ปัญหาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พบเจอ คือ ไม่รู้จักกลุ่มลูกค้าของตัวเองได้อย่างแท้จริง ทำให้เสียโอกาสในการขาย เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารอย่างถูกต้องไปยังกลุ่มลูกค้าที่ใช่สำหรับคุณได้ เมื่อคุณเริ่มธุรกิจและต้องการที่จะขายสินค้าหรือบริการ คำถามที่สำคัญ คือ คุณกำลังขายให้ใคร ลูกค้าของคุณมีความคาดหวังอะไร เพราะการรู้จักลูกค้า จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสารไปยังพวกเขาได้อย่างถูกต้อง เมื่อคุณรู้จักพฤติกรรมและเข้าใจในความคาดหวังของลูกค้าอย่างแท้จริง
Customer Personas คือการกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการวิเคราะห์จาก เพศ ลักษณะนิสัย งานที่ทำ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งจุดสำคัญที่ทำให้คุณทราบว่า ลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการของคุณเป็นคนลักษณะยังไง นอกจากนี้จะทำให้ทุกคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักการตลาด พนักงานขาย ได้มีความเข้าใจในการสื่อสารออกไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกัน
การกำหนด Customer Personas
คือการสร้างตัวตนสมมติของลูกค้าที่ใช่ของธุรกิจคุณ โดยอ้างอิงจากข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขา เพื่อทำความเข้าใจพวกเขาและเหตุผลที่พวกเขาซื้อจากคุณมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพศ ช่วงอายุ งาน รายได้ รวมไปถึงความรู้สึกนึกคิดภายใน และวิธีที่พวกเขาจะรู้จัก สนใจ และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ ซึ่งสามารถกำหนดมาได้มากกว่า 1 คน เพราะโดยปกติแล้วลูกค้าของธุรกิจไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียว ทุกตัวตนที่เราได้กำหนดและสร้างออกมา คือตัวแทนของผู้ซื้อประเภทต่างๆที่มีภูมิหลังและนิสัยเฉพาะตัว มีความคาดหวังและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อในสถานการณ์ต่างกันไป
Customer Personas ช่วยให้คุณเข้าใจตัวตนลูกค้ามากขึ้นไม่ว่าจะเป็น…
- พวกเขากำลังคิดอะไร ?
- พวกเขามีความรู้สึกอย่างไร ?
- พวกเขามีความกังวลเกี่ยวกับอะไร ?
- พวกเขามีความคาดหวังอย่างไร ?
- พวกเขามีการวางแผนสำหรับการแก้ปัญหาอย่างไร ?
- พวกเขามีความเชื่อในสิ่งใด ?
จากข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดแคมเปญทางการตลาด เพื่อสื่อสารกลุ่มลูกค้าของคุณได้โดยตรง
ข้อดีของการทำ Customer persona
1. รู้จักลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้มากขึ้น
2. ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจที่ตรงกัน ในกลุ่มเป้าหมายขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น คนเขียนคอนเทนต์ คนทำกราฟฟิค จนกระทั่งคนที่ออกแบบเว๊บไซต์ ทั้งหมดนี้จะมีความเข้าใจในลักษณะนิสัย และพฤติกรรมการใช้งานที่ตรงกัน
3. สามารถกำหนดกลยุทธ์การทำตลาดได้ง่ายขึ้น เมื่อคุณทราบว่าลูกค้าสามารถพบเห็นคุณได้จากช่องทางไหนบ้าง คุณสามารถให้การโปรโมทในช่องทางนั้นๆ เพื่อ้พิ่มจำนวนลูกค้าของคุณได้
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา หลังจากทราบถึงช่องทางที่ลูกค้าเจอคุณได้เยอะที่สุด ช่องทางการสื่อสารที่ไม่ทำให้เกิดลูกกค้า คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินในการโฆษณาในช่องทางนั้นๆ
วิธีทำ Customer Personas
1. ใช้การระดมความคิดของคนในองค์กร
วิธีนี้เป็นการกำหนดเเบบเบื้องต้น สำหรับใช้ในการทำการตลาด ทั้งนี้ทั้งนั้นในการกำหนด Customer persona ในแต่ละโมเคลธุรกิจก็จะมี Customer persona ลักษณะ รูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งตรงจุดนี้คุณอาจจะใช้การเข้าไปสัมภาษณ์กลับกลุ่มที่มีความใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ
2. ใช้การวิเคราะห์จากฐานข้อมูล
ที่ลูกค้าได้ทำการลงทะเบียนเอาไว้ ในกระบวนการนี้จะมีความละเอียดมากกว่าในรูปแบบแรกเพราะว่า คนที่ได้ทำการลงทะบียนไว้ในระบบที่เป็นฐานข้อมูลของคุณ จะมีความแน่นอนและน่าเชื่อถือมากกว่า โดยข้อมูลจะได้จากช่องทางการลงทะเบียนของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นแบบสำรวจทางออนไลน์ การสัมภาษณ์ข้อมูลในเชิงลึก การพิจารณาว่าลูกค้าของพบคุณอย่างไร การค้นหา Keyword ที่ลูกค้าใช้ค้นหาธุรกิจของคุณ นอกจากข้อมูลจากช่องทางออนไลน์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงช่องทางออฟไลน์ เช่น พนักงานขายที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า หรือร้านค้าที่ขายสินค้าและบริการของคุณ
3. สร้างแพลตฟอร์ม Customer Persona
เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว เราสามารถสร้างแพลตฟอร์ม Customer Persona ซึ่งนักการตลาดสามารถออกแบบได้มากกว่า 1 แบบ โดยปกติในการออกแบบ Customer Persona จะทำแพลตฟอร์มเอาไว้ 2 – 3 แบบ เนื่องจาก ลูกค้าในชีวิตจริง มีลักษณะนิสัย อาชีพ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการต่างกันออกไป
Platform ในการสร้าง Customer persona
คุณจะต้องการลองกำหนดข้อมูลที่สมบูรณ์ ว่าพวกเขาคือใคร โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ
คำถามหลัก สำหรับการทำ Customer persona มีอยู่ด้วยกัน 4 คำถามคือ Who , What , Why , How
- Who : เขาเป็นใคร เช่น ชื่อ อายุ เพศ การศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้ ที่อยู่ ลักษณะครอบครัว บุคลิกภาพเป็นต้น
- What : อะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ เช่น เป้าหมายในชีวิต ความท้าทายในชีวิตเขาคืออะไร ความต้องการเขาคืออะไร
- Why : ทำไมเขาถึงเลือกใช้บริการของคุณ พวกเขามีวัตถุประสงค์ใดที่คุณสามารถตอบโจทย์เขาได้ ซึ่งในจุดตรงนี้จะทำให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้า
- How : วิธีการซื้อสินค้าหรือบริการ เขาเดินทางมาเจอคุณได้ยังไง ผ่านอะไรบ้าง พบเห็นคุณจากช่องทางไหนบ้าง ในร้านค้าออฟไลน์ หรือร้านค้าออนไลน์
ตัวอย่างการทำ Customer Personas
ที่มา : buyerpersona.com/buyer-persona-template
ที่มา : goinflow.com/persona-topic-matrix/
ที่มา : akoonu.com