The Future of Content Creation โดย คุณนครินทร์- THE STANDARD จากงาน Creative talk Conference 2019

creative-talk-content

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2562 ได้มีการจัดงาน CTC 2019 Creative talk Conference 2019 Trend & Creative Revolution ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย คุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม Founder และ CEO rgb72 เป็นงานที่จัดในทุกต้นปีตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เพื่ออัพเดท เทรนด์ จากเหล่ามืออาชีพในสาขาที่แตกต่างกัน 4 สาขา Design, Digital Marketing, Technology, และ Startup/Entrepreneur ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน มี วิทยากร ชื่อดังจากวงการ มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆมากถึง 61 ท่าน และมี Sessions ให้ได้เรียนรู้ทั้งหมด 38 Sessions แค่สถิติตัวเลขของจำนวนวิทยากร และจำนวนผู้เข้าร่วมก็รู้สึกแล้วใช่ไหมคะว่าต้องเป็นงานที่ยิ่งใหญ่แห่งปีแน่นอน

โดยทางทีมงาน STEPS Academy ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน CTC 2019 ใน Sessions ต่างๆและอยากนำความรู้มาแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกๆท่านเพื่อแชร์ประสบการณ์ ความรู้ เทรนด์ต่างๆจากภายในงาน เราขอนำคอนเทนต์ที่ทางทีมมีความเห็นตรงกันว่าจะเป็นความรู้ให้กับคนในสายงานทางด้าน Digital คอนเทนต์ที่เรานำมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงาน ภายในงาน มีคอนเทนต์อีกหลายหัวข้อเลยที่อยากจะนำเสนอ ฝากติดตามผลงานด้วยนะคะ

ซึ่งเราจะมาพูดถึงใน Session ที่ทางทีมงานอยากนำเสนอและมีผู้เข้าร่วมฟังจำนวนมากทีเดียวนั้นก็คือหัวข้อ “The Future of Content Creation” โดยคุณเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-Chief จาก THE STANDARD

คุณเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-Chief จาก THE STANDARD

ภาพจาก : https://facebook.com/creativetalklive

หัวข้อนี้จัดอยู่ในห้องใหญ่หรือ main stage ค่ะ คุณเคนเริ่มต้นเปิดประเด็นคำถามที่ว่า เทรนด์ทำคอนเทนต์ในปี 2019 จะเป็นอย่างไร จากการพูดถึงปัญหาของการทำคอนเทนต์ออกมาทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน เริ่มต้นจาก ….

1.คอนเทนต์ผลิตออกมาแล้วมีคนไลค์น้อยแชร์น้อย

2.ไม่รู้จะสร้างคอนเทนต์ให้แตกต่างได้อย่างไร

3.ไม่รู้จะเลือกแพลตฟอร์มใดในการสื่อสาร

4.ไม่แน่ใจกำลังสื่อสารกับใคร และ

5.เบื่ออัลกอริทึม

The Future of Content Creation

ภาพจาก : https://facebook.com/rainmakerth

คุณเคนกล่าวว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ไม่ใช่เพิ่งเกิด หรือ มีเพียงไม่กี่คนที่ต้องเจอ เพราะความจริงปัญหาเหล่านี้ใครหลายๆคนก็เจอ หากจะให้คุณเคนทำนายอาจจะเป็นไปไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงคอนเทนต์บนโลกดิจิทัลรวดเร็วกว่าอะไร จึงจะขอพูดถึงปัจจุบันมากกว่า ว่าเราต้องมีความเข้าใจและปรับกลยุทธ์พัฒนาคอนเทนต์ของเราได้อย่างไรบ้าง

คุณเคนพูดถึงคำคมของนักเขียนท่านหนึ่งชื่อว่า คุณจอห์น เนสบิต ที่เคยกล่าวไว้ว่า

“ทางเดียวที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในการทำนายอนาคต ก็คือการเข้าใจปัจจุบัน”

เทรนด์ในปัจจุบันและแนวโน้มที่คุณเคนมองเห็นซึ่ง ส่วนใหญ่จะมาจากความคิดเห็นของคุณเคนเป็นส่วนใหญ่ หรือกรณีศึกษาที่ชอบและคิดว่าเป็นประโยชน์แก่คนฟัง โดยจะมีตามหัวข้อ ดังนี้

1.How platforms disrupted the media industry?

แพลตฟอร์มต่างๆ จะมาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสื่อได้อย่างไรบ้าง ?

2.How to create great content people love (and share)?

วิธีการสร้างคอนเทนต์คุณภาพเยี่ยมให้ผู้คนรักและอยากแบ่งปันต่อ

3.Case study content trends to watch 2019

กรณีศึกษา เทรนด์ของคอนเทนต์ที่ควรรู้ในปี 2019

 

1) How platforms disrupted the media industry?

แพลตฟอร์มต่างๆ จะมาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสื่อได้อย่างไรบ้าง ?
ในหัวข้อแรกได้พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมต่างๆในปี 2018 ซึ่งประสบปัญหากันในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดก็คือ ธนาคาร ซึ่งธนาคารก็ได้มีการปรับตัวอย่างมาก ที่เราเห็นกันได้ชัดๆเลยคือมีธนาคารหลายเจ้าที่ปิดสาขาลงไป และหันมาใช้แอพลิเคชั่นในการทำธุรกรรมกันมากขึ้น จากการคาดการณ์คิดว่าในปีนี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ Retail หรือ ธุรกิจค้าปลีก และแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ถูกนำเข้ามาใช้งานมากขึ้น เข้ามาแย่งพื้นที่ในการทำงานมากขึ้น

ย้อนกลับไปในอดีต เรามีช่องทางในการรับสื่อน้อยทำให้ไม่สามารถเลือกได้ว่าเราต้องการคอนเทนต์แบบไหน สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ก็จะนำเสนอคอนเทนต์ที่รูปแบบเหมือนๆกัน และถ้าคุณอยากจะทำคอนเทนต์ อยากเขียนหนังสือ อยากเป็นดีเจ ต้องส่งใบสมัครไปหาบรรณาธิการเท่านั้น แต่ในยุคปัจจุบัน เรามีแพลทฟอร์มขึ้นมาเป็นตัวกลางมากมาย เช่น Facebook ทำให้ทุกๆคนสามารถสร้างคอนเทนต์เป็นของตนเองได้ทุกคนได้ลงมาอยู่ในสนามเดียวกัน แต่ไม่ว่าคุณจะทำมานานแค่ไหน แตกต่างอย่างไร ผู้อ่านจะดู 1 วินาที แล้วก็ผ่านไป ทำให้เกิดความท้าทายที่ใหญ่มากของสื่อดั่งเดิมคือ “ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ สามารถสร้างคอนเทนต์ของตนเองได้” ทำให้สื่อหลักมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น จากอดีตที่ช่องทางรับสารมีไม่กี่ช่องทาง ปัจจุบันมีจำนวนช่องทางต่างๆเยอะมาก  เพราะแพลตฟอร์มได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การทำการตลาดก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไป

วันนี้คุณต้องถามตัวเองแล้วว่า

Disrupt or Die คุณจะเปลี่ยนแปลงตนเองหรือตายไปกับมัน

 

2) How to create great content people love (and share) ?

วิธีการสร้างคอนเทนต์คุณภาพเยี่ยมให้ผู้คนรักและอยากแบ่งปันต่อ
โดยในฐานะคนที่ทำคอนเทนต์เราควรเข้าใจหลักการดังต่อไปนี้

  1. Yourself – เข้าใจตัวเอง เรามีความถนัดในด้านไหน สนใจเรื่องอะไร จุดแข็ง จุดเด่นของเราคืออะไร คุณแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร เพื่อที่เราจะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่เราสนใจออกมาได้ดี และมีประโยชน์เพราะคุณรู้จักเรื่องนี้ดีเป็นพิเศษจึงสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้และ คอนเทนต์ที่คุณสร้างจะมีความน่าสนใจเพราะคุณสามารถใส่ความคิดเห็น มุมมองของคุณลงไป ซึ่งคุณเคนเปรียบเทียบให้เห็นกันแบบชัดๆ เหมือนเป็นการ ใส่ซิคแพคเข้าไปให้เนื้อหา ให้ดูน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเห็นถึงความแตกต่างของคอนเทนต์ของคุณ
  2. Audience – คุณสื่อสารกับใคร ผู้อ่านของคุณเป็นใคร เขาชอบอ่านคอนเทนต์รูปแบบไหน ใช้ช่องทางไหนเป็นหลัก มีพฤติกรรมอย่างไร หากคุณเข้าใจและรู้จักผู้อ่านคุณจะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่ผู้อ่านชื่นชอบได้ และสามารถตอบโจทย์สิ่งที่ผู้อ่านต้องการได้ โดยการนำเสนอคอนเทนต์ที่มีประโยชน์และน่าสนใจที่แตกต่างกันในแต่ละช่องทาง
  3. World – เข้าใจโลก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาเราควรเรียนรู้ที่จะใช้มันให้เกิดประโยชน์ และโซเชียลในแต่ละช่องทาง ก็มีการใช้งานที่แตกต่างกัน ผู้รับสารต่างกัน เราควรเรียนรู้ที่จะทำคอนเทนต์ในรูปแบบที่แตกต่างกันและตอบโจทย์ในแต่ช่องทาง

ช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆที่ได้เข้ามาแทนที่สื่อดั่งเดิมและสร้างอิทธิพลมากที่สุดในประเทศไทยมีดังนี้

  1. Facebook – เป็นแพลทฟอร์มที่ใช้บอกว่า “เราต้องการบอกอะไร”
  2. Twitter – เราต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนั้นๆ โดยการใส่แฮชแทค เป็นเรื่องราว ที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นๆเลย
  3. Instagram – เป็นเหมือนสถานที่บอกเทรนด์ต่างๆ Influencer ดารา ใช้เป็นหลัก เป็นเหมือนนิตยสารแฟชั่นออนไลน์ บอกเรื่องเทรนด์ต่างๆ
  4. Youtube –  ได้เข้ามาแทนช่องโทรทัศน์ต่างๆ ในการดูวิดีโอ 
  5. Line – เป็นเหมือนหนังสือพิมพ์ออนไลน์สำหรับผู้อ่านทั่วไป
Social media

ภาพจาก : https://facebook.com/rainmakerth

 

ซึ่งคุณเคนได้เปรียบเทียบคอนเทนต์เป็นเหมือนไข่ โดยที่เราต้องรู้ก่อนว่าแต่ละช่องทาง แต่ละแพลทฟอร์มมีการใช้งานอย่างไร ผู้อ่านเป็นใคร เพื่อที่เราจะได้ปรุงไข่ให้เหมาะสมกับแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม

นั้นแปลว่า ในคอนเทนต์เรื่องเดียวกันแต่เอาไปลงในแพลทฟอร์มที่แตกต่างกันเราต้องมีการดัดแปลงคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับแต่ละแพลทฟอร์ม ถ้ารูปแบบของคอนเทนต์เหมือนกันหมดในทุกแพลทฟอร์มไม่มีทางเลยที่จะประสบความสำเร็จ ไข่ใบเดียวกันคุณจะทำให้ใคร คุณต้องคำนึงถึงแพลทฟอร์มและผู้บริโภค

อย่างเช่น ในโลกของ Facebook คุณอาจจะทำคอนเทนต์ที่เป็นรูปแบบอัลบั้มรูปภาพ ใน Website คุณอาจจะเขียนเป็นบทความยาว หรือใน Youtube ก็ควรเป็นคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ

ในอดีตผู้ส่งสาร = ผู้เลือก
ปัจจุบัน ผู้ส่งสาร = ผู้ถูกเลือก

คำแนะนำจากคุณเคนได้กล่าวไว้ว่า คุณต้อง “ถ่อมตัว” เป็นเหตุผลที่สำคัญมากเพราะเรากำลังรุกรานพื้นที่ส่วนตัวของผู้รับสารนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมโฆษณาใน Youtube มีแค่ 5 วินาที  เพราะฉะนั้นแล้วคำว่า “ถ่อมตัว” จึงสำคัญมากๆในยุคนี้สำหรับผู้ส่งสาร ต้องคิดว่าตนเองเป็นแค่ผู้ถูกเลือกโดยยึดเอาลูกค้าเป็นหลัก

นอกเหนือจากความใส่ใจลูกค้าแล้วคอนเทนต์ที่ดีต้องประกอบไปด้วย 2 อย่างด้วยกันคือ

  1. น่าสนใจ
  2. มีประโยชน์

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือทำยังไงก็ได้ให้คอนเทนต์ของคุณน่าสนใจและมีประโยชน์ไปพร้อมๆกัน ในการสร้างสรรค์ที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยการมีเรื่องที่ดี และการเล่าเรื่องที่ดี

content

 

เรื่องดี คือ ต้องมีประเด็นที่ดี แหลมคม แตกต่าง นุ่มลึก มีประโยชน์ ไม่เหมือนใคร ซึ่งคำว่าเรื่องดีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ยังมีความหมายเหมือนเดิม

แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเสมอคือ เล่าดี ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามยุคสมัย เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไรให้การเล่าเรื่องของเรามันตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด นั้นคือหัวใจสำคัญ

จากมุมมองการทำคอนเทนต์ของทีมงานและคุณเคนมีความเห็นตรงกันในหลายส่วนทั้งในเรื่องของการนำอินโฟกราฟฟิกมาใช้ในการทำคอนเทนต์เพื่อใช้อธิบายเนื้อหา บทความที่มีตัวอักษรจำนวนเยอะได้ดีกว่า ให้เข้าใจได้ง่าย การกำหนด KPI ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้มีคุณภาพและน่าติดตามทั้งการวัดผลในเรื่องของผลลัพธ์ (ยอดการกด Like, Comment, Share, Sale) รวมไปถึงความสม่ำเสมอในการโพสต์

สำหรับใครที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงาน Photo Series อย่างง่ายขอแนะนำ

7 เครื่องมือ สร้าง Photo Content จบถ้วนอย่างง่าย (ไม่จำเป็นต้องทำ Photoshop เป็น)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/content/7-tools-photo-content

 

3) Case study content trends to watch 2019

กรณีศึกษา เทรนด์ของคอนเทนต์ที่ควรรู้ในปี 2019
เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวที่ทีมงานมีความเห็นตรงกันว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน อย่างแน่นอนเป็นเรื่องของกรณีศึกษาต่างๆที่น่าสนใจ ขอนำมาเล่าต่อกันฟังเพื่อเป็นแนวคิดดีๆในการนำไปใช้งาน

1. แคมเปญ #ไม่ไปไหนไปNetflix

เป็นแคมเปญที่น่าสนใจและคิดว่าหลายๆคนคงได้เห็นแคมเปญนี้กับตัวเองเช่นกันเราจะเห็นแคมเปญนี้ในทุกแพลทฟอร์มในการสื่อสารแคมเปญทางการตลาด เป็นแคมเปญที่น่าสนใจมากๆที่เขาเล่นกับการใช้ทั้งสื่อออนไลน์และออฟไลน์ในการสื่อสาร และ การใช้ชีวิตประจำวันของเรา โดยแคมเปญของ Netflix ได้สร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าในทุกๆแพลทฟอร์ม แต่ละคอนเทนต์มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละแพลทฟอร์ม

ืnetflix

ภาพจาก : https://brandinside.asia/netflix-new-year-campaign/

 

2. แคมเปญ Nike – Just do it ครบรอบ 30 ปี

เป็นแคมเปญที่น่าสนใจมากอีกอันคือ Nike ได้เลือกนักกีฬา อเมริกันฟุตบอลคนนึงคือ Colin Kaepernick ซึ่งเป็นคนที่คุกเข่าตอนการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลไม่ยอมเคารพธงชาติ ซึ่งมีนัยสําคัญ คือต้องการต่อต้าน นโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ โดย Nike ได้เลือก Colin Kaepernick  เป็นพรีเซนเตอร์ในแคมเปญครบรอบ 30 ปี ส่งผลให้หุ้นของ Nike ตก 3% และได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมายหลังจากที่ Nike ได้ตัดสินใจแบบนี้ แต่แคมเปญนี้มีความน่าสนใจในคำว่า

“Believe in something. Even if it means sacrificing everything.”

“จงเชื่อในอะไรบางอย่าง แม้ว่าสิ่งนั้นอาจทำให้คุณสูญเสียซึ่งทุกอย่างก็ตาม”

Nike เชื่อในความหลากหลาย จุดยืนของ Nike คือความหลากหลาย ซึ่งคุณเคนคิดว่าเป็นการทำแคมเปญแบบนึกถึงอนาคต โดยที่คุณไม่ต้องบอกแล้วว่า Just do it ไม่ต้องบอกแล้วว่าเป็นแบรนด์ที่รักโลก โดย Nike ได้แสดงให้เห็น พิสูจน์ให้เห็น โดยการเลือก Colin Kaepernick  ขึ้นมาเป็นการบ่งบอกถึงจุดยืนที่ชัดเจนมาก ในตอนหลังหุ้นก็ดีดตัวกลับขึ้นมา

จากแคมเปญนี้ สิ่งที่สำคัญสำหรับแบรนด์คือในอนาคตแบรนด์จะต้องมีชีวิตมากขึ้น แล้วต้องทำให้เห็น มากกว่าการพูด

nike

ภาพจาก : Nike

 

3. THE STANDARD

สุดท้ายเรามาพูดถึง THE STANDARD กันบ้าง คุณเคนได้นำหลักการที่กล่าวในตอนแรกมาใช้นั่นคือ คอนเทนต์ต้องมีประโยชน์และน่าสนใจ เมื่อนำมาปรับใช้กับจุดแข็งที่มีอยู่คือ CREATIVE + TRUST ซึ่งเป็นจุดแข็งของ THE STANDARD ยิ่งทำให้แตกต่างจากสำนักพิมพ์อื่นๆ คอนเทนต์ที่ถูกสร้างออกมาจะต้องมีประโยชน์และมีความคิดสร้างสรรค์ ความครีเอทีฟ และความน่าเชื่อถือ ที่เป็นจุดแข็งของ THE STANDARD ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการมองหาเรื่องราวที่มีประโยชน์และน่าสนใจจะนึกถึง THE STANDARD ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นคุณเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Editor-in-Chief จาก THE STANDARD ได้นำมาใช้และปฏิบัติจริงกับช่องทางของตัวเองด้วยเหมือนกัน สำหรับเนื้อหาให้ห้องอื่นๆ เป็นยังไงนั้นสามารถติดตามกันได้นะคะ

THE STANDARD

ภาพจาก : THE STANDARD

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

10 เว็บไซต์ ที่จะทำให้คุณพัฒนาแบบก้าวกระโดดในเรื่องของ Digital Marketing
7 เครื่องมือ สร้าง Photo Content จบถ้วนอย่างง่าย (ไม่จำเป็นต้องทำ Photoshop เป็น)