Digital Marketing Landscape

Digital Marketing Landscape คือการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของพื้นที่หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดที่เราต้องการ เพื่อที่เราจะได้บุกตลาดนั้นๆเพื่อสร้างธุรกิจขึ้นมา ถ้าเปรียบกับในเรื่องของ Architect ก็เหมือนกับการที่เราจะสร้างบ้านแล้วเราไปสำรวจพื้นที่ก่อนว่า พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ภูเขา พื้นที่ราบ หรือพื้นที่อะไรที่เหมาะสมกับการปลูกบ้านลักษณะไหนถึงจะเหมาะสม

        สำหรับ Digital Marketing คำว่า Digital Marketing Landscape ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะต้องไปศึกษาก่อนว่าพื้นที่นั้นๆ เหมาะสมกับการใช้เครื่องมือ หรือว่าเลือกใช้ Social Media ประเภทไหนเพื่อที่จะเจาะตลาดเข้าไปได้ง่าย โดยส่วนใหญ่มีคนหลายคนที่อยากบุกตลาดต่างประเทศ และลองเลือกใช้ Facebook ในการทำการตลาด แต่ไม่ได้ผลเพราะเนื่องจาก Facebook เป็นPlatform อันดับหนึ่งของหลายประเทศแต่ไม่ใช่ทุกประเทศ

        ยกตัวอย่างประเทศใน South East Asia เช่นประเทศ บรูไน ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ ประเทศที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึงค่อนข้างแรงสามอันดับแรกก็คือ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซียแต่ต้องเข้าใจว่าสามประเทศนี้ประชากรไม่ได้เยอะ พออินเตอร์เน็ตเข้าถึงประชากรในประเทศเยอะ สิ่งที่เกิดขึ้นเลยก็คือ คนในประเทศเขาจะไปเร็วกว่าประเทศเรา เขาจะคุ้นเคยกับเรื่องของอินเตอร์เน็ตได้เร็วมากกว่า

         ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นพฤติกรรมชองประชากรในประเทศสิงคโปร์ สมมติว่าถ้าเขาอยากซื้อของสักชิ้นหนึ่ง คนสิงคโปร์ประมาณ 70% จะเลือกซื้อของและช็อปปิ้งออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ E-Commerce ของแบรนด์นั้นๆ ความหมายก็คือว่า ธุรกิจเกือบทุกธุรกิจในประเทศจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และสามารถขายของผ่านเว็บไซต์ตัวเองได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งตัวกลาง แต่ส่วนของประเทศเราต้องยอมรับเลยว่าผู้ประกอบการหลายท่านยังไม่เข้าใจระบบ E-Commerce อย่างถ่องแท้เท่าไหร่ ทำให้เราต้องไปพึ่งตัวกลางไม่ว่าจะเป็น Social Media  หรือ Chat Application ต่างๆเป็นต้น

         ในประเทศสิงคโปร์ กว่า 77% ของผู้บริโภคจะซื้อของผ่านเว็บไซต์ E-Commerce  เพราะฉะนั้นมันแสดงให้เห็นว่าประชากรของเขาค่อนข้างเคยชิน คุ้นเคยกับ E-Commerce มากๆ เพราะว่าการเข้าถึงมันกว้างขวาง และมันไม่ได้เป็นอุปสรรคในการสื่อสารซักเท่าไหร่ เช่นเดียวกับมาเลเซียเช่นเดียวกัน แต่ว่าข้อดีและข้อเสียของการเข้าถึงเรื่องของการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตก็มีเช่นกัน

         ข้อดีก็คือ ทุกคนสื่อสารกันได้หมด การค้าออนไลน์ก็เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น แต่ว่าข้อเสียก็คือการแข่งขันทางธุรกิจที่จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ธุรกิจไหนที่มีสายป่านยาวกว่าอาจจะได้แต้มต่อ เนื่องจากว่าผู้คนมีความรู้มาก หาข้อมูลเยอะมาก อาจจะต้องทำ PR & Marketing เยอะกว่าประเทศอื่นๆ กลับกันกับในประเทศไทย สมมติเเราต้องการขายสินค้าขึ้นมาสักอย่าง ผู้บริโภคน้อยคนที่จะไปหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาก่อน แต่สำหรับคนสิงคโปร์ เขาจะไปหาข้อมูลมาให้มากเเกินพอ มาจากหลายๆที่ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจนั้นมีเว็บไซต์ และข้อมูลครบถ้วนหรือเปล่า ซึ่งมันคือเครื่องมือของ Own Channel ของแบรนด์หรือธุรกิจนั้นๆ หลังจากนั้นเขาจะไปหาว่ามีคนพูดถึงสินค้านี้หรือเปล่า ซึ่งตามหลักการตลาด Digital Marketing ก็คือ Off-side SEO คือการเห็นข้อมูลสินค้าของเราตามเว็บคอนเทนต์ต่างๆ หรือไปอยู่ตามในเว็บข่าวหรือไม่ มีคนพูดถึงหรือเปล่า มี PR เจ้าไหนพูดถึงไหม พูดถึงในทางที่ดีหรือไม่ดี อย่างที่สามก็คือ Influencer ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลที่เป็นที่รู้จักในระดับหนึ่ง และอย่างที่สี่ก็คือ ผู้ทรงอิทธิพลที่อยู่ในระดับทั่วไป ซึ่งก็คือผู้บริโภคด้วยกันเอง หรือตาม Forum ที่เป็นกระทู้ ซึ่งในประเทศสิงคโปร์เขาก็จะเน้นเรื่องนี้อย่างชัดเจนมาก

          ซึ่งเท่ากับว่าเขาทำการหาข้อมูลมากกว่าสี่แหล่ง ก่อนที่เขาจะตัดสินใจซื้อ แต่ถ้าเป็นคนไทย บางทีเห็นแค่ในเฟสบุ๊คก็ตัดสินใจซื้อแล้วก็มี ตรงนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า ผู้บริโภคของทางประเทศสิงคโปร์ เขาต้อง หรือมีความต้องการที่จะดูข้อมูลเยอะๆก่อนที่เขาจะตัดสินใจ เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่อง Digital Marketing Landscape ของแต่ละพื้นที่เป็นสิ่งที่สำคัญก่อนที่จะลุยตลาดนั้นๆ และ สร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นได้

ปัจจัยในการศึกษา Digital Marketing Landscape มีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างด้วยกัน คือ

1. การเข้าถึงของอินเตอร์เน็ตในแต่ละพื้นที่

      ศึกษาการเข้าถึงของอินเตอร์เน็ต เพราะการเข้าถึงของอินเตอร์เน็ต สะท้อนเรื่องความไว ในการสื่อสาร และหากเราต้องการทำแคมเปญ 1 แคมเปญ จะสามารถกำหนดระยะเวลาและคาดเดาได้แน่นอนมากขึ้นว่าเราควรดำเนินแผนการใดต่อไป

2. ลำดับของการใช้ Social Media แต่ละประเทศ

      ถ้านับใน South East Asia จะสลับกันอยู่สองอย่างคือ Facebook กับ Youtube ในประเทศไทยอันดับหนึ่งคือ Facebook แต่ในสิงคโปร์กับมาเลเซีย อันดับหนึ่งคือ Youtube รองลงมาคือ Facebook แต่ว่าถ้าเป็นประเทศอื่นๆที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านเราไม่ว่าจะเป็นลาว กัมพูชา อันดับหนึ่งก็ยังเป็น Facebook อยู่ เวียดนามก็เหมือนกัน ซึ่งเมื่อข้อมูลเป็นเช่นนี้เราก็สามารถสรุปได้ว่าพื้นที่ South East Asia ถ้าเราต้องการทำตลาด เราต้องใช้ Facebook เป็นหลักอันดับที่หนึ่ง แต่ว่าตัวรองลงมาก็จะมี Youtube และ Instagram ตามลำดับ

3. Messenger Application

       ประเทศสิงคโปร์ใช้ Whatsapp ในการแชท ใช้ Linkedin และ Google+ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเรามาก ไม่เหมือนกันเลย ในมาเลเซียใช้ Whatsapp, WE CHAT และใช้ Line เวียดนาม กัมพูชา ใช้ Facebook Messenger ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศเดียวเลยที่ Line มาเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องของการแชท

       ส่วนที่น่าสนใจสุดเลยคือ Facebook Messenger เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนใน South East Asia  Facebook Messenger เป็น Application ที่ติดอันดับ Top 3 ในแต่ละประเทศ (ข้อมูลจาก We are Social) ซึ่งทำให้เราเห็นได้ชัดว่าถ้าเราจะต้องมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าใน South East Asia หลักๆอย่างแรกที่ต้องมีเลยคือ Facebook Messenger คือถ้าไม่มีก็อาจเสียเชิงได้

4. ลักษณะของการเสพคอนเทนต์

       แต่ละประเทศจะมีวิธีการเสพคอนเทนต์ไม่เหมือนกัน ซึ่งรูปแบบของคอนเทนต์ นั้นมันแบ่งออกมาได้เป็นประเภท เช่น รูปภาพ, วิดิโอ, Infographic, Potcasts ส่วนใหญ่ในประเทศไทยและเพื่อนบ้านของเรา รูปภาพก็ยังมาเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนประเทศที่อินเตอร์เน็ตค่อนข้างเข้าถึงเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เขาก็ค่อนข้างที่จะบริโภคคอนเทนต์ที่เป็นตัวอักษรมากขึ้น รายละเอียดเยอะขึ้น มีหลักฐานการยืนยันว่ามันมีจริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เริ่มมีเทรนด์ในการเสพคอนเทนต์ โดยประเภทของคอนเทนต์ที่มีอัตราในการเสพมากขึ้นก็คือวิดิโอ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Youtube ยังเป็นอันดับหนึ่งไม่ก็สอง ที่เป็น Social Media ที่คนใน South East Asia ใช้มากที่สุด

5. E-Commerce Trend ในแต่ละประเทศ

       ความหมายก็คือบางที่เหมาะแก่การทำการตลาดออฟไลน์ อย่างเช่น ลาว เวียดนาม แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เหมาะกับการทำการตลาดแบบออนไลน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ สรุปคือลาว กัมพูชา เวียดนาม 60% เหมาะแก่การทำออฟไลน์ และลุยไปกับการทำออนไลน์ ส่วน 40% ใช้ออนไลน์เพื่อโถมในเรื่องของ Influencer ต่างๆ เพราะฉะนั้นแล้วตัวที่เป็น E-Commerce Trend ต้องบอกว่าประเทศเพื่อนบ้านเราเขายังไม่ตัดสินใจซื้อผ่านโลกออนไลน์แบบทันที เขาต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรืออะไรที่มันเป็น Human มากขึ้น แต่ว่าประเทศอีกฝั่งหนึ่งที่การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเยอะขึ้น ประเทศเหล่านี้ E-Commerce เติบโตมากๆเลย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีอัตราการซื้อของผ่านมือถือสูงมากๆ ทำให้การสื่อสารจะเน้นผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่า 70% ตามข้อมูลข้างต้นของบทความ

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

5 เครื่องมือสำหรับ Social Listening Process
6 ตำแหน่งงานที่ต้องมี ในการสร้างทีม Digital Marketing