ผู้บริโภคในปัจจุบัน พวกเขาไม่ต้องการโฆษณาหรือคอนเทนต์ใดก็ตาม ที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตเขา หรือสิ่งที่เขาไม่สนใจ ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์บนโลกออนไลน์ที่ราบรื่น รวดเร็ว และสนุกสนานในทุกช่องทาง และเช่นเดียวกันพวกเขาต้องการให้พวกคุณเหล่านักการตลาดทั้งหลายเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี ที่สามารถนำเสนอคอนเทนต์หรือบทความที่มีคุณค่า ได้ตรงกับความต้องการของพวกเขา
ประเภทคอนเทนต์ที่มีคุณค่าคืออะไร?
คำนิยามคำว่าคอนเทนต์มีคุณค่าของแต่ละคน และแต่ละที่ ก็จะมีความแตกต่างกันไป แต่ที่จะมาพูดในบทความนี้ คือ คอนเทนต์ที่มีคุณค่าในรูปแบบของ STEPS หลักของการเขียนคอนเทนต์หรือการเขียนบทความที่ดี ที่มีคุณค่านั้นคืออะไร ซึ่งสามารถสรุปประเภทคอนเทนต์ได้ 4 ข้อง่าย ๆ ดังนี้
- คอนเทนต์ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ผู้อ่านได้จริง
- คอนเทนต์ที่ช่วยให้ผู้อ่านประหยัดเวลาได้
- คอนเทนต์ที่ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ และมองเห็นโอกาสมากขึ้น
- คอนเทนต์ที่ตรงใจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้อ่าน
การเขียนคอนเทนต์หรือการเขียนบทความที่ดีนอกจากคอนเทนต์ที่สามารถตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้อ่านได้ สิ่งที่นักการตลาดและนักเขียนบทความ หรือคอนเทนต์ควรให้ความสำคัญคือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีในการอ่านคอนเทนต์ ตั้งแต่การที่ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่พวกเขาต้องการ นำเสนอให้เข้าใจได้ง่าย ไปจนถึงการง่ายต่อการแชร์หรือบอกต่อ เป็นต้น
คอนเทนต์หรือบทความที่สร้างประสบการณ์ที่ดีควรมีอะไรบ้าง?
หลังจากที่เราเข้าใจแล้วว่าคอนเทนต์หรือบทความที่มีคุณค่านั้นเป็นอย่างไรแล้ว ต่อมาสิ่งที่ทุกท่านต้องรู้นั่นก็คือ การเขียนคอนเทนต์ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้อ่าน และนี่คือ Checklist ที่ถูกออกแบบมาสำหรับนักเขียนบทความ และทีมการตลาด โดยการใช้หลักในการเขียนคอนเทนต์ 5 ข้อดังนี้
- คอนเทนต์หรือบทความ ต้องสามารถค้นหาได้ง่าย (Findable)
- คอนเทนต์หรือบทความ ต้องอ่านง่ายสบายตา (Readable)
- คอนเทนต์หรือบทความ ต้องสามารถเข้าใจได้ (Understandable)
- คอนเทนต์หรือบทความ ต้องกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ (Actionable)
- คอนเทนต์หรือบทความ ต้องทำให้เกิดการบอกต่อ (Shareable)
และจาก 5 ข้อดังกล่าวจะสามารถช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้าจากการเขียนคอนเทนต์หรือการเขียนบทความที่มีคุณค่า และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้นั่นเองค่ะ ซึ่งจะประกอบอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
1.คอนเทนต์หรือบทความต้องสามารถค้นหาได้ง่าย (Findable)
เมื่อคุณสร้างคอนเทนต์หรือเขียนบทความแล้วจะทำการตั้งชื่อหัวข้อคอนเทนต์ ควรนำ Keyword (คำ) ที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้อ่านว่าพวกใช้คำอะไรบ้างในการค้นหาข้อมูล เมื่อคุณได้คำเหล่านั้นแล้วให้นำมาประยุกต์กับการเขียนบทความ และการเขียนคอนเทนต์ เพื่อตั้งชื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และอีกวิธีที่จะทำให้คอนเทนต์ของคุณค้นหาแล้วเจอง่าย ๆ นั่นก็คือการทำ SEO หรืออธิบายง่าย ๆ คือ การทำให้คอนเทนต์ของคุณอยู่อันดับต้น ๆ ของการค้นหาใน Google
สำหรับคอนเทนต์หรือบทความบนเว็บไซต์
📌การใช้ H1 และ H2 บนหน้าเว็บไซต์
- H1 สำหรับชื่อของบทความซึ่งใช้เพียงแท็กเดียว
- H2 เป็นส่วนของหัวข้อใหญ่สามารถใช้ได้หลายแท็ก
แน่นอนว่าการเขียนคอนเทนต์หรือการเขียนบทความบนเว็บไซต์ จำเป็นจะต้องคำนึงถึงการทำ SEO ดังนั้นการใช้ H1 และ H2 บนหน้าเว็บของคุณจะช่วยเรื่องของการจัดอันดับบนเครื่องมือค้นหา (Google) และใช้ในการแบ่งสัดส่วนของบทความบนหน้าเว็บไซต์ได้
การใช้ H1 H2 จึงเปรียบเหมือนหน้าสารบัญของหนังสือ ในส่วนของคำว่า “สารบัญ” จะเป็น H1 ที่เป็นเหมือนชื่อของหน้านั้น และหัวข้อหลักที่หนังสือเล่มนี้จะเล่าถึงจะเป็น H2 ส่วนหัวข้อย่อยของเนื้อหาจะเป็น H3 เรียงตามลำดับลงมาค่ะ
ในการเขียนคอนเทนต์หรือบทความก่อนที่จะทำการลงในเว็บนั้นคุณควรเน้น H1 กับ H2 เอาไว้เพื่อสำหรับการคัดลอกเนื้อหาไปลงในเว็บไซต์ (หรือระบบใดก็ตาม ที่คุณได้ใช้เขียนบทความก่อนที่จะทำการลงในเว็บไซต์) เพื่อให้คนที่มีหน้าที่โพสต์เนื้อหาบนเว็บไซต์ได้เข้าใจตรงกัน ถึงวิธีการที่คุณใช้ H1 H2 ในบทความนั้น ๆ หากจำเป็นคุณอาจจะใช้ H3 สำหรับหัวข้อย่อย แต่ต้องเข้าใจว่าผลตอบแทนของการทำ SEO อาจไม่ได้ผลลัพธ์เท่ากับการใช้แท็ก H1 และ H2
📌การปรับแต่ง Metadata การทำให้คอนเทนต์หรือบทความของคุณขึ้นอันดับต้น ๆ ของการค้นหายังไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีองค์ประกอบของการทำ Metadata เพื่ออธิบายถึงเนื้อหาในหน้าคอนเทนต์หรือบทความนั้นแบบย่อ ทำให้ผู้ค้นหาสามารถเจอบทความของคุณได้จากการค้นหาผ่าน Google และเป็นอีกจุดนึงที่จะดึงดูดผู่อ่านเข้าสู่บทความของเรา ประกอบไปด้วย
- Title (ชื่อ)
- Description tag (แท็กคำอธิบาย)
- Keywords (คำหลัก)
📌การรวมลิงก์ไปยังหน้าอื่น ๆ ในเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเพิ่มคุณภาพคอนเทนต์ โดยทำให้ผู้อ่านยังไม่ออกจากเว็บไซต์ของเราและเข้าไปอ่านบทความหน้าอื่น ๆ ต่อ ส่งผลให้สไปเดอร์ซึ่งเป็นหุ่นยนต์จากเครื่องมือการค้นหา (Google) ที่เข้าไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากเว็บไซต์ของคุณ ทำให้คอนเทนต์หรือบทความของคุณนั้นมีคุณภาพคะแนนของ SEO สูงขึ้น
📌 การใส่แท็ก alt บนรูปภาพของคุณ เพื่อให้สามารถใช้รูปภาพในการค้นหาได้ และอธิบายถึงรูปภาพนั้นได้ว่าคือรูปเกี่ยวกับอะไร (เพราะในเริ่มต้นนั้นแท็ก alt ถูกออกแบบมาสำหรับผู้พิการทางสายตาให้ระบบสามารถบอกได้ว่ารูปนั้นหมายถึงอะไร) และการใส่แท็กบนรูปภาพประกอบบทความของคุณเป็นการช่วยเน้นถึงความเกี่ยวข้องของเนื้อหาและรูปภาพ
เช่น หากคุณมีรูปโน้ตบุ๊กอยู่ในบทความ ใน alt ของรูปคุณอาจอธิบายว่า “Notebook Brand A S1009 Black color” เป็นการอธิบายให้ระบบสไปเดอร์เข้าใจว่ารูปนี้คือ โน้ตบุ๊ก แบรนด์ A รุ่น S1009 สีดำ
สำหรับคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ
📌 โพสต์วิดีโอของคุณบน Youtube หรือ Facebook เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นหาคอนเทนต์ ซึ่งการโพสต์คอนเทนต์รูปแบบวิดีโอบนโซเชียลมีเดียนั้นสามารถช่วยในเรื่องของการมีส่วนร่วมของคนดูและยังเสริมเรื่องของการทำ SEO ใน Google อีกด้วย ทำให้คอนเทนต์ของคุณหาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยมีเทคนิคเพิ่มเติมง่าย ๆ ดังนี้
- การใช้ “คำ” ที่เป็นไปได้ว่าคนดูจะใช้ในการค้นหา นำมาตั้งเป็นชื่อวิดีโอของคุณ
เช่น คำว่า “เต้นรักติดไซเรน” เป็นคำที่คนค้นหาจำนวนมาก ดังนั้นการตั้งชื่อวิดีโอของคุณอาจะเป็น “How to เต้นเพลงรักติดไซเรน คนไม่มีทักษะการเต้นสามารถเต้นตามได้” เป็นต้น - อธิบายรายละเอียดของใต้คอนเทนต์วิดีโอและเลือกใช้คำที่เหมาะสมกับวิดีโอและการค้นหา
2.คอนเทนต์หรือบทความต้องอ่านง่ายสบายตา (Readable)
หลังจากที่พวกเขาทำการค้นหาแล้วพบเนื้อหาคอนเทนต์หรือบทความของคุณ พวกเขาลังเลหรือไม่ ที่จะอ่านบทความของคุณ เนื้อหาบทความคือหัวใจหลักของคอนเทนต์ที่ผู้อ่านให้ความสำคัญและเลือกดู ดังนั้นเนื้อหาคือหมวดหมู่สำคัญที่สุดที่ทุกท่านควรให้ความสำคัญ จะต้องอ่านง่าย ทำความเข้าใจได้เร็ว และทำให้ผู้อ่านได้คำตอบที่ค้นหาอย่างรวดเร็ว
เมื่อพิจารณาถึงความอ่านง่ายของคอนเทนต์หรือบทความ จำไว้ว่าผู้อ่านจะสแกนจนกว่าพวกเขาจะพบเนื้อหาที่ต้องการ บทความบนเว็บไซต์ที่ยอดเยี่ยมต้องเคารพเวลาของผู้อ่าน ดังนั้นให้พิจารณาตามหัวข้อต่อไปนี้
📌 การเขียนบทความรูปแบบพีระมิดกลับหัว เนื้อหาใจความที่สำคัญที่สุดเราควรวางไว้อยู่ตำแหน่งบนสุดของบทความ โดยจากการสำรวจพฤติกรรมของผู้อ่านและการใช้ซอฟต์แวร์ที่ใช้สแกนตรวจจับสายตาผู้อ่าน พบว่าผู้อ่านส่วนมากจะกวาดสายตาแบบเร็ว ๆ โดยอ่านที่บรรทัดแรก ๆ เต็มบรรทัดและที่เหลือลงมาอ่านผ่าน ๆ จากการใช้ซอฟต์แวร์นี้คุณสามารถดูได้ว่าผู้อ่านสนใจตำแหน่งใดในหน้าคอนเทนต์ของคุณค่ะ
📌 การจับกลุ่มของเนื้อหา การเขียนคอนเทนต์หรือเขียนบทความควรย่อเนื้อหาให้สั้น กระชับ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย แบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน เรียงลำดับการเล่าเรื่องที่ต่อเนื่องกัน
📌 การใช้สัญลักษณ์และตัวเลขในหัวข้อย่อย เมื่อผู้อ่านต้องการอ่านและสรุปข้อมูลอย่างรวดเร็ว ตัวสัญลักษณ์และตัวเลขต่าง ๆ ที่เราใช้สำหรับการแบ่งหัวข้อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านให้สามารถอ่านบทความได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
การสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจและให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักเขียนคอนเทนต์หลายๆท่านโดยเฉพาะหัวข้อที่มีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจ ในบางครั้งที่เราเขียนคอนเทนต์ที่มีความเฉพาะเจาะจงหรือเฉพาะทางมาก ๆ นั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงระดับของผู้อ่านก็ทำให้ผู้อ่านของเราไม่เข้าใจในเนื้อหาได้
📌 การใช้ภาษาที่สอดคล้อง หลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสัน อย่างการใช้สรรพนามในการเรียกแทนตัวคุณ หรือลูกค้า เมื่อคุณเขียนบทความหรือคอนเทนต์ ๆ หนึ่ง สรรพนามต่าง ๆ ที่คุณใช้เรียกจะต้องเหมือนกัน เช่น หากคุณแทนตัวเองด้วยชื่อแบรนด์ก็ควรใช้แบบเดียวตลอดการเล่าเรื่องไม่ควรเปลี่ยนไปมา อย่างเช่นการแทนตัวเองว่า “เรา” อาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนได้
3.คอนเทนต์หรือบทความต้องสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
การสร้างคอนเทนต์หรือการเขียนบทความให้น่าสนใจและให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักเขียนบทความหรือคอนเทนต์หลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะหัวข้อที่มีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจ ในบางครั้งที่เราเขียนบทความหรือคอนเทนต์ ที่มีความเฉพาะเจาะจงหรือเฉพาะทางมาก ๆ นั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงระดับของผู้อ่าน ก็จะส่งผลให้ผู้อ่านของเรา ไม่เข้าใจในเนื้อหาของบทความนั้นได้
คำถามคือ : คุณจะสร้างคอนเทนต์ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหน ได้อย่างไร?
📌 การเลือกรูปแบบคอนเทนต์หรือบทความที่เหมาะสม ก่อนเริ่มต้นเขียนบทความ เราอาจจะต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของบทความหรือคอนเทนต์ว่าสามารถถ่ายทอดในรูปแบบใดได้บ้างและรูปแบบใดที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น อาจนำเสนอในรูปแบบของ รูปภาพ วิดีโอ แทนที่จะเป็นตัวอักษรเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจบทความหรือคอนเทนต์เราได้มากขึ้นภายในเวลาสั้น ๆ และทำให้ผู้อ่านรู้สึกไม่เบื่อกับคอนเทนต์อีกด้วยค่ะ
📌 การสร้างคอนเทนต์หรือการเขียนบทความจากกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน และสร้างคอนเทนต์หรือเขียนบทความที่เนื้อหามีความซับซ้อนแตกต่างกันเพราะว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มนั้นมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันในหลายระดับ ดังนั้นเราควรสร้างคอนเทนต์หรือเขียนบทความ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละระดับจะทำให้ลูกค้าเข้าใจเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้นและตรงกับสิ่งที่พวกเขาต้องรู้
📌 การกำหนดระดับของผู้อ่าน การสร้างคอนเทนต์หรือการเขียนบทความในแต่ละชิ้นนั้นควรจะขึ้นอยู่กับผู้อ่านของคุณและจากการศึกษาตลาด ซึ่งคุณอาจทำแบบทดสอบสำหรับผู้อ่านขึ้นมาเพื่อวัดระดับความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ของผู้อ่านก่อน เพื่อที่คุณจะสามารถส่งมอบคอนเทนต์หรือบทความที่สามารถช่วยเหลือผู้อ่านและแก้ไขปัญหาของผู้อ่านได้จริง ๆ
เช่น หากคุณจะเขียนคอนเทนต์หรือเขียนบทความเพื่อให้ความรู้ผู้อ่าน “การทำการตลาดด้วยคอนเทนต์” ควรแบ่งระดับผู้อ่าน
- Level 1 : ความรู้พื้นฐาน คอนเทนต์คืออะไร
- Level 2 : วิธีการเขียนคอนเทนต์
- Level 3 : การวางกลยุทธ์คอนเทนต์สำหรับธุรกิจของคุณ
📌 การถ่ายทอดเรื่องราวให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย บางครั้งเนื้อหาของคอนเทนต์หรือบทความอาจมีความซับซ้อนสูง ยากต่อการทำความเข้าใจ แต่การเขียนบทความที่มีการยกตัวอย่างที่ดี หรือการสมมติเหตการณ์จำลองขึ้นมา จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาและเห็นภาพที่ชัดเจนตามมากยิ่งขึ้นค่ะ ตัวอย่างเช่น การเขียนบทความที่เราพูดถึงเรื่องของการทำแบรนด์นั้นเราต้องเขียนบทความให้มีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับแต่ละแคมเปญ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและอาจทำให้ผู้อ่านนึกไม่ออก เราจึงทำการยกตัวอย่างแบรนด์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
📌 หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะหรือคำศัพท์เทคนิค ในการเขียนคอนเทนต์หรือการเขียนบทความนั้นเราควรคำนึงถึงผู้อ่านมากที่สุด เพราะบางครั้งผู้อ่านไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเท่าผู้สร้างคอนเทนต์ ดังนั้น เราจะต้องทำให้คอนเทนต์นั้นง่ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ การใช้คำ การเล่าเรื่อง โดยการหลีกเลี่ยงการใช้คำเฉพาะทางหรือศัพท์เทคนิคต่าง ๆ หากคุณจำเป็นต้องใช้ก็ควรใส่คำอธิบายหรือความหมายสั้น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้
4. ลงมือทำ (Actionable)
คุณสร้างคอนเทนต์หรือเขียนบทความเพราะต้องการให้ผู้อ่านเกิดการลงมือทำ หรือดำเนินการอะไรบางอย่าง เช่น คุณต้องการให้ผู้อ่านเมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว จะไปดาวน์โหลด E-book ที่คุณทำเอาไว้ แต่คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น?
📌 มีจุดที่กระตุ้นให้เกิดการลงมือที่ชัดเจน(Call to Action) อย่างเช่น คำ ปุ่ม ลิงก์ต่าง ๆ เช่น “หากคุณอยากรู้ข้อมูลมากกว่านี้ให้คลิกที่ลิงก์ได้เลย”
📌ทำให้ง่ายต่อลูกค้าในการแสดงความคิดเห็นและการสอบถาม ทั้งการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นได้หรือการสอบถามแบบเฉพาะตัวจะสามารถติดต่อคุณได้ช่องทางใดบ้าง
ตัวอย่างเช่น อนุญาตให้แสดงความคิดเห็นในบล็อกโพสต์ โซเชียลมีเดีย สามารถขอคำปรึกษาผ่านแชทส่วนตัวหรือสามารถแนะนำผู้อื่นไปยังช่องทางติดต่อของคุณบนโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย และการทำเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการใช้งานและการค้นหา
📌 ลิงก์ไปยังคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาคอนเทนต์ของคุณ เพื่อเพิ่มตัวเลือกของเนื้อหาคอนเทนต์อื่น ๆ ให้แก่ผู้อ่านที่ชื่นชอบคอนเทนต์ของเรา และเป็นการเพิ่มเวลาที่จะทำให้ผู้อ่านอยู่บนเว็บไซต์ของเราได้นานมากขึ้นอีกด้วยค่ะ
5.คอนเทนต์หรือบทความต้องทำให้เกิดการบอกต่อ (Shareable)
ผู้คนเชื่อในสิ่งที่คนรู้จักหรือเพื่อนบอกมากกว่าสิ่งที่แบรนด์บอก แล้วคุณจะทำอย่างไรให้ผู้อ่านบทความของคุณมีความรู้สึกอยากแชร์ไปยังเพื่อนของพวกเขา?
📌 ให้เหตุผลในการแชร์คอนเทนต์ บอกผู้อ่านให้เห็นถึงประโยชน์ของการแชร์คอนเทนต์หรือบทความ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเล่าเรื่องของการแบ่งปันข้อมูลสุขภาพซึ่งกันและกันช่วยให้ครอบครัวหนึ่งเพิ่มความพยายามในการออกกำลังกาย
📌 เชิญชวนผู้อ่านของคุณ ตัวอย่างเช่น การขอให้ผู้อ่านของคุณแชร์คอนเทนต์หรือบทความด้วยการใส่ข้อความหรือประโยคต่างๆ เช่น หากคอนเทนต์นี้มีประโยชน์อย่าลืมแชร์บอกต่อเพื่อน ๆ ของคุณด้วยนะคะ เป็นต้นค่ะ
📌 ทำให้ง่ายต่อการแชร์ ทำงานร่วมกับทีมที่ดูแลเว็บไซต์ของคุณเพื่อทำการศึกษาและทดลองว่าการออกแบบหรือหรือตำแหน่งการวางของปุ่มแชร์นั้นตำแหน่งใดดีที่สุดสำหรับแบรนด์ของคุณ เช่น ปุ่มไอคอนที่สามารถกดแชร์นั้นอยู่ส่วนไหนของหน้าเว็บมองเห็นง่ายหรือไหม เชื่อมกับช่องทางโซเชียลมีเดียหรือไหม เพื่อให้การแชร์นั้นเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ใช้งาน ตัวอย่าง ตามรูปด้านล่างตรงกรอบสีแดงค่ะ
จาก Checklist ทั้ง 5 หัวข้อดังกล่าว จะช่วยทำให้คอนเทนต์ดูน่าสนใจและเพิ่มคุณค่าของคอนเทนต์คุณมากยิ่งขึ้น เพราะว่าปัจจัยทั้ง 5 นั้นได้ช่วยสร้างประสบการณ์ในการอ่านคอนเทนต์ของเราได้อย่างราบรื่นและสามารถตอบโจทย์ทุกการต้องการของลูกค้า ที่สำคัญผู้สร้างคอนเทนต์ก็ได้ทำการส่งมอบคอนเทนต์ที่ดี มีคุณค่าได้อย่างแท้จริงค่ะ
- คอนเทนต์หรือบทความต้องสามารถค้นหาได้ง่าย (Findable)
- คอนเทนต์หรือบทความต้องอ่านง่ายสบายตา (Readable)
- คอนเทนต์หรือบทความต้องสามารถเข้าใจได้ (Understandable)
- คอนเทนต์หรือบทความ ต้องกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ (Actionable)
- คอนเทนต์หรือบทความต้องทำให้เกิดการบอกต่อ (Shareable)
-
-