8 เทคนิค สร้าง Call to action (CTA) ให้ลูกค้าอยาก”คลิก”มากยิ่งขึ้น

8-tactics-for-call-to-action

ก่อนที่เราจะเข้าสู่เทคนิคการสร้าง Call to action (CTA) เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า Call to action (CTA) คืออะไร? 

Call to Action หรือ CTA คือปุ่มในจุดสุดท้ายที่จะเปลี่ยนให้ผู้รับชมทั่วไป เข้ามาสู่กระบวนการคลิกเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เช่น สมัครสมาชิก ลงทะเบียน นำผู้ชมมายังเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งซื้อสินค้า มักจะเห็นกันในเว็บไซต์ หรือโฆษณาโซเชียลมีเดียต่างๆ และด้วย Call to Action คือปุ่มที่นำพาผู้ชมให้ทำบางสิ่งที่เป็นเป้าหมายของนักการตลาด จึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากสำหรับการตลาดออนไลน์

8-tactics-for-call-to-action

แต่แค่ปุ่ม Call to Action ปุ่มเดียว ไม่มีองค์ประกอบอื่นที่จะช่วยกระตุ้นให้คนตัดสินใจคลิกได้เลยนั้น เป็นไปได้ยากที่จะหวังผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้นการสร้าง Call to Action ให้คนอยากคลิกจึงมี 2 องค์ประกอบสำคัญหลักๆ นั่นก็คือ

  • Copywriting      : คำเขียนโฆษณา หรือคำอธิบาย ก่อนจะพาผู้ชมให้เกิดการคลิก ที่ปุ่ม Call to action
  • Call to action    : คำกระตุ้น หรือปุ่มกระตุ้น ให้เห็นแล้วอยากคลิก
8-tactics-for-call-to-action

ทั้ง 2 องค์ประกอบ จะต้องสนับสนุนกัน ช่วยพากันทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าอ่านแล้วอยากจะคลิก หรือยอมกดเพื่อรับสิ่งตอบแทนบางอย่างได้ ถ้าปุ่มโดดเด่นน่าสนใจ แต่ Copywriting ธรรมดา ก็ไม่ได้ทำให้คนมีความต้องการมากพอที่จะคลิก หรือในกรณีตรงกันข้าม ถ้ามีการเขียน Copywriting เชิญชวนที่ดี แต่ปุ่ม Call to action กลับคลุมเครือ ไม่โดดเด่น ไม่น่าสนใจ คนก็ไม่เกิดความรู้สึกอยากคลิกเช่นเดียวกัน

ในวันนี้ทาง Steps Academy จึงรวบรวมเทคนิคดีๆ ในการสร้าง Call to Action มานำเสนอ ทั้งส่วนของปุ่ม Call to Action เอง และส่วนของ Copywriting จะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันค่ะ

** ในบทความนี้เราจะใช้ CTA เป็นตัวย่อแทนคำเต็มคือ Call to Action เพื่อให้เกิดความกระชับมากขึ้นนะคะ

เทคนิคในส่วน Copywriting 

1. ใช้เทคนิค “Fear of Missing Out” เข้าช่วย

“FOMO” หรือ “Fear of Missing Out” คือความรู้สึกกลัวของคน ว่าจะพลาดบางสิ่งบางอย่าง เป็นจิตวิทยาที่สามารถทำให้ผู้คนตัดสินใจทำบางสิ่งเช่น ซื้อสินค้า ลงทะเบียน หรือคลิก ในช่วงขณะนั้นได้

หลักจิตวิทยาด้านความรู้สึกนี้ จึงทำให้ FOMO ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด ซึ่งความหมายของ FOMO ในมุมการตลาดนั้น คือ ข้อความหรือวิธีการใดๆ ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าจะพลาดบางสิ่งไป เพื่อเพิ่มโอกาสหรือแนวโน้มที่พวกเขาจะลงมือทำในสิ่งที่คุณต้องการ อย่างเช่น กดสั่งซื้อสินค้า เป็นต้นค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

 

ตัวอย่าง เทคนิค “FOMO” โดยใช้การกำหนดเวลา

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ตัวคอนเทนต์ใช้การกำหนดเวลาในลักษณะนับถอยหลัง กระตุ้นให้ผู้ชม เห็นแล้วอดใจไม่ได้ที่จะกด “Shop all” เพราะกลัวว่าอาจจะพลาดสินค้าลดราคาที่เราสนใจนี้ไปเสียก่อนค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : blog.dotdigital.com

 

ตัวอย่าง เทคนิค “FOMO” โดยให้รางวัลหรือของขวัญกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าก่อน (จำกัดจำนวนคน)

จากตัวอย่างใช้การกำหนดจำนวนคนว่า 100 คนแรกเท่านั้น ที่จะได้ส่วนลดและเครื่องดื่มฟรี เป็นการกระตุ้นให้คนอยากติดตั้งแอปเพื่อสั่งอาหารมากขึ้นในเวลานั้นค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : https://sleeknote.com/blog/fomo-marketing

อ่านเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ที่

 

2. ใช้เทคนิคไขข้อสงสัย หรือคลายความกังวลของลูกค้าลงไปในคำอธิบาย

ตัวอย่างที่มักพบเห็นได้บ่อยครั้ง คือผู้ชมไม่ตัดสินใจกด CTA เพื่อสมัครรับบริการบางอย่างฟรีๆจากธุรกิจคุณ เพราะยังมีความกังวลใจอะไรบางอย่าง ตัวอย่างเช่น ไม่แน่ใจว่ากดสมัครได้ฟรีจริงๆหรือเปล่า มีระยะเวลาจำกัดหรือไม่ มีรายละเอียดที่เป็นเงื่อนไขของบริการอยู่บ้างหรือเปล่า เราสามารถตั้งคำถามที่อาจจะเกิดขึ้นจากความสงสัยของลูกค้าขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นจึงบอกข้อมูลบางอย่างหรือตอบคำถามที่ช่วยคลายข้อสงสัยจุดนั้นๆลงไปใน Copywriting เพื่อนำพาให้ผู้ชมกดปุ่ม CTA ต่อได้ทันที อย่างไม่มีอะไรติดใจ

ตัวอย่างของ Netflix ที่ได้วิเคราะห์มาแล้วว่า ลูกค้ามีข้อสงสัยต่อสินค้าคือ

  • สามารถใช้ได้กับทุกอุปกรณ์หรือไม่ หรือใช้ได้เฉพาะแอปบนมือถือเท่านั้น
  • ถ้าหากทดลองรับชมแล้ว ไม่รู้สึกพอใจจนอยากใช้งานต่อ สามารถยกเลิกได้หรือไม่
  • ทดลองรับชมฟรี ได้ในระยะเวลาเท่าไหร่

จากข้อสงสัยดังกล่าว Netflix จึงได้นำมาใช้กับ Copywriting รวมถึง CTA ของโฆษณา โดยระบุว่า 

  • “Watch Anywhere” สามารถดูได้ทุกที่ (ทุกอุปกรณ์) 
  • “Cancel at Any Time” สามารถยกเลิกการสมัครได้ตลอดเวลา
  • “Join Free for a Month” รับชมฟรีได้ในระยะเวลาหนึ่งเดือน

เมื่อรายละเอียดครบถ้วนในไม่กี่ประโยคแบบนี้ จึงทำให้ผู้ชมเห็นแล้วตัดสินใจกด CTA เพื่อสมัครได้เร็วและง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : Netflix

 

3. ใช้ประสบการณ์ลูกค้าเก่า (Social Proof) การันตีให้เกิดความน่าเชื่อถือ

เป็นอีกเทคนิคยอดนิยมหนึ่ง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ชมในยุคปัจจุบันนี้มากๆ เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคเขามักจะเชื่อผู้บริโภคด้วยกันเอง เวลาจะซื้อสินค้าอะไรก็ตาม มักจะต้องดูรีวิวก่อน หรือถามความคิดเห็นจากคนรอบตัวที่เคยซื้อสินค้านั้นๆมาแล้ว

เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนี้ล่ะค่ะ จึงทำให้เราสามารถนำมาใช้ใน Copywriting ได้ ไม่ว่าจะเป็นการบ่งบอกว่าเรามีลูกค้ามาแล้วจำนวนมากเท่าไหร่ มีประสบการณ์มาแล้วมากแค่ไหนเพื่อให้ผู้ชมมั่นใจที่จะกดปุ่ม CTA ของเรามากขึ้น

ดังตัวอย่างด้านล่างก็เช่นเดียวกัน พวกเขาใช้จำนวนคนที่ติดตามมาการันตี โดยระบุใน Copywriting ว่า บล็อกของพวกเขานั้นมีสมาชิก หรือผู้กดติดตามอยู่มากถึง 80,000 คน เป็นการบ่งบอกทางหนึ่งว่า เว็บบล็อกของเขานั้นมีประโยชน์ต่อผู้อ่านจริงๆ ถึงมีคนติดตามอยู่จำนวนมาก ซึ่งผู้ติดตามเหล่านั้น จะได้รับบทความดีๆในทุกๆสัปดาห์ด้วย

เห็นแบบนี้เราก็ยิ่งมั่นใจในบล็อกนี้มากขึ้น และอยากจะกดสมัครเพื่อรับข้อมูลดีๆอย่างสมาชิกคนอื่นบ้างใช่ไหมล่ะคะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : Positivity Blog

 

4. นำเสนอรายละเอียดตรงไปตรงมา ว่าคลิกแล้วได้อะไร และดียังไงบ้าง

แน่นอนว่าก่อนที่คนจะตัดสินใจคลิก หรือทำการสมัครอะไรก็ตาม มักจะต้องรู้ให้แน่ใจก่อนว่า จะต้องได้บางสิ่งบางอย่างกลับไป ถึงจะยอมคลิก

ดังนั้นการบอกรายละเอียดของสิ่งที่ผู้ชมจะได้รับ เหตุผลที่ควรสมัคร รวมถึงประโยชน์ที่จะได้ ลงไปใน Copywriting เลย ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกสนใจของผู้รับชมได้ 

สำหรับเทคนิคนี้ คุณอาจจะตั้งคำถามก่อนว่า ผู้ชมที่มาเห็นนั้นจะมีความคาดหวังอะไร จุดไหนของสินค้า บริการหรือเนื้อหาใดที่ผู้ชมอยากรู้และให้ความสนใจ เพื่อที่จะนำเสนอในส่วนนั้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดความอยากคลิกมากขึ้น

ดังตัวอย่างสินค้าของโปรแกรม Grammarly ที่ใช้เทคนิคนี้ แสดงประโยชน์ของโปรแกรมอย่างชัดเจนว่า 

  • Save Your Valuable Time : ช่วยประหยัดเวลาอันมีค่าของคุณในการทำงาน
  • Write Effectively Today     : ช่วยให้งานเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่งเป็นการโน้มน้าวผู้อ่านที่ดีอีกวิธีหนึ่งก่อนที่จะให้ผู้ชมกดดาวน์โหลด

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : Grammarly

 

5. ใช้เนื้อหาในลักษณะ “ท้าทาย” กระตุ้นความสนใจ

ในบางครั้งเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้การร้องขอให้ผู้ชมคลิกแค่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น ลองเปลี่ยนมาใช้คำในลักษณะ “ท้าทาย” ให้เกิดความสนใจอยากจะเอาชนะดูบ้างก็ได้

เทคนิคนี้เป็นหลักทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง “เราจะรู้สึกอยากทำอะไรบางอย่างขึ้นมามากกว่าเดิม เมื่อเราถูกท้าทาย” “และเราจะให้ความสนใจมากขึ้น เมื่อเราค้นพบว่ายังบรรลุสิ่งนั้นไม่ได้” วิธีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อกระตุ้นผู้ชมใน Copywriting ได้

ดังตัวอย่างของ Nerd Fitness ที่ใช้เทคนิคนี้ ท้าทายผู้ชมให้ลองก้มลงแตะที่นิ้วเท้าดูดังรูป เพื่อให้ทดสอบความยืดหยุ่นของร่างกาย เชื่อว่าหลายคนที่เห็นคอนเทนต์นี้จะต้องลองทดสอบดูแน่ๆ และแน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ออกกำลังเพิ่มความยืดหยุ่นจะแตะไม่ถึงนิ้วเท้าตัวเอง แล้วค้นพบความจริงว่าร่างกายเรานั้นไม่ยืดหยุ่นเอาเสียเลย เป็นการจูงใจให้พวกเขามองเห็นปัญหาของตัวเอง และนำพาเข้าสู่บริการของแบรนด์ได้อย่างแยบยลมากๆค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : Nerd Fitness

 

6. สร้างความอยากรู้ด้วย “คำถาม”

วิธีหนึ่งในการเพิ่มความสนใจของคอนเทนต์ คือการดึงดูดด้วยคำถาม ซึ่งคำถามนั้นจะต้องตรงกับสิ่งที่ผู้ชมสนใจ และตรงกับความเชี่ยวชาญของเราด้วย เทคนิคนี้มักจะใช้เพื่อให้ผู้ชมกรอกรายละเอียดบางอย่างเพื่อแลกกับคำตอบของคำถามนั้น

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการให้คนกรอกที่อยู่อีเมลเพื่อให้คุณสามารถสร้าง Email List หรืออีเมลรายชื่อผู้ติดตามที่ให้ความสนใจกับแบรนด์ได้ คุณสามารถถามคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณเชี่ยวชาญอยู่ จากนั้นคุณก็ให้คำตอบสำหรับคำถามนั้นแก่ผู้ถาม แต่ขอให้ผู้กรอกทำการส่งรายละเอียดเป็นการแลกเปลี่ยนก่อนที่จะได้คำตอบที่ต้องการ

ดังตัวอย่างด้านล่างของ MeetEdgar เว็บไซต์เครื่องมือในการจัดการด้านโซเชียลมีเดีย ที่ดึงดูดคนด้วยคำถามง่ายๆอย่าง “Want to double your traffic?” “คุณต้องการเพิ่มทราฟฟิกหรือจำนวนผู้เข้าชมโซเชียลมีเดียของคุณให้มากขึ้นแบบเท่าตัวบ้างหรือเปล่า” เป็นการใช้คำถามเพื่อดึงดูดคนที่สนใจในเรื่องนี้ ซึ่งตรงกับความเชี่ยวชาญของเว็บไซต์ที่จัดการด้านนี้โดยตรงด้วย 

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : Leadpages

 

เทคนิคในส่วน ปุ่ม CTA 

ต่อมาเป็นส่วนของปุ่ม Call to Action ซึ่งเป็นจุดที่คนกดคลิกกันบ้าง มาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้างค่ะ

7. เลือกสีที่ทำให้ปุ่ม CTA โดดเด่นออกมา ให้ผู้ชมเห็นชัดเจนว่านี่คือปุ่มให้คลิก

มองผิวเผินเทคนิคนี้อาจจะดูธรรมดาๆ ทั่วไป แต่จริงๆแล้วมีความสำคัญต่อการคลิกมากๆ หลายคนหลงลืมให้ความสำคัญในจุดนี้ไป ถ้าเรามองข้ามการเลือกใช้สีของปุ่มที่ดี คนเข้ามาเห็นคอนเทนต์โฆษณา แต่แยกไม่ออกว่าปุ่มคลิกอยู่ตรงไหน ก็ไม่มีมีประโยชน์ ดังนั้น CTA จึงต้องโดดเด่น เห็นแล้วรู้ทันทีว่า สามารถกดคลิกได้ 

ลักษณะโดยทั่วไปที่คนเห็นแล้วรู้ว่า “คลิกได้” คือ

    • ใช้กรอบสี่เหลี่ยม ที่มีเลเยอร์แตกต่างจากพื้นหลังรอบๆ
    • มีขอบเขตของปุ่มที่ชัดเจน
    • มีพื้นที่ว่างรอบข้างให้เห็นปุ่มได้ชัดขึ้น
    • ใช้สีของปุ่มให้ตัดกับพื้นหลัง ไม่ใช้สีพื้นๆอย่างสีดำ สีขาว สีเทา

จากตัวอย่างที่เราเห็นผ่านๆมา รวมถึงตัวอย่างด้านล่างนี้ จะเห็นว่าปุ่ม CTA จะมีการใช้สีที่โดดเด่น มักจะเป็นจะใช้กรอบสี่เหลี่ยมแบ่งขอบเขตที่ชัดเจน ระหว่างปุ่มและพื้นหลัง รวมถึงเว้นระยะรอบๆกรอบให้เห็นปุ่มดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้นด้วยค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : crazyegg.com

 

8. Get Creative : สร้างสรรค์คำกระตุ้นใหม่ๆ

บางครั้ง CTA ธรรมดาๆ สำหรับให้คนคลิกเพื่อดำเนินการซื้อ หรือลงทะเบียนอย่าง “Buy” “Register” ที่ใครๆก็ใช้ อาจจะดูน่าเบื่อเกินไป ลองปรับเปลี่ยนคำใหม่ๆ ที่อาจจะไม่ได้ตรงไปตรงมาถึงการกระทำที่ต้องการ แต่ใช้คำใกล้เคียงอื่นๆที่ดึงดูดให้เกิดผลลัพธ์เหมือนกัน

ดังตัวอย่างข้างล่างที่ปรับเปลี่ยนคำมาใช้ “It’s a need.” แทน “Shop now” สองคำนี้มีจุดประสงค์เดียวกัน คือต้องการให้คนซื้อกางเกงตัวดังกล่าว แต่พวกเขาเลือกที่จะใช้คำที่สื่อในอีกมุมหนึ่งว่า กางเกงตัวนี้จำเป็นสำหรับคุณนะ เพราะเหมาะกับสัดส่วนร่างกายของทุกคน แทนที่จะใช้คำเดิมๆตรงๆคือการบอกผู้ชมว่า ซื้อกางเกงตัวนี้สิ ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนคำใหม่ๆ ที่น่าสนใจค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : AYR

ด้านล่างเป็นอีกอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ปุ่ม “Take a quiz” นำพาให้ลูกค้าไปเลือกแบบแว่นที่เหมาะกับตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ไม่ใช่แค่การบอกให้เราคลิกเข้าไปเพื่อซื้อของเพียงอย่างเดียว แต่ทำให้พวกเขารู้ว่าตัวเองสามารถเลือกในสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการได้ เป็นการใช้คำอื่นที่สร้างสรรค์แทนการใช้คำแบบเดิมๆ ได้ฉลาดมากค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : Warby Parker

มากันที่อีกตัวอย่างสุดท้าย ที่ใช้คำสร้างสรรค์ในเชิงบวก อย่าง “Say Hello” เพื่อทำให้เกิดอารมณ์อยากคลิก เป็นการใช้ถ้อยคำที่ไม่ทำให้รู้สึกถูกบังคับให้ต้องคลิกมากจนเกินไป เป็นคำง่ายๆที่เราเห็นแล้ว รู้สึกสบายใจที่จะคลิกมากขึ้นค่ะ

8-tactics-for-call-to-action

ที่มา : Madwell

และนี่ก็คือเทคนิคที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด ของการสร้างสรรค์ Call to Action ให้คนอยากกดคลิกมากขึ้น มีทั้งส่วนของ Copywriting และส่วนของ CTA หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคน ให้นำไปปรับใช้กับคอนเทนต์ โฆษณา รวมถึงการขายสินค้าในช่องทาง E-commerce ของทุกคน ให้ผู้ชมคลิกมากขึ้น ยอดขายเพิ่มมากขึ้นกันทุกคนนะคะ

 

ที่มา

https://shanebarker.com/blog/call-to-action/

https://www.crazyegg.com/blog/call-action-buttons/

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

ใช้ "คอนเทนต์" จากลูกค้า โปรโมทแบรนด์แบบไม่เสียเงิน ด้วย User-Generated Content
Customer Journey สิ่งสำคัญที่นักการตลาดและผู้ประกอบการต้องรู้ !!