สร้างประสบการณ์ Shopping Online ให้ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ Gamifiication

สร้างประสบการณ์ Shopping Online ให้ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ Gamifiication

ความท้ายทายในการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ได้มีเพียงแค่การสร้างฐานลูกค้า และ สร้างยอดขาย แต่นักการตลาดทั้งหลาย และ ผู้ประกอบการจะต้องวางกลยุทธ์เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อมอบประสบการณ์ดี ๆ (Customer Experience) และ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสัมพันธ์ในระยะยาวกับแบรนด์นั่นเอง ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่หลาย ๆ แบรนด์ใช้แล้วได้ผลลัพธ์ก็คือ Gamification Marketing ค่ะ

Gamification Marketing คืออะไร

 

เป็นกลุยทธ์ทางการตลาดที่สามารถมอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า ด้วยการจัดแคปเปญเพื่อให้ลูกค้าได้เล่นเกมที่จะได้ทั้งสาระ และ ความบันเทิง รวมทั้งตัวแบรนด์ยังสามารถสร้าง Engagement และเพิ่มยอดขายออนไลน์ได้อีกด้วย

ตัวอย่าง Gamification ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ L’Occitane โดยแบรนด์ได้จัดแคมเปญ L’Occitane en Provence ที่เกี่ยวข้องกับความงามจากธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์จัดจำหน่าย และ ในขณะเดียวกัน เกมก็ยังให้ความรู้แก่ผู้เล่นในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

 

ตัวอย่าง Gamification ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ L’Occitane โดยแบรนด์ได้จัดแคมเปญ L’Occitane en Provence ที่เกี่ยวข้องกับความงามจากธรรมชาติ
ภาพจาก https://smack.agency

 

ตัวอย่างจากแบรนด์น้ำหอมสุดหรูจากประเทศอังกฤษที่มีชื่อว่า Molton Brown ได้สร้างเกมผ่านตัวแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้เล่น

 

ตัวอย่างจากแบรนด์น้ำหอมสุดหรูจากประเทศอังกฤษที่มีชื่อว่า Molton Brown ได้สร้างเกมผ่านตัวแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้เล่น
ภาพจาก https://smack.agency

 

ในปัจจุบัน คุณอาจจะเคยเห็นเกมสนุก ๆ ที่แบรนด์ต่าง ๆ ได้นำเสนอให้กับผู้บริโภคทั้งบนเว็บไซต์ และ ในแอปพลิเคชัน เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ได้นำเสนอไป รวมทั้งการทำ Gamification ผ่าน Email Marketing และ แพลตฟอร์ม Social Media ซึ่งในวันนี้เรามีสถิติที่เป็นผลลัพธ์จากกลยุทธ์ Gamification มาฝากกันค่ะ

  •  ReflectDigital เผยว่า 93% ของผู้ที่ได้เล่น Gamification เกิดปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกกับแบรนด์
  •  60% ของผู้ที่เล่นเกมมีแนวโน้มว่าจะซื้อสินค้า และ บริการจากแบรนด์
  • สถิติจากเว็บไซต์ growthengineering.co.uk ระบุว่า มากกว่า 68% ของแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ Gamification ผ่าน Social Media ช่วยให้เกิด Engagement บนหน้าฟีด และมีโอกาสที่คนเข้ามาคอมเมนต์เพิ่มได้ 13%

 

สถิติจากเว็บไซต์ growthengineering.co.uk ระบุว่า มากกว่า 68% ของแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ Gamification ผ่าน Social Media ช่วยให้เกิด Engagement บนหน้าฟีด และมีโอกาสที่คนเข้ามาคอมเมนต์เพิ่มได้ 13%
ภาพจาก: https://www.growthengineering.co.uk

 

Gamification Marketing สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ E-Commerce

Gamification Marketing สามารถสร้างประโยชน์ให้กับแบรนด์ได้ในด้านการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกในเชิงบวกกับแบรนด์ และยังทำให้เกิดการรับรู้แบรนด์ได้ง่ายขึ้น ผ่านการให้ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านตัวแคมเปญเกม  อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการขาย ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างรายได้ตามที่ได้วางป้าหมายไว้ โดยที่ลูกค้าก็ยังคงได้ประโยชน์จากการเล่นเกมเช่นเดียวกัน เช่น

  • การได้รับสินค้าทดลองใช้ฟรี หรือ Voucher
  • คูปองส่วนลดในสินค้าที่ได้กำหนดไว้
  • แต้มสะสมให้กับสมาชิก เป็นต้น

ดังนั้น Gamification Marketing จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ E-Commerce ให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเพิ่มสีสันใหม่ ๆ ให้กับแคมเปญ

ยิ่งไปกว่านั้น เว็บไซต์ progressivegrocer.com ได้สำรวจความเห็นของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในประเทศสหรัฐอเมริกา เผยว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า Gamification จะกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า และ แบรนด์ได้

 

เลือกเกมอย่างไรให้เหมาะสมกับลูกค้า 

หากคุณกำลังมองหาเกมที่ต้องการนำไปสร้างความสนุกบนเว็บไซต์ และ แพลตฟอร์มออนไลน์ อันดับแรก คุณควรคำนึงถึงความรู้สึกของลูกค้า โดยมองหาวิธีการที่สร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ โดยคุณสามารถใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ Data เพื่อหากลุ่มลูกค้า ว่ามีพฤติกรรมอย่างไร มีความสนใจสินค้า และบริการของแบรนด์มากแค่ไหน และ สอดคล้องกับแคมเปญที่เราจะปล่อยออกไปหรือไม่ ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์ผู้เล่นเกมให้สอดคล้องกับจิตวิทยาของธรรมชาติของผู้บิรโภคได้ดังนี้

 

การเลือกรูปแบบเกมให้เหมาะสมกับผู้บริโภค
ภาพจาก https://www.promodo.com

1 กลุ่มผู้เล่นแบบ Enjoyer

คนกลุ่มนี้จะเน้นไปที่ความบันเทิงเป็นหลัก เน้นความท้าทาย และความตื่นเต้น

เกมที่เหมาะสม: เกมวงล้อนำโชค

2 กลุ่มผู้เล่นแบบ Farmer

คนกลุ่มนี้ ไม่ได้แปลตรงตัวว่าเป็นชาวนานะคะ  แต่คนกลุ่มนี้นิยมเล่นเกมที่มีการสะสมแต้มเป็นระยะ ๆ มีการเลื่อนระดับเลเวล และมีประสบการณ์การเล่นเกมที่มากกว่ากลุ่มผู้เล่นแบบ Enjoyer

เกมที่เหมาะสม: เกมตอบคำถาม หรือแข่งขันเพื่อสะสมแต้ม หรือ เกมที่สามารถอัปเลเวลผู้เล่นให้สูงขึ้นได้

3 กลุ่มผู้เล่นแบบ Self-Seeker

ผู้เล่นกลุ่มนี้จะคล้าย ๆ กับกลุ่ม Farmer แต่จะชอบการแข่งขันกับผู้เล่นคนอื่น ๆ ด้วย

เกมที่เหมาะสม: เกมที่มีการแข่งขันระหว่างผู้เล่นคนอื่นโดยมีรางวัลตอบแทนเป็นแต้มสะสม การอัปเลเวล หรือเลื่อน Ranking ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น

4 กลุ่มผู้เล่นแบบ Networker

กลุ่มผู้เล่นกลุ่มสุดท้ายนี้จะเน้นไปที่การสื่อสาร การมี Community บนแพลตฟอร์มช่องทางใดช่องทางหนึ่ง

เกมที่เหมาะสม: เกมที่สามารถแท็กเพื่อน การ Invite ให้ผู้อื่นเข้าร่วมเกมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น

 

กลยุทธ์ Gamification Marketing ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ 

หลังจากที่เราทำความเข้าใจถึงความสำคัญของกลุยทธ์การสร้างเกม และ ประเภทเกมที่เหมาะสมต่อผู้เล่นกันแล้ว เรามาดูลักษณะของ Gamification ในแต่ละแพลตฟอร์มค่ะ ว่าแบรนด์ควรเลือกช่องทางไหนในการสร้าง Gamification หรือควรเลือกเกมในรูปแบบใดถึงจะเหมาะสม และกระตุ้นให้เกิดการขายบนโลกออนไลน์กันค่ะ

 

1 Gamification สำหรับ Email Marketing

ช่องทาง Email Marketing สามารถทำ Gamification ได้เพื่อสร้างยอดผู้ติดตาม หรือ ยอด Subscribe ซึ่งเราสามารถออกแบบเกมได้ในรูปแบบการตอบคำถามโดยมีรางวัลต่าง ๆ เป็นของแลกเปลี่ยน

ซึ่งนักการตลาดสามารถนำ Gamification ไปปรับใช้ในการทำ Email Marketing ได้โดย

  • การสร้างแคมเปญเชิญชวนให้เล่นเกมชิงรางวัล หรือรับคูปองส่วนลดผ่านเว็บไซต์
  • สร้าง Call to Action ด้วยการเขียนเชิญชวนให้คนเกิดการคลิก ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มยอด Conversion และ Traffic บนเว็บไซต์ โดยที่สุดท้ายจะนำไปสู่การปิดการขาย

ตัวอย่างเกมง่าย ๆ เช่น กงล้อหมุนลุ้นรับรางวัล ที่ผู้เล่นสามารถชิงรางวัลเพื่อรับส่วนลดในช่วง Black Friday

ตัวอย่างเกมบน Email Marketing
ภาพจาก https://www.promodo.com

 

2 Gamification สำหรับแอปพลิเคชัน

Gamification บนช่องทางแอปพลิเคชันของแบรนด์ส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อสร้างยอดขายเป็นหลัก เหตุผลนั่นก็เพราะ ผู้ที่มีแอปของแบรนด์อยู่ในมือถือส่วนมากมักจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า และ บริการจริง ๆ อยู่แล้ว ซึ่งจะผ่านขั้นตอนของการสร้าง Customer Journey หรือ กลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น ลักษณะของเกมที่เล่น ไม่จำเป็นต้องเป็นเกมที่ใช้เวลาสั้น ๆ ก็ได้ แต่นักการตลาด สามารถเลือกเกมที่สามารถสะสมแต้มได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าไปเล่นเกมบ่อย ๆ และผู้เล่นสามารถแชร์เกมให้กับเพื่อนเพื่อร่วมสนุกได้ค่ะ

ตัวอย่างเกมจากแอป  AliExpress ที่เน้นให้ผู้ใช้งานรับรางวัลเป็นเหรียญทอง และกระตุ้นให้เข้ามาเล่นเกมได้บ่อยขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วเหรียญทองที่สะสมเอาไว้นั้น สามารถแลกเปลี่ยนส่วนลดในการซื้อสินค้าในอนาคตค่ะ

ตัวอย่างเกมจากแอป  AliExpress ที่เน้นให้ผู้ใช้งานรับรางวัลเป็นเหรียญทอง และกระตุ้นให้เข้ามาเล่นเกมได้บ่อยขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วเหรียญทองที่สะสมเอาไว้นั้น สามารถแลกเปลี่ยนส่วนลดในการซื้อสินค้าในอนาคต
ภาพจาก https://www.promodo.com

 

3 Gamification สำหรับเว็บไซต์

หลาย ๆ คนคงเคยเห็น และอาจเป็นผู้เล่นเกมผ่านเว็บไซต์กันใช่ไหมคะ เหตุผลแบรนด์นิยมสร้างเกมบนเว็บไซต์นั่นก็เพราะ แบรนด์มีจุดประสงค์เพื่อเน้นการโปรโมตสินค้า การนำเสนอโปรโมชั่นต่าง ๆ และ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ให้ลูกค้าอยู่บนเว็บไซต์ได้นานขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวเว็บไซต์ของแบรนด์เอง

ตัวอย่างการสร้างเกมของแบรนด์เครื่องสำอาง e.l.f Cosmetics มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ เมื่อลูกค้าซื้อของจากทางแบรนด์ไปแล้ว ก็จะได้แต้มสะสม ยิ่งซื้อมากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้แต้มมากขึ้นเท่านั้น และสามารถนำแต้มสะสมเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นรางวัล และส่วนลดในครั้งต่อ ๆ ไป

ตัวอย่างการสร้างเกมของแบรนด์เครื่องสำอาง e.l.f Cosmetics มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ เมื่อลูกค้าซื้อของจากทางแบรนด์ไปแล้ว ก็จะได้แต้มสะสม ยิ่งซื้อมากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้แต้มมากขึ้นเท่านั้น และสามารถนำแต้มสะสมเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นรางวัล และส่วนลดในครั้งต่อ ๆ ไป
ภาพจาก https://www.promodo.com

 

4 Gamification สำหรับ Social Media

นักการตลาดเล็งเห็นความสำคัญของช่องทางโซเชียลมีเดียค่อนข้างมากพอ ๆ กับเว็บไซต์เลยทีเดียว แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ จุดประสงค์ของการสร้างเกมบนโซเชียลมีเดียนั้นก็เพื่อเพิ่มยอด Engagement หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเพจ และสร้างการรับรู้แบรนด์จากผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามเพจด้วย

ตัวอย่างเกมที่เล่นบนแพลตฟอร์ม Social Media อาจเป็นในรูปแบบของ

  • การตอบคำถามผ่านคอมเมนต์
  • การร่วม Vote
  • การแชร์คอนเทนต์ต่าง ๆ พร้มแคปชั่น หรือแฮชแท็กที่เกี่ยวกับสินค้า หรือ แบรนด์
  • การแท็กเพื่อนของผู้เล่นเกมให้เข้ามามีส่วนร่วม

ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างเกมจากแบรนด์ COMFY ที่เชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้ามาตอบคำถามง่าย ๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย

ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างเกมจากแบรนด์ COMFY ที่เชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้ามาตอบคำถามง่าย ๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย
ภาพจาก https://www.promodo.com

 

 

ข้อมูลจาก 

reflectdigital.co.uk

promodo.com

gamasutra.com

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

LINE ADS Platform เครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถซื้อโฆษณาบน LINE ได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง
Data Marketing 101: เข้าใจพื้นฐานการใช้ Data สำหรับกลยุทธ์การตลาด