ในโลกยุคดิจิตอล หลายธุรกิจเริ่มเข้ามากินส่วนแบ่งในตลาดผ่านการทำการตลาดออนไลน์ บางบริษัทประสบความสำเร็จ บางบริษัทได้ไม่คุ้มเสีย หรือจ้างเอเจนซี่หลักแสนหลักล้านแต่ไม่สามารถสร้างยอดขายได้เลย ซึ่งวันนี้ทีม STEPS จะแบ่งปันข้อผิดพลาดที่มักจะได้ยินจากเจ้าของกิจการในการเริ่มทำการตลาดออนไลน์ดังนี้
1.สร้าง แบรนด์ ไม่เสร็จ
หลายคนที่อ่านข้อนี้แล้วคงอยากจะรีบไปข้อถัดทันที่ แต่เดี๋ยวก่อน คำว่า แบรนด์ ของคุณคืออะไร ใช่เพียงเรื่องแค่ตั้งชื่อกับเลือกโลโก้หรือป่าว ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่าคุณเดินมาผิดซอย ในความเป็นจริงถ้าสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ โครงสร้างของแบรนด์คุณเรียกได้ว่าสำเร็จไปแล้วเกินครึ่ง
1.1 Target audience
คือกลุ่มลูกค้าที่คุณต้องการจะขายของให้
กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คุณคือใคร เช่น คุณแม่ที่อยู่บ้านคนเดียว นักศึกษาที่พึ่งจบใหม่ กลุ่มผู้ชายทำงานออฟฟิตช่วงอายุ 25-30 ปี เป็นต้นในการสร้างแบรนด์ต้องคิดถึงเสมอว่าคุณต้องการจะสื่อสารกับใคร การเดินทางของผู้บริโภคเป็นยังไง อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่
1.2 Core value
คือคุณค่าที่แบรนด์ของคุณสามารถมอบให้กับลูกค้า
คุณอยากให้คนมองแบรนด์ของคุณเป็นแบบไหน สิ่งที่แบรนด์คุณจะต้องทำให้ได้คืออะไร ความชัดเจนของสิ่งที่คุณจะทำ เพราะไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบโลโก้ การสื่อสารต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะสอดคล้องกับภารกิจที่แบรนด์ได้ตั้งไว้
ยกตัวอย่างแบรนด์ที่ทุกคนรู้จักกันดี คือ starbucks เป็นแบรนด์ร้านกาแฟที่มีมากกว่า 15,000 สาขาทั่วโลก และสิ่งที่ starbucks เป็นคือ “the third place” ซึ่งเป็นสถานที่ที่ 3 ที่ทำให้คนนึกถึงนอกจากที่ทำงานและบ้าน แล้วแบรนด์ของคุณจะวางตัวตนให้รู้ค้ารู้สึกกับแบรนด์แบบไหน
1.3 Unique
ความแตกต่างที่เป็นจุดแข็งที่แบรนด์คุณมี
อะไรทำให้แบรนด์ สินค้าหรือบริการของคุณแตกต่างจากอย่างอื่น จุดเด่นที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายของคุณต้องมาใช้บริการของคุณคืออะไรตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่ทาน โค้ก ส่วนใหญ่จะไม่ทาน เป็ปซี่ กลุ่มคนที่ทาน เป็ปซี่ ก็เช่นกัน และแต่ละคนก็ล้วนมีเหตุผลเป็นของตัวเอง
1.4 Logo & Tagline
คือสัญลักษณ์และคีย์เวิดที่บอกถึงตัวตนของแบรนด์คุณ
Logo & Tagline สามารถทำให้คนจดจำได้ง่ายหรือไม่ สอดคล้องกับ mission ที่คุณตั้งไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น
ถ้าเห็นเพียงเท่านี้ภาพในหัวของคุณก็สามารถบอกได้เลยว่านี้คือ Apple
หรืออีกหนึ่งตัวอย่างในกรณีของ Tagline
แค่มองผ่านตาคุณก็ทราบแล้วใช่ไหมครับว่าคือแบรนด์อะไร
1.5 Brand character
คือตัวตนที่แบรนด์คุณสื่อสารออกมา
การวางตัวตนสำหรับการพูดคุย การโต้ตอบกับกลุ่มลูกค้าของคุณยังไง ทั้งในด้านออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งทั้งหมดนี้ทุกคนในองค์กรต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถ้ายกตัวอย่างคุณลองนึกถึงเครือข่ายโทรศัพทืที่คุณเข้าไปใช้บริการดูได้ครับ
2.ไม่มีความรู้ในการเจรจากับผู้เชี่ยวชาญ
เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือที่เรียกว่า เอเจนซี่ มากขึ้นทำให้ผู้ประกอบการมีตัวเลือกในการใช้บริการได้มากขึ้น การเลือกเอเจนซี่ เพื่อร่วมงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทราบคือ
1.ความเชี่ยวชาญของเอเจนซี่ ว่าถนัดงานรูปแบบไหน
2.ผลงานที่เคยทำงาน ทั้งหมด
3.สามารถวัดผล KPI ได้ยังไงบ้าง
4.เงื่อนไขการส่งงาน
ในวันก่อนที่จะเข้าไปคุยงานกับเอเจนซี่ คุณจะต้องมีการเตรียมผลลัพธ์ที่คุณต้องการจะได้เพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาของทั้งสองฝ่าย
ข้อควรระวัง ไม่ควรนำไอเดียที่เอเจนซี่เสนอ มาทำเอง เพราะจะทำให้คุณดูไม่ดีในระยะยาว
3.ไม่มีความรู้เรื่องของ KPI
KPI (Key Performance Indicator) คือ ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน
เครดิตภาพ https://www.facebook.com/digitalmarketingacademythailand/
CPM (Cost per thousund impression) เป็นจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายต่อ 1000 การมองเห็น จะถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายที่เรากำหนด
CTR (Click through rate) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่บอกถึงคนที่สนใจต่อคนที่มองเห็น ยิ่งมี เปอร์เซนต์ที่เยอะมากเท่าไหร่หมายความว่าคนให้ความสนใจใน แคมเปญนั้นๆที่เราทำ
CPC (Cost per click) คือจำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่อ 1 การคลิกซึ่งราคาจะแตกต่างกันตามธุรกิจ ซึ่งการคลิกนี้จะไม่นับรวมการมองเห็น
CVR (Conversion rate) เป็นเปอร์เซนต์ ที่ใช้วัดคนที่ซื้อของต่อคนที่เข้ามาเยี่ยมชมสินค้าของเรา มีค่าตัวเลขเท่าไหร่ก็จะเป็นตัวที่ใช้บอกถึงความคุ้มค่าของ CPC ที่จ่ายไป
CPA (Cost per action) เป็นค่าที่สำคัญที่สุดเพราะจะเป็นตัวที่กำหนดว่ากำไรหรือขาดทุน ซึ่งค่านี้จะคำนวนจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทำแคมเปญต่อจำนวนคนที่ซื้อสินค้าหรือบริการของเรา
ทั้งหมดนี้คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดผลประกอบการ สามารถอ่านเพื่อทราบถึงเครื่องมือที่เหลือได้ ที่นี่
ในความสำคัญของ KPI นอกจากวัดเรื่องของผลประกอบการแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์ หรือทำการสื่อสารกับทาง Agency ได้อีกด้วย
4.ทำ Website แค่ให้รู้ว่ามี
กระบวนการสร้างเว็บไซต์ ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของความน่าเชื่อถือเพียงเท่านั้น เว๊บไซต์ยังสามารถเป็นตัวช่วยเก็บฐานข้อมูลลูกค้าได้อีกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้รูปแบบการจัดวางบนเว๊บไซต์จะต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของผู้บริโภคด้วยเช่น ลักษณะการคลิกเพื่อค้นหาข้อมูล การวางปุ่ม Log in ลักษณะการกดโฆษณาที่อยู่บนเว๊บไซต์ เป็นต้น
กระบวนการทำ เว๊บไซต์ ที่ดี มีดังนี้
1 ต้องสามารถมีช่องทางที่เก็บข้อมูลของลูกค้าได้ เช่น E mail เพื่อที่สามารถเสนอโปรโมชั่นให้ได้ในอนาคต
2 ใช้งานง่าย อ่านง่าย ดูสะอาดตา ในการออกแบบต้องใช้มุมมองของลูกค้าเป็นหลัก
3 การเข้าใช้งานต้องรวจเร็วสามารถตรวจสอบได้โดย developers.google.com
4 พยายามทำให้เว๊บไซต์ติด SEO ลำดับต้นๆ อ่านเพิ่มเติม
5.ทำการตลาดเพียงด้านเดียว
หมายความว่าแบรนด์ของคุณควรที่จะทำตลาดทั้ง offline และ online ไปพร้อมๆกัน เนื่องจากยุคสมัยนี้ ไม่มีเส้นกั้น ระหว่าง offline – online เพราะเมื่อคนเจอแบรนด์ของคุณบนโลกออนไลน์เขาจะตามหาว่าคุณมีตัวตนหรือไม่ เช่นกัน ถ้าคนเจอคุณแบบออฟไลน์ไม่ว่าจะผ่านตาหรือจากเพื่อนเขาจะตามหาคุณบนโลกออนไลน์
เพราะฉนั้นคุณคนทำการตลาดทั้งสองทางเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่จะเข้ามา
อ้างอิง
- http://freshsparks.com/successful-brand-building-process/
- https://www.apple.com/ac/structured-data/images/open_graph_logo.png?201703170823
- https://www.seeklogo.net/wp-content/uploads/2013/04/nike-just-do-it-vector-logo.png