ข้อดีของการทำการตลาดออนไลน์นอกจากจะรู้เป้าหมายได้อย่างแม่นยำแล้ว อีกข้อหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยก็คือ มันสามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการตลาดแบบดั้งเดิม (โฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์) ซึ่งการวัดผลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับเจ้าของธุรกิจนั้นจำเป็นต้องรู้ว่า สิ่งที่คุณลงทุนในการทำการตลาดออนไลน์ไปนั้น มันคุ้มค่าหรือไม่กับผลตอบรับที่ได้กลับมา
1. Engagement บน Website
เว็บไซต์ เปรียบเสมือนหน้าบ้านของเรา ดังนั้นหากใครที่คิดจะลุยการตลาดออนไลน์แบบจริง ๆ จัง ๆ แล้วล่ะก็ จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดในการทำ Digital Marketing และนี่คือ KPI ที่คุณสามารถใช้ในการวัดผลกับเว็บไซต์ได้ โดยในขั้นแรกสุด ให้คุณติดตั้งตัวเก็บสถิติบนเว็บไซต์ของคุณ โดยใช้เครื่องมือ Google Analytics
- Unique Visitor : จำนวนคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณโดยไม่ซ้ำกัน ยกตัวอย่างเช่น หากมีจำนวน Traffic ถูกส่งมายังเว็บไซต์คุณจำนวน 100 วิว แต่อาจจะเป็นยอดวิวจากคนที่ไม่ซ้ำกันเพียง 80 คน ซึ่ง Google Analytics สามารถแยกแยะได้ เพราะหากคุณสามารถหาผู้คนเข้าเว็บไซต์ได้เยอะก็จริง แต่เมื่อลองมาดูจำนวน Unique Visitor ก็อาจจะมีจำนวนคนไม่เยอะอย่างคิด
- Opt-in Registration : จำนวนการลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิพิเศษบนเว็บไซต์ กล่าวคือ คุณสามารถนำข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ เพื่อแลกกับข้อมูลการติดต่อของลูกค้า เช่น กล่องลงทะเบียนเพื่อขอรับ eBook หรือ Coupon เพื่อแลกกับชื่อ เบอร์ติดต่อ และอีเมล์ ของผู้มุ่งหวัง เพื่อนำไปสู่การปิดการขายในขั้นต่อ ๆ ไป เป็นต้น
- Return Visitor : เนื่องจาก Google Analytics นั้น จะเก็บข้อมูลได้จากเลข IP หรือเลขประจำตัวของแต่ละอุปกรณ์ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ ดังนั้น ตัวเลข Return Visitor หรือ ผู้เข้าชมคนเดิม มีอัตราการกลับมาเยี่ยมชมซ้ำ บ่อยแค่ไหน นั่นหมายถึงว่า ยิ่งมีจำนวนเยอะ ก็แสดงให้เห็นถึงการมีผู้ติดตามขาประจำเพิ่มมากขึ้น แฟนคลับเยอะขึ้น นั่นเอง
- Time spent on website : ค่าเฉลี่ยในการใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณนานเท่าใด มันสามารถบ่งชี้ได้ว่า ยิ่งคนอยู่บนเว็บไซต์ของคุณนานเท่าใด นั่นแสดงให้เห็นถึงการที่คนกำลังใช้งาน อ่านบทความ หรือเสพย์ Content ต่าง ๆ หรือเลือกชมสินค้าต่าง ๆ ของคุณนานขึ้น แสดงว่าข้อมูลบนเว็บไซต์ของคุณมีประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม จึงทำให้ใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณเป็นระยะเวลาเพิ่มขึ้น สิ่งนี้ยิ่งเยอะ ยิ่งส่งสัญญาณให้กับ Google รับทราบว่า ข้อมูลบนเว็บไซต์ของคุณมีประโยชน์ และส่งผลให้ข้อมูลของคุณ มีโอกาสในการติดอันดับผลการค้นหาเป็นอันดับต้น ๆ บน Google อีกด้วย
- Popular pages : หน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ ซึ่ง Google Analytics สามารถระบุได้เลยว่า เว็บไซต์หน้าใด มีคนเข้าเยี่ยมชมเท่าไหร่ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณทราบว่า Content ใดบนเว็บไซต์ของคุณที่กลุ่มผู้ชมชอบมากเป็นพิเศษ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณรู้พฤติกรรม และปรับเปลี่ยนแนวทางการทำ Content ตามที่กลุ่มเป้าหมายชอบให้มากขึ้นได้
2. แหล่งที่มาของ Traffic
เนื่องจากวิธีการหา Traffic สามารถทำได้หลากหลายวิธีมาก แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้คนเหล่านั้น มาจากที่ใด หากคุณทำการหา Traffic หรือจำนวนคนเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ด้วยกัน 10 วิธี คุณอาจจะต้องเลือกเพียง 3 วิธี ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีและคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งการวัดผลนี้ สามารถใช้ Google Analytics วัดผลได้เช่นเดียวกัน
- Direct traffic : จำนวนที่ผู้คนเข้าเว็บไซต์คุณโดยตรง โดยการพิมพ์ชื่อ URL เว็บไซต์ของคุณผ่าน Browser เช่น www.YourDomainName.com เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึง จำนวนผู้คนที่จดจำชื่อเว็บไซต์ของคุณเพิ่มมากขึ้น
- Referral traffic : จำนวนผู้คนที่เข้าผ่านมายังเว็บไซต์อื่น ๆ
- Organic traffic : ออการ์นิค ทราฟฟิค คือ การที่ผู้คนเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณผ่าน Search Engine เช่น ผู้คนค้นหาบางอย่างบน Google แล้วคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ
- Campaign traffic : Google สามารถสร้างลิงค์เชื่อมโยงเฉพาะแคมเปญที่คุณจัดทำขึ้นได้ ดังนั้น หากคุณทำแคมเปญออนไลน์ จงแบ่งการสร้างลิงค์เชื่อมโยงแต่ละแคมเปญออกจากกันเพื่อที่จะได้วัดผลได้ว่า แคมเปญใดของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด
- Bounce rate : Bounce rate คือ “The percentage of single-page sessions” ซึ่งแปลได้ว่า “สัดส่วนของการเข้าชมเว็บไซต์เพียงหน้าเดียว” ซึ่งถ้าผลลัพธ์ของเลขนี้มีสูง นั่นหมายถึงว่า มีคนเข้าเว็บไซต์ของคุณแล้วอ่านเพียงหน้าเดียว ไม่เข้าไปอ่านหน้าอื่น ๆ เลย (แสดงให้เห็นว่าผู้คนไม่สนใจข้อมูลอื่น ๆ บนเว็บไซต์ของคุณเลย) ดังนั้น การที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันภายในเว็บไซต์ของคุณเอง จะช่วยให้ค่านี้ลดลง ซึ่งนั่นหมายถึง คนสนใจข้อมูลอื่น ๆ ภายในเว็บไซต์ของคุณด้วยนั่นเอง
3. แคมเปญออนไลน์
- CPM : CPM ย่อมาจาก “Cost Per 1000 impressions” (ต้นทุนต่อการแสดงผลพันครั้ง) ผู้โฆษณาที่ใช้โฆษณาแบบ CPM จะตั้งราคาที่ต้องการต่อการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้ง
- CPC : Cost Per Click คือ การจ่ายเงินคลิกต่อคลิก ทุกครั้งที่เราลงโฆษณา จะถูกคิดเงินค่าโฆษณาก็ต่อเมื่อมีคนคลิกที่โฆษณานั้น
- CTR : Click Thought Rate คือ อัตราส่วนที่แสดงว่าผู้ที่เห็นโฆษณาของคุณคลิกโฆษณาบ่อยเพียงใด คุณสามารถใช้อัตราการคลิกผ่าน (CTR) เพื่อวัดประสิทธิภาพของคีย์เวิร์ดและโฆษณาได้ คำนวณได้โดย นำจำนวนคลิกที่โฆษณาของคุณได้รับหารด้วยจำนวนครั้งที่โฆษณาปรากฏ หรือก็คือ คลิก ÷ การแสดงผล = CTR เช่น หากคุณได้รับคลิก 5 ครั้งและมีการแสดงผล 1,000 ครั้ง CTR จะเท่ากับ 0.5%
- CPA : Cost Per Action จะจ่ายเงินต่อเมื่อมี Action หรือการกระทำอะไรสักอย่าง ตามแต่ที่คนลงโฆษณากำหนด เช่น กรอกแบบฟอร์ม, การสมัครสมาชิก, การซื้อสินค้า ฯลฯ แล้วค่อยจ่ายเงินค่าโฆษณา
4. วัดผลบน Social Media
- Engagement – การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับแบรนด์ ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่า Content ที่แบรนด์คุณนำเสนอไปนั้น กลุ่มผู้ชมมีส่วนร่วมกับโพสต์นั้น ๆ หรือไม่ หากพบว่าผู้คนไม่ค่อยมีส่วนร่วม คุณก็จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน Content ให้เหมาะสมกับกลุ่มคน หรือหากกลุ่มคนนั้น ๆ ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายก็จำเป็นที่จะต้องค้นหากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ตรงกับสินค้าหรือบริการของคุณ
- Click : จำนวนการคลิก
- Like : จำนวนการไลค์
- Share : จำนวนการแชร์
- Comment : จำนวนการคอมเม้นท์
- Reach – จำนวนการเข้าถึงผู้คนทั้งหมด ซึ่งอาจจะมีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนร่วมกับแบรนด์ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนมาติดตามแฟนเพจของคุณแล้วกดแชร์ไปยังหน้าเฟสบุ๊คส่วนตัวของเขา จึงทำให้เพื่อน ๆ ของเขาเห็นโพสต์นั้นเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เพื่อน ๆ ของเขาจะสนใจในสิ่งที่เขาแชร์ไป เพียงแค่เห็นว่าเขาแชร์มาก็เท่านั้น
- Follower/Subscriber/Fan : หากเป็นค่า Reach บนแฟนเพจ Facebook โดยปกติแล้ว Organic Reach หรือการเข้าถึงแบบธรรมชาติจากแฟนเพจจะมีอัตราส่วนอยู่ที่ประมาณ 1% ของจำนวนแฟนเพจที่มากดไลค์ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น หากแฟนเพจมีคนกดไลค์จำนวน 100 ไลค์ ก็จะมีคนเห็นอย่างน้อย ๆ ประมาณ 1 คน เป็นต้น แต่หากจำนวนสูงขึ้นก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ติดตามหรือแฟน ๆ ของคุณ เข้ามามีส่วนร่วมกับคุณมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
- Impression : จำนวนครั้งที่ผู้คนมองเห็นโพสต์ของคุณ อาจเป็นคนเดิมก็ได้ และอีกเช่นกัน ตัววัดผลนี้ แสดงถึงจำนวนที่มีคนมองเห็นโพสต์ของคุณ แต่อาจเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ หรือผ่านตาเฉย ๆ เท่านั้น ซึ่งถ้าโพสต์มีการ Engagement ที่ดี ก็จะทำให้ค่า Impression นี้สูงขึ้นตามไปด้วย
- Leads – จำนวนรายชื่อผู้มุ่งหวัง ที่มีโอกาสกลายมาเป็นลูกค้าในอนาคต สามารถวัดผลได้ชัดเจนว่า แคมเปญหรือ Content ที่คุณสร้างขึ้นมานั้น สามารถหารายชื่อผู้ที่สนใจในสินค้าหรือบริการของคุณ
- Conversions – คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของผู้คน โดยสามารถวัดค่านี้ได้หลายแบบ ตามแต่สถานะของผู้คน ณ ขณะนั้น เช่น จากคนแปลกหน้าเปลี่ยนไปเป็นผู้เยี่ยมชม, จากผู้เยี่ยมชมเปลี่ยนไปเป็นผู้มุ่งหวัง, จากผู้มุ่งหวังเปลี่ยนไปเป็นลูกค้า และจากลูกค้าเปลี่ยนไปเป็นลูกค้าซื้อซ้ำ เป็นต้น
5. Conversion Rate ของ Landing Page
Landing Page คือหน้าหนึ่งของเว็บไซต์ ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะผู้คน เช่น เปลี่ยนจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้กลายมาเป็นผู้มุ่งหวัง ดังนั้น การวัดค่า Coversion Rate ของ Landing Page นั้นก็คือ อัตราการเปลี่ยนสถานะดีหรือไม่ ยิ่งสูงยิ่งดี ยกตัวอย่างเช่น หากหน้า Landing Page มีผู้เยี่ยมชมเข้ามาเป็นจำนวน 100 คน และมีคนลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิพิเศษเป็นจำนวน 10 คน ดังนั้น Conversion Rate จะอยู่ที่ 100/10 ผลลัพธ์คือ 10% นั่นเอง ซึ่งหากคุณมีการปรับเปลี่ยนหน้า Landing Page ให้ดียิ่งขึ้น หรือหาจำนวน Traffic ได้มากขึ้น ก็จะส่งผลต่อค่า Conversion Rate ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
6. Organic Searches
ในที่นี้จะหมายถึงการที่ผู้คนพิมพ์คำค้นหาบน Google แล้วคลิกลิงค์ผ่านผลการค้นหามายังเว็บไซต์ของเรา ซึ่งคุณสามารถทำให้เกิดโอกาสในการติดอันดับผลการค้นหาเป็นอับแรก ๆ บน Google ได้โดยการทำ Search Engine Optimization (SEO) ซึ่ง Traffic ที่มาจาก Google นั้น ก็สามารถวัดผลได้ว่า มันสามารถนำไปสู่การปิดการขายได้อีกด้วย
7. Mobile Traffic
แน่นอนว่าในปัจจุบันผู้คนเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต โน้ตบุ๊ค มากกว่าการเข้าถึงผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ดังนั้นหากคุณติดตั้ง Google Analytics ก็สามารถระบุได้ชัดเจนเลยว่า กลุ่มผู้ชมของคุณมาจากอุปกรณ์ใด โดยสามารถระบุได้ถึงขนาดยี่ห้อและระบบปฏิบัติการเลยว่า Traffic มาจาก iOS หรือ Androind Apple หรือ Samsung เป็นต้น
และนี่ก็คือ KPI ทั้ง 7 แบบ ที่คุณสามารถใช้ในการวัดผลในการทำ Digital Marketing ได้ โดยผลลัพธ์จากตัวเลขจะทำให้คุณทราบว่า มันคุ้มค่ากับการที่คุณได้ลงเงิน ลงแรงไปหรือไม่ และสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงที
Resources
- https://www.linkedin.com/pulse/7-most-important-digital-marketing-kpis-track-rameshwar-thakur
- https://www.impactbnd.com/blog/8-social-media-kpis-you-should-track-and-monitor
- http://bit.ly/2rGg2ku
- https://support.google.com/