7 เหตุผลดี ๆ ที่แบรนด์ออนไลน์ควรใช้ Google Ad ฉบับปี 2021

7 เหตุผลที่ทำไมนักการตลาดควรใช้ Google Ads ปี 2021

 

สถิติจาก singlegrain เผยว่า 76% ที่ทำโฆษณาสำหรับร้านค้าท้องถิ่นบน Google  สามารถปิดการขาย และมีคนเดินทางไปยังร้านอาหารมากถึง 76%

การที่มีผู้ใช้บริการค้นหาบนหน้าเว็บไซต์ของ Google เป็นจำนวนมาก ดังนั้น Google Ad จึงเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางการตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการปรับปรุงกลยุทธ์ของแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และทำให้ให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยการทำโฆษณาบน Google ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่กลุ่มเป้าหมายส่วนใช้ใช้เพื่อทำการค้าหา

บทความในวันนี้ STEPS Academy จะมาแนะนำหลักการทำโฆษณาบน Google พร้อม 7 เหตุผลดี ๆ ที่แบรนด์ควรใช้ Google Ad เป็นเครื่องมือช่วยในการทำธุรกิจเพื่อสร้าง Conversion Rate และเพิ่มยอดขายได้แบบเท่าตัว และหากใครที่กำลังมองหาคอร์สเรียนสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างโฆษณาออนไลน์ผ่านช่องทางอย่าง Google, YouTube และ Facebook ทาง STEPS Academy มีหลักสูตรดี ๆ มาฝากกันคะ >> คลิก

Google Ads คืออะไร?”

Google Ads (หรือเราอาจเคยได้ยินคำว่า Google Adwords) คือบริการจากเว็บไซต์ Google ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มประเภท Search Engine ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถใช้เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการ

เมื่อผู้ใช้มีการค้นหาบางสิ่งบางอย่าง โฆษณาต่าง ๆ ก็จะปรากฏขึ้น ซึ่ง Google จะเริ่มคิดค่าบริการจากที่มีคนคลิกเข้ามาที่หน้าโฆษณานั้น ๆ หรือคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ของเรา

ความแตกต่างระหว่างผลการค้นหาในรูปแบบของ Google Search Ad และผลการค้นหาแบบออร์แกนิคคือ ผลการค้นหาที่มีการจ่าย Ad จะอยู่ในการโฆษณาประเภท Pay Per Click (PPC) ซึ่งคอนเทนต์หรือเว็บไซต์เหล่านี้จะปรากฏทันที เมื่อมีผู้ค้นหาที่ใช้ Keyword ตรงตัวหรือใกล้เคียงกัน แต่ผลการค้นหาแบบออร์แกนิค คือคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ที่ต้องใช้เวลาในการจัดลำดับ ไม่ได้จ่ายค่าโฆษณาเพื่อดันคอนเทนต์ให้อยู่ใน Rank อันดับสูง ๆ ตั้งแต่ต้น แต่ใช้วิธีการสร้างคอนเทนต์แบบธรรมชาติ มีคุณภาพ และมีการใช้เทคนิค SEO ซึ่ง Google จะใช้ระบบอัลกอริทึมวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับเว็บไซต์

เรามาดูผลลัพธ์ทางการตลาด จากแบรนด์ที่ทำแคมเปญ PPC หรือ รายได้ที่ได้จากการโฆษณาบน Google Ad กันค่ะ

หน้าผลการค้นหาบน Google
  • แบรนด์สามารถสร้าง Brand Awareness ได้เพิ่มขึ้น 80%
  • 46% ของแบรนด์ที่ทำ Google Ad จะกลายเป็นเว็บไซต์ติดท็อป 3 บนหน้าแรกของการค้นหา
  • 46% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้แยกเว็บไซต์ที่เป็นโฆษณากับเว็บไซต์ทั่วไปบนหน้าผลการค้นหา
  • 73% ของโฆษณาในรูปแบบวิดีโอบน Google จะถูกคลิกมากกว่าแบนเนอร์โฆษณาปกติ
  • รายได้เฉลี่ยในการทำ Paid Ad คือ $3 ต่อการลงทุนทุก ๆ $1.6 พูดง่าย ๆ ก็คือคุณสามารถสร้างรายได้เกือบเท่าตัวจากต้นทุน

 

ตัวอย่างหน้าผลการค้นหาบนเว็บไซต์ ซึ่งใช้ Keyword คำว่า Travel Agent

ตัวอย่างหน้าผลการค้นหาบนเว็บไซต์ ซึ่งใช้ Keyword คำว่า Travel Agent
ภาพจาก: https://adespresso.com/

คุณสามารถแยกเว็บไซต์ที่เป็นโฆษณาจากทาง Google ได้โดยสังเกตตัวอักษรสีเขียวคำว่า “Ad” ที่มุมซ้าย ด้านล่าง

แบรนด์สามารถวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างไรบ้าง?
  • ตำแหน่ง: ผู้ประกอบการสามารถเลือกเว็บไซต์ที่สามารถโพสต์โฆษณาของเราได้ ซึ่งตัวโฆษณาจะเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์
  • กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ หรือสินค้า: ผู้ประกอบการสามารถตั้งค่าเพื่อกำหนด กลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับสินค้าที่โปรโมต
  • งบประมาณ: ผู้ประกอบการสามารถวางแผนคิดค่าโฆษณาและค่าใช้จ่ายได้ว่าต้องการลงทุนไม่เกินวันละเท่าไหร่

 

Google Ad มีลักษณะอย่างไรบ้าง?

หนึ่งในวิธีการโฆษณาที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้คือ Google Display Network (GDN) ซึ่งเป็นโฆษณาเหล่านี้จะมีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับ Google และมีการลงโฆษณาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง มากกว่าการทำ PPC จากการค้นหาบนหน้าเว็บโดยปัจจุบันเว็บไซต์เครือข่ายเหล่านี้มีมากกว่า 2 ล้านเว็บไซต์

นอกจากนี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจจะเคยได้ยิน หรือเห็น Google Shopping กันมาบ้างบนหน้าผลการค้นหา ซึ่ง Google Shopping Ad ได้รับความนิยมจากนักชอปออนไลน์เช่นเดียวกัน

ลักษณะของ Shopping Ad บน Google จะมีรูปภาพที่หลากหลายจากแบรนด์ต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมาจากทางด้านล่างของช่องการค้นหาเพื่อให้ลูกค้าเลือกชมสินค้ากันแบบเต็มอิ่ม โดยรายละเอียดสินค้าจะถูกกำกับเอาไว้ที่ด้านล่างของรูป พร้อมราคา หรือโปรโมชันที่แบรนด์อยากนำเสนอ

 

ตัวอย่างหน้าตาของ Google Shopping Ad
ภาพจาก: https://neilpatel.com/

แถม! หากใครสนใจเทรนด์การสร้าง Google Ad ในรูปแบบต่าง ๆ สามารถคลิกได้ที่นี่ค่ะ

หลังจากที่เราทราบเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของ Google Ad กันไปพอสังเขปแล้ว ผู้เขียนจะพาทุกท่านไปดูความสามารถและประโยชน์จากการใช้เครื่องมือ Google Ad ที่แบรนด์ออนไลน์ควรนำมาใช้ในการต่อยอดธุรกิจ และสร้างรายได้ให้คุณได้อย่างคาดไม่ถึง

 

1. Google Search Ads ช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเจอหน้าเว็บไซต์เราง่ายขึ้น 

เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหา Keyword ต่าง ๆ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องและเว็บไซต์ใกล้เคียง จะปรากฏขึ้นบนหน้าผลการค้นหา ซึ่ง Google จะมีวิธีการวิเคราะห์เว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อจัดลำดับเว็บ ซึ่งเว็บโฆษณาเหล่านี้ จะต้องจ่ายค่าโฆษณาทุกครั้งที่มีการคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บของเรา

 

การใช้คำค้นหาที่เหมาะกับการเสิร์ช
ภาพจาก: https://adespresso.com/

 

ดังนั้น คุณภาพของ Landing Page มีความสำคัญมาก เนื่องจากเว็บไซต์ของแบรนด์มีส่วนให้ผู้ซื้อ สามารถค้นหาเจอได้จากการสร้าง Keyword ที่สำคัญ และจะไม่ทำให้การลงทุนของคุณนั้นสูญเปล่า

ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ Google Ad สามารถวัดประสิทธิภาพการใช้งานได้ โดยการรายงานผลผู้ที่เข้ามาชมสินค้า และจำนวนที่คลิกเข้ามา ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำสถิติจากการวัดผลมาใช้เพื่อจัดทำงบประมาณทางการตลาด และงบประมาณการโฆษณา

 

2. ช่วยให้คุณควบคุมค่าใช้จ่าย 

 

Google Ad ช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุน

การตั้งค่า Bid ให้กับโฆษณามีความสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์มาก เนื่องจาก Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายค้นหา (หรือใช้ Keyword มีความใกล้เคียง)  มีผลกับการโฆษณาเว็บไซต์บนหน้าผลการค้นหา หรือที่เราเรียกว่า Search Engine Result Page ( SERP)

ดังนั้นผู้ประกอบการควรวางกลยุทธ์ก่อนลงทุนจ่ายค่า PPC 

หากแบรนด์ไม่แน่ใจว่าควรลงทุนกับการใช้ Keyword ตัวไหน Google มีเครื่องมือที่ชื่อว่า Keyword Planner ที่สามารถแนะนำผู้ประกอบการได้ว่า ในแต่ละเดือน มีคนค้นหา Keyword ต่าง ๆ จำนวนกี่คน และทำให้เราทราบว่าสินค้าที่เราต้องการนำเสนอนี้ มีความต้องการในตลาดมากน้อยเพียงใด ทำให้แบรนด์สามารถวางแผนการตลาดโดยการใช้ Keyword ที่ตอบโจทย์ในการทำ Google Ad ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง Google สามารถช่วยคุณวางแผนค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ด้วย

นอกจากนี้ Google สามารถช่วยคุณเสนอราคาในการทำโฆษณาได้อีกหลายวิธี  เช่น เมื่อมีพื้นที่โฆษณาว่างจากหน้าเว็บไซต์และบล็อกอื่น ๆ  Google Ads  จะมีการจัดประมูลให้โฆษณาสามารถใช้พื้นที่ว่างตรงนั้น โปรโมตสินค้า ซึ่งการเสนอราคาจากผู้ประกอบการ มีส่วนที่จะทำให้แบรนด์ได้แสดงโฆษณานั้น ๆ ด้วย

Google สามารถช่วยคุณเสนอราคาในการทำโฆษณาได้อีกหลายวิธี  เช่น เมื่อมีพื้นที่โฆษณาว่างจากหน้าเว็บไซต์และบล็อกอื่น ๆ  Google Ads  จะมีการจัดประมูลให้โฆษณาสามารถใช้พื้นที่ว่างตรงนั้น โปรโมตสินค้า ซึ่งการเสนอราคาจากผู้ประกอบการ มีส่วนที่จะทำให้แบรนด์ได้แสดงโฆษณานั้น ๆ ด้วย
ภาพจาก: https://adespresso.com/

ตัวอย่างจากภาพด้านบนเป็นผลการค้นหาบนหน้า Google ที่จะแสดงตำแหน่งเว็บไซต์ประเภท Ad อยู่ โดยการจัดลำดับขึ้นอยู่กับการใช้ Keyword ที่ใช่และงบประมาณค่าโฆษณา

 

3. Google Ad สามารถเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมให้กับพื้นที่โฆษณา

การสร้าง Google Ad ไม่มีแพลตฟอร์มที่ตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และความเหมาะสมในการใช้งาน

เช่น แพลตฟอร์มโฆษณาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และหน้าจอมือถือ มีลักษณะแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน

แพลตฟอร์มโฆษณาบนมือถือ จะปรับข้อความให้เหมาะสมกับพื้นที่บนหน้าจอ ซึ่งในบางครั้ง ข้อความอาจจะกระชับมากกว่า

หรือคุณสามารถคลิกที่นี่ เพื่อมองหารูปแบบแบนเนอร์ทำโฆษณาที่ใช่ได้เพิ่มเติม

การปรับขนาดรูปภาพบนหน้าจอตามความเหมาะสมในการนำเสนอโฆษณา
ภาพจาก: https://adespresso.com/

4. Google Ads ช่วยหากลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด

การทำโฆษณาที่สามารถหากลุ่มเป้าหมายได้ตรงกับแบรนด์ คือการลงทุนที่คุ้มค่า เราสามารถดูได้จากภาพด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างการหากลุ่มเป้าหมายจากตำแหน่งสถานที่ ที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเห็นโฆษณาของเราค่ะ

ถึงแม้ว่าการเจาะกลุ่มเป้าหมาย อาจใช้เวลาในการเพิ่ม Conversion เนื่องจากการระบุสถานที่ ๆ ต้องการนั้นเป็นข้อจำกัดของการนำเสนอโฆษณา แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถประหยัดงบประมาณจากการทำโฆษณาได้มากเลยทีเดียว

 

ถึงแม้ว่าการเจาะกลุ่มเป้าหมาย อาจใช้เวลาในการเพิ่ม Conversion เนื่องจากการระบุสถานที่ ๆ ต้องการนั้นเป็นข้อจำกัดของการนำเสนอโฆษณา แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถประหยัดงบประมาณจากการทำโฆษณาได้มากเลยทีเดียว
ภาพจาก: https://adespresso.com/

เมื่อผู้ประกอบการเริ่มลงมือวางแผนหากลุ่มเป้าหมายตามหลักภูมิศาสาตร์ เราสามารถเลือกแสดงโฆษณาได้จากที่อยู่และรหัสไปรษณีย์ที่ต้องการ

ข้อดีในการเจาะกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คือ แบรนด์สามารถทำการ Remarketing ได้ในภายหลัง เพื่อยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสซื้อสินค้าจากเรา และระบบสามารถวิเคราะห์ได้อีกว่า กลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้ามาในหน้าเว็บไซต์มีจำนวนกี่คน ซึ่งนักการตลาดสามารถนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการวางแผนโฆษณาได้ในอนาคต

5. Keywords Are King!

การเลือก Keyword ที่ใช่และยิ่งเว็บไซต์ของเรามี Keyword ที่ตรงกับคำค้นหามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้เปรียบคู่แข่งมากเท่านั้น ดังนั้นการใช้ Keyword Planner สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือก Keyword แม่นยำมากขึ้น ซึ่งเป็นการลงทุนการทำโฆษณาที่ไม่เสียเปล่า

การเลือก Keyword ที่ใช่และยิ่งเว็บไซต์ของเรามี Keyword ที่ตรงกับคำค้นหามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้เปรียบคู่แข่งมากเท่านั้น ดังนั้นการใช้ Keyword Planner สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือก Keyword แม่นยำมากขึ้น ซึ่งเป็นการลงทุนการทำโฆษณาที่ไม่เสียเปล่า
ภาพจาก: https://adespresso.com/

เรามาดูรูปแบบของ Keyword ที่นำมาใช้เพื่อหากลุ่มเป้าหมายกันค่ะ

 

  • Broad Keyword

คือ Keyword ที่สามารถแสดงผลลัพธ์แบบกว้าง ๆ โดยที่ระบบ Search Engine ของ Google จะแสดงผลลัพธ์การค้นหาที่ตรงกับ Keyword และคำที่มีความหมายใกล้เคียงมาแสดงเพิ่มเติม

  • A Phrase Match

คือการใช้ Keyword ที่มีเครื่องหมาย “ – ” ซึ่งผลลัพธ์การค้นหาจะปรากฏเว็บไซต์ที่มี Keyword ดังกล่าวประกอบอยู่ในประโยค หรือวลีเท่านั้น ไม่มีคำค้นหาที่ใกล้เคียง

  • Exact Keyword

คือ Keyword ที่มีราคาต่ำที่สุด ซึ่งผู้ใช้ Search Engine ในการค้นหาจะต้องใช้แบบเดี่ยว ๆ หรือ Keyword ที่เป็นวลีแบบเจาะจง ไม่มีคำอื่นมาปะปน

 

6. สามารถวัดผลประสิทธิภาพของ Google Ad ได้

สิ่งที่สามารถวัดผลจากการใช้ Google Ad คือ

Click Through Rate หรือ CTR คือ อัตราการคลิกโฆษณาของผู้ชม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว CTR จะใช้วัดผล Search Campaign บน Google Display Network เพื่อวัดประสิทธิภาพของ Keyword ว่าได้ผลมากน้อยแค่ไหน และเพื่อใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ์การโฆษณา

เมื่อวัดผลออกมาแล้ว แคมเปญของเรามี CTR สูง แสดงว่าโฆษณาของเราได้ผลตอบรับที่ดี แต่หาก CTR ต่ำ นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการควรปรับปรุงการใช้ Keyword ให้ตรงกับการค้นหามากขึ้น หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมกับการแสดงโฆษณา นอกจากนี้อาจจะต้องปรับปรุงหน้าตาโฆษณา หรือข้อความให้น่าดึงดูมากยิ่งขึ้นค่ะ

Conversion Rate หรือ (CVR) คือการวัดผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมบางอย่างโดยนับเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่นการคลิกหน้าโฆษณา การซื้อชำระสินค้า การลงทะเบียน หรือการกด Subscribe เพื่อติดตามข่าวสาร

ภาพตัวอย่างวิธีการตั้งค่า Conversion Tracking บน Google Ad
ภาพจาก: https://adespresso.com/

ภาพตัวอย่างวิธีการตั้งค่า Conversion Tracking บน Google Ad

  1. ติดตั้ง Conversion Tracking ใน Google Ad
  2. ระบบ Google Ad จะส่งรหัสที่เป็น Snippet หรือแท็กที่ใช้สำหรับวัดผล Conversion Rate
  3. เพิ่มแท็กสำหรับวัดผล Conversion ลงบนเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน
  4. เมื่อกลุ่มเป้าหมายเริ่มคลิกโฆษณา หรือเข้ามาใช้งานหน้าเว็บไซต์ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ ตัวแท็กจะส่งข้อมูลกลับไปให้ Google Ad

 

7. เพิ่มโอกาสในการขายและขยายตลาดได้ทั่วโลก 

 

Google Ad ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย

เนื่องจาก Google Ad สามารถใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน แถมยังเป็นบริการ Search Engine อันดับหนึ่งของโลก จึงไม่แปลกใจที่เว็บไซต์ต่าง ๆ จะเลือกลงทุนการทำโฆษณากัน ข้อดีอื่น ๆ ที่ Google Ad สามารถช่วยให้แบรนด์เพิ่มโอกาสในการขายได้เร็วขึ้น คือการเลือก Keyword ที่ไม่ได้จำกัดจำนวน เพื่อให้ผู้ค้นหา Keyword เหล่านั้นสามารถค้นหาเว็บไซต์ของเราเจอง่ายขึ้น และแบรนด์สามารถกำหนดภาษาและสถานที่ในการนำเสนอสินค้าได้อีกด้วย ทำให้โอกาสในการขยายตลาดมีความเป็นไปได้สูง ว่าจะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้การใช้ ปุ่ม Call to Action ก็มีส่วนช่วยในการเพิ่มยอดคลิกและยอดขายได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

สรุป

การใช้เครื่องมือ Google Ad เพื่อช่วยในการโแรโมตสินค้า คือทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ปี2021 โดยมีข้อดีดังต่อไปนี้

  1. ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายค้นเจอเว็บไซต์ของเราง่ายขึ้น
  2. ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการโฆษณา
  3. ช่วยเลือกแพลตฟอร์มโฆษณาที่เหมาะสม
  4. ช่วยค้นหากลุ่มเป้าหมาย
  5. ใช้ Keyoword เพื่อให้ลูกค้าค้นหาเว็บไซต์เจอได้ง่ายขึ้น
  6. สามารถวัดผลได้
  7. เพิ่มโอกาสในการขายและขยายธุรกิจให้เติบโต

 

ข้อมูลจาก: 

adespresso

seotribunal

singlegrain

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Neuromarketing คืออะไร ? ทำไมนักการตลาดออนไลน์ควรใช้ เพื่อเข้าใจ "ความคิด" ของลูกค้า
7 เทคนิค Banner Ads ที่คุณไม่ควรมองข้าม เพื่อให้การโฆษณาของคุณดีขึ้น