วางกลยุทธ์การตลาดแบบ Multi-Channel อย่างไรให้เพื่อให้ ROI เพิ่มขึ้น

วางกลยุทธ์การตลาดแบบ Multi-Channel อย่างไรให้เพื่อให้ ROI เพิ่มขึ้น

“สินค้า และ บริการดี แต่ยังไม่มีใครรู้จักแบรนด์เท่าไร”

“มีไอเดียโปรโมตคอนเทนต์ แต่ไม่รู้จะเน้นขายในช่องทางไหน”

“เมื่อลูกค้าเข้าร้านน้อยลง ผู้ประกอบการต้องปรับแผนการตลาดอย่างไร ”

แน่นอนว่าคุณมีสินค้าและบริการที่ดี มีเครื่องมือ Martech ที่ทันสมัย แต่จะตีโจทย์การตลาดอย่างไรให้ผลลัพธ์คุ้มค่ากับที่ลงทุนไป วันนี้ STEPS Academy จะพาคุณไปเจาะลึกกับกลยุทธ์การตลาดแบบ Multi-Channel  เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่ม ROI ให้ธุรกิจของเรากันค่ะ

พิเศษ สำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะการตลาดออนไลน์เพื่อวางกลยุทธ์ได้อย่างรอบด้านและครอบคลุมทุกองค์ประกอบ ทาง STEPS Academy มีหลักสูตร ‘Digital Marketing Strategy ’ มาฝากทุกท่าน สามารถสมัครได้แล้ววันนี้ รีบสำรองที่นั่งก่อนเต็มนะคะ

สำรองที่นั่ง/รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม: https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist

หรือโทร 065-494-6646

Multi-Channel Marketing คืออะไร

ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกถึงการทำการตลาดในแต่ละขั้นตอน เราไปทำความเข้าใจถึงกลยุทธ์  Multi-Channel Marketing กันก่อน

Multi-Channel Marketing คือการทำการตลาดที่นำเสนอสินค้า และ บริการมากกว่าหนึ่งช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม การทำแคมเปญสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางอีเมล การยิงโฆษณา การทำคอนเทนต์แบบออร์แกนิค หรือการทำอีเวนต์ออนไลน์ ทั้งนี้การทำการตลาดแบบ Multi-Channel Marketing มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขึ้น รวมทั้งยังเป็นการขยายช่องทางทางธุรกิจเพื่อสร้างรายได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง

 

ภาพด้านบนอธิบายเกี่ยวกับการทำการตลาดดิจิทัลแบบหลายช่องทาง
ภาพจาก activecampaign

ภาพด้านบนอธิบายเกี่ยวกับการทำการตลาดดิจิทัลแบบหลายช่องทาง

นอกจาก Multi-Channel Marketing เป็นกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์จากช่องทางที่หลากหลายแล้ว ยังสามารถรวมการทำการตลาดแบบออฟไลน์เข้าไปได้อีกด้วย เพื่อรองรับกับความแตกต่างและไลฟ์สไตล์การบริโภคสินค้าและบริการในยุคปัจจุบันที่มีความหลากหลาย

ประโยชน์ของการทำ Multi-Channel Marketing

  • เพิ่มการรับรู้แบรนด์ได้มากขึ้น
  • เพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ
  • สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เมื่อแบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น
  • ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น
  • สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ดีขึ้น (ROI)

 

ภาพด้านบนเป็นสถิติจากเว็บไซต์ passivesecrets เผยให้เห็นว่า นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ธุรกิจต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในการทำการตลาดแบบ Multi-Channel Marketing เพิ่มสูงขึ้นมากเพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงแคมเปญและโฆษณาของแบรนด์
ภาพจาก passivesecrets

ภาพด้านบนเป็นสถิติจากเว็บไซต์ passivesecrets เผยให้เห็นว่า นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ธุรกิจต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในการทำการตลาดแบบ Multi-Channel Marketing เพิ่มสูงขึ้นมากเพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงแคมเปญและโฆษณาของแบรนด์ ทดแทนการซื้อสินค้าและบริการแบบออฟไลน์เพียงช่องทางเดียว โดย 77% ของธุรกิจนั้นมีช่องทางการทำการตลาดมากกว่า 7 ช่องทาง และ 63% ของแบรนด์มีช่องทางทำการตลาดอย่างน้อย 3 แนวทางขึ้นไปค่ะ

5 กลยุทธ์การตลาดแบบ Multi-Channel เพื่อเพิ่ม ROI ให้ธุรกิจ

เราไปดูกลุทธ์การตลาดที่สำคัญในการทำ Multi-Channel Marketing กันค่ะ ว่ามีวิธีการไหนที่นักการตลาด และ ผู้ประกอบการควรนำไปปรับใช้กับธุรกิจ และสามารถยกระดับการทำการตลาดดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 

อันดับแรกของการทำการตลาดไม่ว่าจะเป็นแคมเปญใด การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เราหาวิธีการในการสร้างผลลัพธ์ของแคมเปญนั้น ๆ ได้ตอบโจทย์มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถวัดผลได้จริงว่าเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้สามารถไปถึงได้จริงหรือไม่ กี่เปอร์เซ็นต์ ทำให้นักการตลาด สามารถวิเคราะห์ได้ว่ารูปแบบแคมเปญนี้เหมาะสมหรือไม่ ควรปรับปรุงในจุดไหนเพิ่มเติมในอนาคต

ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายเมื่อสร้างแคมเปญ

  • เพื่อเพิ่ม Lead Generation
  • เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า
  • เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์ในช่องทางใหม่ ๆ
  • เพื่อสร้าง Customer Lifetime Value หรือ การเพิ่มรายได้โดยเฉลี่ยที่บุคคลหรือธุรกิจมีการใช้จ่ายไปกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์

อย่างไรก็ตาม การตั้งเป้าหมายตามตัวอย่างข้างต้นนั้น ยังไม่ชัดเจน และไม่อาจวัดผลไม่ได้เมื่อแคมเปญสิ้นสุดลง วิธีการที่นักการตลาดจะสามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์ได้นั้นคือการตั้งเป้าหมายในเชิงปริมาณ เช่น

  • ต้องการสร้าง Lead Generation เพิ่มขึ้น 20% ในแต่ละเดือน
  • ลดอัตรายกเลิกการเป็นสมาชิกบนเว็บไซต์ 10% ให้ได้ในไตรมาสที่สาม
  • เน้นเพิ่มการรับรู้แบรนด์บนอินสตาแกรมในไตรมาสสุดท้าย  5%
  • ช่วงเทศกาลคริสมาสต์ เดือนธันวาคม ต้องการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 12%
สถิติจาก databox เผยให้เห็นว่า ธุรกิจมักตั้งเป้าหมายทางการตลาดแบบรายเดือน รายไตรมาสและรายปี โดยส่วนใหญ่แล้ว แบรนด์มักตั้งเป้าหมายแบบไตรมาสมากถึง 45.3%
ภาพจาก databox

ภาพด้านบนเป็นสถิติจาก databox เผยให้เห็นว่า ธุรกิจมักตั้งเป้าหมายทางการตลาดแบบรายเดือน รายไตรมาสและรายปี โดยส่วนใหญ่แล้ว แบรนด์มักตั้งเป้าหมายแบบไตรมาสมากถึง 45.3%

 

2. เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้นด้วยการวิเคราะห์ Data ในมือ

เราสามารถทำโฆษณาเพื่อเข้าหาผู้บริโภค แต่ไม่ใช่ผู้บริโภคทุกคนจะกลายเป็นลูกค้าของเรา แล้วกลุ่มเป้าหมายที่อาจกลายเป็นลูกค้าของเราอยู่ที่ไหน ?

วิธีการที่จะทำให้เราทราบว่ากลุ่มลูกค้าของเราเป็นใคร มีความต้องการผลิตภัณฑ์แบบไหน และเราสามารถปรับปรุงแคมเปญการตลาดเพื่อรักษาลูกค้าเก่าอย่างไร คือการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด หรือที่เราเรียกว่า Data-Driven Marketing

หากคุณทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์อยู่แล้ว คุณสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ในมือมาวิเคราะห์ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาสินค้าบริการ หรือแม้กระทั่งช่องทางในการเข้าหาผู้บริโภค ซึ่ง Data ทั่วไปที่นิยมใช้มีดังนี้ค่ะ

  • วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญ
  • วิเคราะห์ช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายนิยมใช้
  • วิเคราะห์การรีวิวหรือเก็บข้อมูลคำติชมของลูกค้า
  • วิเคราะห์ข้อมูลด้าน Demographics เช่น อายุ อาชีพ เพศ เมืองหรือย่านที่อยู่อาศัย

 

3. เลือกช่องทางที่สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

ก่อนที่เราจะใช้งบประมาณ และ เวลาไปกับการทำการตลาดช่องทางใด ๆ ก็ตาม นักการตลาดจะต้องเลือกช่องทางที่เหมาะสม และตอบโจทย์กับแคมเปญ และกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้ว่าการทำการตลาดมากกว่าหนึ่งช่องทางจะสร้างโอกาสในการขาย แต่สิ่งสำคัญคือการเลือกช่องทางที่ใช่จริง ๆ โดยนักการตลาดสามารถนำผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ลูกค้ามาใช้เพื่อตัดสินใจว่าช่องทางใดบ้างที่เราสามารถหากลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสกลายเป็นลูกค้าได้จริง

ภาพด้านบนอธิบายเกี่ยวกับการทำการตลาดดิจิทัลแบบหลายช่องทาง
ภาพจาก activecampaign

ตัวอย่าง

ธุรกิจแบบประเภท Recruitment หรือบริษัทที่สรรหาบุคลกรเพื่อเข้าร่วมงานกับองค์กรต่าง ๆ สามารถเลือกช่องทาง LinkedIn ในการโปรโมตหาบุคลากรที่ใช่ นอกเหนือจากการทำเว็บไซต์

 

4. ทดสอบความชอบของลูกค้าด้วยการทำ A/B testing

 

ทดสอบความชอบของลูกค้าด้วยการทำ A/B testing
ภาพจาก activecampaign

การวางเป้าหมายให้ชัดเจน และ เลือกแพลตฟอร์มที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาดแบบ  Multi-Channel เป็นเรื่องที่ดี แต่การที่เราไม่ทดสอบให้แน่ใจก่อนลงทุนแบบจริงจัง อาจทำให้เราเสียเวลาไปกับแพลตฟอร์มที่ไม่สามารถทำกำไรหรือทำให้เสียเงินเปล่า นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าเราจะเลือกช่องทางที่ใช่ และได้ผลตอบแทนทางการตลาดในเชิงบวกแล้ว อย่าลืมทำ A/B testing ในแต่ละคอนเทนต์ เพื่อดูว่ารูปแบบคอนเทนต์ หรือโฆษณาแบบไหนให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน

 

ทดสอบความชอบของลูกค้าด้วยการทำ A/B testing
ภาพจาก activecampaign

ตัวอย่างการทำ A/B Testing สำหรับช่องทางอีเมล

หากนักการตลาดต้องการส่งโปรโมชัน หรือเขียนคอนเทนต์อัปเดตไปให้ลูกค้า สามารถลองใช้วิธี A/B Testing หรือการออกแบบคอนเทนต์มากกว่าหนึ่งรูปแบบขึ้นไป เพื่อดูว่าผลลัพธ์จากการทำคอนเทนต์ไหนดีกว่ากัน โดยเราสามารถสร้างคอนเทนต์ให้แตกต่าง โดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

  • หัวข้ออีเมลและเนื้อหา
  • ความยาวของบทความ
  • ดีไซน์ รูปแบบการจัดวาง ธีมสีที่ใช้
  • Call to Action ที่เชิญชวนให้คลิกปิดท้ายเนื้อหา

 

5. วัดผลลัพธ์ด้านการตลาดอยู่เสมอ

ในการทำการตลาดทุกแคมเปญควรมีการวัดผลลัพธ์อยู่เสมอทั้งในระยะสั้นและระยาว เพื่อประเมินว่า แคมเปญเหล่านั้นมีผลลัพธ์สอดคล้องกับเป้าหมายตามที่วางไว้แต่แรกหรือไม่ นอกจากนี้นักการตลาดอาจสามารถจับทิศทางช่องทางโปรโมตสินค้า และพิจารณาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วยว่าช่องทางที่กำลังทำการตลาดอยู่นั้นยังคงได้ผลตอบรับที่ดี และสร้างกำไรได้หรือไม่ หรือเราควรเปลี่ยนวิธีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าหากลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถใช้ตัววัดผลเหล่านี้ในการประเมินเป็นหลัก

  • ความถี่ในการเก็บข้อมูลและวัดผลแคมเปญ เช่น แบบรายสัปดาห์ หรือ ไตรมาส
  • ใครคือคนที่รับผิดชอบแคมเปญและการวัดผลแคมเปญนั้น ๆ
  • วิธีการวัดผลมีเครื่องมือและวิธีคำนวณอย่างไร
  • แนวทางการวางกลยุทธ์ในอนาคตเป็นอย่างไร มีแผนลับคมแนวธุรกิจเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไรบ้าง

 

สรุป

1 Multi-Channel Marketing คืออะไร

Multi-Channel Marketing คือการตลาดที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ของแบรนด์จากหลายช่องทาง เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นการขยายช่องทางธุรกิจเพื่อสร้างรายได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง

2 ตัวอย่างการทำการตลาดแบบ Multi-Channel Marketing

เช่น

  • การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม
  • การทำแคมเปญสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางอีเมล
  • การยิงโฆษณา
  • การทำคอนเทนต์แบบออร์แกนิค
  • การทำอีเวนต์ออนไลน์
  • การส่ง SMS ไปหาลูกค้า

3 วิธีการวางกลยุทธ์การตลาดแบบ Multi-Channel มีอะไรบ้าง

  • การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาวแบบวัดผลได้จริง
  • วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจผู้บริโภค
  • เลือกช่องทางทำการตลาดที่เหมาะสมกับแบรนด์
  • ทำ A/B testing ทดสอบคอนเทนต์ เพื่อปรับปรุงแนวทางโปรโมต
  • หมั่นวัดผลลัพธ์ทางการตลาดอยู่เสมอ

ข้อมูลจาก

activecampaign

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

6 เทรนด์ด้าน Digital Marketing สำหรับธุรกิจ SME ในปี 2023
4 เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพโฆษณาออนไลน์ด้วย DATA