นักการตลาดอาจสังเกตได้ว่า เมื่อเวลาค้นหาข้อมูลบางอย่างบน Google พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่ที่มักจะเลือกคลิกเข้าเว็บไซต์ ที่ปรากฏอยู่ในหน้าแรกเสมอ ๆ และ โอกาสที่จะคลิกถัดไปที่หน้าอื่น ๆ ค่อนข้างมีน้อยมาก ดังนั้นการทำให้เว็บไซต์ขึ้นมาติดอันดับบน SERP หรือหน้าแรกของการค้นหาผ่าน Google (ซึ่งย่อมาจาก Search Engine Results Pages) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการทำธุรกิจ เพื่อให้คนเข้าถึงหน้าร้านออนไลน์ได้ง่ายที่สุด และ สะดวกที่สุด
ในส่วนของบทความนี้ STEPS Academy ได้มีการรวบรวมเทคนิคการทำ SEO เพื่อยกระดับเว็บไซต์ของคุณให้สามารถติดอันดับการค้นหาบน Google มากยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งเป็นในส่วนของเรื่อง
- การเพิ่มอัตราการคลิก
- การเพิ่มประสิทธิภาพให้คอนเทนต์
- เทคนิคการทำ SEO
- การสร้าง Link อย่างไรให้เว็บไซต์ของคุณนั้น มีการถูกจัดลำดับการแสดงบน Search Page ที่สูงขึ้น
การเพิ่มอัตราการคลิก
แม้ว่าเว็บไซต์ของคุณอาจจะไม่ได้ติดอันดับสูงมาก แต่ว่าการทำ SEO จะทำให้ได้การคลิกเข้าถึงมากขึ้น
ซึ่งเทคนิคที่ช่วยเพิ่มอัตราการคลิก สามารถสร้าง Traffic ให้กับเว็บไซต์ได้ โดยจะทำให้อัตราการคลิกบนเว็บไซต์ของเราสูงขึ้น ทำให้ค่า CTR และ Position บนเว็บไซต์เรามีจำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
1. สร้าง Favicon
Favicon เป็นการนำคำว่า Favorite และ Icon มารวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะนำไป ใช้เป็นโลโก้ของเว็บไซต์ขนาดเล็ก เพื่อสร้างจุดสนใจ ให้คนที่ทำการหาข้อมูลบนหน้าค้นหาของ Google เกิดการสังเกตเห็นได้ง่าย สร้างความแตกต่าง และ ที่สำคัญคือ ยังสามารถช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ เป็นตัวช่วยในการเพิ่มโอกาสการคลิกเข้าถึงคอนเทนต์ของเราได้มากยิ่งขึ้น
ภาพตัวอย่างจากบนหน้าการค้นหาที่เว็บไซต์มีการใส่ Favicon
2. การปรับปรุง Breadcrumb
Breadcrumb จะสามารถบอกเราได้ว่า เราอยู่ในหน้าไหน หรือส่วนไหนในเว็บไซต์เมื่อเราคลิกมายังเว็บไซต์นั้น ๆ แล้ว โดย Google จะแสดง Breadcrumb ทั้งในผลการค้นหาบนเดสก์ท็อป และ บนมือถือ ซึ่งสามารถส่งผลต่ออัตราการคลิก
สิ่งที่นักการตลาดสามารถทำได้ หรือ สิ่งที่เราสามารถปรับปรุงในส่วนนี้ได้ ก็คือ ต้องมั่นใจว่า Google จะแสดงผล Breadcrumb ที่เราต้องการแสดง การใช้ Keyword ที่เราเลือก และต้องตรวจสอบว่าเรามี Breadcrumb บนเว็บไซต์พร้อมกับลิงก์เสมอ
3. Meta Descriptions
ในส่วนของ Meta Description จะเป็นคำอธิบาย หรือ ประโยคสั้น ๆ ต่อจาก Headline เมื่อมีการค้นหา ซึ่งควรมีการใช้คำอธิบายที่มี Keyword ตรงกับที่ผู้คนกำลังค้นหาจริง ๆ อีกทั้ง การสร้างประโยคให้น่าสนใจ สร้างความดึงดูดสายตาผู้อ่าน จะช่วยให้คนคลิกเข้ามาอ่านคอนเทนต์ในเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้น และอีกหนึ่งเทคนิคที่ดี คือ การทำให้ Meta Descriptions นั้นมีความกระชับ ได้ใจความ และ ไม่ยาวจนเกินไปจนอาจถูกซ่อนเป็น ‘…’
ตัวอย่าง Meta Description ควรมี Keyword สำคัญ และประโยคไม่ยาวจนเกินไป
4. การแสดงตัวเลขบนหัวข้อ
นอกจากการสร้าง Meta Description แล้ว ในส่วนของ Titles หรือ หัวข้อ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งหากคอนเทนต์นั้น ๆ มีการใส่ตัวเลขที่สำคัญบนหัวข้อของคอนเทนต์ (Title Tags) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดึงดูดความน่าสนใจในการคลิก Google ก็จะช่วยดันคอนเทนต์ของคุณให้อยู่เป็นอันดับต้น ๆ ของการค้นหาขึ้นไปอีก เช่น
- ตัวเลขที่แสดงถึงราคาโปรโมชั่น
- ตัวเลขอัปเดตใหม่ปีล่าสุด
- ตัวเลขที่แสดงยอดบางอย่างที่น่าสนใจ เป็นต้น
ตัวอย่างการใส่ตัวเลขบนหัวข้อ เพื่อดึงความสนใจให้คนคลิกมายังเว็บไซต์
5. <Title> Boilerplate
Boilerplate เป็นข้อความที่อยู่ในส่วนของ Title Tags ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ได้ใหม่ ในบริบทที่คล้าย ๆ กัน โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงมาก ซึ่งข้อความเหล่านั้น มักเป็น Keyword ที่เราต้องการนำเสนอไปยังผู้อ่าน
เช่น ในบทความของ STEPS Academy เราก็มักจะใส่ Keyword “ STEPS Academy ” ลงไปเกือบทุกครั้ง บนหัวข้อ และ เรามักจะใส่ Keyword คำว่า “เพิ่มยอดขาย” ที่มักได้รับความนิยม หรือมีคนคลิกเข้ามายังเว็บไซต์
แต่เมื่อเราพบว่า การสร้างหัวข้อให้ดูกระชับ และดูจับใจความได้ดีกว่า ไม่จำเป็นต้องมีคำว่า “สร้างยอดขาย” ก็ได้ แถมยังทำให้อัตราการคลิก (CTR) เพิ่มสูงขึ้นด้วย ดังนั้นเราจึงนำ Keyword บางตัวที่อยู่บน Boilerplate ออกเพื่อให้เกิน Conversion ที่ดีขึ้นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม นักการตลาดจะต้องทำการวัดผล และ วิเคราะห์ Data ด้วยเพื่อให้แน่ใจว่า การนำ Keyword บางตัวออกจาก Boilerpate ทำให้คอนเทนต์นั้น ๆ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ภาพตัวอย่างบนหน้าแสดงผลการค้นหา ที่ทางเว็บไซต์ MOZ นำ Keyword (“Whiteboard Friday”) บน Boilerplate ออก
6. การสร้างฟีเจอร์ FAQ และ How To
ในส่วนนี้ ถ้าหากเราเคยทำการค้นหาเกี่ยวกับอะไรบางอย่าง จะพบว่ามีฟีเจอร์ต่าง ๆ ปรากฎบนหน้าการค้นหา ถึงแม้ว่าเว็บไซต์จะไม่ได้อยู่ติดในอับดับสูงสุดของ Result Page แต่จะทำให้ผู้คนสามารถสังเกตได้ง่าย เพราะการเพิ่มฟีเจอร์เหล่านี้เข้าไปจะช่วยให้ พื้นที่ที่แสดงบนหน้าการค้นหา มีขนาดกว้าง เป็นจุดสนใจ และประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ตรงกับที่ผู้ค้นหาต้องการ ทำให้รู้สึกที่จะอยากคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ การเพิ่มฟีเจอร์เหล่านี้จึงมีโอกาสที่จะได้รับ Reach มากกว่าเว็บไซต์อื่น ๆ
ภาพตัวอย่างจากบนหน้าการค้นหาที่เว็บไซต์มีการเพิ่มฟีเจอร์ FAQ
การเพิ่มประสิทธิภาพให้คอนเทนต์
7. นำคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูง มาโพสต์ใหม่อีกครั้ง
วิธีนี้เป็นการ Repost คอนเทนต์เก่าที่เคยได้รับความสนใจ ไม่ว่าเคยเผยแพร่ไปแล้วเมื่อ 1 – 2 ปี หรือนานมากกว่านั้น ซึ่งในส่วนของขั้นตอนการทำ SEO นี้ จะเป็นการนำคอนเทนต์มาอัปเดตเนื้อหาเพิ่มเติมเข้าไปใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับความเป็นปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ในบางคอนเทนต์ สามารถเห็นเปอร์เซ็นการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น 500% ถึง 1,000% เลยทีเดียว เพียงแค่ทำการ Relaunch หรือ Repost เนื้อหาเก่าบางส่วนของเว็บไซต์ใหม่ให้มีการตอบโจทย์ที่ดี และเป็นประโยชน์มากกว่าเดิม
8. เพิ่ม Internal Link ในบทความ
วิธีที่จะเพิ่มอันดับอย่างรวดเร็วให้เว็บไซต์ โดยหลัก ๆ นอกจากการทำ Title Tags และ Meta Descriptions แล้ว การที่จะทำให้เกิดการคลิกมากขึ้น คือการสร้าง Link เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการลิงก์ระหว่างบทความ เพื่อให้คนอ่านใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของเรามากขึ้น และยังส่งผลให้เว็บไซต์ของเรานั้น ได้รับความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ภาพตัวอย่างการสร้าง Internal Link เพิ่มในบทความ เพื่อให้คนอ่านสามารถคลิกไปยังคอนเทนต์ที่ทำการลิงก์ไว้ได้
9. อัปเดตคอนเทนต์เก่าได้ด้วยการเพิ่มลิงก์ใหม่ ๆ
เป็นเทคนิคการอัปเดตคอนเทนต์เก่าที่อยู่บน Blog ของเราด้วยการเพิ่มลิงก์จากคอนเทนต์ใหม่ ที่เราสร้างขึ้น อย่างเช่น เราสามารถเลือก Keyword ที่สำคัญที่อยู่ในคอนเทนต์ว่ามีอะไรบ้างที่น่าสนใจ และน่าอัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ ซึ่งเราอาจจะใช้เครื่องมือ Google Search Console เข้ามาช่วย
จากนั้น ให้เราเติมลิงก์ใหม่ ๆ เข้าไปใน Keyword ที่เราต้องการจะสร้าง SEO ซึ่งลิงก์ใหม่ ๆ เหล่านั้นเป็นบทความใหม่
วิธีการเลือกหาคีย์เวิร์ดมาใช้เพื่อสร้างการจัดอันดับให้สูงขึ้น สามารถใช้เครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบอย่าง Keyword Explorer เพื่อดู Keyword บนหน้าอื่น ๆ ในเว็บไซต์มีอันดับอย่างไร จากนั้นเพิ่มลิงก์ไปยังคอนเทนต์ใหม่ไปยังหน้าเหล่านั้น และช่วยลดการเกิด Bounce Rate ได้
10. นำลิงก์ที่ไม่จำเป็นออกจากคอนเทนต์
Google มีระบบอัลกอริทึมที่สามารถตรวจสอบได้ว่า เว็บไซต์ หรือ คอนเทนต์ ไหนบ้าง ที่ไม่มีคนคลิกเข้าไป ซึ่งหากเราทราบว่าคอนเทนต์ใด ๆ ก็ตาม ที่เรามีอยู่บนหน้าเว็บไซต์ไม่มีความจำเป็นกับบทความ หรือ ไม่มีความสำคัญที่จะต้องทำการเชื่อมลิงก์ภายในเว็บไซต์ ก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเพิ่มลิงก์เหล่านั้นเข้ามา ซึ่งเราอาจเคยได้ยินคำว่า
PageRank Sculpting หรือ กลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์เพื่อหยุดการส่งผ่าน PageRank Authority หรือการเชื่อมต่อไปยังหน้าที่ไม่สำคัญ หรือหน้าที่ไม่ต้องการ Rank ภายในเว็บไซต์ เพื่อให้คอนเทนต์นั้น ๆ ถูกจัดลำดับสูงขึ้นบนหน้า SERP
11. ตรวจสอบลิงก์ของเว็บไซต์บนมือถือ
เป็นการตรวจสอบว่าเพื่อให้แน่ใจว่าลิงก์ในเว็บไซต์ที่ใช้งานบนมือถือ เหมือนกับลิงก์บนเว็บไซต์บนเดสก์ท็อป เนื่องจากมีเหตุการณ์ของเว็บไซต์มากมายที่ปรากฏลิงก์บนการใช้งานของเดสก์ท็อป แต่ว่าในขณะเดียวกัน ลิงก์ของเว็บไซต์ที่แสดงอยู่บนมือถือมีจำนวนลิงก์ที่ลดลง และ บางครั้งไม่มีลิงก์ให้เห็น ดังนั้น สิ่งจำเป็นที่ควรมีการตรวจสอบให้ชัดเจน ว่าลิงก์ที่ได้สร้างขึ้นมานั้นมีจำนวนเท่ากัน จากการเข้าถึงทั้งสองช่องทาง
จากรูปภาพนี้จะสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า ลิงก์ต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อเทียบกับจำนวนที่แสดงผลการค้นหาบนโทรศัพท์มือถือจะมีจำนวนลดลงจากจำนวนที่แสดงบนคอมพิวเตอร์
12. เน้นทำคอนเทนต์แบบ Longform
โดยทั่วไปบทความในรูปแบบขนาดยาว หรือ Longform จะช่วยให้ได้รับผลลัพท์ที่มากขึ้นในเชิงศักยภาพในการจัดอันดับ SEO เนื้อหาแบบบทความยาวจะได้รับถูกลิงก์และถูกแชร์มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะมีอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหาของ Google
13. สร้าง Headline 2 และ 3 นอกเหนือจากหัวข้อหลัก
เมื่อมีการทำ Longform Content นอกจากที่ต้องตั้งชื่อเรื่องหลักแล้ว ควรมีการตั้งชื่อรอง เพื่อเป็นการแบ่งเนื้อหาบทความให้รู้สึกอ่านได้ง่าย ไม่ยาวติดกันจนเกินไป ซึ่งเราเรียกกันว่า หัวข้อรอง (H2) และ หัวข้อย่อยในบทความ(H3)
โดยการแบ่งเนื้อหารูปแบบนี้จะทำให้เราสามารถใส่ Keyword เพิ่มไปในแต่ละหัวข้อได้ และยังสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องตามบริบทของคอนเทนต์ได้อีก นับว่าเป็นวิธีที่ดี วิธีหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพในการจัดอันดับให้เว็บไซต์สูงขึ้นได้
ตัวอย่างการใส่ชื่อในหัวเรื่อง H2 และ H3
14. จัดประเภทคอนเทนต์ที่คล้าย ๆ กันให้เป็นหมวดหมู่
หากจะทำ SEO เว็บไซต์ ควรมีคอนเทนต์ในเรื่องที่มีหมวดหมู่เรื่องราวที่ใกล้ ๆ กัน เพื่อเป็นการสร้างการเชื่อมโยงเนื้อหาของแต่ละคอนเทนต์เข้าด้วยกัน เนื่องจากผู้คนกำลังอ่านบทความต่าง ๆ และอาจสนใจบทความอื่น ๆ จากเว็บไซต์ของเราด้วย ซึ่งจะทำให้ได้รับการมีส่วนร่วมมากขึ้น
15. แสดงหน้าบทความ ที่จะเข้าถึงได้ทันที
ก่อนหน้านี้ที่ผู้เขียนได้เสนอเทคนิคการทำ Internal Link ในบทความเพื่อเชื่อมไปยังคอนเทนต์ใหม่ ๆ ซึ่งเราอาจจะเคยเห็น Keyword อย่าง ‘กดอ่านเพิ่มเติม’ เพื่อเชื่อมไปยังหน้าคอนเทนต์เหล่านั้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่ควรทำก็คือ การสร้างหน้าต่างใหม่ สำหรับบทความนั้น ๆ ไปเลย โดยที่ผู้ใช้เว็บไซต์ไม่ต้องกดกลับไปกลับมาย้อนหลัง และไม่ทำให้ “เวลาที่ใช้ในเว็บไซต์” มีระยะเวลาที่สั้นลง
เทคนิคการทำ SEO
16. โฟกัสที่ Core Web Vitals
Core Web Vitals เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการจัดลำดับของเว็บไซต์ ที่ Google จะคอยให้คะแนนเว็บไซต์ และวัดมาตรฐานด้านประสบการณ์ของผู้ใช้งานต่อการแสดงผลของหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น ความเร็วเว็บไซต์ และ การนำเสนอหน้าเว็บที่มีประสิทธิภาพ
ถ้าหากได้มีการใช้โปรแกรม WordPress อยู่แล้ว ควรมีการใช้ Cloudflare ร่วมด้วย โดยเฉพาะ APO สำหรับ WordPress จะเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเพิ่มความเร็วของเว็บไซต์ และช่วยให้สามารถทำคะแนนได้ดีขึ้นสำหรับ Core Web Vitals เหล่านี้
17. ลดขนาด Sitemap ให้เหลือ 10,000 URLs
Sitemap ถ้าเรียกกันแบบตรงตัวก็คือ แผนผังเว็บไซต์นั่นเอง ซึ่ง Sitemap สามารถบอกได้ว่าในแต่ละหน้ามีรายละเอียดอะไรบ้าง และมีหน้าไหนเชื่อมกับหน้าใดอยู่ ซึ่งการใช้แผนผังเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็กลง และจำกัด URL จาก 50,000 เป็น 10,000 สามารถปรับปรุงความสามารถในการรวบรวมข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ โดยทาง Google ให้ความสำคัญกับปัจจัยภายใน หรือโครสร้างเว็บไซต์ (Crawl Aability) ที่สามารถเอื้อให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
18. สร้าง Sitemap หรือการทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรต่อการค้นหา
แน่นอนว่าก่อนที่เราจะมีหน้าเว็บไซต์ให้ได้ใช้งานกันจะมีการสร้างระบบ Sitemap เพื่อจัดเก็บลิงก์ให้เป็นหมวดหมู่ หรือการจัดระเบียบแผนที่เว็บไซต์ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา เสมือนหน้าสารบัญ
หากเว็บไซต์ของเรามีการจัดเรียง Sitemap ที่ดี มีมาตรฐาน ก็จะทำให้เจ้า Bot ของ Google ที่เข้ามาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการ Search Engine รู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีจำนวน URL เท่าไหร่ และมีหน้าต่าง ๆ รวมกันทั้งหมดกี่หน้า ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ยิ่งเว็บไซต์เรามีการอัปเดต มีข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ก็จะเพิ่มโอกาสให้เราขึ้นไปอยู่บนผลการค้นหาที่สูงขึ้น
การสร้างลิงก์
19. ทำคอนเทนต์ SEO ที่เน้นหลัก E-A-T
การใช้หลัก E-A-T เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ โดยเป็นการให้เครดิตกับ บทความ ผู้เขียนบทความ หรือ เว็บไซต์ ที่นำมาใช้อ้างอิงข้อมูลของบทความของเรา เพราะว่าการสร้างคอนเทนต์ขึ้นมา สิ่งสำคัญก็คือ ควรมีข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ และ ระบุที่มาที่ไปได้อย่างชัดเจน ซึ่งการนำหลัก E-A-T มาใช้ จะเป็นการช่วยให้ Google จัดลำดับของเว็บไซต์ของเราสูงขึ้นได้
20. ตรวจสอบ Link Intersect
Link Intersect คือวิธีการตรวจสอบว่า คอนเทนต์ หรือข้อมูลที่เราทำขึ้นมานั้น ถูกเชื่อมไปยังเว็บไซต์คู่แข่งเราหรือไม่ ทำให้คุณทราบว่า ใครที่ทำ Backlink กลับมายังเว็บไซต์ของคุณ ด้วยการใช้เครื่องมือทางการตลาด
21. คอนเทนต์จากเว็บไซต์เราคือคลิกสุดท้ายของการค้นหา
ในข้อสุดท้ายนี้ จะเป็นในเรื่องของความพึงพอใจของผู้ใช้ที่คลิกเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี หากคนที่คลิกเข้ามายังเว็บไซต์นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะหาสิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์พวกเขาได้ ซึ่งเท่ากับว่าคอนเทนต์ของเรานั้นได้ตอบสนองกับสิ่งที่ค้นหาอย่างเหมาะเจาะ ให้คุณค่า และประโยชน์ กับผู้ที่คลิกเข้ามายังเว็บไซต์นั่นเอง
ข้อมูลจาก:
https:// moz.com