Meta กลายเป็นกระแสที่ใคร ๆ ก็พูดถึงในโลกออนไลน์กันอีกครั้ง เมื่อในงาน Facebook Connect 2021 Mark Zuckerberg
CEO ชื่อดังจาก Facebook ประกาศรีแบรนด์ชื่อบริษัทใหม่โดยใช้ชื่อว่า Meta เพื่อเดินหน้าพัฒนา Community ในโลกเสมือนแห่งอนาคต และ เชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันแม้ว่าอยู่คนละพื้นที่โดยที่เราเรียกมันว่า Metaverse
การเปลี่ยนแปลงของ Facebook นับจากนี้ Mark ได้เผยว่าต้องการให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านโลกเสมือนอย่าง Metaverse โดยเน้นมุ่งหน้าไปที่การพัฒนาเทคโนโลยี และแอปพลิเคชันที่ใคร ๆ ก็เคยคิดว่าล้ำสมัย ให้กลายเป็นเรื่องจริงที่จับต้องได้ด้วย AR และ VR อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในโลกดิจิทัล และ ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในจินตนาการอีกต่อไป
1 Meta คือชื่อใหม่ของ Facebook หรือไม่?
ความจริงแล้ว Meta คือชื่อบริษัทที่ได้ทำการรีแบรนด์ใหม่ แต่แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ยังคงอยู่ภายใต้บริษัท ยังคงชื่อเดิมเอาไว้ โดยแอปเหล่านี้ คือการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เราคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็น
- Messenger
- Portal
- Novi
2 สื่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้
Meta มีแนวคิดมาจาก Metaverse หรือโลกเสมือนจริง ซึ่งสิ่งที่ Meta ต้องการสร้างขึ้นคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ผู้ใช้สามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และเชื่อมต่อถึงกันได้แม้ว่าไม่ได้อยู่ใกล้กัน และทำให้สิ่งที่คนเคยจินตนาการเอาไว้ กลายเป็นนวัตกรรมที่จับต้องได้ ใช้งานได้จริงมากขึ้น โดยมีประเด็นหลัก ๆ ดังนี้
1 Feeling of Presence
Feeling of Presence คือการสร้างโลกเสมือนที่ผสมผสานความเป็น AR และ VR เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่ง Mark ได้เผยว่าจุดประสงค์นั้นไม่ได้ต้องการให้ผู้ใช้งานใช้เวลาบนโลกโซเชียลนานขึ้น แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งาน รู้สึกถึงประสบการณ์ที่มีความเป็นธรรมชาติ ในช่วงใช้เวลาที่เคยใช้อยู่แล้ว
ในโลกเสมือนนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถแบ่งปันพื้นที่ดิจิทัล และ ประสบการณ์ร่วมกันได้ในสถานที่ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งใน Space Room ที่เป็นห้องกลางอวกาศ เพื่อเล่นเกม หรือพูดคุยกัน
Concept ของ Metaverse
ภายใน 5 – 10 ปีที่กำลังจะมาถึง Metaverse มีแผนพัฒนาแนวคิดแห่งอนาคตให้เป็นจริง โดยประกอบไปด้วย
- Presence
- Avatars
- Home Space
- Teleporting
- Interoperability
- Privacy and Safety
- Virtual Goods
- Natural Interfaces
ในแง่มุมของการตลาด สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร
- การสร้างห้องประชุมของทางบริษัท ด้วยการใช้ร่าง Avatar เป็นคาร์แคเตอร์ในโลกเสมือน
- การสร้างพื้นที่ดิจิทัลที่ผสมผสานระหว่างคาร์แรคเตอร์ที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นและตัวผู้ใช้งานจริง ๆ เข้าไปอยู่ในโลกของ Virtual Reality ซึ่งพื้นที่ ๆ ร่วมแบ่งปันกันตรงนี้เราสามารถใช้เป็นงานอีเวนต์จัดสัมนาพิเศษ
2 Horizon World
หากใครได้ดูวิดีโอจาก Facebook ล่าสุดคุณจะเห็นว่า Mark ได้เดินไปยังพื้นที่ต่าง ๆ รอบบ้าน แต่หากลองดูดี ๆ อีกที บ้านที่เค้ากำลังอยู่ในตอนนี้มันคือ โลกเสมือนจริง ที่ค่อนข้างสมจริงเอามาก ๆ
Horizon World คือโลกจำลอง ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างขึ้นมาเพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยเราสามารถสร้างตัวละคร Avatar ที่เป็นตัวเราเองได้ในโลกเสมือนนี้ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น
- การชมคอนเสิร์ตแบบ Virtual
- การจัดงานวันเกิดแบบ Virtual Event
ในแง่มุมของการตลาด สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร
- ในอนาคต หากแบรนด์ออนไลน์ต้องการสร้างงานอีเวนต์ให้ปัง และแตกต่างจากงานอีเวนต์แบบ Virtual ทั่วไป Horizon World คือประตูสู่งานอีเวนต์ที่ทำให้โลกเสมือนกลายเป็นจริง และทำให้ผู้ใช้งานเข้าใกล้กันมากขึ้น
- ตัวอย่างแบรนด์ที่นำหน้าไปสู่โลกเสมือนแล้วก็มี Balenciaga ที่เริ่มสร้างเกมที่ให้เราสามารถเป็นตัวละครในโลก Avatar ได้ โดยแคมเปญนี้มีชื่อว่า Afterworld: The Age of Tomorrow เพื่อโปรโมตเสื้อผ้าในคอลเลคชันฤดูใบไม้ร่วง 2021 ซึ่งแบรนด์อื่น ๆ อย่าง Animal Crossing ก็เคยใช้ไอเดียแนวนี้โปรโมตเสื้อผ้าผ่านตัวละครในเกมด้วยเช่นกันค่ะ
3 เครื่องมือต่าง ๆ แบบ 3 มิติ
เครื่องมือต่าง ๆ ในโลกของ Metaverse สามารถใช้ได้ และนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างปฏิสัมพันธ์ในโลกดิจิทัลกับผู้อื่นได้ เช่น
การเล่นดนตรี การเล่นปิงปองแบบไลฟ์สตรีม และ การเล่นหมากรุกในรูปแบบโฮโลแกรม
ในแง่มุมของการตลาด สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร
แนวคิดการเป็นเจ้าของสิ่งของต่าง ๆ หรือ ทรัพย์สินใจโลกของ Metaverse ในปัจจุบันเริ่มมีหลาย ๆ แบรนด์ผุดไอเดียทำธุรกิจกันไปบ้างแล้ว ตัวอย่างเช่น
- NFT (Non-Fungible Token) ที่เป็นชื่อของ Cryptocurrency
- การซื้อบ้านที่อยู่บนดาวอังคารของโลกเสมือนในราคาที่สูงพอ ๆ กับบ้านจริงด้วยการใช้เงินดิจิทัล
4 Quest 2
คือรุ่นของแว่นตา VR จาก Oculus แบบไร้สายในเครือของ Facebook ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อสร้างโลกเสมือนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเล่นเกม การเต้นรำ และการออกกกำลังกาย
ในแง่มุมของการตลาด สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร
- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย และการเทรนนิ่งส่วนตัว
- การสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อรับมือในการทำงาน เช่น การเทรนนิ่งพนักงาน การสร้างห้องการเรียนรู้
- ตัวอย่างภาพด้านล่าง เป็นการใช้ Oculus Quest 2 เทรนพนักงานต้อนรับโดยการจำลองสถานการณ์เมื่อเจอกับลูกค้า
- Disney ก็ได้ใช้ Oculus พัฒนาโลก Star Wars เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษในโลกเสมือนที่มีชื่อว่า Star Wars: Tales From the Galaxy’s Edge
5 Project Cambria
Metaverse มุ่งหน้าพัฒนา Project Cambria หรือ VR Headset ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างความรู้สึกในโลกจริงให้เข้ากับโลกเสมือนด้วยการใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ และ อัลกอริทึมที่ล้ำสมัยมาสร้างตัวละครให้เหมือนผู้ใช้งาน ทั้งสีหน้า ความรู้สึก และสีผิว
ในแง่มุมของการตลาด สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร
- Project Cambria สามารถต่อยอดการทำงานในโลกเสมือนได้ด้วยการสร้างห้องประชุมในโลกดิจิทัล โดยที่ผู้ใช้งานสามารถแสดงอารมณ์ ท่าทางได้เช่นเดียวกับที่ผู้ใช้งานแสดงออก ซึ่งโปรเจคนี้เป็นการต่อยอดการประชุมออนไลน์ ให้มีสีสันมากขึ้น
6 Project Nazare
Nazare คือโปรเจคที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งของ Meta ที่ต้องการสร้างนวัตกรรมแว่นตาแบบ AR เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ใช้ โดยแว่นตาอัจฉริยะตัวนี้ สามารถนำโลกเสมือนมาผสมผสานให้เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อสื่อสารกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการตอบแชทสนทนา การเล่นเกม
สรุป
โลกเสมือนจริงที่ใคร ๆ คิดว่าล้ำสมัย กลายมาอยู่ในยุคสมัยของเราแล้วในปี 2021 โดย Meta หรือ Facebook มีจุดประสงค์รีแบรนด์เพื่อให้ชื่อของบรษัทนั้นสอดคล้องกับแนวคิด และ สิ่งที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในมุมของธุรกิจ และ ตัวผู้ใช้งานเองที่จะก้าวสู่ความเป็น Virtual Reality และ ได้นำนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปปรับใช้กับแบรนด์ และหากทาง Meta มีความเคลื่อนไหว และข่าวอัปเดตที่น่าสนใจเพิ่มเติม ทาง STEPS Academy จะนำบทวามมานำเสนอคุณผู้อ่านอีกครั้งค่ะ
ที่มา
realestate.com.au
เพจ Meta
vrscout.com