Data-Driven Marketing Ep: 3 “แนะนำ 6 เครื่องมือที่นักการตลาดนิยมใช้เก็บ Data”

Data-Driven Marketing Ep: 3 "แนะนำ 6 เครื่องมือที่นักการตลาดนิยมใช้เก็บ Data"

สำหรับปี 2021 ธุรกิจ E-Commerce ทั้งขนาดใหญ่และธุรกิจ Startup คงทราบดีว่า Data หรือ ข้อมูลลูกค้า คือกุญแจสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล เพราะ Data จะเป็นตัวขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาดให้แบรนด์ของคุณอยู่รอดได้ในระยะยาวและยั่งยืน

บางคนอาจมีคำถามว่า การทำให้แบรนด์อยู่รอดได้ในระยะยาว และยั่งยืนเป็นอย่างไร ผู้เขียนมีผลสำรวจจากเว็บไซต์ edq.com มาสนับสนุนให้ทุกคนได้เข้าใจผลลัพธ์จากการทำ Data Marketing มาฝากกัน ซึ่งผลสำรวจเผยว่า:

  • 85% ของธุรกิจมองว่า Data เป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของแบรนด์
  • 50% ของแบรนด์ที่ขับเคลื่อนการตลาดด้วย Data  สามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น
  • 45% ของการใช้กลยุทธ์ Data Marketing ช่วยให้นักการพัฒนากลยุทธ์การตลาดในการตัดสินใจได้ดีขึ้น
  • 44% ของแบรนด์ได้นำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้

 

85% ของธุรกิจมองว่า Data เป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของแบรนด์
ภาพจาก EDQ

 

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้เริ่มเก็บ Data มาใช้ประโยชน์ และอาจยังไม่แน่ใจว่าการนำ Data มาใช้ในการทำการตลาดนั้น ควรใช้เครื่องมือไหนถึงจะตอบโจทย์ และไม่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้นบทความในวันนี้ในหัวข้อ  Data-Driven Marketing Ep: 3 จะพาคุณไปรู้จักกับ 6 เครื่องมือยอดนิยมที่นักการตลาด และผู้ประกอบการสามารถลองศึกษา และเริ่มต้นใช้งานเพื่อจัดเก็บ Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพกันค่ะ

หากคุณยังไม่แน่ใจว่า Data-Driven Marketing คืออะไร และทำไมแบรนด์ในยุคดิจิทัลควรใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการตลาด

ลองศึกษา: Data-Driven Marketing Ep: 1 “ 6 เหตุผลที่นักการตลาดควรใช้ Data เพื่อวางแผนการตลาด ”

และ Data-Driven Marketing Ep: 2 “8 เทคนิคการใช้ Data Marketing ให้เกิดประโยชน์” เพื่อนำเทคนิคการใช้ Data Marketing ไปต่อยอดทางการตลาดออนไลน์

 

พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล

ก่อนที่เราจะไปดูเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด หรือ Data Analytics Tools ทาง STEPS Academy ได้สรุปเกี่ยวกับพื้นฐานเกี่ยวกับ Data Analytics Tools และประโยชน์ของการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ Data เพื่อทำความเข้าใจขั้นพื้นฐานกันก่อนค่ะ

Data Analytics Tools คืออะไร

 

พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล

 

ทำไมธุรกิจยุคดิจิทัลถึงต้องให้ความสำคัญกับการใช้ Data Analytics Tools

  • เพื่อทำความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เป็นใคร มีพฤติกรรมอย่างไรในการซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้งานบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน
  • ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
  • สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้าที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่ง ทำให้นักการตลาดสามารถวางแผนธุรกิจ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างตอบโจทย์
  • ทำให้นักการตลาดทราบว่า กลยุทธ์ทางการตลาดใดได้ผล และกลยุทธ์ใดที่ต้องปรับปรุง ซึ่งอาจใช้วิธีการวิเคราะห์จำนวนคนที่เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ จำนวนที่ผู้ใช้งานอยู่บนหน้าเพจ และสินค้าที่ลูกค้านิยมซื้อเป็นต้น

 

เกณฑ์ในการเลือกเครื่องมือในการทำ Data Marketing 

 

เกณฑ์ในการเลือกเครื่องมือในการทำ Data Marketing

Data Analytics Tools เครื่องมือที่มีค่าใช้จ่ายราคาสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพิจารณาเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการทำการตลาด และงบประมาณ

นอกจากนี้ หนึ่งในสิ่งสำคัญที่นักการตลาดจะต้องพิจารณาคือ ผู้ที่ใช้เครื่องมือ ซึ่งในกรณีที่แบรนด์ของคุณเป็นบริษัท Startup เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องจัดเก็บ Data ทั้งหมดที่มี แต่เพียงลองเก็บ Data ที่จำเป็นในการทำการตลาด เช่น คำติชมจากลูกค้า หรือคอนเทนต์ที่ลูกค้าให้ความสนใจเพื่อนำมาปรับปรุงเว็บไซต์ และแคมเปญโฆษณา

กรณีที่แบรนด์อยู่ในจุดขององค์กรขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการควรตั้งคำถามว่า คุณสามารถหาผู้เชี่ยวชาญมาทำงานในด้าน Data ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการไหม และมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาเพื่อจัดการข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจก่อน

เครื่องมือทำในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Tools)

1 Microsoft Excel

 

microsoft exacel
ภาพจาก https://miro.medium.com

หากธุรกิจของคุณอยู่ในระดับ Starup หรือเพิ่งเริ่มต้น การใช้โปรแกรม Microsoft Excel ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจาก Ecel เป็นโปรแกรมสารพัดประโยชน์และนิยมใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตสามารถดาวน์โหลดมาใช้กันได้ง่าย ๆ

นักการตลาดสามารถใช้โปรแกรม Excel เพื่อคำนวณตัวเลข และจดเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อแสดงผลลัพธ์ โดยใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ และสูตรการคำนวณแบบพื้นฐานได้ อีกทั้งการแสดงผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ Data นั้นยังสามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบของ Data Visualization อย่างรูปแบบกราฟ หรือชาร์ตต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ Excel ยังสามารถวิเคราะห์ Data โดยการใช้เครื่องมือในโปรแกรมอย่าง Pivot Table, VBA, Solver และ Analysis Toolpak ในการหาผลลัพธ์ได้อีกด้วย

ข้อจำกัดในการใช้โปรแกรม Excel คือเรื่องของจำนวนข้อมูลที่สามาถเก็บได้ หมายความว่า โปรแกรมนี้ไม่เหมาะกับการวิเคราะห์ Big Data ที่มีจำนวนมหาศาล แต่หากธุรกิจ Startup ธรุรกิจระดับองค์กรต้องการใช้โปรแกรมเพื่อวิเคราะห์ Data ทั่วไปก็สามารถใช้ได้ค่ะ

 

2  Google Analytics

 

Google Analytics

Google Analytics เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปแล้ว นักการตลาดใช้โปรแกรมในจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเมตริกเว็บไซต์ที่สำคัญ และแสดงผลออกมาบนหน้า Dashboard ซึ้งข้อดีของเครื่องมือ นี้คือ ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางสามารถใช้งานได้ฟรี และสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ สามารถใช้ Google Analytics 360 ในเวอร์ชันแบบชำระเงิน สำหรับการวิเคราะห์ Data ที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งนักการตลาดสามารถใช้ AI ในการวิเคราะห์ Data ในระดับเชิงลึก

ฟีเจอร์หลักที่สำคัญ

  • Automated Insights ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกแบบอัตโนมัติ ด้วยการใช้ AI
  • Custom Insights ที่ผู้วิเคราะห์ข้อมูลสามารถกำหนดการเก็บ Data ได้เอง
  • Backward Pathing การย้อนกลับเข้าสู่เส้นทางของลูกค้า เพื่อวิเคราะห์หาผู้ใช้งานแต่ละคนว่ามาจากช่องทางไหนบ้าง และมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

เหมาะสำหรับ

  • กลยุทธ์: การปรับปรุง Conversion Rates การพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์  และการทำคอนเทนต์
  • อุตสาหกรรมธุรกิจประเภท: การตลาดและบริษัทโฆษณา ธุรกิจ E-Commerce ธุรกิจการท่องเที่ยว สื่อมีเดียต่าง ๆ
  • ขนาดองค์กร: ธุรกิจขนาดเล็กเหมาะกับ Google Analytics เวอร์ชัน Free Plan และองค์กรใหญ่ควรใช้  Google Analytics 360

 

3  Adobe Analytics

 

Adobe Analytics

Adobe Analytics เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ Data ที่เหมาะกับบริษัท ระดับกลางและระดับองค์กรที่มีแหล่งข้อมูลจำนวนมากและชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งตัวโปรแกรมมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้หลากหลาย สามารถปรับแต่ง Metrics ได้ อีกทั้งยังใช้เพื่อวิเคราะห์เว็บไซต์ และการตลาดได้หลายช่องทาง โดยโปรแกรมการใช้งานนั้น ไม่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นที่ต้องการการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน

ฟีเจอร์หลักที่สำคัญ

  • ฟีเจอร์ที่สามารถเจาะหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่มาจาก Customer Journey
  • การใช้เครื่องมือในการทำ Data Scientists
  • สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้จากช่องทางที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ อีเมลล์ วิดีโอ การเสิร์ช และอื่น ๆ
  • มีฟีเจอร์สำหรับคาดการณ์แนวโน้มการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า ว่าจะมีพฤติกรรมไปในทิศทางไหนในอนาคตด้วยการใช้ระบบl Data Science

เหมาะสำหรับ

  • กลยุทธ์: การเข้าหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ การปรับปรุงเว็บไซต์ การทำ LTV และการปรับปรุง Conversion Rate
  • ผู้ที่ใช้เครื่องมือ: นักการตลาด นักพัฒนาแผนธุรกิจ หรือ Product Managers
  • ขนาดองค์กร: ธุรกิจ E-Commerce บริษัทไฟแนนซ์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตลาด และโฆษณา

 

4  Amplitude

 

Amplitude ช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องมือเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค ซึ่งนักการตลาดสามารถใช้ Amplitude เพื่อสร้างแคมเปญโฆษณาโดยที่กำหนดเป้าหมายในการทำการตลาด และทำการทดสอบ A / B สำหรับตัวคอนเทนต์และโฆษณา อีกทั้ง ตัวอินเทอร์เฟซยังใช้งานง่าย และสามารถปรับแต่ง Dashboard ได้ช่วยให้ทีมได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ประมวลผลได้เร็วขึ้น

Amplitude
Amplitude

ฟีเจอร์หลักที่สำคัญ

  • สามารถวัดผลข้อมูลได้ในเชิงลึก รวมทั้งการวิเคราะห์ Engagement และผลประกอบการในช่องทางต่าง ๆ
  • Funnel audiences ที่สามารถกำหนดอีเวนต์และกิจกรรมที่จัดขึ้นได้เอง
  • สามารถแสดงผลได้ว่า ลูกค้าคนไหนมีผลต่อ ROI ในระดับสูงบ้าง

เหมาะสำหรับ

  • กลยุทธ์: การปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานบนเว็บไซต์ของลูกค้า การทำ LTV
  • ผู้ที่ใช้เครื่องมือ: นักการตลาด และ Product Managers
  • อุตสาหกรรมประเภท: บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ธุรกิจ E-Commerce บริษัทที่ให้บริการด้านการเงิน และธรุกิจ B2B
  • ขนาดองค์กร: ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

 

5 Woopra

 

ภาพจาก Woopra
ภาพจาก Woopra

Woopra เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-Time ที่สามารถแสดงผลลัพธ์ให้เห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์อย่างไรในการซื้อสินค้า ซึ่งลักษณะการใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อน และเครื่องมือนี้ สามารถวิเคราะห์ Big Data ได้ในระดับสูง และสามารถโฟกัสไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีโอกาสกลายมาเป็นลูกค้าได้อีกด้วย

ฟีเจอร์หลักที่สำคัญ

  • สามารถประมวลผลได้จากแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เช่นอีเมล ช่องทางโซเชียลมีเดีย ช่องทางสมาร์ทโฟน และ CRM
  • รายงานผลลัพธ์ที่จะเป็นทั้งโอกาส และจุดบกพร่องของการทำแคมเปญการตลาด และกลยุทธ์การมอบประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า เพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น
  • จับตาดูข้อมูลได้แบบ Real-Time เพื่อดูประสิทธิภาพของตัวผลิตภัณฑ์

เหมาะสำหรับ

  • กลยุทธ์: การปรับปรุง Conversion Rate การทำการตลาด และกลยุทธ์การมอบประสบการณ์ให้ลูกค้า
  • ผู้ที่ใช้เครื่องมือ: Product Managers นัการตลาด และเซลส์
  • อุตสาหกรรมประเภท: บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี บริษัทที่เกี่ยวข้องกับสื่อมีเดีย ธรุกิจท่องเที่ยว และ E-Commerce
  • ขนาดองค์กร: ขนาดเล็ก และขนาดกลาง

 

6 Facebook Insight

 

Facebook Insight
ภาพจาก Facebook

 

Facebook Insight เป็นเครื่องมือ ๆ หนึ่งของ Facebook ที่ทำให้เราสามารถดูข้อมูลหลังบ้านของ Facebook Page เราได้ โดย Facebook Insight ประกอบไปด้วย 2 รูปแบบได้แก่

  • Facebook Page Insight คือ เครื่องมือแสดงข้อมูลหลังบ้านของ Facebook Page เราโดยเฉพาะ เช่น จำนวนการเข้าถึง และ การมีส่วนร่วมของลูกค้า เพื่อดูข้อมูลหลังบ้านว่าสุดท้ายผลลัพธ์การตลาดอันไหนที่จะถูกใจลูกค้า และ มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • Facebook Audience Insight คือ เครื่องมือสำหรับการดูข้อมูลหลังบ้านของ Facebook Page ในส่วนของผู้ติดตาม หรือ ผู้ที่พบเห็น Facebook Page ของเราเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้และความต้องการของลูกค้า

 

ที่มา:

https://segment.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

รู้จักกับ Influencer ทั้ง 12 ประเภท เพื่อทำการตลาดให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย
Google Analytic 4 Property: อัปเดตแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเวอร์ชั่นใหม่