สำหรับใครที่เล่น Facebook กันมานานเกินกว่า 5 ปีไปจนถึง 10 ปี จะเห็นว่า หน้าตาของ News Feed ลูกเล่นบนโพสต์ และฟีเจอร์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อรองรับพฤติกรรมการบริโภคของผู้ใช้งาน ซึ่งในมุมมองของนักการตลาดและผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce นั้นทราบดีว่า สิ่งที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ คือความเปลี่ยนแปลงของระบบ Facebook Algorithm
ในปี 2021 นี้ Facebook ได้เปลี่ยนแปลงระบบอัลกอริทึมเพิ่มเติม เพื่อตอบโจทย์การใช้งานทั้งผู้ใช้ Facebook ทั่วไปและผู้ประกอบการ ซึ่งเจ้าระบบนี้มีชื่อว่า Ranking Signal
Ranking Signal คืออะไร
จากที่ได้เกริ่นไปคร่าว ๆ กันแล้ว ว่าเจ้า Ranking Signal คือชื่อเรียกในระบบอัลกอริทึมของ Facebook เพื่อจัดลำดับคอนเทนต์หรือโพสต์บนหน้าฟีดของผู้ใช้งาน ซึ่งวิธีการแสดงผลบนหน้าฟีดของแต่ละคน ก็มีความแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับ Data ของผู้ใช้งาน
ตัวอย่างความสนใจของผู้ใช้งาน
- คุณชอบดู Live หรือไม่ และดูจากเพจไหนบ่อยเป็นพิเศษ
- ใครคือคนที่คุณชอบเข้าไปกด Like หรือ คอมเมนต์ใครบ้าง
- คุณเข้าร่วม Group หรือกดติดตามเพจไหนในปัจจุบัน
- ในช่วงเวลาแต่ละวัน คุณเข้ามาใช้งานกี่นาที และดูโพสต์ไปกี่โพสต์
- โพสต์ต่าง ๆ ที่คุณดูเป็นบทความ ภาพนิ่ง หรือวิดีโอ
- ความนิยมในโพสต์นั้น ๆ มีมากน้อยแค่ไหน
ทำไมคุณควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ตอบโจทย์กับ Ranking Signal ?
จากภาพด้านบนนี้ เป็นผลการสำรวจของ Sprout Social เกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ ในช่องทางต่าง ๆ ทั้งตัวนักการตลาดเองและผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งเราจะเห็นเลยว่า Facebook คือช่องทางที่ยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
หนึ่งในเหตุผลที่ Facebook ยังคงอยู่ในกระแส และมีผู้ใช้แอปมากเป็นอันดับหนึ่งนั้น มาจากการเน้นให้ผู้ใช้งานได้อ่านโพสต์และรับสารที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นกว่าเดิม หรือจากที่ผู้เขียนได้พูดไปข้างต้นว่า โพสต์ใน News Feed ที่นำเสนอให้แก่ผู้ใช้งานนั้นจะมีการจัดลำดับความสำคัญตามพฤติกรรมของผู้ใช้ ความสนใจและคุณภาพของคอนเทนต์ ซึ่งเราเรียกว่าการทำการตลาดแบบนี้ว่า Personalized Marketing นั่นเอง
Ranking Signal ของ Facebook ในปี 2021 คำนึงถึงอะไรบ้าง ?
1 ) ความสัมพันธ์ (Relationship)
ผู้ใช้งาน Facebook จะเห็นโพสต์ของ Account ที่มีปฏิสัมพันธ์สม่ำเสมอ
2 ) ประเภทคอนเทนต์ (Content Type)
เช่น วิดีโอ ภาพ ลิงก์
3 ) ความนิยมของโพสต์นั้น ๆ(Popularity)
คำนึงถึง Engagement ต่าง ๆ เช่น การแชร์ การแสดงความเห็น ยอดไลก์
4 ) โพสต์ล่าสุด (Recency)
โพสต์ใหม่ ๆ มักอยู่ในหน้าฟีดตอนต้น
ดังนั้น การทำการตลาดโดยคำนึงถึง Ranking Signal ของ Facebook จะช่วยให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น และทำให้ลูกค้าได้เห็นหน้าโพสต์ของคุณบ่อยมากกว่าที่เคย ซึ่งในวันนี้ STEPS Aademy พร้อมนำเสนอกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างโพสต์ใหม่ ๆ ให้กลายเป็นโพสต์ติดอันดับบนหน้า News Feed กันค่ะ
1.เลือกเวลาให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า
ถึงแม้ว่าจำนวน Active User (ผู้ที่ออนไลน์บน Facebook) จะมีตลอด 24 ชั่วโมง และลูกค้าอาจเข้ามาที่เพจในช่วงเวลาไหนก็ได้ เพื่อเลือกดูคอนเทนต์ต่าง ๆ ของคุณ แต่ระบบ Ranking Signal จะจัดลำดับความสำคัญของหน้า Feed ตามช่วงเวลาที่คุณได้โพสต์ด้วยเช่นกัน ถ้าคุณต้องการให้ลูกค้าเห็นโพสต์ของคุณมากที่สุด แบรนด์ควรพิจารณาช่วงเวลาที่ลูกค้า Active มากที่สุด
ซึ่งแบรนด์สามารถใช้เครื่องมือ Insight เพื่อเข้าไปดูเวลาที่กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ติดตามมักเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เพื่อตัดสินใจว่าช่วงเวลาไหน และวันไหนของสัปดาห์ที่คุณควรลงมากที่สุด และจะทำให้มีคนเห็นโพสต์ของคุณมากที่สุด
ลองอ่าน วิธีการใช้ Facebook Business Messenger และ วิธีใช้ Facebook Insights เพื่อสร้างธุกิจออนไลน์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
2. วิดีโอคือประเภทคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ในปี 2019 ที่ผ่านมา Facebook ได้ประกาศว่า News Feed จะให้ความสำคัญกับคอนเทนต์วิดีโอที่เพจสร้างขึ้น และวิดีโอแบบ Streaming Live ซึ่งผลตอบรับจากคอนเทนต์วิดีโอนั้น สามารถสร้าง Engagement เพิ่มขึ้นได้ 6 เท่าเมื่อเทียบกับวิดีโอทั่วไป
นอกจากนี้ Facebook จะพิจารณาเลือกวิดีโอที่มีความคมชัด โดยมีรายละเอียดขั้นต่ำ 720p หรือ 1,280×720 px และมีความยาวเกิน 3 นาทีเป็นต้นไป
How to Share With Just Friends
How to share with just friends.
Posted by Facebook on Friday, December 5, 2014
3. ทำคอนเทนต์ประเภท Engagement Bait
การทำคอนเทนต์ประเภท Engagement Bait คือการตั้งคำถามหรือเขียนแคปชัน เพื่อให้ผู้ติดตามเพจของเราเข้ามาแสดงความเห็นและร่วมตอบคำถาม โดยข้อดีจากการที่แบรนด์ได้ตั้งคำถามก่อนลงคอนเทนต์ใหม่ ๆ มีประโยชน์ต่อการทำการตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากแบรนด์จะได้ทราบว่าคอนเทนต์ หรือหัวข้อที่เรากำลังจะนำเสนอนั้นมีผู้สนใจมากน้อยแค่ไหน ถึงแม้ว่าเนื้อหาในบทความของเราจะเต็มไปด้วยข้อมูลเชิงลึก และมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ แต่หากเนื้อหาไม่ได้อยู่ในกระแส และไม่น่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมาย อาจทำให้โพสต์นั้น ๆ ไม่ได้รับความนิยม และการจัดลำดับก็จะต่ำลงไปด้วย
ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ การตั้งคำถามด้วย Poll หรือการลงคอนเทนต์รูปภาพและตั้งคำถามเพื่อให้ผู้อ่านเข้ามาร่วมตอบคำถาม หรือการ Tag เพื่อนเพื่อเข้ามาร่วมแสดงความเห็นก็เป็นหนึ่งในวิธีการสร้าง Engagement นักการตลาดควรนำไปใช้ค่ะ
จากภาพด้านบนเป็นตัวอย่างการสร้างคอนเทนต์แบบ Engagement Bait ซึ่งเราสามารถแยกคอนเทนต์ได้ทั้งหมด 5 ประเภทคือ
- Vote Baiting
คือโพสต์ที่แบรนด์ต้องการให้คนเข้ามาโหวตเพื่อแสดงคำตอบ เช่น เห็นด้วยหรือไม่กับโพสต์ การคอมเมนต์เพื่อแสดงคำตอบ และการแชร์โพสต์ ซึ่งภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างการโหวตด้วยการกด Like, Love, Wow, Angry และ Sad
- React Baiting
คือโพสต์ที่ผู้ติดตามเพจหรือผู้อ่านสามารถเข้าไปกดถูกใจและแสดง Reaction ต่าง ๆ
- Share Baiting
คือการใช้โพสต์เพื่อสร้าง Engagement ด้วยการขอให้ผู้อ่านกดแชร์โพสต์เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เช่นการเล่นเกมส์แจกรางวัล
- Tag Baiting
โพสต์ประเภทพนี้คือการสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ ให้เข้ามาดูคอนเทนต์ของแบรนด์ ด้วยการให้ผู้ที่สนใจเข้ามาคอมเมนต์ใต้โพสต์หรือรูปภาพเพื่อแท็กเพื่อนหรือคนในครอบครัวเพื่อร่วมกิจกรรม
- Comment Baiting
คือการโพสต์เพื่อเชิญชวนให้คนเข้ามาร่วมคอมเมนต์ เพื่อตอบคำถามด้วยการเขียนคำตอบสั้น ๆ
เช่นการส่ง Emoji เป็นคำตอบ การพิมพ์ตอบคำถามเช่น ใช่ / ไม่ใช่ การตอบคำถามว่าสินค้าตัวไหนที่ผู้ใช้ชอบมากที่สุด เป็นต้น
4. การใส่ลิงก์ในคอนเทนต์รูปภาพ
เมื่อคุณต้องการโพสต์รูปภาพต่าง ๆ สิ่งหนึ่งที่เป็นกุญแจสำคัญในการจัด Ranking Signal คือการใส่ลิงก์เพื่อเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บไซต์ ซึ่งระบบอัลกอริทึ่มจะทำการวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับคอนเทนต์ออร์แกนิคให้อยู่ในลำดับที่สูงขึ้น โดยโพสต์นั้น ๆ จะปรากฏอยู่บนหน้า News Feed ของผู้ใช้ Facebook มากกว่าคอนเทนต์รูปภาพทั่วไป
นอกจากนี้ คอนเทนต์รูปภาพที่มีลิงก์ปรากฏอยู่ในโพสต์ จะสามารถสร้าง Engagement ได้มากถึง 87% เมื่อเทียบกับคอนเทนต์รูปภาพปกติ
5. ใช้ Facebook Ads เข้าช่วย
นอกจากการทำการตลาดด้วยการนำเสนอโพสต์แบบออร์แกนิคให้เป็นไปตามธรรมชาติแล้ว การใช้โฆษณาเข้าช่วยเพื่อโปรโมตเพจบน Facebook ก็สามารถช่วยให้ Ranking Signal อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ซึ่งผลสำรวจจาก Social Media Examiner เปิดเผยว่า Facebook Ads สามารถสร้าง ROI ได้ได้มากถึง 93%
จากภาพด้านบนเป็นตัวอย่างการโฆษณา Facebook Ad ในรูปแบบวิดีโอ ซึ่ง Facebook จะจัดลำดัคอนเทนต์ประเภทวิดีโอให้อยู่ในลำดับต้น ๆ ของฟีด
และนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างการโฆษณา Facebook Ad ในรูป Carousel ที่สามารถนำเสนอรูปภาพได้หลาย ๆ ภาพใน 1 คอนเทนต์ ซึ่งก่อนเริ่มลงมือทำโฆษณาผ่าน Facebook สิ่งที่สำคัญสำหรับนักการตลาด และผู้ประกอบการควรพิจารณาและนำเทคนิคมาใช้ รวมไปถึงข้อควรระวังและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
1.) รู้จักกลุ่มเป้าหมาย
2.) กราฟิกโดดเด่น
3.) ปุ่ม Call-to-Action ชัดเจน
4.) ทำ A/B Testing
5.) ประเมิณคุณภาพของโฆษณาด้วยการวัดผลที่มีคุณภาพ
6.) โฆษณาสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
7.) ใช้งบประมาณเพื่อลงโฆษณาที่เหมาะสม
8.) ติดตั้ง Facebook Pixel
9.) โพสต์คอนเทนต์ออร์แกนิคอย่างสม่ำเสมอ
10.) ตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อนลงโฆษณา
ลองอ่าน Do & Don’t สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มทำ Facebook Ad เพื่อศึกษาการทำ Facebook Ad ก่อนลงมือทำ
ข้อมูลจาก
sproutsocial.com
cinchshare.com
blog.hootsuite.com