5 เครื่องมือ ตัวช่วยในการเพิ่มไอเดียคอนเทนต์ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

5 เครื่องมือ ตัวช่วยในการเพิ่มไอเดียคอนเทนต์ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

หัวใจสำคัญของการทำคอนเทนต์คือ ความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสารคอนเทนต์ออกมาเพื่อเป้าหมายทางการตลาด ทั้งการสร้าง Brand Awareness หรือความเป็นที่รู้จักของแบรนด์มากยิ่งขึ้น การเพิ่มยอดขายของสินค้าหรือบริการ และ เป้าหมายทางการตลาดอื่นๆ ซึ่งในยุค Marekting 5.0 ในปัจจุบัน การทำการตลาดสายคอนเทนต์ เป็นชื่องทางในการสื่อสารที่ผู้อ่านสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้นอกเหนือจากช่องทางการตลาดแบบออฟไลน์ 

การมีแค่เพียงความคิดสร้างสรรค์อาจไม่เพียงพอเช่นเดิมแล้วนะคะ เพราะการตลาดในยุคดิจิทัลนี้เราสามารถเข้าถึงเครื่องมือต่างๆ และ ค้นหาข้อมูลได้มากมายเพื่อนำมาช่วยในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ของเราให้มีประสิทธิภาพ และ ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้นค่ะ วันนี้ STEPS Academy จึงได้รวบรวมเครื่องมือที่สามารถช่วยค้นหาไอเดียเพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการสร้างคอนเทนต์กันค่ะ

 

5 เครื่องมือในการทำ Content Marketing

ในวันนี้ผู้เขียนได้นำ 5 เครื่องมือที่จะเป็นตัวช่วยให้กับผู้อ่านทุกท่านในการนำมาใช้เพื่อค้นหาไอเดียในการทำคอนเทนต์ สร้างความน่าสนใจในการทำคอนเทนต์ให้ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นดังนี้ค่ะ

 

1.Google Trend

ตัวอย่างเครื่องมือ Google trend

 

Google Trend เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถทราบถึงความสนใจของผู้คนได้ ซึ่งเครื่องมือตัวนี้จะแสดงผลลัพธ์ออกมาให้เราเห็นในรูปแบบของ “Search Term หรือ คำ/ประโยคที่คนมักเลือกใช้ในการค้นหา” โดยจะแสดงผ่านสถิติที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตค้นหาคำ หรือ ประโยคนั้น ๆ บนแพล็ตฟอร์ม Google Search Engine ซึ่งแน่นอนค่ะว่าในยุคปัจจุบันสิ่งที่ผู้คนเลือกถามมากที่สุดเวลาพบเจอปัญหาต่างๆ นั่นก็คือ Google ดังนั้นเครื่องมือ Google Trend นี้ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าผู้คนกำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรอยู่บ้าง และ มักเลือกใช้ Keyword ใดในการค้นหาข้อมูลเหล่านั้น และ เนื่องด้วยความสนใจของผู้คนย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น นักการตลาดจึงจะต้องคอยอัพเดทข้อมูลอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เราสามารถผลิตคอนเทนต์ออกมาได้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ และ ความสนใจของผู้คนในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ซึ่ง Google Trend เป็นเครื่องมือที่สามารถตอบโจทย์ของเราได้ค่ะ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีการอัพเดทอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าเราจะยังสามารถค้นหาความสนใจของผู้คนได้ทันเวลาค่ะ ต่อมาเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเครื่องมือ Google Trend จะสามารถช่วยเราสร้างสรรค์คอนเทนต์ออกมาได้อย่างไรบ้าง

 

ประโยชน์ของ Google Trend และ วิธีการใช้งาน

การเริ่มต้นใช้งานเครื่องมือ Google Trend สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ Google Trend จากนั้นสามารถค้นหาคำ หรือ ประโยคที่อยากทราบว่ากำลังได้รับความน่าสนใจอยู่หรือไม่ โดยในที่นี้ผู้เขียนได้ลองใช้คำค้นหาว่า Content ค่ะ

ภาพตัวอย่างการตั้งค่าผลของการค้นใน Google Trendภาพตัวอย่างการตั้งค่าผลของการค้นใน Google Trend

 

หลังจากที่เราได้ค้นหาด้วยคำว่า Content ทุกท่านสามารถตั้งค่าผลของการค้นหาเพื่อให้ตรงกับความต้องการได้ดังนี้ค่ะ

  • เลือกสถานที่ในการค้นหา โดยในที่นี้ผู้เขียนเลือกเป็นประเทศไทยค่ะ แต่หากเรากำลังทำคอนเทนต์โดยมีเป้าหมายที่ต้องการเจาะตลาดไปยังประเทศอื่นๆ สามารถเลือกเป็นประเทศที่ต้องการได้ หรือ สามารถเลือกเป็นทั่วโลก เพื่อทำการค้นหาความสนใจของคนทั่วโลกได้ค่ะ
  • เลือกช่วงเวลาที่ต้องการค้นหา โดยเราสามารถระบุได้ว่าเราต้องการข้อมูลการค้นหาในช่วงเวลาใดบ้าง สามารถตั้งค่าได้ตั้งแต่ช่วงปี ช่วงเดือน ช่วงวัน ไปจนถึงช่วงชั่วโมงค่ะ
  • เลือกประเภทของข้อมูลที่ต้องการค้นหา ในคำหรือประโยคที่เราต้องการค้นหา บางครั้งอาจเป็นคำที่กว้างจนเกินไป เพื่อให้ตรงกับข้อมูลที่เราต้องการค้นหามากขึ้น เราสามารถระบุประเภทของคำนั้นๆ เช่น ต้องการค้นหาคำว่าในเชิงของวิทยาศาตร์ ในเชิงของสังคม หรือเชิงของสื่อและศิลปะ เป็นต้น 
  • เลือกรูปแบบของการค้นหา เพื่อทำให้เราทราบว่าผู้ที่กำลังสนใจในหัวข้อเหล่านั้นเลือกค้นหาคอนเทนต์ในรูปแบบใด เช่น ค้นหาเว็บไซต์ ค้นหารูปภาพ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้เป็น ข้อมูลที่ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าเราควรผลิตคอนเทนต์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบของ บทความ รูปภาพ หรือวิดีโอ นั่นเองค่ะ

หลังจากในส่วนของการตั้งค่าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เราต้องการไปใช้ต่อยอดกันแล้วนะคะ เรามาดูกันดีกว่าว่าเราจะสามารถได้ข้อมูลอะไรบ้างมาจากเครื่องของ Google Trend

 

1.1 ความสนใจตามช่วงเวลา

เมื่อเราค้นหา คำ หรือ ประโยคที่ต้องการแล้ว สิ่งแรกที่ขึ้นมานั่นก็คือ กราฟในส่วนของ Interest over time ค่ะ เป็นส่วนที่บอกว่าคำที่เราใช้ค้นหานั้นมีผู้ที่ให้ความสนใจในแต่ละช่วงเวลาที่เราได้เลือกไว้อย่างไรบ้าง จากตัวอย่างที่ผู้เขียนได้ทำการค้นหาคำว่า “Content” ในช่วงเวลา 1 ปี มีผู้คนให้ความสนใจอยู่ในตลอดระยะเวลา 1 ปีค่ะ ซึ่งในบางการค้นหาอาจมีเทรนด์ความน่าสนใจค่ะ 

เช่น บางช่วงเวลาอาจมีผู้ที่ให้ความสนใจมากกว่าในบางช่วงเวลา ซึ่งเราก็สามารถนำไปต่อยอดการผลิตคอนเทนต์และวางแผนคอนเทนต์ของเราให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ

 ภาพตัวอย่างผลของการค้นหาตามความสนใจตามช่วงเวลา

ภาพตัวอย่างผลของการค้นหาตามความสนใจตามช่วงเวลา

 

1.2 ความสนใจตามจังหวัด
 ภาพตัวอย่างผลของการค้นหาตามความสนใจตามจังหวัด

ภาพตัวอย่างผลของการค้นหาตามความสนใจตามจังหวัด 

 

หากเราต้องการสร้างคอนเทนต์ให้เฉพาะเจาะจงตามสถานที่ที่เราต้องการนำเสนอสินค้าหรือบริการ เราก็ยังสามารถค้นหาได้ว่าในแต่ละจังหวัดให้ความสนใจกับหัวข้อของเรามากน้อยเพียงใด

 

1.3 คำค้นหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 ภาพตัวอย่างผลของการค้นหาตามคำค้นหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ภาพตัวอย่างผลของการค้นหาตามคำค้นหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ความน่าสนใจของเครื่องมือ Google Trend ทำให้เราสามารถค้นหาหัวข้ออื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่เรากำลังสนใจ โดยคำที่แนะนำขึ้นมาทำให้เราสามารถทราบได้ว่าคนกำลังให้ความสนใจอะไรอยู่ ซึ่งเราจะสามารถนำหัวข้ออื่นๆ ในส่วนนี้ไปต่อยอดคอนเทนต์ได้ค่ะ

 

1.4 เปรียบเทียบคำที่ควรเลือกใช้
ภาพตัวอย่างผลการค้นหาแบบเปรียบเทียบคำ

ภาพตัวอย่างผลการค้นหาแบบเปรียบเทียบคำ

อีกหนึ่งเทคนิคเล็กๆ ที่จะสามารถเพิ่ม Traffic หรือ ช่องทางในการเข้าถึงให้กับคอนเทนต์ของคุณได้มากขึ้นคือการเลือกใช้คำที่คนเลือกค้นหา โดยสามารถเปรียบเทียบคำที่ควรเลือกใช้บน Google Trend ได้เลย ในที่นี้ผู้เขียนเลือกเปรียบเทียบคำว่า “Content” และ “คอนเทนต์” โดยผลของการค้นหาพบว่า ผู้คนเลือกใช้คำค้นหาว่า “Content” เป็นภาษาอังกฤษแม้จะเป็นผลการค้นหาของในประเทศไทยก็ตาม ดังนั้น Keyword ที่ควรเลือกใช้ในหัวข้อควรใช้คำว่า “Content” มากกว่าคำว่า “คอนเทนต์” นั่นเองค่ะ

เครื่องมือ Google Trend ยังทำให้เราสามารถนำเอาข้อมูลไปประยุตร์ใช้ได้ในหลากหลายแนวทางค่ะ สำหรับผู้อ่านท่านใดที่ต้องเรียนรู้เทคนิคในการใช้ Google Trend เพิ่มเติมสามารเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Google Trends รู้ทันเทรนด์เพื่อการเขียนคอนเทนต์ให้ตรงใจลูกค้า

 

2.BuzzSumo

BuzzSumo เป็นเว็บไซต์ให้บริการข้อมูลในการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ โดยการค้นหาบทความบนโลกอินเตอร์เน็ตจากหลายหลายแพลตฟอร์ม ที่จะสามารถช่วยเราในการค้นหาประเด็นที่กำลังเป็นที่นิยม เพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดคอนเทนต์ของเราได้ ซึ่ง BuzzSumo เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแบบเสียค่าใช้จ่ายนะคะ แต่สำหรับผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าไปทดลองใช้ได้ฟรีเป็นเวลา 30 วันค่ะ

แม้ว่า BuzzSumo จะเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแบบเสียค่าใช้จ่าย แต่ BuzzSumo มีฟีเจอร์มากมายที่เราสามารถเลือกใช้งานได้ค่ะ โดยในที่นี้ผู้เขียนจะหยิบยกบางฟีเจอร์ที่เราจะนำมาใช้ต่อยอดในการผลิตคอนเทนต์ดังต่อไปนี้ค่ะ

 

การใช้งาน BuzzSumo

 

ภาพตัวอย่างการเลือกใช้ฟีเจอร์ค้นหา Keyword

ภาพตัวอย่างการเลือกใช้ฟีเจอร์ค้นหา Keyword

เมื่อเราเข้าไปในเว็บไซต์ของ BuzzSumo เราสามารถเข้าไปค้นหาคำที่กำลังเป็นที่สนใจได้โดยการเข้าไปที่ Discover และเลือก Keyword ค่ะ  จากนั้นเราสามารถใส่คำที่ต้องการค้นหาเข้าไปได้เลยค่ะ ในที่นี่ผู้เขียนเลือกใส่คำว่า “Content Marketing”

 

ภาพตัวอย่างผลการค้นหาด้วยคำว่า Content Marketing

ภาพตัวอย่างผลการค้นหาด้วยคำว่า Content Marketing

หลังจากทำการค้นหาแล้ว BuzzSumo จะแสดงผลให้เราทราบดังนี้

  • Search Volume หรือ ค่าที่แสดงจำนวนที่มีการค้นหาใน 1 เดือน
  • Cost per click หรือ จํานวนเงินที่ใช้จ่ายสําหรับการคลิกที่โฆษณาในแคมเปญแบบจ่ายต่อคลิกด้วยคำที่ค้นหา
  • Article Published หรือ จำนวนบทความที่มีการใช้ Keyword ที่เราค้นหา ซึ่งในตรงนี้จะรวบรวมบทความให้เราสามารถศึกษาคู่แข่งของเราได้จากฟีเจอร์นี้ค่ะ
  • Related Keyword หรือ คำที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งคำที่แนะนำขึ้นมานี้ผู้อ่านสามารถนำไปต่อยอดได้ โดยคำที่มีผู้สนใจลองลงมา หากเลือกใช้คำดังกล่าวจะทำให้การแข่งขันในการทำ SEO สามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยหลีกเลี่ยงคำที่คู่แข่งเลือกใช้แต่มี Search Volumn หรือ จำนวนการค้นหาที่สูงอยู่ เช่น คำว่า “ตัวอย่างคอนเทนต์ขายของ” มีจำนวนการค้นหาอยู่ที่ 1,000 และมีค่า CPC หรือ จํานวนเงินที่ใช้จ่ายสําหรับการคลิกที่โฆษณาเพียง 0.22 นั่นเองค่ะ

 

โดย BuzzSumo ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่สามารถเข้าไปทดลองใช้งานกันได้ค่ะ เช่น ฟีเจอร์ Content Analyzer ที่ระบบจะจัดคอนเทนต์แยกตามช่องทางแต่ละ Social Media มาให้เราทราบว่าแต่ละช่องทางมี Engagement หรือ มีความมีส่วนร่วมของผู้รับชมเท่าใด และ ลำดับบทความตาม Engagement มาให้เรา หรือจะเป็นฟีเจอร์ Facebook Analyzer ที่เราจะสามารถติดตาม Facebook Page เพื่อค้นหาคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจในแต่ละเพจได้ เป็นต้น

 

3. Google Keyword Planner

Google Keyword Planner เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะทำให้เราสามารถค้นหาจำนวน Search Volumn หรือ จำนวนที่มีการค้นหาคำเหล่านั้นค่ะ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างขึ้นมาเพื่อการวางแผนการทำโฆษณาบน Google Ads โดยตรง

การใช้งาน Google Keyword Planner

ในการใช้งานสามารถทำได้ง่ายๆ โดยจะต้องมีบัญชี Gmail ก็สามารถเข้าไปสมัครใช้งานได้เลยค่ะโดยหลักๆ แล้ว Google Keyword Planner จะมี 2 เครื่องมือหลักให้เราเลือกใช้ดังนี้ค่ะ

เครื่องมือในการใช้งานบน Google Keyword Planner

เครื่องมือในการใช้งานบน Google Keyword Planner

3.1 Discover new keywords 

เครื่องมือ Discover new keyword เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถค้นหา Keyword หรือคำอื่นๆ ที่น่าสนใจนอกเหนือจากที่เราได้ใส่ค้นหาเข้าไป โดยแสดงผลดังต่อไปนี้

  • Keyword หรือ คำอื่นๆ ที่น่าสนใจ
  • ค่าเฉลี่ยที่มีการค้นหาคำดังกล่าวในระยะเวลา 1 เดือน
  • การแข่งขัน ซึ่งเป็นการแสดงความสามารถในการแข่งขันของตำแหน่งโฆษณาสำหรับคีย์เวิร์ด
  • Ad impression share เป็นข้อมูลที่ระบุโอกาสที่คีย์เวิร์ดเหล่านั้นจะได้รับการแสดงผลและถูกคลิก
  • ราคาเสนอสูงสุด – ราคาเสนอต่ำสุด แสดงค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดที่ผู้ลงโฆษณาเคยจ่าย
 ภาพตัวอย่างผลการค้นหาด้วยเครื่องมือ Discover New Keyword

ภาพตัวอย่างผลการค้นหาด้วยเครื่องมือ Discover New Keyword

 

3.2 Get search volume and forecast 

เครื่องมือนี้เป็นการหาจำนวนการค้นหาของคีย์เวิร์ดเหล่านั้น และ แนวโน้มของการค้นหาค่ะ โดยเหมาะกับผู้ที่มีไอเดียของคีย์เวิร์ดไว้อยู่แล้ว โดยสามารถใส่คีย์เวิร์ดที่มีลงไปได้เลยค่ะ

ภาพตัวอย่างการค้นหาด้วยเครื่องมือ Get search volume and forecast

ภาพตัวอย่างการค้นหาด้วยเครื่องมือ Get search volume and forecast

 

โดยข้อแตกต่างของตัวเครื่องมือ Get search volume and forecast คือ เครื่องมือจะบอกข้อมูลแค่เพียงคีย์เวิร์ดที่เราใส่ลงไปเท่านั้นค่ะ โดยจะมีการแสดงผลของค่าต่างๆ เช่นเดียวกับเครื่องมือ Discover new keywords จึงเหมาะกับผู้ที่มีไอเดียของคีย์เวิร์ดอยู่แล้วแต่ต้องการเปรียบเทียบว่าควรเลือกใช้คีย์เวิร์ดใดมากกว่ากันนั่นเองค่ะ

 

4. Google Analytics

Google Analytics เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้ในการวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยการนำข้อมูลเชิงลึกทางสถิติของผู้ที่เข้ามาดูเว็บไซต์ในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลที่เราจะได้รับจาก Google Analytics มีหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ ​​(Demographic)  เช่น  อายุ เพศ อาชีพ ภาษา สถานที่ที่อยู่อาศัย 
  • ข้อมูลเชิงพฤติกรรม ( Behavior) เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เมื่อเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ และสามารถวัดผล Traffic บนหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น

 

การนำข้อมูลจาก Google Analytics มาพัฒนาคอนเทนต์

โดยเราสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก Google Analytics ไปต่อยอดในการผลิตคอนเทนต์ โดยผู้เขียนได้รวบรวมตัวอย่างในการนำมาต่อยอดดังต่อไปนี้

ภาพตัวอย่างการแสดงผลของช่องทางการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน

ภาพตัวอย่างการแสดงผลของช่องทางการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน

สามารถวิเคราะห์ช่องทางที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ว่ามาจากช่องทางใด เพื่อให้เราผลิตคอนเทนต์ได้เหมาะสมกับช่องทางนั้นๆ มากยิ่งขึ้น 

ภาพตัวอย่างการแสดงผลช่วงเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับชมเว็บไซต์

ภาพตัวอย่างการแสดงผลช่วงเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับชมเว็บไซต์

วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งาน เพื่อพัฒนาคอนเทนต์ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราสามารถทราบได้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์มีส่วนร่วมกับเว็บไซต์เราอย่างไรบ้าง เช่น ผู้ใช้งานเลือกรับชมเว็บไซต์ในเวลาใด และ เปิดผ่านอุปกรณ์ใด

ภาพตัวอย่างการแสดงผลเชิงประชากรศาสตร์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์

ภาพตัวอย่างการแสดงผลเชิงประชากรศาสตร์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์

เข้าใจฐานลูกค้ามากยิ่งขึ้น กล่าวคือเราสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงประชากรศาตร์เช่น เพศ และ อายุ ดังนั้นเราจึงสามารถพัฒนาคอนเทนต์ของเราตามความสนใจของกลุ่มลูกค้าหลักของเรามากยิ่งขึ้น

โดยผู้ที่ต้องการเริ่มต้นใช้งาน Google Analytics สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ Google Analytics คืออะไร? สอนวิธีใช้แบบง่าย ๆ สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้

 

5. Social Listening Tools

Social Listening tools คือ เครื่องมือทางการตลาด (Marketing Technology) ที่รวบรวมข้อมูลที่มีการพูดคุยกับบนโลกออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ หรือ สามารถกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้นักการตลาดสามารถเจาะหาข้อมูล หรือ ประเด็นต่างๆ ที่มีการพูดถึงบนโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งเจ้าตัว Social Listening tools สามารถนำมาช่วยในการผลิตคอนเทนต์ให้ตรงใจกับผู้รับชมมากยิ่งขึ้นค่ะ 

การใช้งาน Social Listening tools เพื่อการผลิตคอนเทนต์

ผู้เขียนได้หยิบยกเครื่องมือ Mandala ซึ่งเป็น Social Listening tools ที่ถูกพัฒนาโดยคนไทยเพื่อนำมาเป็นตัวอย่างในการใช้งานเพื่อช่วยค้นหาไอเดียในการผลิตคอนเทนต์ค่ะ โดยฟีเจอร์หลักๆ ที่เราจะสามารถนำมาพัฒนาคอนเทนต์ของเราได้นั้น ผู้เขียนได้รวบรวมมาให้ดังต่อไปนี้ค่ะ

5.1 ค้นหาประเด็นที่คนกำลังให้ความสนใจ

เครื่องมือ word cloud จาก Mandala
เครื่องมือ hashtag cloud ใน mandala

ตัวอย่างผลการค้นหาด้วยเครื่องมือจาก Mandala ด้วยฟีเจอร์ Word Cloud และ Hashtag Cloud

เครื่องมือจาก Mandala มีฟีเจอร์ Word Cloud และ Hashtag Cloud ที่แสดงให้เห็นว่ามีคำหรือ Hashtag ใดที่กำลังได้รับการพูดถึงอยู่บ้าง ซึ่งหากเราเจาะลึกลงไปในรายละเอียดต่างๆ ว่ามีใครกำลังพูดถึงหรือให้ความสนใจกับไอเดียเหล่านี้ไว้อย่างไรบ้าง ก็จะทำให้เราสามารถนำไปสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาให้ตรงใจกับผู้รับชมคอนเทนต์ของเรามากยิ่งขึ้นแล้ว

 

5.2 หลีกเลี่ยงประเด็นที่เสี่ยงต่อการเกิดดราม่า

ในการผลิตคอนเทนต์ลงบนช่องทางต่างๆ เปรียบเสมือนกับการเป็นตัวแทนของแบรนด์ในการสื่อสารเนื้อหาต่างๆ ออกมาให้แก่ผู้รับชม ซึ่งฟีเจอร์ Sentiment Analytics จะทำให้เราสามารถทราบได้ว่าในหัวข้อที่เรากำลังต้องการจะสื่อสารออกไปกำลังเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวต่อสังคมหรือการถูกพูดถึงในแง่ลบที่อาจก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อแบรนด์อยู่หรือไม่

ภาพตัวอย่างการแสดงผล ความเห็นในเชิงบวก หรือเชิงลบที่ผู้อ่านมีต่อคอนเทนต์ หรือแบรนด์นั้น ๆ เมื่อทำการค้นหา

ภาพตัวอย่างการแสดงผล ความเห็นในเชิงบวก หรือเชิงลบที่ผู้อ่านมีต่อคอนเทนต์ หรือแบรนด์นั้น ๆ เมื่อทำการค้นหา

 

5.3 เข้าใจช่องทางในการผลิตคอนเทนต์มากยิ่งขึ้น
ภาพตัวอย่างการแสดงผลการถูกพูดถึงในช่องทางต่างๆ

ภาพตัวอย่างการแสดงผลการถูกพูดถึงในช่องทางต่างๆ

อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นนะคะว่าเครื่องมือ Mandala จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่มีการถูดพูดถึงในแต่ละช่องทาง จึงทำให้เราทราบได้ว่าช่องทางใดที่เหมาะสมในการผลิตคอนเทนต์ของเรามากที่สุด และ หากเราศึกษาในแต่ละการถูกพูดถึงของแต่ละช่องทางจะทำให้เราสามารถเข้าใจได้ดีมากยิ่งขึ้นว่าฐานลูกค้าที่เราต้องการสื่อสารส่วนใหญ่เลือกใช้ Social Media ใดบ้าง เพื่อทำให้เราสามารถเลือกผลิตคอนเทนต์ในช่องทางที่เหมาะสม และ ทำความเข้าใจความแตกต่างของรูปแบบคอนเทนต์ในแต่ละช่องทางได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ

ทั้งนี้เรายังสามารถใช้เครื่องมือนี้ในการสอดส่องคู่แข่งของเราว่ามีการทำคอนเทนต์ในรูปแบบใดอยู่บ้าง มีผู้ให้ความสนใจต่อคอนเทนต์เหล่านั้นมากน้อยเพียงใด และเราควรปรับปรุงคอนเทนต์ของเราให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง ซึ่งเครื่องมือ Mandala สามารถนำมาช่วยนักการตลาดได้ในหลากหลายแนวทาง หากท่านใดที่ต้องการศึกษาแนวทางในการใช้เพิ่มเติมสามารถอ่านบทความ 5 แนวทางการใช้ Social Listening Tools เสริมทัพวางกลยุทธ์ด้านการตลาดดิจิทัล 

 

สรุป

ในการผลิตคอนเทนต์ในยุคปัจจุบันจะต้องอาศัยเครื่องมือในการนำมาช่วยสร้างสรรค์คอนเทนต์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้นักการตลาดสามารถทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้า ประเด็นที่กำลังเป็นที่พูดถึงและมีผู้ให้ความสนใจ รวมไปถึงช่องทางและแนวทางต่างๆ ในการพัฒนาคอนเทนต์มากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละเครื่องมือย่อมมีความแตกต่างและความสามารถในการใช้งานที่ต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสินค้าหรือบริการว่าต้องการข้อมูลในรูปแบบใด เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาคอนเทนต์นั่นเองค่ะ

อ้างอิง

https://www.digitalmarketer.com

https://buzzsumo.com

https://backlinko.com

https://trends.google.co.th

 

 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

สร้างแบรนด์ให้ปัง บน Instagram ได้ด้วยคอนเทนต์ Reels
อัปเดต Google Algorithm 2021 เพื่อให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกบน Google Search