6 เทคนิคการเขียนบทความ SEO ให้ติดหน้าแรกบน Google

ความท้าทายของการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล  นอกจากที่แบรนด์จะต้องนำเสนอสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ และสร้างโฆษณาให้น่าสนใจแล้ว การเขียนบทความที่มีคุณภาพสามารถเพิ่มโอกาสให้คนรู้จักเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น เนื่องจากบทความดี ๆ ที่เรานำเสนอให้ผู้อ่านนี่แหละค่ะ จะทำให้เรากลายเป็นเว็บไซต์แนะนำ หรือเว็บไซต์ยอดนิยมติดอันดับหน้าแรกของ Google

แต่ก่อนอื่นผู้ประกอบการหรือนักเขียนควรทำความเข้าใจกันก่อนว่า ถึงแม้ว่าบทความบนเว็บไซต์ของคุณจะเต็มไปด้วยประโยชน์ ถูกหลักไวยากรณ์ และเป็นประเด็นในกระแสสังคมในปัจจุบัน แต่การเขียนบทความที่ถูกหลัก SEO (Search Engine Optimization ) สามารถช่วยให้บทความของคุณติดอันดับอยู่บนหน้าแรกของการค้นหาบน Google โดยที่ผลคำค้นหาเหล่านั้น สามารถจัดลำดับเว็บไซต์ให้ไปอยู่ในลำดับที่สูงขึ้น

พูดง่าย ๆ เลยว่า หากบทความมี Keyword ที่เป็นที่นิยม และคนค้นหาบ่อย บทความนั้น ๆ ก็มีโอกาสที่จะอยู่ในลำดับต้น ๆของการค้นหาค่ะ

  • ข้อมูลสถิติจาก Ahrefs เผยว่า บทความออร์แกนิคสามารถติดหน้าแรกบน Google ได้ในระยะเวลาอย่างน้อยที่สุด 60 วัน
  • การทำ Personalized Experience มีประโยชน์และตอบโจทย์ต่อกลุ่มเป้าหมายมาก เนื่องจากแบรนด์รู้ว่า กลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการคือใคร
  • การตั้งหัวข้อบทความที่มี Keyword ให้ตรงกับการค้นหาสามารถสร้างผลลัพธ์ในการทำ SEO ได้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ หากคุณต้องการเรียนรู้การทำ SEO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบทความ และ เว็บไซต์ และเพื่อให้คุณสามารถวัดผลการทำ SEO ได้ด้วยด้วยตัวเอง โดยใช้เครื่องมือทางการตลาดที่ทันสมัย และใช้งานง่าย STEPS Academy มีหลักสูตร SEO Content Marekting มาฝากค่ะ คลิก

เมื่อไหร่คอนเทนต์ หรือบทความของเราจะติด SEO หรือติดอันดับการค้นหาหน้าแรก

คุณอาจสงสัยว่าแล้วเมื่อไหร่ที่บทความของเราจะติดอันดับการค้นหาเสียที วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ

เว็บไซต์ ahrefs.com ได้รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับ อัตราการเติบโตของบทความแบบออร์แกนิค* ที่ติดอันดับบนเว็บไซต์ Google ในรูปแบบของกราฟ

(คำว่า ออร์แกนิคในที่นี่หมายถึง ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา แต่การใช้ Keyword ที่ถูกต้องและมีคุณภาพสามารถ ช่วยให้บทความในเว็บไซต์ของเรามีคนเข้ามาอ่านมากขึ้น หรือที่นักการตลาดมักเรียกว่า การเพิ่ม Traffic บนหน้าเว็บไซต์นั่นเอง)

 

ผลลัพธ์จากการจัดลำดับการค้นหาด้วยการใช้ Keyword ที่เป็นออร์แกนิค โดยทั่วไปแล้ว ในแต่ละเว็บไซต์ ก็ยังคงต้องใช้เวลาในการจัดลำดับอยู่ดี
ภาพจาก: https://ahrefs.com

จากภาพด้านบน เราจะเห็นว่าบทความที่ติดอันดับท็อป 10 ในลำดับการค้นหาจะต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปีขึ้นไป

 

ผลลัพธ์จากการจัดลำดับการค้นหาด้วยการใช้ Keyword ที่เป็นออร์แกนิค โดยทั่วไปแล้ว ในแต่ละเว็บไซต์ ก็ยังคงต้องใช้เวลาในการจัดลำดับอยู่ดี
ภาพจาก: https://ahrefs.com

ส่วนภาพที่ 2  คือผลลัพธ์จากการจัดลำดับการค้นหาด้วยการใช้ Keyword ที่เป็นออร์แกนิค โดยทั่วไปแล้ว ในแต่ละเว็บไซต์ ก็ยังคงต้องใช้เวลาในการจัดลำดับอยู่ดี แต่ถ้าบทความของเรามีการใช้ Keyword ที่ถูกหลัก SEO หรือมี Keyword ในบทความมากกว่าบทความอื่น ๆ เว็บไซต์ของเราก็สามารถติดอันดับท็อป 10 ภายในระยะเวลา 60 วันได้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป Google จะใช้ระบบอัลกอริทึมวิเคราะห์บทความที่มีคุณภาพที่สุด หรือ มี Keyword ที่ผู้ใช้งานค้นหามากที่สุดให้กลายเป็นเว็บไซต์แนะนำค่ะ

อย่างไรก็ตาม นอกจากเทคนิคการใช้ Keyword ที่ถูกต้องแล้ว การทำบทความให้สร้างสรรค์และแตกต่างจากบทความในเว็บไซต์อื่น ๆ จะเป็นการเปิดมุมมองให้ผู้อ่านเห็นแง่มุมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในชีวิต รวมไปถึงการสร้างจุดเด่นให้กับแบรนด์ด้วยค่ะ

ดังนั้น STEPS Academy ขอแนะนำ 6 เทคนิคการเขียนบทความ SEO เชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มคุณภาพในการสร้างบทความ และนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับผู้อ่านหรือลุ่มลูกค้าของเรากันค่ะ

 

1. บทความที่เป็นลักษณะ Personalized Experience

Personalized Experience หรือ การทำการตลาดแบบ Personalization คือการมอบประสบการณ์ให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด ทั้งสิ่งที่แบรนด์ต้องการนำเสนอ และรูปแบบการสื่อสาร จะเป็นการตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายด้วยการใช้ Segmentation ที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสนใจแบรนด์หรือสินค้าของเรา

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เมื่อเวลาเราไปสั่งกาแฟที่ร้านประจำ และพนักงานจำได้ว่า คุณชอบกาแฟลาเต้ Decaf หวานน้อย แก้วใหญ่ ใส่นมอัลมอนด์ แล้วพนักงานจำรายละเอียดได้ แถมเรียกชื่อของคุณถูกอีก สิ่งนี้นี่แหละค่ะ คือการทำการตลาดแบบ Personalization ซึ่งผู้ขายนำาสนอสิ่งที่ตรงตามความสนใจ แถมยังรู้ใจลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกในเชิงบวกในการบริการอีกด้วย

แล้วบทความที่เป็นลักษณะ Personalized Experience เป็นอย่างไร ?

บทความบนเว็บไซต์ทั่วไป จะมีลักษณะ Landing Page ที่มีบทความเดียวกันสำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งการเขียนคอนเทนต์เพื่อรองรับความต้องการผู้บริโภคในเชิง Insight หรือการใส่ใจรายละเอียดให้มากกว่า จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจได้มากกว่า

เช่น การเรียกชื่อลูกค้า เมื่อมีการส่งอีเมลนำเสนอบทความใหม่ ๆ ประจำสัปดาห์ การเขียนบทความที่อยู่ในกระแสสังคมของผู้บริโภคในขณะนั้น ๆ หรือการปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมด้วยการอ้างอิงรายละเอียดรายบุคคล โดยการใช้ข้อมูลที่แบรนด์มีและสามารถเข้าถึงตัวลูกค้าได้ เช่น

  • ประวัติการซื้อสินค้า
  • ประวัติการเข้าชมหน้าเว็บไซต์
  • คำค้นหาที่ลูกค้าใช้เพื่อหาสินค้า เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถใช้ Personal Data ที่มีอยู่ในมือมาวิเคราะห์เพื่อแยกกลุ่มเป้าหมาย และนำเสนอบทความที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนักการตลาดโดยปกติแล้วจะแบ่ง Segmentation ดังนี้:

  • อายุ
  • เพศ
  • สถานที่ ( ได้แก่ เมือง, ประเทศ และภูมิภาค)
  • อุปกรณ์การสื่อสาร ( รวมไปถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้ เช่น iOS, Android )
  • ความถี่ในการเข้าชมเว็บไซต์
  • วันที่ที่เคยซื้อสินค้า
  • Referring URL
  • พฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ ( เช่น จำนวนหน้าที่เข้าชม เป็นต้น )

ตัวอย่างการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำเสนอบทความที่สอดคล้องกันกับความต้องการของลูกค้า

 

วิธีการแบ่ง Segmentation เพื่อช่วยในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
ภาพจาก: https://instapage.com/

บทความที่นำเสนอบนหน้าเว็บไซต์จะแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความแตกต่างของ Segmentation ของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ รวมไปถึงการนำเสนอโปรโมชัน ให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย

ตัวอย่างจากแบรนด์ DELTA ที่ส่งอีเมลแบบ Personalization ให้แก่ลูกค้าที่เคยใช้บริการสายการบิน โดยใช้ระบบ AI เพื่อสร้างบทความเพื่อมอบประสบการณ์พิเศษแบบ 1 ต่อ 1 ให้แก่ลูกค้า

 

ตัวอย่างการเขียนอิมเลถึงลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1
ภาพจาก: https://instapage.com/

 

2. บทความที่มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจากวงการธุรกิจที่หลากหลาย

การเขียนบทความในรูปแบบการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ หรือผู้ที่มีทักษะเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ คือการสร้างบทความในเชิงสร้างสรรค์อีกทางหนึ่ง ซึ่งสามารถดึงความสนใจจากผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ เนื่องจากบทความที่เป็นเรื่องเล่าที่มาจากประสบการณ์จริง เช่น จุดพลิกของธุรกิจ ไอเดียการขาย หรือข้อผิดพลาดจากการทำธุรกิจ กรณีศึกษาเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้บทความของเรามีคุณค่า และแตกต่างจากเว็บไซต์อื่น ๆ ซึ่งเป็นข้อดีในการแข่งขัน

 

บทความที่มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจากวงการธุรกิจที่หลากหลาย
ภาพจาก: https://moz.com/

 

ตัวอย่างจากภาพด้านบน คือบทความจากการงานวิจัยและการสัมภาษณ์ผู้บริหารในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยบทความนี้ได้กล่าวถึงการใช้ทฤษฎีจิตวิทยา เพื่อจัดการปัญหาในที่ทำงานและการลับคมทักษะการทำงานให้ดีขึ้น

หากคุณกำลังมองหาผู้ที่จะมาให้สัมภาษณ์ ควรเลือกบุคคลที่มาจากวงการธุรกิจเดียวกัน หรือมีคล้าย ๆ กัน เพื่อนำเสนอประเภทบทความให้ตรงกับแบรนด์

เช่น หากคุณเป็นนักการตลาดที่ทำงานในโรงแรม การสัมภาษณ์เชฟชื่อดังจะทำให้ผู้อ่านสนใจบทความของคุณขึ้นมา

หรือหากคุณทำงานอยู่ในวงการธุรกิจ E-Commerce คุณสามารถเชิญผู้ที่ให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจในประเทศ ในช่วงครึ่งปีหลัง 2020 เป็นต้น

นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่ลืมวางแผนการใช้  Keyword ในการทำบทความเพื่อให้บทความของเราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่กลุ่มคนเหล่านี้ใช้ Keyword ค้นหาหาบทความหรือเว็บไซต์จาก Google

 

3. การใช้ Keyword ที่ใช่สำหรับบทความ

ในการเขียนบทความหลาย ๆ ครั้งผู้เขียนจะทราบดีว่า การเขียนหัวข้อเรื่องให้น่าสนใจ คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บ ซึ่งบางครั้งการเขียนหัวข้อปัง ๆ และดูโดดเด่น สามารถเพิ่มโอกาสให้คนคลิกเข้ามาอ่านบทความได้ก็จริง แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ หัวข้อของบทความนั้น ๆ จะต้องมี Keyword ที่ตรงกับ Serach Volume* สำหรับ SEO ด้วย

( Search Volume คือจำนวนตัวเลขจากการค้นหาคำศัพท์ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เพื่อทำการค้นหาบทความ ซึ่ง Search Volume มีความสำคัญในการช่วยนักการตลาดตัดสินใจเลือกใช้ Keyword ที่เหมาะสมและตรงตามคำค้นหาให้ได้มากที่สุดเพื่อทำ SEO หรือทำโฆษณา )

 

การใช้ Keyword เพื่อเขียนหัวข้อบทความ
ภาพจาก: https://moz.com/

จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่าการเขียนหัวข้อบทความจะต้องใช้การวิเคราะห์เพื่อเลือกชื่อหัวข้อที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้อ่านสนใจ ซึ่งในปัจจุบันอย่างที่ทุกคนทราบดีว่า Google มักใช้ระบบอัลกอริทึมเพื่อจัดลำดับการค้นหา เพื่อนำเสนอบทความที่มีคุณภาพที่สุด ซึ่งหัวข้อเรื่องมีส่วนสำคัญมากในการทำ SEO ที่จะทำให้การจัดลำดับเว็บไซต์บนหน้าเว็บหรือที่เราเรียกว่า Serach Engine Result Pages (SERPs) มีการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นนักการตลาดควรศึกษาเกี่ยวกับ Keyword เพื่อใช้ในการตั้งหัวข้อบทความให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่ง STEPS Academy มีบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการตั้งหัวข้อบทความให้น่าสนใจ ตามลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะคะ

3 เทคนิคการเขียน Headline ง่ายๆที่ทำให้คนอ่านอยากคลิกหัวข้อของคุณ

ยกตัวย่าง หากนักการตลาดต้องการเขียนบทความ วิธีการ Embed วิดีโอคอนเทนต์ลงบนอีเมล เราอาจใช้เครื่องมือที่เป็นโปรแกรมวิเคราะห์ Keyword เพื่อช่วยในการหาคำศัพท์ที่คนนิยมค้นหาก่อน ( เช่น โปรแกรม Google Trends ) หลังจากที่เราทราบแล้วว่า Keyword ที่เราจะใช้มีคำว่าอะไรบ้าง และอยากให้มี Keyword ในการค้นหากี่คำ หลังจากนั้นเราสามารถนำ Keyword เหล่านั้นมาเรียบเรียงเพื่อให้ได้หัวข้อบทความ

เช่น เราจะใช้คำว่า “เทคนิค” แทนคำว่า “วิธีการ” เนื่องจากจำนวน  Search Volume มีมากกว่า

และใช้คำว่า วิดีโอคอนเทนต์ เนื่องจาก Keyword จะให้ผลลัพธ์ในการทำ SEO ได้ดี

ดังนั้น หัวข้อที่เราจะเขียนใหม่อาจจะใช้ชื่อว่า เทคนิคการ Embed วิดีโอคนเทนต์บนอีเมล แบบง่าย ๆ 

ซึ่งคำว่า แบบง่าย ๆ จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าวิธีการทำไม่ซับซ้อน และน่าจะเข้าใจง่าย

 

4. การใช้มัลติมีเดียให้หลากหลาย 

 

การใช้ มัลติมีเดียในบทความ
ภาพจาก: https://moz.com/

การเพิ่มรูปภาพและวิดีโอลงไปในบทความ สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านได้ดีในระดับหนึ่ง นอกจากจะเป็นอาการเพิ่มความบันเทิงในขณะที่อ่านแล้ว ยังทำให้ผู้อ่านอยู่ในหน้าเว็บไซต์ของเรานานยิ่งขึ้น หรือ แม้แต่บทความเชิงวิชาการ งานวิจัย ก็สามารถใส่รูปภาพที่เป็นกราฟลงไปในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านได้มีจุดพักสายตาจากตัวอักษรที่ร้อยเรียงต่อกันมา หรือแม้กระทั่งบทความที่เป็นบทสัมภาษณ์ ก็สามารถใส่วิดีโอในช่วงเวลาที่มีการตอบคำถาม เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เวลาในการฟังการตอบคำถามค่ะ

 

5. เขียนบทความด้วยมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร

การเขียนบทความที่อยู่ในเทรนด์และมีสาระ แน่นอนว่าใคร  ๆ ก็ชอบและอยากเปิดอ่าน แต่การเขียนหัวข้อและเนื้อหาที่แตกต่างจากบทความที่เคยมี หรือมุมมองที่คนอื่นไม่เขียน คือจุดขายของบทความนั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนใจ

ยกตัวอย่างบทความจาก Hubspot ในหัวข้อ 10 Reasons Why You Don’t Need a CRM (10 เหตุผลที่คุณไม่จำเป็นต้องทำ CRM ) การเขียนหัวข้อบทความแบบนี้ ทำให้ผู้อ่านอาจรู้สึกสะดุดตรงคำพูดที่ว่า ไม่จำเป็นต้องทำ และไม่ต้องทำได้หรือ? ซึ่งการบริหารและการทำธุรกิจทั้งออฟไลน์และออนไลน์จำเป็นต้องใช้ CRM เพื่อตอบสนองผู้บริโภค แต่บทความนี้ อาจเปลี่ยนแปลงมุมมองการทำธุรกิจของคุณไปเลย และผู้อ่านจะมีคำถามหลังจากนี้ว่า

เพราะอะไรล่ะ ถึงไม่จำเป็น ? หรือผู้อ่านอาจต้องการทราบแนวคิดที่แตกต่างเพิ่มเติม

 

ภาพจาก: https://moz.com/

 

เทคนิคการเขียนหัวข้อให้ดูแตกต่าง นักการตลาดอาจหยิบยกประเด็นที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง หรือประเด็นที่แตกต่างจากหัวข้ออื่น ๆ ในประเภทบทความเดียวกัน เพื่อทำให้ผู้อ่านสงสัยและฉุกคิดเกี่ยวกับหัวข้อ

การเขียนหัวข้อให้มีความแตกต่างจากบทความทั่วไป

 

ตัวอย่างบทความ 7 เหตุผลที่คนขี้เกียจมีแนวโน้มประสบความสำเร็จ ซึ่งหัวข้อบทความจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าบทความนี้แตกต่างจากบทความอื่น

 

6. สร้างปฏิสัมพันธ์ให้แก่ผู้อ่านด้วยการเขียน Blog อัปเดต

การทำ SEO ในปัจจุบันจะมีการคำนึงถึงความสำคัญของ E-A-T ด้วย ซึ่งได้แก่

  • Expertise คือ ผู้เขียนต้องมีความเชี่ยวชาญในบทความที่ตนเขียน
  • Authoritativeness คือ ผู้เขียนมีอำนาจในการแก้ไขบทความและสามารถยืนยันได้ว่าตนเป็นผู้เขียนบทความนั้นๆ
  • Trustworthiness คือ การสร้างบทความให้มีความน่าเชื่อถือ

ซึ่งผู้ที่สนใจหลักการการเขียนแบบ E-A-T สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่:

E-A-T : 3 เทคนิคการเขียน SEO ให้ถูกใจ Google

การเขียนบทความที่มอบคุณค่าให้แก่ผู้อ่าน หรือเป็นบทความที่เป็นเทรนด์มาแรงของการทำธุรกิจออนไลน์ โดยมีการอัปเดตบทความเป็นประจำทุกสัปดาห์ สามารถพัฒนาให้ ความเป็น Expertise ของผู้เขียนนั้นดีขึ้น และ Authority ของเว็บไซต์อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นค่ะ

แต่อย่างไรก็ตามการเขียนบทความอัปเดต เว็บไซต์เป็นประจำทุกสัปดาห์จะต้องมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน และผู้เขียนจะต้องมีความรู้และทักษะในสาขาอาชีพนั้น ๆ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ Blog ของเว็บไซต์

 

สรุป 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ 6 เทคนิคการเขียนบทความ SEO ในเชิงสร้างสรรค์ ผู้เขียนหวังว่าวิธีการเขียนเหล่านี้ จะช่วยจุดประกายไอเดียให้นักเขียนทั้งหลาย สามารถสร้างบทความที่ดี และมีคุณภาพและสามารถเลื่อนลำดับเว็บไซต์ ให้กลายเป็นบทความแนะนำหน้าแรกบน Google กันนะคะ

 

 

ข้อมูลจาก: 

https://ahrefs.com

https://moz.com

https://instapage.com

https://blog.hubspot.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

11 ขั้นตอน เทคนิคการเขียนแคปชัน บน Instagram
เพิ่มยอดคลิกและยอดขายให้แก่ธุรกิจด้วยการสร้าง Banner Ad (พร้อมตัวอย่างประกอบ)