5 แนวทางการใช้ Social Listening Tools เสริมทัพวางกลยุทธ์ด้านการตลาดดิจิทัล

การใช้ Social Listening Tools

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่ง ที่เมื่อเริ่มวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด มักตั้งคำถามกับตัวเองว่า ธุรกิจ หรือ แบรนด์ของเราควรวางกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างไรบนโลกออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ และเราควรเลือกใช้เครื่องมือทางการตลาดแบบไหน ให้เหมาะสม และตอบโจทย์ในการวางแผนงาน Digital Marketing หากคุณกำลังตั้งคำถามนี้อยู่ คอนเทนต์นี้มีคำตอบให้คุณ และสามารถแนะนำเครื่องมือที่สำคัญต่อการทำการตลาดผ่านคอนเทนต์ได้ด้วยการใช้ Social Listening Tools ครับ

ก่อนอื่น ผมขอพูดถึงช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล หรือสื่ออนไลน์ก่อนนะครับ ปัจจุบันหากผมจะพูดว่า “การใช้ Social Media เป็น หนึ่งในกิจวัตรประจำวันหลัก ของคนทั่วโลก” ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกๆ คนก็คงไม่มีใครปฏิเสธความจริงข้อนี้ ซึ่งเรามาดูสถิติจากภาพด้านล่างนี้กัน

 

กราฟแสดงระยะเวลาเฉลี่ยการใช้งาน Social Media ของคนแต่ละประเทศ
ที่มา blog.hootsuite.com

รูปที่ 1 กราฟแสดงระยะเวลาเฉลี่ยการใช้งาน Social Media ของคนแต่ละประเทศ 

Hootsuite เปิดเผยสถิติในปี 2021 ไตรมาสที่ 1 ว่า คนไทยใช้เวลาอยู่บน Social Media นานเป็นอันดับที่ 16 ของโลก และ มีค่าเฉลี่ยเวลาการใช้ Social Media สูงถึง 2 ชม. 48 นาที

ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะขนาดนี้ ไม่ใช่สิ่งที่น่าแปลกใจเลย เพราะในแต่ละวัน คนไทย ใช้เวลากับ Social Media เยอะมากกิจกรรมหลายอย่างถูกทำบน Social Media ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น

  • เช็คข่าว
  • ดูทีวี
  • คุยกับเพื่อน
  • ชอปปิง
  • ค้นหาข้อมูลท่องเที่ยว
  • ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหาร และกิจกรรมอื่นอีกมากมาย

แน่นอนว่า เวลาคุณใช้ Social Media อย่าง Facebook, Instagram, Twitter, หรือ YouTube คุณก็ไม่ได้อ่านหรือดูคอนเทนต์เพียงอย่างเดียว คุณมีทั้งคอมเมนต์ มีกดถูกใจ (LIKE) กดแชร์ (Share) การแท็กเพื่อนๆ (Tag) รวมถึงสร้างคอนเทนต์ให้คนอื่นๆ อ่านด้วย ในขณะที่หลายคนมองข้ามข้อมูลเหล่านี้ นักการตลาดหลายๆ คนมองเห็นว่า นี่คือแหล่งข้อมูลของลูกค้าที่แสนล้ำค่า

หากนักการตลาด หรือผู้ที่ทำคอนเทนต์สามารถนำเครื่องมือที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่มาจากช่องทางดิจิทัล หรือ ช่องทางจาก Social Media มาวิเคราะห์ได้ ก็จะทำให้คุณเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค และความสนใจของคนในช่วงเวลานั้น ๆ ได้ดีขึ้นโดยในวันนี้ ผมขอแนะนำเครื่องมือที่ช่วยในการทำการตลาดอย่าง Social Listening Tools ครับ

 

Social Listening Tools คืออะไร

Social Listening Tools คือ เครื่องมือทางการตลาด (Marketing Technology) ที่ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ของผู้บริโภคที่อยู่บน Online ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบน Social Media, Blog, Website และช่องทางอื่นๆ (ข้อมูลอ้างอิงจาก blog.hootsuite.com)

โดยข้อมูลที่ Social Listening Tools เก็บมานั้นมีมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

  • การโพสต์คอนเทนต์ (Content)
  • การแสดงความคิดเห็น (Comment)
  • การแท็กเพื่อน (Mentions)
  • #Hashtag
  • การกดถูกใจ (LIKE) เป็นต้น

ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคเหล่านี้ หากถูกนำวิเคราะห์เพิ่มเติม จะทำให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเชิงลึกไปต่อยอดกลยุทธ์ด้านการตลาดให้กับธุรกิจได้

 

Social Listening Tools มีประโยชน์ต่อการวางกลยุทธ์การตลาดอย่างไร ? ล้ำค่าขนาดไหน?

 

social listening tool

ผมอยากชวนให้ทุกคนลองจินตนาการภาพตามผมนะครับ สมมติว่าคุณเป็นนักการตลาดของบริษัทหนี่ง และ คุณมีความสามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคอมเมนต์ของลูกค้า ที่พูดเกี่ยวข้องกับบริษัทของคุณทั้งหมดบน Social Media ได้ในเวลาไม่กี่วินาที และนอกจากนี้ คุณยังสามารถเข้าใจกลุ่มลูกค้าของคุณได้อีกว่า….

  • ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบบริษัทของเราเพราะอะไร
  • ลูกค้าอยากให้บริษัทปรับปรุง และ พัฒนาบริการด้านไหน
  • คุณได้รู้ว่า ลูกค้าที่พูดถึงธุรกิจของคุณบนโลกออนไลน์ เป็นใคร มีลักษณะนิสัย และมีความสนใจอะไร

คุณคิดว่า ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์กับการต่อยอดกลยุทธ์ด้านการตลาดของบริษัทคุณหรือไม่ครับ ?

คำตอบสำหรับผมคือ  เป็นประโยชน์แน่นอนครับ และเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการทำการตลาด การทำโฆษณา  และการขายด้วย เพราะธุรกิจใดที่ได้ข้อมูลเหล่านี้ไป สามารถนำผลลัพธ์จากการวิเคราะห์นั้นไปทำประโยชน์ และพัฒนาธุรกิจในด้านต่าง ๆ เช่น

  • ช่วยลดต้นทุน ลดเวลาในการทำแบบสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้า ซึ่งข้อมูลที่เราได้มานี้ถือว่าเป็น ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ
  • ได้เปรียบคู่แข่งในตลาด สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจของคุณได้ โดยการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสม
  • สร้างความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย และติดตามความเคลื่อนไหวจากกลุ่มคนเหล่านั้นได้
  • สามารถเลือก Keyword ที่ใช่ไปต่อยอดในการทำคอนเทนต์ และบทความ
  • มีส่วนในการพัฒนาคอนเทนต์ให้ติด SEO
  • สามารถนำไปต่อยอดในการทำโฆษณาให้ถูกช่องทางในโลก Social Media
  • ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ และการบริการสามารถนำความคิดเห็น และประสบการณ์ของลูกค้าที่มีการพูดถึงแบรนด์ไปปรับปรุงการบริการได้ในอนาคต เป็นต้น

 

การค้นหา Customer Insight อย่างรวดเร็ว ด้วย Social Listening Tools

นักการตลาดทุกคนรู้ว่า “คุณไม่มีทางรู้จักลูกค้าได้ หากไม่เคยฟังว่าลูกค้าพูดอะไร” และคุณจะไม่สามารถวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพได้เลยหากคุณไม่รู้จักลูกค้า โดยในอดีต  นักการตลาดจำเป็นต้องออกไปสำรวจตลาด พูดคุยกับลูกค้า เพื่อให้นักการตลาดเข้าใจความสนใจเชิงลึกของลูกค้า หรือ Customer Insight ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีการได้มาของข้อมูลเชิงลึกของลูกค้านั้น นักการตลาดจะต้องเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจริงด้วยวิธีการต่างๆ เช่น

  • วิธีการสัมภาษณ์เดี่ยว (Interview)
  • การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group)
  • การกรอกแบบฟอร์มเพื่อทำสำรวจความพึงพอใจ เป็นต้น

วิธีเหล่านี้ ล้วนเป็นขั้นตอนต้องใช้ระยะเวลา และ บุคลากรในการรวบรวมข้อมูล แต่ในปัจจุบัน การรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าทำได้ง่ายขึ้นบนโลกออนไลน์ ซึ่งประหยัดเวลากว่า สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หลายช่องทาง และมีความละเอียดพราะข้อมูลความสนใจเชิงลึกของลูกค้าล้วนอยู่บน Social Mediaไม่ว่าจะเป็น

  • ลูกค้าของคุณกำลังสนใจเรื่องอะไร
  • ลูกค้ารู้สึกยังไง หรือคิดยังไงกับธุรกิจของคุณ 
  • ลูกค้าต้องการอะไรจากธุรกิจของคุณบ้าง
  • บุคคลไหนบ้างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อลูกค้าของคุณ

การใช้ Social Listening Tools จะทำให้คุณสามารถ “ล่นระยะเวลา และลดต้นทุนด้านบุคคลในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า” ได้อย่างมาก เพียงคุณเปลี่ยนวิธีรวบรวมข้อมูลจากที่คุณจะต้องออกไปสัมภาษณ์ลูกค้าจริงๆ เป็นการเปิดใช้งาน Social Listening Tools คุณก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้ในทันที และทำให้คุณพร้อมมากขึ้นในการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด

เพื่อให้ท่านผู้อ่านทุกท่านเห็นภาพการใช้งานจริง ผมจึงได้ “รวบรวม 5 แนวทางการใช้ Social Listening Tools เพื่อหาข้อมูลต่อยอดกลยุทธ์ด้านการตลาด”  ให้ทุกคนดูด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า Mandala กันครับ

จากภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของ Dashboard ของเครื่องมือ Mandala

 

ตัวอย่าง dashboard Mandala ตัวอย่างการตั้งค่า Keyword บน Social Listening Tools ที่มีชื่อว่า Mandala Analytics

Mandala เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากช่องทางต่าง ๆ มาสรุปให้ผู้ใช้งานได้ดูกัน โดยเราสามารถนำ Keyword ที่ต้องการทำการตลาด หรือ Keyword ที่ต้องการวัดผลไปวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่า Keyword เหล่านั้นมีความนิยมมากน้อยแค่ไหนบนโลกออนไลน์ ซึ่งนักการตลาดสามารถเลือกแพลตฟอร์ม Social Media ที่ต้องการโฟกัสได้ และสามารถสรุปผลได้ว่า ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกออนไลน์เป็นความคิดเห็นในเชิงบวกหรือเชิงลบ ซึ่งภาพรวมหลัก ๆ ของฟีเจอร์ Mandala นั้นประกอบด้วย

1  Dashboard ที่แสดงถึงภาพรวมของข้อมูล

2 Keyword ที่เรากำลังวิเคราะห์ผล และ แฮชแท็ก

3 ข้อมูลที่อัปเดตในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ (ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าได้)

4 Mention ต่าง ๆ ที่มีการพูดถึงบนโลกออนไลน์

5 Keyword ที่มีความใกล้เคียงกับคำค้นหาที่เรากำลังวิเคราะห์

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างความสามารถของ Mandala ที่สามารถเพิ่มโอกาสให้การวางกลยุทธ์การตลาดของคุณสามารถสร้าง Conversion ที่จะนำไปสู่การสร้างยอดขายได้ โดยในวันนี้ ผมขอสรุป 5 แนวทางการใช้ Social Listening Tools เพื่อหาข้อมูลต่อยอดกลยุทธ์ด้านการตลาด ด้วยเครื่องมือ Mandala มาให้ทุกคนได้นำไปใช้กันครับ

 

5 แนวทางการใช้ Social Listening Tools เพื่อหาข้อมูลต่อยอดกลยุทธ์ด้านการตลาด

 

1. การวิเคราะห์ธุรกิจของตัวเอง

แน่นอนว่าก่อนที่คุณจะวางแผนกลุทธ์ทางการตลาด ซึ่งสิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องรู้ให้แน่ชัดก่อน คือ สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจของคุณ

คุณควรต้องทราบว่า จุดแข็งของแบรนด์ของคุณคืออะไร และ จุดอ่อนของแบรนด์ของคุณคืออะไร

ตัวอย่างการตั้งค่า Keyword บน Social Listening Tools

ตัวอย่างการตั้งค่า Keyword บน Social Listening Tools ที่มีชื่อว่า Mandala Analytics

บน Social Listening Tools คุณสามารถตั้งค่าให้ระบบดักฟัง Keyword ที่คุณสนใจบนโลกออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อแบรนด์ หรือ ผลิตภัณฑ์ของคุณ 

ซึ่งหลังจากที่คุณตั้งค่า Keyword ที่คุณสนใจเสร็จแล้ว คุณจะสามารถเห็นข้อมูลได้ทันทีว่า บนโลกออนไลน์ และ Social Media ว่าคนพูดถึงแบรนด์ และ ผลิตภัณฑ์ของคุณอย่างไร

  • ในกรณีที่ลูกค้าชื่นชมธุรกิจ คุณควรวิเคราะห์ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนชื่นชมเพื่อนำมากำหนดเป็นจุดแข็งของแบรนด์ และทำคอนเทนต์สื่อสารออกไป
  • ในกรณีที่ลูกค้าต้องการให้ธุรกิจปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และ บริการ คุณควรรีบรับมือกับคำแนะนำเหล่านั้น และ วิเคราะห์ต่อว่า จะปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ และ บริการ อย่างไร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้

 

TIP สำหรับการกำหนด Keyword :

ระบบดักฟัง Keyword ของ Social Listening Tools นั้น จะดักฟังเฉพาะคำที่สะกดเหมือนกันที่เราตั้งค่าเป๊ะๆ ดังนั้น คุณควรใส่ Keyword ที่เป็น Synonym (คำที่ใช้ไม่เหมือนกันแต่มีความหมายเดียวกัน) และใส่ Keyword แบบที่ลูกค้าสะกดผิดเอาไว้ด้วย เช่น คุณต้องการดักฟังคำว่า “น้ำอัดลม”


Keyword : น้ำอัดลม

Synonym: เครื่องดื่มอัดลม, น้ำโซดา

Keyword แบบสะกดผิด: เครื่อวดื่มน้ำอัดลม, น้ำอัดลง เป็นต้น

 

2. การวิเคราะห์คู่แข่ง

เมื่อคุณวิเคราะห์ธุรกิจของตัวคุณเอง ขั้นตอนถัดไปที่คุณต้องทำก็คือการวิเคราะห์คู่แข่งซึ่ง Social Listening Tools ก็สามารถช่วยให้คุณวิเคราะห์คู่แข่งของคุณได้ดีขึ้น โดยการเปลี่ยน Keyword ที่คุณดักฟัง จาก ชื่อแบรนด์ของคุณ เป็น ชื่อคู่แข่ง เพียงเท่านี้ คุณก็จะรู้แล้วว่าผู้บริโภค พูดถึงคู่แข่งของคุณอย่างไร

ข้อมูลนี้มีประโยชน์มากสำหรับธุรกิจ ที่ต้องการขยายฐานลูกค้า เช่น Social Listening Tools เปิดเผยข้อมูลว่า 

“ผู้บริโภคตำหนิเรื่องบริการที่ล่าช้าของคู่แข่งของคุณ” คุณก็สามารถนำประเด็นความเจ็บปวดของลูกค้า (Pain Point) หรือ จุดอ่อนทางธุรกิจที่ลูกค้าพบเจอนี้ มาใช้เป็นข้อความหลักในการสื่อสาร (Key Message) 

เพื่อปรับปรุงคอนเทนต์ และสร้างกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้า เช่น “ใช้บริการกับเรา รวดเร็วทันใจ ได้สินค้าใน 5 นาที” เป็นต้น

TIP สำหรับการกำหนด Keyword ของคู่แข่ง :

ในการกำหนด Keyword ของคู่แข่งนั้น คุณสามารถกำหนดได้จาก 3 อย่าง

  1. ชื่อแบรนด์ของคู่แข่ง
  2. ชื่อสินค้าของคู่แข่ง
  3. ประเภทสินค้า ตามด้วย ชื่อของคู่แข่ง
    (สำหรับคนที่ใช้ Social Listening Tools ของ Mandala Analytics ให้ใส่เครื่องหมายบวก ด้านหน้าชื่อของแข่ง เช่น ประเภทสินค้า +ชื่อคู่แข่ง)

นอกจากนี้ หากคุณยังต้องการหา Keyword ของคู่แข่ง เพื่อดักฟังใน Social Listening Tools เพิ่ม คุณยังสามารถใช้ Google Keyword Planner ในค้นหา ไอเดีย ได้เช่นกัน

 

การใช้ Google Keyword Planner ในการหาไอเดีย Keyword ของคู่แข่ง

 ตัวอย่างการใช้ Google Keyword Planner ในการหาไอเดีย Keyword ของคู่แข่ง

 

ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์น้ำอัดลม ต้องการศึกษาข้อมูลคู่แข่ง

  1. ชื่อแบรนด์ของคู่แข่ง เช่น เป็ปซี่, โค้ก, มิรินด้า, เอส 
  2. ชื่อสินค้าของคู่แข่ง เช่น เป็ปซี่ 1.5 ลิตร, โค้กกระป๋อง, โค้กขวดใหญ่, โค้กขวดแก้ว, โค้กแพ็ก, โค้ก 1.25 ลิตร, น้ำอัดลม โบราณ, น้ำอัดลม สีฟ้า, น้ำอัดลม สีเขียว
  3. ประเภทสินค้า ตามด้วย ชื่อของคู่แข่ง เช่น น้ำอัดลม +เอส,น้ำอัดลม +เป็ปซี่, น้ำอัดลม +โค้ก

 

การตั้งค่า Keyword ของคู่แข่ง บน Mandala Analytics

 ตัวอย่างการตั้งค่า Keyword ของคู่แข่ง บน Mandala Analytics

 

3. กำหนด Social Media Strategy

ปัจจุบันช่องทางการสื่อสารบน Social Media มีหลายช่องทางจะให้ธุรกิจทำทุกช่องทางสื่อสารบน Social Media ก็จะต้องใช้ทรัพยากรบุคคลสูง หากคุณจำเป็นต้องเลือกใช้ Social Media เพียง 1-2 ช่องทางเพื่อให้ธุรกิจสามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

คุณสามารถใช้ Social Listening Tools ในการเลือกช่องทาง Social Media ที่ฐานลูกค้าของคุณอยู่ (Active Users) และ มีส่วนร่วมมากที่สุดได้ (Engagement)

กราฟเปรียบเทียบช่องทาง Social Media ตามจำนวนการถูกพูดถึง (Mention) และ การมีส่วนร่วม (Engagement) บน Mandala Analytics

ตัวอย่างกราฟเปรียบเทียบช่องทาง Social Media ตามจำนวนการถูกพูดถึง (Mention) และ การมีส่วนร่วม (Engagement) บน Mandala Analytics

 

เพราะ Social Listening Tools สมัยนี้จะมีกราฟสรุปผล จำนวนการถูกพูดถึง (Mention) และ การมีส่วนร่วม (Engagement) กับ Keyword ที่เราดักฟัง แยกตาม Social Media อยู่แล้วซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถเลือกช่องทางการสื่อสารบน Social Media ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

TIP : 3 ประเด็นที่ควรพิจารณาในการเลือกช่องทางการสื่อสารบน Social Media

  • การเริ่มต้นบทสนทนาของผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจของเราอยู่บนช่องทางไหน

 

จำนวนคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword บน Mandala Analytics

รูปที่ 7 ตัวอย่างการแสดงจำนวนคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เราดักฟังบน Mandala Analytics

 

  • ผู้บริโภคมีความรู้สึกต่อแบรนด์อย่างไร ในแต่ละช่องทาง Social Media
การแสดงความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ ผ่านช่องทาง Facebook บน Mandala Analytics

 ตัวอย่างการแสดงความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ ผ่านช่องทาง Facebook บน Mandala Analytics

  • ประเด็นอะไร ที่ ทำให้ลูกค้าพูดถึงธุรกิจของเรา
    เช่น คนที่พูดถึงเรื่อง “เบอร์เกอร์” มักพูดถึงเรื่องของ อาหาร ร้าน และ อร่อย เป็นต้น
    ซึ่งนี่สามารถทำให้ธุรกิจสามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า
    คนมักให้ความสำคัญกับเรื่องความอร่อย และให้ความสำคัญในเรื่องการบริการ เป็นต้น
Keyword ที่ผู้บริโภคมักพูดถึงคำว่า เครื่องปรับอากาศ บน Mandala Analytics

 ตัวอย่าง Keyword ที่ผู้บริโภคมักพูดถึงคำว่า “ร้านอาหาร” บน Mandala Analytics

 

4. ค้นหาไอเดียการทำคอนเทนต์

หัวข้อนี้ นักการตลาดเห็นอาจจะตาลุกวาวกันทันที เพราะในยุคสมัยที่คอนเทนต์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำการตลาด การมีข้อมูลว่าลูกค้าของคุณคือใคร สนใจเรื่องอะไร นี่จะเป็นจุดได้เปรียบ ในการทำการตลาดเหนือคู่แข่ง

โดย Social Listening Tools สามารถให้ข้อมูลคุณได้ทั้งใน 2 มิติ

มิติที่ 1 : รู้จักผู้บริโภค และ พฤติกรรมบน Online มากขึ้น

Social Listening Tools นั้นจะมีการสรุปผลข้อมูลประชากรศาสตร์ (Demographic) ของคนที่มีการพูดถึงและมีส่วนร่วมกับ Keyword ที่เราดักฟังได้ เช่น

  • เพศของผู้บริโภค

เป็นผู้ชาย หรือ เป็นผู้หญิงมากกว่ากัน

 

สัดส่วนเพศของผู้บริโภค

ตัวอย่าง แสดงสัดส่วนเพศชายและหญิงของคนที่พูดถึง Keyword บน Mandala Analytics

 

  • ภาษาที่ผู้บริโภคใช้
สัดส่วนภาษาที่ใช้ของคนที่พูดถึง Keyword

 ตัวอย่าง แสดงสัดส่วนภาษาที่ใช้ของคนที่พูดถึง Keyword บน Mandala Analytics

 

  • ชอบคอนเทนต์ที่โพสต์เวลาใด
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับโพสต์คอนเทนต์ บน Mandala Analytics

 ตัวอย่าง แสดงช่วงเวลามี่เหมาะสมสำหรับโพสต์คอนเทนต์ บน Mandala Analytics

 

มิติที่ 2 : รู้ใจผู้บริโภค ว่า ชอบคอนเทนต์แบบไหน

Social Listening Tools นั้นมีความสามารถในการจัดลำดับคอนเทนต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วม ใน แต่ละช่องทาง Social Media ซึ่งทำให้คุณสามารถรู้ว่า 

  • ผู้บริโภคที่อยู่บน Facebook จะชอบคอนเทนต์แบบไหน
  • ผู้บริโภคที่อยู่บน Twitter จะชอบคอนเทนต์แบบไหน เป็นต้น

 

ตัวอย่างการจัดลำดับคอนเทนต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมสูง บน Mandala

 ตัวอย่างการจัดลำดับคอนเทนต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมสูง บน Mandala

โดยหลังจากจากที่ธุรกิจทราบแล้วว่า แต่ละช่องทาง Social Media คนชอบมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ไหน นักการตลาดจะต้องนำคอนเทนต์มาวิเคราะห์ต่อว่า เพราะอะไรจึงทำให้คอนเทนต์นี้ได้รับการมีส่วนร่วมสูง

เช่น 

คอนเทนต์ขายเบอร์เกอร์ บน Facebook ได้รับผลดีเพราะ กราฟิกมีการใส่ราคาที่ชัดเจน และ มีโปรโมชั่นที่น่าสนใจ หลังจากนั้นจึงนำข้อสรุปมาต่อยอดคอนเทนต์ของธุรกิจของเรา

เช่น 

กราฟิกปัจจุบันของเรา ขนาด Font ของราคามีขนาดเล็ก ทั้งที่โปรโมชั่นเราน่าดึงดูด ดังนั้นเราจะเพิ่มขนาด Font ตัวราคาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้สะดุดตา ลูกค้า เป็นต้น

 

5. การบริหาร Brand Advocacy และ การเลือก Influencer

คุณว่าการที่แบรนด์ของคุณมีแฟนพันธ์ุแท้ คอยแนะนำแบรนด์ของเราให้คนอื่นรู้จัก (Brand Advocacy) เป็นเรื่องดีไหม ?

สำหรับผม ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะนอกจากคนเหล่านี้จะช่วยให้คนรู้จักแบรนด์ของคุณเพิ่มขึ้นแล้ว คำแนะนำจากผู้ใช้งานจริงบนโลกออนไลน์ จะช่วยส่งเสริมให้แบรนด์ของคุณน่าเชื่อถือมากขึ้น

ในเมื่อเขาโปรโมทธุรกิจของคุณขนาดนี้ คุณอยากรู้ไหมครับว่าเขาเป็นใคร ? หากคุณอยากรู้ Social Listening Tools ช่วยคุณได้แน่นอน

เพราะ Social Listening Tools ได้สรุปข้อมูลให้คุณแล้วว่า แฟนเพจ (Fan Page) หรือ ช่อง (Channel) ไหน ที่พูดถึงแบรนด์ของคุณบ่อย

ตัวอย่างแฟนเพจ บน Facebook ที่พูดถึง Keyword บน Mandala

 ตัวอย่างแฟนเพจ บน Facebook ที่พูดถึง Keyword บน Mandala

 

โดยธุรกิจของคุณอาจจะวางกลยุทธ์มอบของรางวัลแก่ คนที่แนะนำแบรนด์ต่อให้เพื่อน (Brand Advocacy) เพื่อเป็นกำลังใจ ให้เค้าเป็นคนที่จงรักภักดีกับแบรนด์ และแนะนำแบรนด์ของเรากับเพื่อนๆ ของเขาต่อไป 

สำหรับธุรกิจที่ต้องการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

การใช้ Influencer หรือ ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด คงเป็นหนึ่งในไอเดียที่คุณนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ใช่ไหมครับ เพราะว่าการใช้ Influencer นอกจากจะส่งผลทำให้ผู้ติดตามของเขารู้จักแบรนด์ของเราแล้ว ธุรกิจยังสามารถเพิ่มโอกาสในการทดลองใช้ และขายสินค้าที่ได้รับการโปรโมทจาก Influencer อีกด้วย แต่การจ้าง Influencer นั้นมักมีค่าใช่จ่ายที่สูง หากเลือก Influencer ที่ไม่เหมาะกับธุรกิจของเรา เงินที่เสียไปอาจสูญเปล่า

เพื่อให้ธุรกิจสามารถเลือก Influencer ที่ใช่ และ เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้อย่างแม่นยำมากขึ้น Social Listening Tools ก็สามารถช่วยท่านได้ เพราะ Social Listening Tools มีข้อมูลสบับสนุนที่ทำให้ธุรกิจสามารถรู้ว่า ผู้บริโภคของคุณนั้น ติดตาม Influencer คนไหน ประสิทธิภาพของคอนเทนต์ (Post Performance) ของ Influencer ท่านนั้นเป็นอย่างไร

 

ตัวอย่างInfluencer ที่ได้รับการมีส่วนร่วมสูงในโพสต์ที่เกี่ยวข้องกัน Keyword บน Mandala

 ตัวอย่าง Influencer ที่ได้รับการมีส่วนร่วมสูงในโพสต์ที่เกี่ยวข้องกัน Keyword บน Mandala

 

TIP : หลักจากที่คุณได้รู้แล้วว่า รายชื่อ Influencer ที่น่าสนใจ ในแต่ละช่องทาง Social Media มีใครกันบ้าง

ในขั้นตอนต่อไปคือ ธุรกิจควรจะมีพิจารณาเพิ่มเติมว่า Influencer คนไหนนั้นคือคนที่ใช่สำหรับแบรนด์ โดยพิจารณาเพิ่มเติมใน 3 ประเด็น

  • จำนวนการเข้าถึง (Reach) บนช่องทางของ Influencer
    ซึ่งธุรกิจสามารถทราบข้อมูลได้จากการขอ Rate Card จาก Influencer
  • ความถี่ และ กิจกรรมบน Social Media
    ซึ่งธุรกิจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Social Media ของ Influencer ท่านนั้นว่า ใน 1 เดือนที่ผ่านมา

มีการโพสต์คอนเทนต์เท่าไหร่ เกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
เพื่อนำมาพิจารณาว่าเหมาะกับจุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning) ไหม

  • อัตราการมีส่วนร่วมของโพสต์เฉลี่ย
    เพื่อให้คุณมั่นใจว่า อัตราการมีส่วนร่วมของเพจนั้น มีความสม่ำเสมอ
    ธุรกิจควรพิจารณาจำนวนการมีส่วนร่วมของโพสต์แต่ละโพสต์ย้อนหลังด้วย

 

สรุป

Social Listening Tools เป็น เครื่องมือทางการตลาด ที่ทำให้คุณเข้าถึงข้อมูลของผู้บริโภคบน Online ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่ธุรกิจของคุณสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ จะทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในตลาด

ดังนั้น  Social Listening Tools เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางด้านการตลาด ที่พลาดไม่ได้สำหรับนักการตลาดยุค Data Marketing เพราะหลังจากที่คุณได้ทดลองใช้ Social Listening Tools แล้ว

คุณจะพบว่าเครื่องมือชิ้นนี้สามารถช่วยคุณหาข้อมูล วิเคราะห์ธุรกิจของตัวเองและคู่แข่ง ได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญต่อยอดกลยุทธ์การตลาดได้หลากหลายแง่มุมครับ

สำหรับใครที่สนใจที่จะลองใช้ Social Listening Tools คุณสามารถไปทดลองใช้งาน Mandala Analytics ฟรี Social Listening Tools สัญชาติไทย ฟีเจอร์ไกลระดับโลก

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

5 เหตุผลที่แบรนด์ควรทำการตลาดผ่าน TikTok เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
SEO for Content EP 3 : กรณีศึกษา แบรนด์ที่ใช้ SEO เพื่อปรับปรุง Content Marketing เพื่อคน Gen Z