อัปเดต Google Algorithm 2021 เพื่อให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกบน Google Search

อัปเดต Google Algorithm เพือให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกบนการค้นหาของ Google

ในการรักษาให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกบน Google Search ได้ ประกอบไปด้วยหลากหลายปัจจัย ทั้งนี้นักการตลาดยังต้องคอยอัพเดทข้อมูลอยู่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการทำงานของ Google Algorithm มีการปรับเปลี่ยนอยู่อย่างต่อเนื่อง และย่อมส่งผลกระทบต่อการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดในฝั่งออนไลน์ ในบทความนี้ STEPS Academy จึงได้รวบรวมทุกการอัปเดตของ Google Algorithm มาฝากทุกท่านกันค่ะ ก่อนอื่นเรามาทราบถึงปัจจัยหลักๆ ที่ส่งต่อการจัดอันดับของ Google กันค่ะ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับของ Google

เนื่องจาก Google ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของ  Google จึงทำให้เรายังไม่สามารถทราบถึงทุกปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับอย่างแน่นอนได้ แต่จากการรวบรวมข้อมูลเท่าที่ทราบได้ทั้งหมดมีดังต่อไปนี้ค่ะ 

  • ความเร็วในการดาวน์โหลดเว็บไซต์ (Page Speed) ปัจจัยด้านความรวดเร็วในการดาวน์โหลดของเว็บไซต์ซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้
  • ความสอดคล้องของเนื้อหา (Content relevance) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าเนื้อหาในเว็บไซต์มีความสอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับคำค้นหาหรือไม่
  • การออกแบบเว็บไซต์ (Site Design) โดยต้องเป็นเว็บไซต์ที่สามารถใช้งานได้ง่าย (User-friendly)
  • คุณภาพของลิงก์ (Link quality) โดยในเว็บไซต์จะต้องมีการลิงก์ไปยังเนื้อหาที่ให้ข้อมูลได้มีความเกี่ยวข้อง หากมีการลิงก์ไปยังข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการจัดอันดับของ Google ได้
  • ความเหมาะสมของการใช้งานบนมือถือ (Mobile-friendliness) Google จัดอันดับด้วยการดูความสามารถในการรองรับการใช้งานบนมือถือแต่ละรุ่น
  • สถานะ HTTPS (HTTPS status) เนื่องจาก Google ให้ความสำคัญด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โปรโตคอล HTTPS มีความปลอดภัยมากกว่า HTTP ซึ่งส่งผลต่อการจัดอันดับ
  • การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (User engagement) โดยการวัดที่ค่า Bounce Rate หรือ จำนวนผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ของเรา และ กดออกไปโดยไม่ได้เยี่ยมชมหน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์ และ Returning Visitors หรือจำนวนผู้กลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์

 

การอัปเดตของ  Google Algorithm

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของ Google Algorithm ให้มากยิ่งขึ้น เรามาย้อนดูถึงอัปเดตที่สำคัญของ Google Algorithm และ แนวทางปฎิบัติที่นักการตลาดควรทำเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยน Algorithm กันดีกว่าค่ะ

  • Google Panda 

ถูกสร้างขึ้นมาในปี 2011 เพื่อเป็นตัวกรองสำหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ใส่ Keyword และเนื้อหาที่ซ้ำ ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องมั่นใจว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์เป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน มีการใช้ Keyword อย่างมีกลยุทธ์

  • Google Penguin

 ถูกอัปเดตตามมาในปี 2012 เพื่อเป็นตัวกรองสำหรับเว็บไซต์ที่ใช้เทคนิค Black hat SEO หรือ การใช้เทคนิคต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับ

  • Google Hummingbird 

ถูกอัปเดตในปี 2013 เพื่อนำมาแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเสิร์ช เชื่อมโยงให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากคีย์เวิร์ดต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีมากยิ่งขึ้นในฝั่งของผู้ใช้งาน ซึ่งในมุมของนักการตลาดจึงต้องนำเสนอคอนเทนต์ด้วยการใช้คีย์เวิร์ดได้อย่างเหมาะสม มีเนื้อหาของคอนเทนต์ให้สอดคล้อง และ ตรงใจกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

  • Google RankBrain

 ถูกอัปเดตตามมาในปี 2015 เพื่อพัฒนาผลของการค้นหาด้วยการใช้ระบบ Machine Learning เพื่อทำให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงในการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดต่างๆ ของผู้ใช้งาน ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงการใช้แต่ละคีย์เวิร์ดเพื่อทำให้คอนเทนต์เหล่านั้นคือข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ

ทั้งหมดนี้เป็นอัปเดตหลักๆ ที่สำคัญสำหรับ Google Algorithm ค่ะ ซึ่งจริงๆ แล้ว Google มีการปรับเปลี่ยนระบบอยู่ตลอดเวลาในแต่ละวัน แต่อาจเป็นการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยที่ไม่ได้กระทบโดยตรงในทันที ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทราบได้ว่าบ่อยแค่ไหนเราถึงควรจะอัปเดตข้อมูล แต่เราสามารถทราบได้เมื่อ Google มีการอัปเดต Agorithm ที่สำคัญตัวใหม่ออกมาได้ด้วยการใช้ Google Alert เพื่อเป็นช่องทางในการติดตามอัปเดต หรือ การประกาศข้อมูลในรูปแบบทางการจาก Google ได้ค่ะ เพื่อช่วยให้นักการตลาดทุกท่านยังสามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ Google Algorithm ได้โดยตรง

และอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถช่วยให้นักการตลาดสามารถติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้คือ การใช้เครื่องมือ Google Analytics ค่ะ เพื่อทำให้เราสามารถเช็คข้อมูลหลังบ้านของเว็บไซต์ของเราได้โดยตรงหากมีตัวเลขการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ผิดปกติ เพราะหากเว็บไซต์ของคุณเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอาจเป็นเพราะได้รับผลกระทำจากการอัปเดตของ Google Algorithm ได้ค่ะ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาการใช้งาน Google Analytics สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://stepstraining.co/strategy/benefits-of-google-analytics-and-how-to-set-up-tools

9 เทคนิคในการรับมือกับ Google Algorithm

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจด้านการอัปเดตของ Google Algorithm กันไปแล้วนะคะ ต่อมาเรามาดูเทคนิคสำหรับนักการตลาดในการรับมือกับ Google Algorithm กันดีกว่าค่ะ

1. ปรับเว็บไซต์ให้รองรับในการดูผ่านมือถือ

ปัจจุบันมีตัวเลขผู้ใช้งานผ่านมือถือสูงมากยิ่งขึ้น Google จึงได้ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานผ่านมือถือ เนื่องจากในการทำเว็บไซต์จะต้องปรับให้เว็บไซต์สามารถรองรับการดูและการใช้งานผ่านทั้ง เดสก์ทอป แท็บเล็ต และ การดูผ่านมือถือ ซึ่ง Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่สามารถรองรับการใช้งานผ่านมือถือได้ค่ะ หาก Website สามารถรองรับการดูผ่านมือถือจะทำให้ส่งผลต่อการจัดอันดับบน Google

โดยเราสามารถเข้าไปเช็คการรับชมผ่านมือถือได้ด้วยเครื่องมือ Moblie-Friendly Test  โดยสามารถเช็คได้ด้วยการใส่ URL ของเว็บไซต์ลงไปได้เลยค่ะ

ตัวอย่างการเช็คการรับชมเว็บไซต์ผ่านมือถือ

ตัวอย่างการเช็คการรับชมเว็บไซต์ผ่านมือถือ

2. ตรวจสอบ Inbound link

Inbound link คือ ลิงก์ที่ถูกวางอยู่บนเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อเป็นช่องทางเข้ามายังเว็บไซต์ของเรานั่นเองค่ะ ถือเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงเพื่อให้มีผู้ชมเข้ามายังเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น แต่หาก Inbound link ทำงานไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสู่เว็บไซต์ได้นะคะ 

โดย Inboundlink จะต้องมีปริมาณที่เยอะ และ มีเนื้อหาที่สอดคล้อง ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องนำเสนอคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ สามารถให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้ โดยปริมาณ Inbound link ที่ดี และ มีคุณภาพจะทำให้เราสามารถติดอันดับแรกๆ บนหน้า Google Search ได้ 

3. เพิ่มความมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (User Engagement) 

User Engagement หรือ การส่วนร่วมของผู้ใช้งาน ในแง่มุมของเว็บไซต์เราสามารถวัดความมีส่วนรวมของผู้รับชมได้ดังนี้

  •  Bounce rate หรือ จำนวนผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ของเรา และ กดออกไปโดยไม่ได้เยี่ยมชมหน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์ และสามารถดูได้จาก 
  • Returning Visitors หรือ จำนวนผู้กลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ 

ซึ่งหมายความได้ว่านักการตลาดจะต้องเลือกใช้คีย์เวิร์ดได้อย่างเหมาะสม มีเนื้อหาของคอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดผู้รับชมให้สามารถรับชมบนเว็บไซต์ของเราต่อไปได้ เพื่อทำให้การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานเพิ่มมากยิ่งขึ้นซึ่งส่งผลต่อการจัดอันดับของ Google

 

4. ปรับความรวดเร็วในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์

ความรวดเร็วในการดาวน์โหลดหน้าของเว็บไซต์ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งาน โดยความรวดเร็วในการดาวน์โหลดเว็บไซต์ สามารถกล่าวอีกทางหนึ่งให้สามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ เมื่อเราเข้าสู่หน้าของเว็บไซต์ เราใช้ระยะเวลานานเท่าใดในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ทั้งหมด ตั้งแต่เนื้อหาต่างๆ ไปจนสู่รูปภาพ และ วิดีโอ บนเว็บไซต์ ความรวดเร็วในการดาวน์โหลดนี้สามารถส่งผลต่อการจัดอันดับบน Google 

เราจึงต้องควรคำนึงถึงขนาดของรูปภาพหรือวิดีโอที่ใส่ลงไปในหน้าของเว็บไซต์ เนืองจากหากเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่จนเกินไปจะส่งผลต่อการดาวน์โหลดให้ช้าลงได้ค่ะ โดยเราสามารถเข้าไปตรวจสอบความรวมเร็วในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ได้จากเครื่องมือ PageSpeed Insight

ตัวอย่างเครื่องมือ PageSpeed Insight

ตัวอย่างเครื่องมือ PageSpeed Insight

 

5. หลีกเลี่ยงการคัดลอกเนื้อหา

คอนเทนต์บนเว็บไซต์ของคุณต้องไม่เป็นคอนเทนต์ที่ถูกคัดลอกเนื้อหาขึ้นมาจากผู้อื่น ซึ่งเป็นข้อควรระวังอย่างยิ่ง และ อาจทำให้เกิดค่าเสียหายได้ค่ะ และแน่นอนว่าคอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้ ย่อมส่งผลต่อการจัดอันดับบน Google ที่แย่ลง

สำหรับเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบการคัดลอกเนื้อหาบนเว็บไซต์สามารถใช้เครื่องมือ Siteliner ด้วยการใส่ URL ของเว็บไซต์ลลงไปได้เลยค่ะ

เครื่องมือ siteliner
6. ทำคอนเทนต์แบบให้ข้อมูล

คล้ายคลึงกับเทคนิคในข้อที่แล้ว หากบนเว็บไซต์ของเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ สามารถทำให้ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ได้ยาวนานขึ้น และทำให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านเนื้อหาของคอนเทนต์อื่นๆ ต่อไปได้  จะส่งผลต่อการจัดอันดับบน Google ค่ะ เพราะสามารถทำให้ Google ทราบได้ว่าเนื้อหาเหล่านั้นเป็นเนื้อหาที่ผู้ใช้งานต้องการค้นหา และทำให้ Google จัดอันดับเว็บไซต์ของเราในอันดับต้นๆ นั่นเองค่ะ

 

7. หลีกเลี่ยงการใช้คีย์เวิร์ดซ้ำๆ 

Keyword stuffing หรือการใส่คีย์เวิร์ดซ้ำๆ ในจำนวนมาก ส่งผลให้เนื้อหาของคอนเทนต์เข้าใจได้ยากขึ้น และ ไม่ได้เป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพค่ะ ซึ่งส่งผลต่อการจัดอันดับบน Google เช่นเดียวกัน

จากที่ได้กล่าวไปในตอนต้นถึงการอัปเดตสำคัญของ Googl Algorithm ซึ่งได้ถูกพัฒนามาเพื่อคัดกรองในการทำ Black hat SEO ซึ่งการใส่คีย์เวิร์ดซ้ำๆ ในจำนวนที่มากจนเกินไปถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ควรปฎิบัติค่ะ

 

8. ปรับปรุงรูปแบบการใช้งานบนเว็บไซต์ (Site Navigation)ประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์มีผลต่อการจัดอันดับของ Google ดังนั้น ความใช้งานได้ง่ายของเว็บไซต์ เช่น แทบเมนู การวางตำแหน่ง หรือ การค้นหาเนื้อหาอื่นๆ ภายในเว็บไซต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทำอย่างยิ่ง หากผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนเว็บไซต์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้นจะทำให้ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของเรายาวนานยิ่งขึ้น ทำให้ Google ทราบว่าเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพนั่นเองค่ะ

 

9. เพิ่มความปลอดภัยของเว็บไซต์

เทคนิคสุดท้ายที่เราสามารถเพื่มความปลอดภัยของเว็บไซต์ด้วยการใช้โปรโตคอล HTTPS เนื่องจากมีความปลอดภัยของข้อมูลมากกว่าโปรโตคอล HTTP โดย Google ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูล จึงส่งผลต่อการจัดอันดับบน Google ให้ดีมากยิ่งขึ้น

 

เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับการอัปเดตของ Google Algorithm ที่นำมาฝากทุกท่านกันในวันนี้ ผู้เขียนหวังว่าบทความชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ของผู้อ่านเพื่อนำไปพัฒนาการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อขยายฐานลูกค้า และ เพื่อเป็นส่วนช่วยให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้นะคะ 

สำหรับใครที่สนใจในการเรียนรู้ ต้องการพัฒนาเว็บไซต์เป็นของตัวเอง มองเห็นถึงความสำคัญในการใช้ ‘Data’ เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ และ ขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาดให้เป็นที่หนึ่งเหนือคู่แข่ง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อชิงตำแหน่งบน Search Engine เป็นต้น สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://stepstraining.co/martech-data-driven-content-seo

 

อ้างอิง

https:// neilpatel.com

https:// blog.hubspot.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

5 เครื่องมือ ตัวช่วยในการเพิ่มไอเดียคอนเทนต์ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
เทคนิคการใช้ Hashtag บน Social Media ช่องทางต่าง ๆ