เทคนิคการทำ SEO ด้วยการใช้ Low Search Volume Keywords

เทคนิคการทำ SEO ด้วยการใช้ Low Search Volume Keywords

“การเลือก Keyword ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง”

นักการตลาด และ เหล่า Creator หลาย ๆ คนรู้ดีกว่าหนึ่งในเทคนิคการทำ SEO ให้เว็บไซต์ และ คอนเทนต์ของเราติดอันดับการค้นหาบน Google ก็คือการเลือก Keyword ที่ใช่ และ มียอด Search Volume ที่สูง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่กำลังค้นหาสินค้า และ ข้อมูลต่าง ๆ สามารถหาเราเจอได้ง่ายขึ้น แต่หากลองคิดดูใหม่อีกที หาก Keyword ตัวนี้ที่เราใช้ นั้น มียอด Search Volume สูง นั่นหมายความว่า กลุ่มธุรกิจอื่น หรือ คู่แข่งของเราก็ใช้ด้วยเช่นกัน

คำถามคือ เราสามารถทำ SEO โดยใช้ Keyword แบบเดียวกันเพื่อสู้คู่แข่งได้หรือไม่

คำตอบคือได้ค่ะ แต่ว่าอาจจะยากอยู่สักหน่อย ซึ่งความจริงแล้ว เราสามารถใช้วิธีการอื่นเพื่อทำคอนเทนต์ให้ติด SEO โดยไม่ต้องพึ่ง Keyword ที่มี Serach Volume สูง ๆ อย่างเดียวก็ได้ โดยในวันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำวิธีการใช้ Low Search Volume Keyword ค่ะ

Low Search Volume Keywords คืออะไร

Google ได้ให้คำจำกัดความของ Low Search Volume เอาไว้ว่า เป็นการค้นหาคีย์เวิร์ด หรือ กลุ่มคำที่มีประวัติการค้นหาน้อย ไปจนถึงไม่มีประวัติการค้นหาสำหรับคำเหล่านั้นเลย

เนื่องจากระบบอัลกอริทึม จะทำหน้าที่เก็บประวัติการค้นหาต่าง ๆ จากผู้ใช้งานทั่วโลก เพื่อจัดลำดับความนิยม และ กลุ่มคำต่าง ๆ ว่ามีผลลัพธ์การค้นหามากน้อยเพียงไหน ซึ่งโดยปกติแล้ว Low Search Volume Keyword จะมีโอกาสที่ผู้ใช้งานค้นหาค่อนข้างต่ำ ทำให้ติด SEO ยาก และ ทำให้คอนเทนต์ไม่ติดหน้าแรกจากช่องทาง SERP (Search Engine Result Page)

 

 Top 100 Keywords นั้นมียอดการค้นหามากกว่า 1 ล้านครั้งต่อเดือน เมื่อรวม ๆ กับ Keyword ยอดนิยมที่ติด Top 500, Top 1,000 และ Top 10,000 แล้วจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 18.5 % และอีก 70% เป็นกลุ่ม Long Tail Keywords หรือการใช้ Keyword ที่ยาว หรือเป็นวลี
ภาพจาก: https://digitalmarketingphilippines.com

 

จากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่า Top 100 Keywords นั้นมียอดการค้นหามากกว่า 1 ล้านครั้งต่อเดือน เมื่อรวม ๆ กับ Keyword ยอดนิยมที่ติด Top 500, Top 1,000 และ Top 10,000 แล้วจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 18.5 % และอีก 70% เป็นกลุ่ม Long Tail Keywords หรือการใช้ Keyword ที่ยาว หรือเป็นวลี

ถึงแม้ว่า Long Tail Keywords จะมี Low Search Volume หรือผลลัพธ์การค้นหาที่ต่ำ แต่ในทางกลับกันหากสินค้า และบริการของคุณเป็นสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายแบบ Niche หรือเป็นแบรนด์ที่ขายสินค้าเฉพาะเขาะจง การใช้ Long Tail Keyword จะกลายเป็นกลุ่มคำค้นหาที่ได้ผลลัพธ์ในเชิงบวก และมีสิทธิที่จะติด SEO ได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Long Tail Keywords แล้วประสบความสำเร็จคือ แบรนด์ Amazon ที่สามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้นถึง 57%

ตัวอย่างผลลัพธ์การค้นหาด้วยการใช้ Long Tail Keywords จากหน้า SERP ที่มีเว็บไซต์ Amazon เป็นตัวเลือกตัวแรกของการค้นหา
ตัวอย่างผลลัพธ์การค้นหาด้วยการใช้ Long Tail Keywords จากหน้า SERP ที่มีเว็บไซต์ Amazon เป็นตัวเลือกตัวแรกของการค้นหา

 

 

เหตุผลที่นักการตลาดควรใช้ Low Search Volume Keywords

ผู้ที่อยู่ในวงการการทำการตลาดด้าน SEO ย่อมรู้ดีว่า Low Search Volume Keyword อาจทำให้คอนเทนต์เราไม่ติด SEO และไม่ใช่คำค้นหาที่คนส่วนใหญ่ใช้ แต่อย่างไรก็ตาม Low Search Volume Keyword มีข้อดีของมันอยู่ ซึ่งเราสามารถใช้ได้ และมีประโยชน์ในการทำ SEO ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • เพื่อเจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท้องถิ่น
  • เพื่อลดคู่แข่งลง เพิ่มโอกาสให้คอนเทนต์เราติด SEO ได้ง่ายขึ้นด้วยการใช้คำอื่น
  • เพื่อเลือกใช้ Keyword ที่มีความหมายใกล้เคียง Keyword ที่มีความหมายกว้างจนเกินไป
  • เพื่อเข้าหากลุ่มเป้าหมายแบบ Niche ที่มีความต้องการแบบเฉพาะเจาะจง
  • เพื่อเพิ่ม Conversion Rate ให้คนคลิกมายังหน้าเว็บไซต์ได้ดีขึ้น

เทคนิคการทำ SEO ด้วยการใช้ Low Search Volume Keywords

เราไปดูเทคนิคการเลือก Keyword ที่มีผลลัพธ์การค้นหาแบบ Low Search Volume กันค่ะ ว่ามีวิธีเคล็ดลับอะไร ที่จะทำให้ไม่เสียเวลาในการทำคอนเทนต์ และสามารถทำให้ติดอันดับการค้นหาบน SERP ได้อย่างมีประสิทธิภาพบ้าง

 

1. เลือก Keyword ที่มี User Intent สูง

User Intent คือเจนาของผู้ค้นหาข้อมูล บางครั้งเราอาจจะเจอคำว่า Search Intent (เจตนาในการค้นหา) โดยผู้ใช้งานมีเจตนาในการค้นหา Keyword เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เช่น

  • การค้นหาความรู้ข่าวสาร
  • การทำธุรกรรม
  • การใช้เพื่อนำทาง และอื่น ๆ

การใช้ Keyword แบบ Low Search Volume สามารถเลือกคำให้สอดคล้องกับ User Intent เพื่อให้ตอบโจทย์กับการค้นหา และ สำหรับแบรนด์ที่มีกลุ่มลูกค้าประเภท Niche สามารถสร้าง Low Search Volume Keyword ให้เกิดประโยชน์ได้เช่น

คำค้นหา ระหว่าง“best tennis shoes” และ  “tennis shoes”

คนที่ค้นหา Keyword: tennis shoes ในปัจจุบันนิยมค้นหารีวิวสำหรับรองเท้าเทนนิสด้วยเช่นกัน ตามภาพด้านล่าง

 

เลือก Keyword ที่มี User Intent สูง
ภาพจาก: https://neilpatel.com

ผลลัพธ์การค้นหาบน Google จะแสดงผลรีวิวเกี่ยวกับรองเท้าเทนนิสแบรนด์ต่าง ๆ ให้ผู้ใช้งานพิจารณาด้วยเช่นกัน

หากเราใช้คำค้นหา “tennis shoes” กลายเป็นว่าผลลัพธ์การค้นหาต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง โดยผลลัพธ์การค้นหา จะเปลี่ยนเป็นรองเทนนิสแบรนด์ต่าง ๆ แทนค่ะ

เลือก Keyword ที่มี User Intent สูง
ภาพจาก: https://neilpatel.com

 

แล้ว Keyword  2 ตัวนี้ต่างกันอย่างไร?

ในกรณีนี้ คำว่า “best tennis shoes” มีข้อมูลที่ขึ้นอยู่กับ Search Intent หมายความว่า คนที่กำลังใช้คำค้นหานี้กำลังสนใจซื้อรองเท้าเทนนิส แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกแบรนด์ หรือสถานที่ ๆ จะไปซื้อ ซึ่งผู้ใช้งานอาจจะต้องการดูรีวิวสินค้า ตัวหน้าเว็บไซต์ และร้านที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อรองท้า

และอีกมุมหนึ่ง สำหรับผู้ที่ค้นหาคำว่า “tennis shoes” คือกลุ่มคนที่พร้อมซื้อ และ รู้ความต้องการของตัวเองแล้วว่าต้องการซื้อสินค้าจากที่ไหน หรือไม่ ก็อาจจะต้องการหาข้อมูลแบบกว้างมาก ๆ ก็เป็นไปได้

 

เราสามารถทำ Long Tail Keywords ได้อย่างไร

นอกเหนือจากตัวอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น นักการตลาดสามารถเลือกกลุ่มคำที่ยาวกว่านี้ และ เจาะจงกว่านี้อีกก็ได้นะคะ โดยตัวอย่างด้านล่างจะแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์การค้นหาคำว่า  “best tennis grips for sweaty hands” ซึ่งเป็นการใช้ Keyword ที่ยาวกว่า แต่เฉพาะเจาะจงกว่า โดยเลือกใช้ Keywotd ที่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้

ภาพจาก: https://neilpatel.com
ภาพจาก: https://neilpatel.com

 

2. เลือก Long-Tail Keyword ที่มีผลลัพธ์แบบ High Volume Keyword 

เลือก Long-Tail Keyword ที่มีผลลัพธ์แบบ High Volume Keyword
ภาพจาก: https://neilpatel.com

จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่ากลุ่ม Long Tail Keywords เหล่านี้มียอด Search Volume เพียงแค่ 20 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้น กลุ่มคำเหล่านี้มีผลดีกับเว็บไซต์ที่เพิ่งเปิดใหม่ และ ต้องการเลี่ยงที่จะแข่งขันกับเว็บไซต์เจ้าใหญ่รายอื่น ๆ ได้นะคะ

 

3. ทำ Low Search Volume Keywords ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายแบบ Niche 

 

ทำ Low Search Volume Keywords ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายแบบ Niche

ในกรณีที่แบรนด์ของเราขายสินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจง หรือมีกลุ่มเป้าหมายที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสของคนกลุ่มใหญ่ หากเราวางแผนใช้ Low Search Volume Keywords แล้วสามารถสร้างผลลัพธ์ให้กับแคมเปญได้ดังนี้

  • สามารถเพิ่มยอด Conversion ให้กับเว็บไซต์ แต่อาจได้ผลลัพธ์ที่น้อย
  • คอนเทนต์เหล่านั้นจะเข้าข่าย E-A-T Content ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นคนรับรอง ทำให้ดูน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ลำดับ SEO สูงขึ้น

 

4 เลือก Low Search Volume Keywords ประเภท “Low-Hanging Fruit”  

ในวงการการตลาด และธุรกิจ จะมีประโยคหนึ่งที่มักพูดกันว่า “Low-Hanging Fruit” ถ้าเราแปลเป็นไทยแบบตรง ๆ ตัวก็คือผลไม้ที่ห้อยต่ำ ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะแปลก ๆ อยู่สักหน่อย แต่ความหมายของมันจริง ๆ แล้ว คือการวางกลยุทธ์เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่อยู่ในระยะสั้น เห็นผลง่าย โดยเทคนิค Low-Hanging Fruit นิยมทำควบคู่ไปกับกลยุทธ์ที่เห็นผลระยะยาว เพื่อให้ได้กำไรที่มากกว่าไปด้วยค่ะ

สำหรับเทคนิค Low-Hanging Fruit  ในความหมายของผู้เขียน คือการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับด้วยการทำใช้ Low Search Volume Keyword ที่อาจจะไม่ได้เห็นผลลัพธ์ลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่เป็นสิ่งที่นักการตลาดควรนำมาใช้ควบคู่กับกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยดัน SEO ของเรา โดย Keyword ประเภท “Low-Hanging Fruit” จะมีลักษณะดังนี้

  • มีอัตราคู่แข่งน้อยมาก ๆ
  • ตอบโจทย์ หรือ เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
  • เป็น Keyword ที่ผู้อ่านเห็นแล้วมีแนวโน้มว่าจะตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการ หรือทำบางอย่างเพื่อให้เกิด Conversion
  • เป็น Keyword ที่คู่แข่งยังไม่ได้ใช้ ทำให้เรามีโอกาสติด SEO ได้ง่ายขึ้น

 

 

ตัวอย่างการหา Keyword ประเภท Low Hanging Fruit ด้วยเครื่องมือ Ahrefs

 

 

สรุป

การใช้กลยุทธ์ Low Search Volume Keywords เป็นช่องทางการทำ SEO ให้ได้ผลช่องทางหนึ่งซึ่งนักการตลาดควรใช้เทคนิคนี้ควบคู่ไปกับการทำ SEO เทคนิคอื่น ๆ เพื่อเพิ่ม Conversion และ Traffic ให้คนคลิกมายังหน้าเว็บไซต์ด้วยการเลือกใช้คำให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และไม่ใช่คำที่อยู่ในกระแสที่คู่แข่งนิยมใช้ ซึ่งจะช่วยให้เว็บไซต์เรามีโอกาสติดหน้าแรกบน Google ได้ง่ายขึ้นค่ะ

 

ที่มา: 

https://neilpatel.com

https://searchengineland.com

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

สร้างรายได้บน Instagram ด้วยกลยุทธ์ Affiliate Marketing สำหรับ Influencer
Business Model Canvas คืออะไร และใช้วางกลยุทธ์ธุรกิจอย่างไรให้ได้ผล (Updated 2024)