่ะ
new-return-visitors

แม้ว่าการใช้คุกกี้ในการนับจำนวนผู้เข้าชม (Users) อาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผู้ใช้อาจจะลบ คุกกี้แล้วเข้าใหม่ คุกกี้อาจหมดอายุ หรือผู้ใช้อาจจะเข้าชมเว็บไซต์บนอุปกรณ์หรือเบราว์เซอร์อื่น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของผลลัพธ์แบบภาพรวมนั้นมีความสำคัญมากกว่าจำนวนที่แน่นอน จึงอยากให้มุ่งความสำคัญไปที่ข้อมูลเชิงภาพรวมมากกว่า หรือเทรนด์ของข้อมูลมากกว่าค่ะ 

ถ้าหากเว็บไซต์เรามี

  • จำนวนผู้กลับมาเยี่ยมชมเว็บ (Returning Visitors) เยอะ นั่นแปลว่าเว็บไซต์เราน่าสนใจสำหรับผู้ชม และมีเนื้อหาคอนเทนต์ที่ดี 
  • แต่ถ้าเรามีจำนวน New Visitors มากกว่า Returning Visitors นั่นอาจจะบ่งบอกถึงความสำเร็จของแคมเปญบางอย่างที่เราทำแล้วเกิด Awareness ไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ หรือแสดงว่าเรามีการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ดี จึงมีคนใหม่ๆ ค้นหาและพบเห็นเราในอันดับต้นๆบน Search Engine

อย่างไรก็ตาม เราควรจะมีข้อสรุป ระหว่างอัตราส่วนของผู้เข้าชมใหม่และเก่า พิจารณาไปพร้อมกับเป้าหมายที่เราต้องการ ว่าไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น 

  • ถ้าเราทำแคมเปญบางอย่างเพื่อให้ลูกค้าใหม่ๆเข้ามากดลงทะเบียนในเว็บไซต์ 
  • เราก็ต้องพิจารณาให้อัตราส่วนของจำนวน New Visitors มากกว่า Returning Visitors จึงจะตรงกับเป้าหมายของเรา เป็นต้นค่ะ

นอกจากนี้เรายังสามารถเปรียบเทียบช่องทางที่ดึงคนเข้ามายังเว็บทั้งใหม่และเก่าได้ เพื่อดูว่าช่องทางไหนที่ดึงคนเข้ามาได้มากที่สุด ผ่านแถบ ‘Secondary Dimension’ แล้วเลือก ‘Source’ ดังรูปด้านล่างค่ะ

new-vs-returning-sourceหน้าจอแสดงผล การเลือกกดแสดงลัพธ์แบบแบ่งตาม ‘Source’

 

google-analytics-source

ภาพแสดงผลจำนวนผู้เข้าชมทั้งใหม่และเก่าตามแหล่งที่มา (Source)

3. ระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ (Session duration)

ใต้ Category ‘Audience,’ หมวด  ‘Behavior,’ หัวข้อ ‘Engagement,’ เราจะสามารถเห็นว่าผู้ชมอยู่บนเว็บไซต์เรา นานแค่ไหน ได้

google-analytics-session-duration

ภาพแสดงผลหมวด ‘Engagement’ ใน Google Analytics

ในหมวดหมู่นี้ Google Analytics จะแบ่งกลุ่มให้ตามระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ (Session Duration) โดยเริ่มจาก 0-10 วินาที ซึ่งจำนวนนี้จะรวมถึงคนที่เข้ามายังเว็บแล้วออกทันที (Bounce) อยู่ด้วย

ซึ่งเราสามารถกรองจำนวนคนที่เข้ามาแล้วออกจากเว็บเลย (Bounce) ออกได้ โดยการคลิกที่ ‘+ Add Segment’ และเลือก ‘Non-Bounce Sessions’ ดังรูป

google-analytics-add-segmentภาพแสดงผล ตัวเลือก ‘+Add Segment’

 

google-analytics-non-bounce-sessionsภาพแสดงผลตัวเลือก ‘Non-bounce Sessions’

หลังจากนั้น ผลลัพธ์บนหน้าจอ จะโชว์จำนวนการเข้าชม ที่คัดจำนวนการ Bounces ออกให้ โดยแสดงในแถบสีส้ม ซึ่งจะเห็นว่าจำนวนการ Bounce (ผลต่างของแถบสีฟ้าและส้ม) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ชมที่เข้ามาดูเว็บไซต์เพียง 0-10 วินาทีดังรูปค่ะ

google-analytics-view-of-non-bounce-sessionsภาพแสดงผลลัพธ์จากการคลิกตัวเลือก ‘Non-bounce Sessions’

สรุปจากภาพให้เข้าใจอีกครั้งก็คือ จำนวนการรับชมในช่วง 0-10 วินาที มีคนที่เข้ามาแล้ว Non-Bounce ทั้งหมด 14,613 คน และมีจำนวนคนที่ Bounce ทั้งหมด  65,569-14,613 หรือเท่ากับ 50,956 คนนั่นเองค่ะ

  • ถ้าช่วงเวลาการเข้าชมเว็บไซต์นาน แสดงว่าเว็บไซต์เรานั้น น่าสนใจสำหรับพวกเขา 
  • แต่ถ้าระยะเวลาการเข้าชมยังน้อยอยู่ เราควรจะต้องค้นหาต่อไปว่า เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ที่ผู้เข้าชมเว็บนั้นให้ความสนใจ การแสดงผลเว็บแบบไหนที่ดึงดูดใจพวกเขาให้อยู่บนเว็บไซต์เราได้นานขึ้นได้ค่ะ

4. เปอร์เซ็นต์การเข้าชมเว็บไซต์ “เพียงหน้าเดียว” แล้วออกเลย (Bounce Rate)

Bounce Rate เป็นตัววัดผลสำคัญ ที่แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เข้าแล้วออกจากเว็บไซต์ หลังจากเข้ามาอ่านหรือรับชมได้เพียงหน้าเดียวเท่านั้น

Bounce Rate ไม่เพียงแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าชมออกจากเว็บไซต์อย่างรวดเร็วเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวชี้วัดของ Search Engine ด้วย ถ้าผู้เข้าชมเลือกที่จะออกจากหน้าเพจเราทันทีในเวลาไม่นาน นั่นหมายความว่าพวกเขาคลิกเข้ามาแล้วไม่ได้พบกับสิ่งที่คาดหวัง สิ่งนี้จะเป็นสัญญาณเชิงลบส่งไปยัง Search Engine และส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ค่ะ

ข้อสังเกต : จำนวน Bounce Rate สูงๆ เป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

  • การออกแบบหน้าเว็บไซต์ที่ไม่ดี
  • การใช้งานที่ยากเกินไป
  • ผู้ใช้งานที่กดเข้ามา ไม่ได้เจอกับข้อมูลที่พวกเขาตามหาเลยทันที
  • มีข้อผิดพลาดทางเทคนิค อย่างเช่น เว็บไซต์โหลดช้าเกินไป
  • เนื้อหาไม่ตรงกับความคาดหวัง

แต่ถึงอย่างนั้น จำนวนคนที่เข้ามาดูเพียงหน้าเดียวแล้วออกจากเว็บไซต์ ไม่ได้มีความหมายเชิงลบเสมอไป บางครั้งพวกเขาอาจจะได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วนในครั้งนั้นแล้ว จึงออกจากหน้าเพจเลย ซึ่งในกรณีนี้เราควรจะวัดผลจากเวลาเฉลี่ยที่อยู่บนหน้าเว็บน่าจะถูกต้องมากกว่า อย่างไรก็ตาม หากเว็บไซต์มี Bounce Rate สูงบ่อยๆเสมอๆ ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก เราจึงควรทำการวิเคราะห์เชิงลึกของเว็บไซต์ ถึงสาเหตุ และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นค่ะ

 

Category : Acquisition

Category  “Acquisition” นี้ จะพูดถึงแหล่งที่มาของจำนวนการเข้าชมเว็บ (Traffic)

google-analytics-view-of-non-bounce-sessionsภาพแสดงผล Category ‘Acquisition’

5. จำนวนผู้ใช้งานเว็บไซต์ที่มาจากการค้นหาบน Google (แบบไม่เสียเงิน) 

( Number of Users from Organic SERPs)

ใน Category ‘Acquisition’ หัวข้อ  ‘Overview,’ เราจะสามารถดูจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ที่มาจากการค้นหาบน Google ทั่วไปแบบไม่เสียค่าโฆษณา (Organic Search) ได้ ดังรูปด้านล่างค่ะ

google-analytics-acquisition-organic-searchภาพแสดงผลหมวด Overviews ใน Category ‘Acquisition’ 

จากรูปจะเห็นว่าจำนวนการเข้าชมที่มาจาก Organic Search มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งเท่ากับ 55,896 จากทั้งหมด 101,132 Sessions เป็นต้นค่ะ

6. จำนวนการเปิดเข้าชมแต่ละแคมเปญ (Number of Newsletter Opens)

ใน Category ‘Acquisition’ หัวข้อ ‘Campaigns,’ เราสามารถตรวจสอบผลลัพธ์ของแคมเปญทั้งหมดได้ ไม่ใช่แค่เพียง Google Ads แคมเปญเท่านั้น 

google-analytics-analyze-campaignsภาพแสดงผลหมวด Campaigns ใน Category ‘Acquisition’ 

ตัวอย่างเช่น เราสามารถติดตามแคมเปญใดๆที่สนใจได้โดยการแทร็ก URLs และติดตามผลของ URLs นั้นใน Google Analytics ค่ะ

และเพื่อให้เห็นภาพรวมของจำนวนการเข้าชม ตามช่องทางซึ่งเป็นที่มาของจำนวนการเข้าชมนั้นๆ ทำได้โดยคลิก “All Traffic” และเข้าไปที่หัวข้อ “Source/Medium” ซึ่งจะแสดงผลออกมาตามรูปด้านล่างค่ะ

google-analytics-acquisition-source-mediumภาพแสดงผลจำนวนการเข้าชม (Traffic) ตามแต่ละช่องทาง 

 

Category : Behavior

Category ‘Behavior’ จะลงรายละเอียดแยกให้ในแต่ละหน้าเพจ เพื่อดูว่าผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์แต่ละอันยังไง

google-analytics-behaviorภาพแสดงผล Category ‘Behavior’ 

7. ค่าเฉลี่ยความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ (Average Page Speed)

ค่าเฉลี่ยความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ (Page Speed) สามารถดูภาพรวมได้ใน Category ‘Behavior’ หัวข้อ ‘Site Speed’

google-analytics-site-speed-overview

ภาพแสดงผลหมวด Site Speed ใน Category ‘Behavior’  

เวลาในการโหลดหน้าเว็บที่นาน ให้ผลเสียทั้งต่อผู้เข้าชมเว็บ (Users) และ Search Engine 

  • ในกรณี Users ถ้าผู้เข้าชมต้องรอโหลดหน้าเว็บนาน อาจจะทำให้พวกเขาออกจากเว็บเราและไปยังเว็บคู่แข่งแทนได้ ทำให้เราอาจเสียลูกค้าไป 
  • สำหรับในส่วนของ Search Engine เวลาโหลดเว็บที่นาน จะมีผลต่ออันดับของเว็บไซต์ ซึ่งส่งผลต่อการค้นหาเจอเว็บไซต์เราในหน้าการค้นหาแรก และส่งผลให้จำนวนการเข้าชมเว็บน้อยลงได้ค่ะ

เราควรทำให้เวลาการโหลดหน้าเว็บ น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เวลาในการโหลดหน้าเว็บที่นาน จะส่งผลต่อ KPIs อื่นๆด้วย อย่างเช่น Bounce Rate เพราะถ้าผู้ใช้งานกดเข้ามา แต่เว็บโหลดช้า ก็เป็นเรื่องปกติที่จะกดออกไปยังเว็บไซต์อื่น ส่งผลให้ Bounce Rate บนเว็บไซต์เราสูงขึ้นตามไปด้วยค่ะ

8. เวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมอยู่บนหน้าเพจนั้นๆบนเว็บไซต์ (Average Time on Page)

อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญคือ เวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมอยู่บนหน้านั้นๆของเพจเว็บไซต์ (Avg. Time on Page)สามารถดูค่านี้ได้ใน Category ‘Behavior’ หมวด  ‘Website Content’ หัวข้อ ‘All pages’ แสดงผลดังรูปด้านล่างค่ะ

google-analytics-average-time-on-pageภาพแสดงผลค่า Avg. Time on Page ในหัวเรื่อง Site Content 

ตรงนี้เราสามารถตรวจสอบเวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมอยู่ในเว็บไซต์ของเราได้ และยังประเมินได้ว่าคอนเทนต์แต่ละเรื่องของเรา นั้นตรงกับความต้องการ หรือความสนใจของพวกเขาหรือไม่ จากการดูเวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมใช้บนหน้าบทความนั้นๆ

คอนเทนต์ไหนที่มีค่า Avg. Time on Page นาน นั่นแปลว่าคอนเทนต์นั้นน่าสนใจ ตรงกับความต้องการ และดึงดูดให้ผู้ชมอ่านต่อได้เรื่อยๆ ซึ่งเราสามารถนำคอนเทนต์นี้มาเป็นแบบอย่าง วิเคราะห์ว่าอะไร จุดไหนที่ทำให้คนอ่านบทความของเราอยู่บนเว็บไซต์ได้นาน เพื่อปรับใช้กับคอนเทนต์อื่นๆต่อไปค่ะ

 

Category : Conversions

ในส่วนของ Category ‘Conversion’ จะเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ว่าสำเร็จหรือไม่

google-analytics-conversion-overview

ภาพแสดงผล Category ‘Conversion’ 

9. Conversion Rate

ภายใต้ Category ‘Conversion’ เราสามารถดูค่า Conversion Rate ของเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น

  • การกดซื้อสินค้า
  • การกดติดตามใหม่
  • การอ่านบทความ
  • การกรอกแบบฟอร์มข้อมูล

จากตัวอย่างที่ยกมา สามารถแสดงผลเป็นค่า Conversion ได้ทั้งหมด เพราะค่า Conversion อ้างอิงจากความสำเร็จของผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ไม่จำเป็นแค่เฉพาะการซื้อขายเท่านั้น

สำหรับขั้นตอนการตั้งค่าแบบคร่าวๆ

  • อันดับแรก เราต้องกำหนดเป้าหมายของเราไว้ใน Google Analytics โดยคลิกที่ ‘Admin’ (รูปฟันเฟือง)
  • เข้าไปในส่วนของ Property Setting แล้วไปที่หัวข้อ ‘Goals’ 
  • จากนั้นเราจะสามารถคลิกที่ ‘New Goals’ เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ได้ดังรูปค่ะ
google-analytics-setting-goal

และนี่คือหน้าตาผลลัพธ์หรือ Conversion ที่เกิดขึ้นของเป้าหมายที่เราได้ตั้งเอาไว้ค่ะ

google-analytics-conversions

จากรูปตัวอย่าง Goal ที่ตั้งไว้คือ ebook Downloads (Goal 4 Completions) และ FREE Registration Complete (Goal 9 Completions) เป็นต้น

ซึ่งค่า Conversion ที่เกิดขึ้นจากผลลัพธ์ที่แสดงเป็นดังนี้ค่ะ

Goal : ดาวน์โหลด Ebook (ebook Downloads (Goal 4 Completions))

Conversion : 0 (ยังไม่มีการดาวน์โหลด Ebook เกิดขึ้น)

Goal : กดปุ่มลงทะเบียนฟรี ( FREE Registration Complete (Goal 9 Completions))

Conversion : 10,325  (มีการกดลงทะเบียนฟรีทั้งหมด 10,325 ครั้ง) 

และนี่คือ 9 KPIs สำคัญๆที่ใช้วัดผลแคมเปญและคอนเทนต์บนเว็บไซต์ เป็นตัววัดผลที่จะช่วยให้คุณรับรู้ความเป็นไปของแคมเปญและคอนเทนต์ที่ผลิต ว่ามีจำนวนคนเข้าชมเยอะหรือไม่ เข้ามาอ่านแล้วใช้เวลากับหน้านั้นๆนานเท่าไหร่ มีผู้เข้ามายังเว็บไซต์อีกครั้งมากน้อยแค่ไหน หรือข้อมูลอื่นๆตามที่กล่าวไป ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้จะเป็นแนวทาง ให้คุณสามารถแยกแยะส่วนที่ดี และไม่ดีได้ เพื่อใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ และคอนเทนต์ของคุณให้ดีขึ้นไปค่ะ

ที่มา : https://en.ryte.com/magazine/google-analytics-these-are-the-10-most-important-kpis-for-your-website

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

7 แนวทางสร้างยอดขายด้วย Data-Driven Marketing
13 สูตรคำนวณ KPIs ใช้วัดผลแคมเปญโซเชียลมีเดีย เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ทางธุรกิจ