5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อน Online Shopping

5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อน Online Shopping

คำถามที่นักการตลาด และ ผู้ประกอบการมักตั้งคำถามกันก็คือ เราจะขายของออนไลน์อย่างไร ให้คนเห็นเป็นต้องคลิก?

แน่นอนว่าก่อนที่สินค้าและบริการของแต่ละแบรนด์จะปล่อยออกมาในตลาดสู่สายตาคนบนโลกออนไลน์ จะต้องผ่านการผลิตที่ทีคุณภาพ การศึกษาเพื่อหาค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ช่องทางโปรโมตสินค้า และปัจจัยต่าง ๆ โดยการขับเคลื่อนทางธุรกิจนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ปี เพราะฉะนั้น STEPS Acedemy ขอนำเสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ที่สำคัญ ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้เราจะเน้นที่ 5 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการวางกลุยทธ์การขาย หรือ Shopping Online เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งองค์กรขนาดใหญ่ รวมทั้งธุรกิจ Startup นำปัจจัยเหล่านี้ไปพิจารณาเพื่อต่อยอดการวางแผนการตลาดดิจิทัลกันค่ะ

1 สร้างคอนเทนต์ที่เน้นผลลัพธ์ด้าน Conversion

การโปรโมตสินค้าไม่ว่าจะเป็นแบบออร์แกนิค หรือโฆษณา จุดประสงค์ที่สำคัญมาก ๆ นอกเหนือจากการสร้างการรับรู้แบรนด์ คือการที่ทีคนคลิกปุ่ม Call to Action เพื่อให้เกิดผลลัพธ์บางอย่างเช่น

  • การซื้อสินค้าทั้งบนเว็บไซต์ และบนโซเชียลมีเดียแลพตฟอร์มโดยตรง
  • การสร้าง Engagement เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนโพสต์ การแชร์บทความ และการแท็กเพื่อเพื่อบอกต่อ
  • การคลิกเพื่อรับสิทธ์ต่าง ๆ จากการโปรโมตสินค้า
  • การอ่านบทความ และดูรยาละเอียดเพิ่มเติม
  • การคลิกเพื่อดาวน์โหลดแอป

รูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์

การทำคอนเทนต์ในยุคดิจิทัลนั้นมีวิธีการสื่อสารได้หลายช่องทาง และหลากหลายรูปแบบ โดยในวันนี้เราจะเน้นที่ 4 รูปแบบหลัก ๆ นั่นก็คือ

1.1 คอนเทนต์รูปภาพ

นอกจากการโปรโมตสินค้า และบริการด้วยภาพที่น่าดึงดูดและ การสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับเทรนด์ในขณะนั้น และการสร้าง Message บางอย่างไปยังกลุ่มเป้าหมายก็สามารถสร้าง Conversion ให้แคมเปญขับเคลื่อนต่อไป

ตัวอย่างคอนเทนต์รูปภาพจากLego

Lego ออกแบบแคปเปญวันวาเลนไทน์ด้วยการสร้างกราฟิฟรูปหัวใจด้วยตัวต่อเลโก้ โดยแม้ว่าคอนเทนต์นี้จะไม่มีการคลิก หรือการสร้าง Call to Action ไปยังเว็บไซต์โดยตรง
ภาพจาก Instagram: Lego

Lego ออกแบบแคปเปญวันวาเลนไทน์ด้วยการสร้างกราฟิฟรูปหัวใจด้วยตัวต่อเลโก้ โดยแม้ว่าคอนเทนต์นี้จะไม่มีการคลิก หรือการสร้าง Call to Action ไปยังเว็บไซต์โดยตรง แต่ก็สามารถสร้าง Engagement การกดถูกใจ การบอกต่อ และการแท็กคนที่เรารักในช่วงเทศกาลได้เป็นอย่างดี

 

1.2 คอนเทนต์วิดีโอ

วิดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหวเป็นคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมไม่มีตก ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปแบบวิดีโอที่มีความยาว หรือคลิปวิดีโอสั้น ๆ ดังนั้นหากนักการตลาดกำลังมองหารูปแบบคอนเทนต์วิดีโอที่จะช่วยในการโปรโมตการขายออนไลน์ ควรพิจารณาวิดีโอสั้น ๆ ในแพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ เพื่อนำเสนอกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นที่ความสร้างสรรค์ ไอเดียการนำเสนอที่ไม่เหมือนใคร และการสร้างข้อความให้คนคลิกมายังเว็บไซต์ให้ชัดเจน

ตัวอย่างคอนเทนต์วิดีโอสั้น ๆ บน TikTok

ตัวอย่างวิดีโอคอนเทนต์จากรองเท้า New Balance ที่นำเสนอการใช้งานจริงจากการวิ่ง พร้อมด้วยการสร้างแคปชันที่สั้น แต่กระชับ รวมทั้งการแสดงปุ่ม Shop Now ที่ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการคลิก

ตัวอย่าง Call to Action บน TikTok

ตัวอย่าง Call to Action บน TikTok
ตัวอย่าง Call to Action บน TikTok

1.3 คอนเทนต์แบบ Longform บทความออนไลน์

แม้ว่าการทำการตลาดที่เน้นการชอปปิงออนไลน์อาจไม่ได้เน้นการสร้างบทความมากเสียเท่าไหร่ เนื่องจากคอนเทนต์ Longform เน้นไปที่การอ่าน การใช้เวลาทำความเข้าใจ แต่หากแบรนด์ไหนที่มีหน้าเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และมี Blog เพื่อนำเสนอบทความอยู่ในนั้น จะช่วยให้ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าและบริการของเรา มีความรู้ด้านตัวสินค้าของเราได้ดียิ่งขึ้น ใช้เวลากับเราบนหน้าเว็บไซต์มากขึ้น และเกิด Conversionจากการอ่านคอนเทนต์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ และการสแดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อบทความ หรือหัวข้อนั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ SEO อีกด้วย

คอนเทนต์แบบ Longform บทความออนไลน์
คอนเทนต์แบบ Longform บทความออนไลน์

1.4 คอนเทนต์แบบเสียง

สถิติจาก eMarketer เผยให้เห็นว่าคนชอบฟัง Podcast เพิ่มมากขึ้นจาก 44.5% ในปี 2019 จนปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้นโดยคิดเป็นร้อยละ 57
ภาพจาก eMarketer

ความจริงแล้วการทำคอนเทนต์เสียงไม่ใช่การโปรโมตแบรนด์ในรูปแบบใหม่แต่อย่างใด แต่ในยุคดิจิทัลนั้น เราสามารถทำการตลาดในช่องทางใหม่ ๆ ได้หลากหลายมากขึ้น นอกเหนือจากช่องทางสถานีวิทยุ ซึ่งรูปภาพด้านบนเป็นสถิติจาก eMarketer เผยให้เห็นว่าคนชอบฟัง Podcast เพิ่มมากขึ้นจาก 44.5% ในปี 2019 จนปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้นโดยคิดเป็นร้อยละ 57 ดังนั้นหากแบรนด์ไหนที่ต้องการทำคอนเทนต์เสียงเพื่อสื่อสารไปยังผู้ฟัง หรือต้องการทำโฆษณาเสียงแบบสั้น ๆ ลองหาช่องทางโซเชียลที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าของเรากันด้วยนะคะ

ตัวอย่างช่องทางการทำคอนเทนต์เสียง

  • Google Podcast
  • Apple Podcast
  • Spotify เป็นต้น

 

2 FOMO: โปรด่วน โปรดีที่ต้องรีบซื้อ

Fomo ย่อมาจาก Fear of Missing Out  ซึ่งความหมายของ FOMO ในมุมของการตลาดนั้น คือ กลยุทธ์ที่นำเสนอลูกค้าที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า เราอาจจะพลาดบางสิ่งไป เพื่อเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกไม่อยากเสียโอกาว และลงมือทำในสิ่งที่แบรนด์ต้องการ เช่น กดสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม FOMO เป็นเพียงจิตวิทยา ที่ทำให้ผู้พบเห็นโฆษณารู้สึกไม่อยากพลาดสิ่งๆนั้น รูปแบบของ FOMO จึงไม่ตายตัว แต่ละธุรกิจสามารถคิดค้นขึ้นมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแคมเปญโฆษณาของตนเองได้

กลยุทธ์การตลาดแบบ FOMOทำการตลาดอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้บริโภค FOMO

  • เน้นการทำคอนเทนต์แบบ Real-Time อยู่ในกระแสประเด็นร้อนในสังคม
  • Stories และ Live เป็นคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์เพื่อโปรโมตสินค้า และสั่งจองในช่วงเวลานั้น ๆ
  • การทำแคมเปญเน้นโปรโมชั่นที่พลาดไม่ได้ หรือการโฆษณาแบบสุดพิเศษที่มีเวลาเป็นข้อจำกัด จะทำให้กลุ่มคน Fomo ตัดสินใจซื้อได้ไวขึ้น

ตัวอย่าง Content แบบ FOMO

ภาพจาก trustmary.com
ภาพจาก trustmary.com

จากภาพด้านบนเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้อความที่มีการระบุว่า สินค้าเหลือเพียงหนึ่งชิ้นแล้ว ทำให้ผู้ที่กำลังจะติดสินใจซื้อรีบชำระเงินไวขึ้น

 

3 ระบบการส่งสินค้าไว ไม่ต้องรอนาน

อีกหนึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์คือระบบการส่งสินค้า ยิ่งลูกค้าได้สินเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้นโดยสถิติจากเว็บไซต์ junglescout ระบุว่า 48% ของนักชอปออนไลน์ยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้สินค้าส่งตรงมาถึงบ้านของตนได้ไวขึ้น และ 55% ของนักชอปออนไลน์ที่ซื้อสินค้าผ่าน Amazon ก็คำนึงถึงความไวของระบบขนส่งเช่นเดียวกัน ดังนั้น แบรนด์ไหนที่จะต้องส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค ควรคำนึงถึงความว่องไวของระบบขนส่ง และการการันตีคุณภาพเมื่อสินค้าถึงมือผู้รับผ่านเว็บไซต์ ก็จะช่วยให้ลูกค้าไว้วางใจแบรนด์ของมากขึ้น

ระบบการส่งสินค้าไว ไม่ต้องรอนาน
ภาพจาก howtogeek

ตัวอย่างหน้าการชำระสินค้าบนเว็บไซต์ Amazon ที่ระบุวันที่ ๆ สินค้าจะส่งถึงหน้าบ้านผู้รับ  พร้อมข้อเสนอที่สามารถเปลี่ยนวันส่งสินค้าได้ในกรณีที่ไม่มีผู้รับอยู่ที่บ้าน

 

4 ช่องทางบน Social Media ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

ปัจจจุบันผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีแอปพลิเคชันมากกว่า 1 แอป โดยจัดประสงค์ในการใช้แต่ละแอปนั้นก็แตกต่างกันออกไป เช่น การใช้ Instagram เพื่อสื่อสารกับเพื่อน และอัปเดตชีวิตส่วนตัว การเล่น TikTok เพื่อเสพสื่อความบันเทิง หรือการดู YouTube เพื่อติดตาม Influencer ที่ให้ความรู้ในแขนงที่ตนสนใจ ดังนั้น การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ให้ชัดเจน เพื่อเลือกช่องทางในการสื่อสารได้อย่างตอบโจทย์สำหรับธุรกิจในไทยนั้น แบรนด์ทั้งขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อมส่วนมากมีเพจบนเฟสบุคเป็นของตัวเองเพื่อใช้ในการโฆษณาสินค้า การติดต่อ และ การสั่งซื้อของ

อ่านบทความเพื่ออัปเดต Social Media ที่เหมาะกับธุรกิจออนไลน์: คลิกเลย

แพลตฟอร์มที่เหมาะกับการทำธุรกิจ Shopping Online ที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ตอบโจทย์กับธุรกิจขนาดเล็ก

3.1 Facebook

สำหรับธุรกิจในไทยนั้น แบรนด์ทั้งขนาดใหญ่ และ ขนาดย่อมส่วนมากมีเพจบนเฟสบุคเป็นของตัวเองเพื่อใช้ในการโฆษณาสินค้า การติดต่อ และ การสั่งซื้อของ ในปัจจุบันปี 2022 เราจะเห็นว่าระบบการสั่งซื้อ และ การชำระสินค้าสะวดกขึ้นมาก เรียกได้ว่าจ่าย จบ ครบที่แพลตฟอร์มเดียว

3.2 Instagram

Instagram มีฟีเจอร์ Instagram Shop ที่น่าสนใจในการขายสินค้าออนไลน์ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การขายสินค้าและการโฆษณาบน Instagram เป็นเรื่องง่าย ด้วยการโพสต์สินค้าและบริการผ่านแอคเคาท์ Business ที่เรามี ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับการโพสต์รูปภาพและวิดีโอผ่าน รวมไปถึงการโพสต์ Instagram การโพสต์สินค้าต่าง ๆ ผ่านหน้าโพรไฟล์สามารถทำได้ด้วยการคลิกที่ปุ่ม “Shop” ซึ่งเป็นแท็บด้านล่างรายละเอียดโพรไฟล์และไฮไลท์

Instagram Shopping

ภาพจาก: Instagram

3.3 TikTok

TikTok เป็นการทำการตลาดโดยใช้ วิดีโอสั้น ๆ เป็นตัวกลางหลักในการสื่อสาร ดึงความสนใจ เพื่อเชื่อมโยงไปยังช่องทางการขายของธุรกิจ และ ให้ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งการทำโฆษณาบนแอปพลิเคชั่นนี้ จะมีความพิเศษ และ แตกต่าง จากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วยการนำเสนอเป็นสื่อวิดีโอขนาดสั้นที่สามารถนำเสนอภาพลักษณ์ของธุรกิจ ได้อย่างกระชับ สร้างสรรค์ และ เป็นที่จดจำ ได้ในเวลาเดียวกัน

5 Data Marketing

การทำธุรกิจออนไลน์นั้นไม่มีทฤษฎี หรือกลยุทธ์ไหนที่ตายตัว เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาดไม่เหมือนกัน และ สินค้า และบริการของแต่ละแบรนด์นั้นมีจุดเด่นเฉพาะในแบบของตัวเอง สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการ Online Shopping ให้แบรนด์ก้าวต่อไปได้ในอนาคตคือการรู้จักตัวตนลูกค้า ซึ่งการเข้าถึงความต้องการ และเข้าใจปัญหาลูกค้าคือการมีข้อมูลอยู่ในมือ โดยข้อมูลเหล่านี้ แต่ละแบรนด์ย่อมมีความต่างกันออกไป ดังนั้น การทำ Data Marketing สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ในเชิงลึกว่ามีความต้องการอะไร มีพฤติกรรมแบบไหนในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้นักการตลาดสามารถนำเสนอสินค้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างตอบโจทย์ ทั้งในแง่ของการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย หรือการทำการตลาดแบบ Personalization แบบเฉพาะเจาะจง ดังนั้น การตลาดแบบเดิม ๆ อาจไม่ตอบโจทย์กับผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่ต้องการความไว และ มีความคาดหวังในตัวแบรนด์มากกว่าอดีต ซึ่งการที่นักการตลาดจะสามารถเข้าใจถึงเหตุผล ความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าได้ คุณจะต้องรู้จักใช้ข้อมูล และเครื่องมือที่เหมาะสม

 

ข้อมูลจาก

blog.hubspot

mageplaza

junglescout.

whiplash

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

Business Automation: เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน เปลี่ยนโฉมธุรกิจด้วย Automation
รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของ Social Commerce อย่างไร เพื่อดำเนินธุรกิจให้ไหลลื่นในปี 2022