สิ่งที่คุณต้องเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ในโลก Digital

สิ่งที่คุณต้องเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ในโลก Digital

นอกจากการสร้างแบรนด์ที่สำคัญกับธุรกิจแล้ว เรามักจะพบเห็นคำว่า กลยุทธ์ (Strategy) ตามหน้าสื่อธุรกิจหรือตามหนังสือการตลาดอยู่บ่อยครั้ง บางคนอาจนึกสงสัยว่า จริง ๆ แล้วคำนี้หมายถึงอะไรกันแน่ หากเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน จะพบว่า “กลยุทธ์ หมายถึง การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม วิธีการใช้กลอุบายต่าง ๆ หรือเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้”

แล้วกลยุทธ์ Digital Marketing คืออะไร ?

หากอธิบายให้พอเข้าใจโดยสังเขป Digital Marketing Strategy คือ การทำการตลาดออนไลน์ โดยเลือกใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ เพื่อดำเนินงานการตลาดให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบัน และบรรลุเป้าหมายที่ผู้ประกอบการและนักการตลาดต้องการ เช่น

  • สร้างการรับรู้ สร้างความจดจำตราสินค้า (Brand Awareness)
  • นำไปสู่การมีส่วนร่วม (Engagement)
  • การติดตาม (Subscribe) ที่มากขึ้น นำมาซึ่งยอดขาย
  • การสร้างความสัมพันธ์แบบ CRM กับลูกค้าจนเกิดการซื้อซ้ำ เป็นต้น

หลายท่านคงตั้งคำถามว่ากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ (Digital Marketing Strategy) มีความสำคัญกับธุรกิจดิจิทัลอย่างไร… ไม่ทำได้หรือไม่ ?

ในที่นี้เราขอหยิบยกผลสำรวจจากเว็บไซต์ Smart Insight ที่ปรึกษาด้านการตลาดระดับโลก พบว่า “กว่า 56% ของบริษัทฯ ไม่วางกลยุทธ์ก่อนทำ Digital Marketing และมีเพียง 26% เท่านั้นที่วางกลยุทธ์การตลาดก่อนลงมือทำ” บ่งบอกว่าผู้คนส่วนใหญ่เลือกทำการ Digital Marketing โดยไร้กลยุทธ์

สิ่งที่คุณต้องเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ในโลก Digital
ภาพจาก https://www.flaticon.com/free-icon/boss_265674#term=people&page=1&position=10

ไม่กำหนด Digital Marketing Strategy จะเป็นอย่างไร ?

ถึงแม้ว่าการเพิกเฉยไม่วางกลยุทธ์ Digital Marketing ให้ชัดเจน อาจจะไม่ส่งผลเสียในวันนี้ แต่หากปล่อยไว้เท่ากับคุณทิ้งให้การตลาดออนไลน์ล่องลอยไปวัน ๆ และไม่สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืนได้ในอนาคต

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ หรือ Digital Marketing Strategy เป็นสิ่งสำคัญต่อธุรกิจดิจิทัลมาก ๆ อ้างอิงคำแนะนำของคุณเอ็มมี่ ณัฐวีร์ ตันติสัจจธรรม ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ STEPS Academy ระบุว่า “Digital Marketing ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องใหญ่

ดังนั้น สิ่งที่บริษัทควรทำในปี 2018 คือ การวางกลยุทธ์ Digital Marketing โดยกำหนดเป้าหมายและแนวทางของ Digital Marketing ให้ชัดเจน พร้อมกับผนวกกลยุทธ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแผนการตลาดใหญ่ของบริษัท (Integrated Marketing Strategy) ต่อไป”

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการทำความเข้าใจ Digital Marketing Strategy มากยิ่งขึ้นสามารถคลิกติดตามเรื่องราว Digital Marketing Strategy แกะความคิดกลยุทธ์การตลาดบนโลก Digital สำหรับปี 2018 ได้เลย

อย่างไรก็ดี คุณเอ็มมี่ แนะนำ 5 สิ่งสำคัญที่บริษัทฯ จำเป็นต้องลงมือทำก่อนวางกลยุทธ์ Digital Marketing มีดังนี้

  1. วางกลยุทธ์ Digital Marketing โดยกำหนดเป้าหมายและแนวทางให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร
  2. บริหารจัดการช่องทางสื่อ (Media Channel) และคอนเทนต์ (Content) ที่แตกต่างตามพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ให้เชื่อมโยงกับพฤติกรรมผู้บริโภคออฟไลน์แบบครบทุกมิติ
  3. พัฒนาคอนเทนต์ แผนการตลาด และกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับ Social Media ต่างชนิดที่มีฟังก์ชันไม่เหมือนกัน
  4. สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค (Customer Persona) ว่าลูกค้าชอบเล่นโซเชียลแพลตฟอร์มไหน เพื่อให้คอนเทนต์เข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. รู้จักลูกค้าเฉพาะ (Niche Audience) พร้อมกับโปรโมทสินค้า และบริการของธุรกิจให้เข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ (Mass Audience) สร้างการรับรู้เบื้องต้นให้ได้มากที่สุด
ไม่กำหนด Digital Marketing Strategy จะเป็นอย่างไร?

เมื่อการทำธุรกิจไม่ต่างอะไรกับออกรบเพื่อเอาชนะใจลูกค้าให้ได้ ท่ามกลางคู่แข่งในตลาด การวางกลยุทธ์ที่ดีเยี่ยมเป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำ บทเรียนนี้ STEPS Academy สำหรับข้อมูลที่คุณต้องเตรียมพร้อมก่อนวางกลยุทธ์ Digital Marketing จะมีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

ไม่กำหนด Digital Marketing Strategy จะเป็นอย่างไร?
ภาพจาก https://pixabay.com/th/ธุรกิจ-นักธุรกิจ-นักธุรกิจหญิง-3399528/

#1 อ่านเกมธุรกิจให้ขาด (Business Analysis)

ก่อนจะลงมือวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้ธุรกิจดิจิทัล คุณต้องอ่านเกมธุรกิจให้ขาด วิเคราะห์ สถานการณ์โดยรวม วิเคราะห์คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตามคำกล่าวของวอร์เรน บัฟเฟต์ ว่า “ในโลกของธุรกิจ กระจกมองหลังชัดกว่ากระจกหน้ารถเสมอ” สื่อความหมายว่า นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมักทราบดีว่าคู่แข่งของเราทำได้ดีแค่ไหน และสามารถประเมินได้ว่าพวกเขากำลังจะไปทิศทางไหนในอนาคต ดังนั้น

  • คุณควรมองหาว่าแบรนด์ไหนเป็นคู่แข่งของคุณ
  • สินค้าและบริการของคู่แข่งคืออะไร
  • ส่วนแบ่งการตลาดเป็นอย่างไร
  • คู่แข่งมีช่องว่างอะไรที่เปิดทางให้เราเข้าไปทำตลาดแทนที่ได้หรือไม่ ฯลฯ   

รวมทั้งตอบคำถามให้ได้ว่า “วันนี้ธุรกิจของเรายืนอยู่ในตำแหน่งไหน ธุรกิจของเราเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับองค์กรอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน” ตรงนี้สำคัญมากโดยเฉพาะ 3 ขั้นตอนวิเคราะห์เกมธุรกิจครบถ้วน

วิเคราะห์พื้นฐานธุรกิจ (Business Analysis) แบ่งเป็น 4 หัวข้อดังนี้

  • ปัญหา (Problem) สิ่งที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในธุรกิจ และดิจิทัลสามารถเข้าไปสนับสนุนส่วนไหนได้บ้าง หรือควรพัฒนาอะไรเพิ่มเติมเสริมแกร่ง
  • จุดแข็งธุรกิจ (Strength of Business) สิ่งที่คุณมีไม่เหมือนคนอื่น และโดดเด่นน่าจดจำ พิเศษสุด ๆ ชนิดที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้
  • สินค้าและบริการคู่แข่ง (Competitive Products) เปรียบเทียบคู่แข่งและสินค้าของเราพร้อมกันว่ามีจุดดี จุดด้อยแตกต่างกันอย่างไร
  • สรุป (Conclude) รวบยอดสถานการณ์ล่าสุดว่าธุรกิจของเราอยู่ตำแหน่งไหนทำการวิเคราะห์ต่อในขั้นต่อไปและหากลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

หลังจากวิเคราะห์ตลาดโดยรวม ควรค้นคว้าหาข้อมูลลูกค้า ช่วยประกอบการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์ Digital Marketing ได้อย่างตรงจุด

ตัวอย่างการวิเคราะห์พื้นฐานธุรกิจ (ตัวอย่างถูกยกขึ้นมาเพื่อเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น)

ร้านอาหาร ABC สไตล์ฟิวชัน ย่านรัชดา ผลิตอาหารแปลกใหม่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบอาหารซ้ำซากจำเจ การตกแต่งร้านสไตล์ธรรมชาติ บรรยากาศโปร่งสบาย มีลานจอดรถสำหรับลูกค้า

ปัญหา (Problem) ร้านอาหารฟิวชั่น ตั้งอยู่สถานที่ไม่มีผู้คนสัญจร อยู่ในโลเคชันไม่ดึงดูด ส่วนแบ่งการตลาดยังน้อยหากเทียบกับร้านอาหารในย่านเดียวกัน

จุดแข็งธุรกิจ (Strength of Business) วัตถุดิบอาหารสดใหม่ ผักปลูกเอง ปรุงจากใจ อาหารคลีน มีเมนูพิเศษให้เลือกหลากหลาย หากนึกเมนูไม่ออกทางร้านมีเมนูปรุงเฉพาะกรุ๊ปเลือดให้รับประทาน ที่นี่จึงเหมาะสำหรับร้านอาหารที่เหมาะกับครอบครัว สายเฮลตี้ ต้องการเป็นผู้นำอาหารคลีนฟิวชั่นในย่านรัชดาที่สะอาด และดีต่อสุขภาพ

สินค้าและบริการคู่แข่ง (Competitive Products) ร้านอาหารย่านรัชดามีร้านอาหารคลีน 7 แห่งที่อยู่ในละแวกเดียวกับร้าน ABC ทำให้ลูกค้าเลือกร้านอื่นอยู่ใกล้ถนน

สรุป (Conclude) ร้าน ABC จะต้องใช้ดิจิทัลแก้ไข เริ่มให้ข้อมูลความเป็นอาหารคลีนฟิวชัน ปักโลเคชันในกูลเกิล และแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงของลูกค้า

วิเคราะห์ลูกค้าตัวจริง (Customer Persona)

การวิเคราะห์ลูกค้า Customer Personas : ทำความรู้จักตัวตนของลูกค้าคุณ เก็บพอร์ตลูกค้าที่แท้จริง (Real Purchaser) หรือสร้างตัวตนสมมติของลูกค้าขึ้น จากการระดมสมองทีมงาน และวิเคราะห์จากฐานข้อมูลอื่น ๆ คอบคำถาม

  • เขาเป็นใคร (Who)
  • เขามองหาอะไรอยู่ (What)
  • ทำไมต้องใช้บริการของคุณ (Why)
  • ลูกค้าพบเจอสินค้าหรือบริการอย่างไร (How)

สำหรับการทำข้อมูล Customer Persona ไม่จำเป็นมีเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น อาจมีมากกว่า 1 คนขึ้นไป

ตัวอย่าง : คำตอบการวิเคราะห์ลูกค้าร้านอาหาร ABC (ต่อ)

  • เขาเป็นใคร (Who) =  คนรักสุขภาพทั้งชายหญิง วัยปี 30 ขึ้นไป
  • เขามองหาอะไรอยู่ (What) =   มองหาสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ เสริมสร้างสุขภาพ
  • ทำไมต้องใช้บริการของคุณ (Why) = วัตถุดิบดี มีคุณภาพ อาหารอร่อย ปรุงอาหารตามกรุ๊ปเลือดของลูกค้า ดังนั้น แต่ละจานจึงพิเศษเฉพาะคุณเท่านั้น  
  • ลูกค้าพบเจอสินค้าหรือบริการอย่างไร (How) = Instagram, Facebook, Wongnai, Line@

สรุป (Conclude) คนรักสุขภาพทั้งชายหญิงวัยปี 30 ขึ้นไป มองหาสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ เสริมสร้างสุขภาพ วัตถุดิบดี มีคุณภาพ อาหารอร่อย และใช้ภาพถ่ายอินสตาแกรมในการเข้าถึงสินค้าหรือบริการ

วิเคราะห์แพลตฟอร์มออนไลน์ธุรกิจ (Online Platform Analysis)
หลังจากรู้จักธุรกิจตัวเองและรู้จักลูกค้าตัวจริง มาถึงคำถามว่าธุรกิจคุณใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ทำอะไรในธุรกิจ มีเป้าหมายอย่างไรบ้าง มีแพลตฟอร์มออนไลน์อะไรที่เหมาะสำหรับธุรกิจ (Business Goal) โดยออกแบบและพัฒนาการใช้งานแต่ละช่องทางให้ง่ายที่สุด ทั้งการส่งต่อข่าวสารใหม่ ๆ หรือการซื้อขายสินค้า อาจจะแบ่งเป็นหัวข้อ ดังนี้

ใช้ออนไลน์เพื่อธุรกิจ (Business Goal)
หากธุรกิจมีเป้าหมายสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ และต้องการพึ่งพาแรงงานมนุษย์ให้น้อยที่สุด เช่นการใช้ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (E-commerce), โซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce), เว็บไซต์สื่อกลางติดต่อซื้อขายระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้อ (Marketplace) หรือแพลตฟอร์มการจัดส่งอาหาร (Food on Demand) เป็นทางเลือกที่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ประกอบการและลูกค้า

นอกจากนี้การประยุกต์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาใช้งาน ยุคนี้มาถึงแล้วจริง ๆ อ้างอิงจากคำกล่าวเจฟฟ์ เบโซส ที่บอกว่า “AI นี่คือยุคทองแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาซ้ำซากที่มนุษย์พบเจอ” ที่เจ้าพ่อแห่งอเมซอนเลือกเปิดตัวร้านค้าไร้แคชเชียร์ Amazon Go ลดการใช้งานพนักงานแห่งแรกเมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

ใช้ออนไลน์เพื่อธุรกิจ (Business Goal)
ภาพจาก https://fossbytes.com/jeff-bezos-net-worth-crosses-100-billion/

เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย กล่าวคือการใช้สื่อออนไลน์สำหรับธุรกิจสามารถช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้น (Experience) สำหรับลูกค้า เริ่มตั้งแต่

  • การพัฒนาประสบการณ์ที่เยี่ยมยอดอย่าง User Experience (UX) ตั้งแต่ ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (Usability) และการเข้าถึง (Accessibility) ผ่านบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือโซเชียลอื่น ๆ
  • ดูแลงานดีไซน์ User Interface (UI) ส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานให้สวยงามใช้งานง่าย มองเห็นสะดวก เป็นต้น
  • คอนเทนต์ (Content) ผลิตมาเพื่อตอบคำถาม ช่วยแก้ปัญหาคาใจเป็นหลัก
  • การใช้หลักการ SEO เพื่อออกแบบกลยุทธ์ใหม่ ๆ ให้ธุรกิจดิจิทัล ค้นหาง่ายและเป็นมิตรกับผู้อ่านในโลกออนไลน์

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการศึกษา Experience สร้างประสบการณ์บนเว็บไซต์ให้ผู้บริโภคจดจำไม่มีวันลืม เพิ่มเติมทีมงานเคยนำเสนอไว้ สามารถคลิกอ่านได้เลย

ใช้ออนไลน์เพื่อเป้าหมายสร้างสังคม (Social Goal)
การออกแบบช่องทางออนไลน์เพื่อสร้างชุมชนบนสื่อโซเชียลมีเดียผ่านการบอกเล่า Content Marketing สร้างเรื่องราวที่ผู้บริโภคมองหา โดยเฉพาะในเมืองไทย Social Media เป็นอีกช่องทางที่ตอบโจทย์การซื้อขายง่ายที่สุด ดังนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ขั้นตอนการใช้ผู้บริโภคให้ดี วางกลยุทธ์คอนเทนต์ให้ง่าย เพิ่มการติดตามมากที่สุด และตัดสินใจง่ายที่สุด

  • คอนเทนต์การตลาด (Content Marketing) ทำการตลาดด้วยเนื้อหาโดยการแบ่งปันข้อมูลที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการและมีประโยชน์ เพื่อสร้างยอดขายในอนาคตให้กับธุรกิจ
  • ไวรัล มาร์เก็ตติ้ง (Viral Marketing) การทำการตลาดที่ใช้โซเชียลมีเดียเข้าถึงลูกค้าที่พัฒนามาจากการตลาดแบบปากต่อปาก Word-of-Mouth (WOM)
  • บริการลูกค้าสัมพันธ์ทางสื่อสังคมออนไลน์ (Customer Service Marketing) การดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดกว่าเดิมต่อยอดให้การบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ทรงพลังและเพิ่มความไว้ใจได้มากยิ่งขึ้น เพราะใช้ดูแลลูกค้าแบบ CRM Goal ทำการตลาดออนไลน์ Email Marketing อีเมลไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง (Electronic Direct Mail : EDM) ส่งแจ้งข่าวสารกับลูกค้า หรือประชาสัมพันธ์โปรโมชั่น

#2 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการตลาด (Marketing Goal Communication Objectives)

อ่านเกมธุรกิจเรียบร้อย สำหรับการวางเป้าหมายการตลาดออนไลน์นั้น “ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อน” เพียงแต่ต้องใช้เวลา ก่อนลงมือดำเนินกลยุทธ์ Digital Marketing ให้ท่องไว้ก่อนว่า “ใจเย็น ๆ อย่าพลีพลาม”  เริ่มจากการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้ชัดเจนนำไปสู่เป้าหมายที่คาดหวัง (Goal) และสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

กรณีศึกษาร้านอาหาร ABC 
วิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analysis)

ปัญหา (Problem)

  • ไม่มีผู้คนสัญจร อยู่ในโลเคชันไม่ดึงดูด
  • ส่วนแบ่งการตลาดยังน้อยหากเทียบกับร้านอาหารในย่านเดียวกัน

จุดแข็งธุรกิจ (Strength of Business)

  • วัตถุดิบอาหารสดใหม่ ผักปลูกเอง ปรุงจากใจ
  • อาหารคลีน
  • มีเมนูพิเศษให้เลือกหลากหลาย
  • เหมาะกับครอบครัว สายเฮลตี้

สินค้าและบริการคู่แข่ง (Competitive Products)

  • ร้านอาหารคลีนย่านรัชดามี 7 แห่งที่ในละแวกใกล้เคียงร้านอื่นอยู่ใกล้ถนน
วิเคราะห์ลูกค้า (Customer Persona)

  • คนรักสุขภาพทั้งชายหญิงวัยปี 30 ขึ้นไป
  • มองหาสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ
  • ติดตามมาจาก Instagram, Facebook, Wongnai และ Line@
วิเคราะห์แพลตฟอร์มออนไลน์ (Online Platform Analysis)

  • ใช้อินสตาแกรมถ่ายภาพ เมนูใหม่
  • ไม่มีโลเคชั่นร้านบนแอปพลิเคชัน Google Map
  • ไม่ค่อยได้โพสต์เพจเฟซบุ๊กเท่าไหร่
วัตถุประสงค์ (Objectives)

เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าให้รู้จักและอยากมาทานอาหารที่ร้านเพิ่มขึ้น ภายใน 3 เดือน

เป้าหมาย (Goal)

  • ต้องการให้หน้าร้านมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100,000 บาทต่อวัน (จากเดิม 40,000   บาท)
  • ต้องการเพิ่มยอดฟอลโล่อินสตาแกรมเป็น 100,000 ราย (จากเดิมมียอด Follower 50,157 ราย)
#2 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการตลาด (Marketing Goal Communication Objectives)
ภาพจาก https://www.pexels.com/photo/blur-breakfast-chef-cooking-262978/
สรุปสิ่งที่เกิดขึ้น :

  • ร้าน ABC มีปัญหาคือร้านอยู่ในตรอกไม่มีผู้คนสัญจร
  • อยู่ในโลเคชันไม่ดึงดูด ชื่อเสียงยังสู้กับร้านอื่น ๆ ไม่ได้ (ในละแวกเดียวกันมี 7 ร้าน)
  • ปัจจุบันใช้ 2 โซเชียล ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) และอินสตาแกรม (Instagram) แต่ยังขาดความสม่ำเสมอในการใช้งาน ไม่ค่อย Active เท่าไหร่นัก

วัตถุประสงค์ (Objectives)

  • เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าให้รู้จักและอยากมาทานอาหารที่ร้านเพิ่มขึ้น ภายใน 3 เดือน

เป้าหมาย (Goal)

  • ต้องการให้หน้าร้านมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100,000 บาทต่อวัน (จากเดิม 40,000 บาท)
  • ต้องการเพิ่มยอดฟอลโลเวอร์บนเฟซบุ้กเป็น 100,000 ราย (เดิม Follower 50,157 ราย) เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าถึง (Awareness) และสามารถยิงโฆษณาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุป Digital Marketing Strategy of Fusion Cook คือ เพิ่มยอดขายและเพิ่มยอดฟอลโลเวอร์ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่เรายกมาให้เห็นภาพในการมองหาวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ หรือ Digital Marketing Strategy ก่อนเข้าขั้นตอนต่อไป

#3 วางแผนและลงมือทำ (Planning and Monitoring)

มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายแล้ว !! ต้องให้ความสำคัญการวางแผนและลงมือทำโดยเลือกใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เลือกช่องทางและปรับตัวเข้ากับลูกค้าให้ได้ เช่น คนเล่นโซเชียลช่องทางนี้เป็นคนอย่างไร

กลับมาสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนสร้าง Digital Marketing เริ่มแรกควรวางแผนเพื่อแก้ปัญหาที่เจอ สานฝันให้เป้าหมายเป็นจริงทั้งในแง่ Business Goal กระตุ้นการซื้อ สร้างรายได้ให้ธุรกิจในระยะยาว เกิดยอดซื้อซ้ำเกิดขึ้นจริง หรือเป้าหมาย Social Goal สร้างสังคมใหม่ (Community) พัฒนาให้คนแปลกหน้าให้จนกลายเป็นแฟนพันธุ์แท้ บอกต่อให้กับผู้อื่นฟังว่าแบรนด์ของเราดีอย่างไร

ปัญหา (Problem) วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย (Objectives & Goal) การวางแผนและลงมือทำ
(Planning & Monitoring)
  • ร้านอาหารแห่งนี้ยังใช้โซเชียลมีเดียไม่เต็มที่ เช่น ปล่อยเฟซบุ๊กร้างไม่มีโพสต์เคลื่อนไหว,
  • อินสตาแกรมอาจจะภาพสวยแต่คำบรรยายไร้ชีวิตชีวาหรือไม่  
  • ขาดการปักหมุดโลเคชันใน Google Map อาจทำให้ลูกค้าหาร้าน Fusion Cook ไม่เจอ และเปลี่ยนใจไปกินร้านอื่น
  • เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าให้รู้จักและอยากมาทานอาหารที่ร้านเพิ่มขึ้น ภายใน 3 เดือน
  • ต้องการให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100,000 บาทต่อวัน (จากเดิม 40,000 บาท)
  • ต้องการเพิ่มยอดฟอลโล่อินสตาแกรมเป็น 100,000 ราย (จากเดิมมียอด Follower 50,157 ราย)
  • เตรียมประสานงานส่งโลเคชันให้ทาง Google เพื่อปักหมุดที่แท้จริง เพื่อเพิ่ม Traffic ในการพบร้าน
  • ปรับคอนเทนต์ใหม่ให้มีชีวิตชีวาความสม่ำเสมอทั้งในเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม
  • ซื้อโฆษณาเฟซบุ๊ก เจาะลูกค้าวัยทำงานอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงให้มารับประทานอาหารที่นี้หลังเลิกงาน หรือออกกำลังกายเสร็จแล้ว

เราก็จะเห็นการวางแผนและสิ่งที่ต้องลงมือทำในกลยุทธ์การตลาดออนไลน์อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และนับต่อจากนี้ไปผู้ประกอบการและนักการตลาดควร…

  • กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน
  • ลงรายละเอียดกระบวนการทำงานแบ่งหน้าที่กับคนในทีม
  • พร้อมกับเลือกเครื่องมือโปรโมทให้เหมาะสม
  • ลงมือทำ กำหนดเวลา และติดตามผล Digital Marketing ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน เช่น วัดความสำเร็จของกลยุทธ์จาก Key Performance Indicators (KPI) ที่กำหนดไว้เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่, ตรวจสอบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience: UX) ช่องทางเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของเราว่าลูกค้าความพึงพอใจต่อแบรนด์มากน้อยแค่ไหน, วิเคราะห์สถิติของเว็บไซต์ (Web Analytics) ผ่าน Google Adword หรือช่องทางอื่น ๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
  • ตามด้วยตรวจสอบว่ากลยุทธ์การตลาดที่ตั้งไว้ว่านำพาให้บริษัทฯ และองค์กรว่าไปถึงเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ?

แนะนำว่าควรเลือกยาให้ถูกโรคที่องค์กรกำลังประสบอยู่ เพื่อประหยัดงบและได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ควรกำหนดระยะเวลาแคมเปญการตลาดให้ชัดเจน หมั่นอัปเดตความคืบหน้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย โดยใช้ยุคติดจอให้เป็นประโยชน์สูงสุด เช่น

  • การใช้ปฏิทินดิจิทัล Google สร้างไทม์ไลน์อัปเดตติดตามข้อมูลร่วมกับสมาชิกในทีม หรือใช้ Google Drive แชร์งานและอนุญาตให้แก้ไขที่จำเป็นได้
  • หรือเลือกใช้แอปพลิเคชัน Evernote จดบันทึกความคืบหน้าผ่านระบบคลาวด์ เพราะ Evernote มีข้อดีคือสามารถซิงค์ข้อมุลได้ทุกดีไวซ์ หรือจะใช้ Dropbox สร้างชีทแชร์งานร่วมกับทีม

เมื่อลงมือทำแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จงอย่ายอมแพ้ ลองสู้ใหม่อีกสักตั้ง เดินหน้าพัฒนากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ต่อไป ให้นึกถึงคำกล่าวของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ว่า “ถ้าธุรกิจของคุณล้มเหลว อย่าทำผิดซ้ำเดิม ลุกขึ้น ปัดเนื้อปัดตัว แล้วลุยกันใหม่”

บทเรียนนี้เป็นเพียงการปูพื้นฐานความเข้าใจเท่านั้น หากต้องการเรียนรู้ Digital Strategy การวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) ฉบับเต็ม ห้ามพลาดกับคอร์สหลักสูตร  DIGITAL MARKETING SPECIALIST CERTIFICATION โดย STEPS Academy ที่คุณได้เรียนรู้ Digital Marketing ในแง่มุมนักการตลาดและผู้ประกอบการ

Kanokwan Chantorn
Content Team (STEPS ACADEMY)

บทความแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาการวางกลยุทธ์ Digital Marketing เพิ่มเติม

6 ขั้นตอนการสร้างและการจัดการ Digital Marketing Strategy ให้สินค้าปัง ดังระเบิด

แหล่งข้อมูล:
http://www.royin.go.th/dictionary/
https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/5-check-list-online-marketing/ https://home.kku.ac.th/penpan/412102/ppt_5_53.pdf
https://www.bloomberg.com/news/articles/2004-08-01/online-extra-jeff-bezos-on-word-of-mouth-power https://www.forbes.com/sites/forbescommunicationscouncil/2018/01/02/mapping-out-your-digital-marketing-strategy-for-2018/#5f602963248d
https://digitalmarketinginstitute.com/blog/5-steps-powerful-digital-marketing-strategy https://www.digitalmarketer.com/digital-marketing/digital-marketing-strategy/ https://www.slideshare.net/tinhanhvy/emarketing-excellence-dave-chaffey-pr-smith https://www.smartinsights.com/digital-marketing-strategy/sostac-model/
https://www.smartinsights.com/digital-marketing-strategy/creating-an-engaging-digital-strategy
https://www.facebook.com/industryprmoi/posts/820568761412064:0

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

ผู้ประกอบการไทยควรรับมือ Marketing 5.0 อย่างไร?
5 ปัจจัยสร้างแบรนด์ให้มีเสน่ห์ดึงดูดลูกค้าบนโลกออนไลน์