E-A-T : 3 เทคนิคการเขียน SEO ให้ถูกใจ Google

3 เทคนิค SEO เขียนอย่างไรให้ถูกใจ Google

 

คุณรู้หรือไม่ว่าในปี 2020 มีผู้ใช้ Search Engine จาก Google มากถึง 2 แสนล้านครั้งต่อวัน หรือประมาณ 63,000 ครั้งต่อวินาที และมีแนวโน้มว่าสถิติการค้นหาจะสูงขึ้นไปอีก

(ข้อมูลจาก Adore Seo เกี่ยวกับสถิติการค้าหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Google)

ดังนั้น Google จึงมีระบบอัลกอริทึ่ม เพื่อจัดลำดับเว็บไซต์และแสดงผลการค้นหา เมื่อมีการสืบค้นข้อมูล

อัลกอริทึ่มนี่จะมีการพัฒนาระบบอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ค้นหาข้อมูลได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ  ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Google เพื่อสืบค้นข้อมูลโดยผ่านทางหน้าจอมือถือหรือจากคอมพิวเตอร์ ผู้อ่านก็สามารถรับข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ โดยที่เว็บไซต์ลำดับต้นๆ จะเป็นบทความที่ระบบอัลกอริทึ่มได้จัดลำดับไว้ให้ผู้อ่านว่า บทความนี้ป็นประโยชน์ น่าเชื่อถือ และมีผู้เชี่ยวชาญรับรองว่าบทความที่เขียนขึ้นเป็นความจริง

 

เทคนิคการเขียน E-A-T

รูปภาพจาก https://unsplash.com

 

สิ่งที่ผู้เขียนบทความหรือผู้ผลิตเว็บไซต์ควรให้ความสำคัญ คือการสร้างบทความที่มีผลลัพธ์ไปในทิศทางที่ Google ต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน ซึ่งในปี 2020 นี้ เราจะเน้นไปที่ เทคนิคการสร้าง  ” E-A-T”

เทคนิคการ E-A-T คือหลักเกณฑ์ที่ Google ใช้เพื่อกำหนดว่า บทความหรือเว็บไซต์ต่างๆ มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดให้ลำดับค้นหาใน Google  มีการปรับเปลี่ยนขึ้นลง

 

ทำไมต้องใช้หลักเกณฑ์ E-A-T 

 

เทคนิคการเขียนบทความโดยใช้เทคนิค E-A-T

 

  • ย้อนกลับไปในปี 2015 Google ได้เปิดเผยเอกสารที่มีชื่อว่า  Search Quality Evaluator Guidelines เพื่อเป็นคู่มือ ในการกำหนดมาตรฐานของเว็บไซต์ ซึ่ง Google จะมีทีมสำหรับพัฒนาระบบอัลกอริทึ่ม เพื่อให้การจัดลำดับเว็บไซต์มีประสิทธิภาพ
  • Google ไม่ได้ใช้เพียงแค่เกณฑ์  E-A-T เพื่อจัดลำดับเว็บไซต์ แต่บทความของเว็บไซต์นั้นๆ จะต้องอยู่ในมาตรฐานของ E-A-T ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Google จึงปรับปรุงคู่มือเพิ่มเติมในปี 2018 โดยเน้นไปที่การกำหนดมาตรฐานเว็บไซต์ประเภท YMYL
  • เนื่องจากในปี 2018 ระบบอัลกอริทึ่มของ Google ได้พัฒนาเพิ่มเติม  โดยใช้เกณฑ์การจัดลำดับเว็บไซต์ที่ชื่อว่า  “YMYL” ซึ่งย่อมาจาก Your Money Your Life โดยเกณฑ์จัดลำดับคอนเทนต์ของ YMYL จะคำนึงถึงการเงิน สุขภาพ ความปลอดภัย และชีวิตของผู้อ่าน สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนควรตระหนักคือ บทความที่เกี่ยวกับ YMYL อาจส่งผลกระทบในแง่ลบ หากข้อมูลที่น่าเชื่อถือเช่น ความคิดเห็นส่วนตัว ข้อมูลที่ไม่ได้เป็นความจริง รวมไปถึงคอนเทนต์ที่เป็นการฉ้อโกงต้มตุ๋น ทำให้ Google จึงตั้งมาตรฐานเว็บไซต์ประเภท YMYL ให้สูงขึ้น และจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญรับรองบทความนั้นๆ เพื่อทำให้ Traffic* ของคอนเทนต์ประเภท YMYL เป็นไปตามเกณ์ที่กำหนด

traffic* ( Traffic คือการที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีปฏิสัมพันธ์ต่อเว็บไซต์ต่างๆ โดยคำนึงถึง จำนวนคนที่เข้ามาในเว็บไซต์, ระยะเวลาที่คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และจำนวนหน้าที่ถูกคลิก ) 

 

ความแตกต่างระหว่างเทคนิคการเขียนโดยใช้เกณฑ์บทความประเภท E-A-T และบทความประเภท YMYL
ความแตกต่างระหว่างเทคนิคการเขียนโดยใช้เกณฑ์บทความประเภท E-A-T และบทความประเภท YMYL

 

การใช้หลัก E-A-T  จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งบทความนั้นๆ ควรแสดงชื่อหรืออาชีพผู้เขียน และผู้เขียนบทความสามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงาน หรือผลงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จะทำให้บทความของคุณน่าเชื่อถือมากขึ้น และสามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่เขียนขึ้นมาเป็นความจริง

 

จากภาพ เราจะเห็นได้ว่าตัวผู้เขียนเป็นใคร มีผลงานอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และมีช่องทางไหนที่ผู้อ่านสามารถติดต่อ หรือกดเข้าไปดูประวัติเพิ่มเติม
จากภาพ เราจะเห็นได้ว่าตัวผู้เขียนเป็นใคร มีผลงานอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และมีช่องทางไหนที่ผู้อ่านสามารถติดต่อ หรือกดเข้าไปดูประวัติเพิ่มเติม

 

ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจว่าเทคนิค E-A-T ที่ Google ใช้ในการประเมิณเว็บไซต์และจัดลำดับ มีความหมายว่าอย่างไรเพื่อนำมาพัฒนาบทความที่เราจะเขียนต่อจากนี้

 

 1. Expertise

 

บทความที่ผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญหรือทักษะด้านใดด้านหนึ่ง

 

พจนานุกรม Oxford ได้ให้ความหมายของคำว่า Expertise ว่า การมีความรู้และทักษะเฉพาะในด้านใดด้านหนึ่ง

การที่ผู้เขียนมีความรู้หรือทักษะที่หลากหลาย โอกาสที่ผู้อ่านจะเข้ามาในเว็บไซต์จะเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ การสร้าง Engagement บนโลกออนไลน์ โดยการใช้วิธีการสื่อสาร หรือถ่ายทอดข้อมูลไปยังผู้อ่านได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นผู้เขียนจะต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

ในฐานะผู้เขียน คุณอาจมีคำถามในใจว่า  “ฉันสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของฉันได้อย่างไรบ้าง”  หรือ “มีเทคนิคอะไรบ้าง ที่เราใช้พัฒนาการเขียนคอนเทนต์ของเราได้ “

ในคอนเทนต์นี้มีคำตอบให้ค่ะ  โดยเราขอสรุปเทคนิคการเขียนคอนเทนต์เป็นหัวข้อดังนี้

1. คุณควรคำนึงถึงเป้าหมายของผู้อ่าน เนื่องจาก การที่เรารู้ใจของผู้อ่าน ว่าต้องการอะไร ชอบอ่านบทความประเภทไหน หรือมีกระแสอะไรเกิดขึ้นใหม่บ้าง

เมื่อคุณสามารถหาคำตอบได้แล้ว คุณก็สามารถมอบสิ่งที่ผู้อ่านกำลังมองหาอยู่ หรือนำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ผู้อ่าน จะทำให้โอกาสการสร้าง Engagement มีสูงขึ้น

2. ผู้เขียนเข้าใจถึง Keyword ของบทความ

เช่น หากผู้อ่านต้องการอ่านบทความที่เกี่ยวกับ การตลาดในบุคดิจิทัล ดังนั้น Keyword หรือคำศัพท์ไหนที่อยู่ในกระแส ณ ขนะนั้น หรือคำศัพท์ไหนที่เป็นคำเฉพาะกลุ่มมากเกินไป หรือใหม่เกินไป อาจจะไม่ใช่ Keyword ที่ลูกค้ากำลังค้นหาอยู่ก็เป็นได้

3. การทำคอนเทนต์ออนไลน์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ควรมีเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่าย

4. ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านโดยการใช้ Rich Media เช่น การใช้ภาพและเสียง การใช้วิดีโอ pop up หรือภาพเคลื่อนไหวอย่าง GIF โดยปรับรูปภาพ ให้เหมาะสมของตัวเนื้อหา

5. ผู้เขียนควรทำการบ้านเพิ่มเติมว่า สิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมจากบทความที่เราเขียน และบทความนั้นสามารถต่อยอดหรือสร้างความเข้าใจให้ผู้อ่านได้ดีขึ้น

เมื่อทราบแล้ว เราสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาที่มีประโยชน์ หรือแนะนำบทความอื่นเพิ่มเติมโดย

  • ใส่ลิงก์ที่เป็นบทความเพิ่มเติมเอาไว้ในหน้าเว็บไซต์
  • ถึงแม้ว่า ผู้อ่านกดลิงก์ไปยังหน้าบทความอื่น แต่ยังเป็นบนเว็บไซต์เดิมของเรา
  • บทความจะเปิดไปยังหน้าต่างใหม่ ทำให้ผู้อ่านใช้เวลากับเว็บไซต์เรานานขึ้น

หากคุณต้องการหากลยุทธ์เพิ่มเติมในการเขียนคอนเทนต์ให้ปังบนโลกออนไลน์ บทความด้านล่างนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อธรุกิจคุณค่ะ

https://stepstraining.co/content/5-steps-create-content

https://stepstraining.co/content/content-marketing-phrase

 

2. Authority

 

เทคนิคการเขียนโดยที่ผู้เขียนมีอำนาจในการเป้นเจ้าของบทความนั้นๆที่ตนเขียน

 

การเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานเขียนถือว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน ในขณะที่นักเขียนคนอื่น ๆ กำลังมองหาแหล่งอ้างอิงใหม่ๆ เพื่อเขียนบทความโดยใช้ชื่อของคุณ (ชื่อของผู้เขียน) หรือแบรนด์ของคุณเป็นแหล่งอ้างอิง ถึงหัวข้อที่เขียนบทความขึ้น สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คุณไม่ได้เป็นแค่ผู้เชี่ยวชาญ แต่คุณคือ Authority (ผู้ที่มีอำนาจหรือเป็นเจ้าของบทความนั้น ๆ ที่ผู้อื่นอ้างอิง)

วิธีประเมินว่าเรา มีความเชียวชาญในบทความที่เราเขียนหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จาก

  • ชื่อของผู้เขียนจะต้องลิงก์กับเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถกดเพื่อเข้าไปที่หน้าโพรไฟล์ของคุณได้ สิ่งนี้ทำให้ลำดับเว็บไซต์ของคุณขึ้นไปอยู่ในลำดับที่สูงขึ้น
  • Google พิจารณาจากการที่บทความได้กล่าวถึงตัวผู้เขียน หรือเว็บไซต์ของผู้เขียน
  • บทความ มีการแชร์ออกไปบนโลกโซเชียล สามารถสร้าง Authority ให้กับผู้เขียนได้
  • การที่คนใช้ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อของผู้เขียนในการค้นหา
  • การที่ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลของผู้เขียนหรือแบรนด์ได้จากหน้า Wikipedia ซึ่งวิธีนี้อาจจะไม่ง่าย จนกว่าแบรนด์ของคุณ หรือตัวผู้เขียนไม่มีชื่อเสียงโด่งดัง

 

3. Trustworthiness

 

การใช้เทคนิคการเขียนโดยสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้แก่ผู้อ่าน

Trustworthiness คือ ความน่าเชื่อถือบทความ

นอกเหนือจากการเน้นเทคนิค Expertise และ Authoritiveness เพื่อพัฒนาให้เว็บไซต์ของเราอยู่ใน ลำดับที่สูงขึ้น การสร้างความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการวัดคุณภาพบทความ วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือในกับบทความเรา อาจจะมาจากการแนะนำผ่านเว็บไซต์อื่นๆ เช่น Tripadvisor, Trustpilot, Facebook, Google My Business

 

นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์โดย

  • การสร้างช่องทางในการติดต่อกับเจ้าของเว็บไซต์โดยตรง
  • การระบุตำแหน่งที่ชัดเจน หากมีหน้าร้านค้า หรือบริษัท เพื่อติดต่อ
  • การสร้างข้อกำหนดและเงื่อนไข  (T&Cs page) ซึ่งเป็นการกล่าวถึงเจตนา และจุดประสงค์ของเว็บไซต์เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงข้อกำหนดต่างๆ ก่อนใช้งาน
  • การสร้าง Domain เพื่อความปลอดภัย และอีกทั้งยังเป็นมาตรฐานสากลในการเพิ่มความน่าเชื่อถือ
  • สร้าง Privacy Policy (นโยบายความเป็นส่วนตัว) เพื่อรักษาความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ และแสดงถึงความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
  • เว็บไซต์ควรมีนโยบายการคืนเงินและสินค้า หากเว็บไซต์ของคุณมีช่องทางชำระเงิน
  • ผู้เขียนมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ว่ามาจากแหล่งไหน และคอนเทนต์นั้นๆ สามารถอ้างอิงไปถึงตัวผู้เขียนคอนเทนต์ได้

สรุป

 

  • การเขียนบทความโดยคำนึงถึงหลัก E-A-T สำคัญมากในการทำ SEO  เพื่อปรับปรุงลำดับผลการค้นหาเว็บไซต์ให้อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น
  • E-A-T นั้นย่อมาจาก
  1. Expertise  คือ ผู้เขียนต้องมีความเชี่ยวชาญในบทความที่ตนเขียน
  2. Authoritativeness คือ ผู้เขียนมีอำนาจในการแก้ไขบทความและสามารถยืนยันได้ว่าตนเป็นผู้เขียนบทความนั้นๆ
  3. Trustworthiness  คือ การสร้างบทความให้มีความน่าเชื่อถือ
  • การเขียนบทความประเภท การเงิน สุขภาพ และการแพทย์ จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือโดยถือหลัก E-A-T เพื่อให้ Google ขยับบทความของเราให้ขึ้นไปอยู่ในลำดับที่สูงขึ้น และกลายเป็นบทความแนะนำ
  • ผู้เขียนจะต้องตระหนักถึงความถูกต้องของข้อมูลที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้อ่าน เนื่องจาก การเขียนบทความโดยไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน หรือการให้คำแนะนำที่ทำให้เกิดผลกระทบในชีวิตประจำวันของผู้อ่าน จะทำให้บทความขาดความน่าเชื่อถือ
  • การใช้หลัก E-A-T ในการทำ SEO จำเป็นต้องใช้เวลา เพื่อพัฒนาลำดับให้สูงขึ้น เนื่องจากการสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือแก่ผู้อ่านหรือลูกค้า จำเป็นจะต้องสร้าง Engagement เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์แบบธรรมชาติ ผู้เขียนบทความจึงควรอัพเดตในสิ่งที่ Google กำลังให้ความสนใจอย่างสม่ำเสมอและพัฒนาการเขียนของตนเองอยู่ตลอด

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก:

https://moz.com

https://ardorseo.com ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการใช้ Search Engine ผ่านเว็บไซต์ Google

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

5 ประเภท #Hashtag ทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียให้ปัง
6 ขั้นตอนการเขียน Copywriting เพื่อการขาย