Data Marketing Strategy 2022 ทำไมธุรกิจจึงต้องปรับกลยุทธ์การตลาดด้วย Data

 

  • 87% ของนักการตลาดมองว่า Data เป็นสินทรัพย์ที่มีประโยชน์มากที่สุดของธรุกิจ
  • ธุรกิจที่เลือกนำ Data มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์มีผล ROI (Return on investment) สูงกว่า 5-8 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น
  • อีกทั้ง 40% ของแบรนด์มีแผนที่จะเพิ่มงบประมาณให้กับด้าน Data-driven marketing

ข้อมูลจาก invespcro บริษัทด้านการตลาดขนาดใหญ่ในอเมริกาที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการนำ Data มาใช้ในการทำการตลาดค่ะ

วันนี้ STEPS Academy จะพาผู้อ่านทุกท่านมาทำความเข้าใจถึงแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดด้วย Data โดยก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึง Data Marketing กันค่ะ

 

Data Marketing คืออะไร

Data Marketing หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการวางกลยุทธ์ทางการตลาด โดยการนำข้อมูลมากจากกลุ่มลูกค้าที่มีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์ หรือข้อมูลที่มาจากแหล่งภายนอกอื่นๆ ( Third party data) เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาและทำความเข้าใจ ความชอบ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และนำมาปรับเปลี่ยนเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด

ดังนั้นก่อนที่เราจะมาดูแนวทางในการนำ Data มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เรามาดูแหล่งของข้อมูลใกล้ตัวสำหรับนักการตลาด ในการนำมาใช้งานกันค่ะ

 

Data Sources นักการตลาดสามารถใช้ข้อมูลจากที่ใดได้บ้าง

หลักจากที่ได้ทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการนำข้อมูลมา วิเคราะห์ และ ต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาดแล้ว หลายท่านอาจคิดว่าการนำข้อมูลมาใช้สามารถทำได้แค่เพียงในบริษัทที่มีการจัดเก็บ Big data ขนาดใหญ่ หรือมีการใช้ Machine learning  เพื่อศึกษาวิคราะห์ข้อมูลเท่านั้น ดังนั้นแล้วเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเราจะสามารถนำข้อมูลใกล้ตัวจากแหล่งใดมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเราได้บ้าง

 

1. CRM Data 

 

ข้อมูลที่ได้จากระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management ซึ่งเป็นระบบที่หลายบริษัทใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้านั่นเองค่ะ เครื่องมือเหล่านี้นอกจากจะช่วยในการสื่อสาร หรือรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าแล้วยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า นำมาแบ่ง Segment หรือช่วยในการทำ Personalized Marketing เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์ได้อย่างตรงใจมากยิ่งขึ้น โดยตัวอย่างเครื่องมือที่สามารถช่วยในการทำ CRM เช่น

  • LINE OA
  • Active Campaign
  • Hubspot

 

2. Web Analytic Data

 

Web Analytic Data

Dashboard แสดงข้อมูลผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์จาก Google Analytic

Web Analytic เป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์การใช้งานบนเว็บไซต์ ซึ่งรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งาน หรือ Cutomer Data ที่ได้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปต่อยอดในการทำการตลาดได้ค่ะ

 

3. Mobile App Data

 

Mobile App Data

ภาพจาก neilpatel.com

Mobile App Analytic เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์การใช้งานบนแอพลิเคชั่น เช่นเดียวกันกับ Web Analytic โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งาน 

 

4. Transaction Data

 

Transaction Data

ภาพจาก support.classy.org

Transaction Data หรือ ข้อมูลการทำธุรกรรม อาจจะเป็นข้อมูลที่นักการตลาดหลายท่านมองข้าม แต่ข้อมูลในส่วนนี้สามารถนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้เช่น

  • ราคาที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่าย
  • ประเภทสินค้าที่เลือกซื้อ ความชื่นชอบ หรือความสนใจ
  • ช่วงเวลาที่ผู้บริโภคมักเลือกซื้อสินค้า 
  • สินค้าที่ผู้บริโภคมักซื้อพร้อมกัน

 

5. Call Tracking and Conversation Intelligence Data

 

Call Tracking and Conversation Intelligence Data

ภาพจาก invoca.com

อีกหนึ่งเครื่องมือที่รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่มีการ Interact กับแบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์ และทางโทรศัพท์ ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้นักการตลาดทราบได้ถึง

  • ช่องทางที่ทำให้ลูกค้ารู้จักและให้ความสนใจกับแบรนด์
  • แรงจูงใจในการโทร
  • ความรู้สึกและการตัดสินใจ

 ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะทำให้นักการตลาดสามารถต่อยอดในการพัฒนาเคมเปญ  หรือเพิ่ม Conversion ให้กับธุรกิจได้อย่างเข้าใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

 

 

แนวทางในการนำ Data มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด

ต่อมาเรามาดูไอเดียในการนำข้อมูลต่างๆ มาต่อยอดในการทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพกันค่ะ โดยวันนี้ผู้เขียนได้รวบรวม 2 ตัวอย่างที่น่าสนใจมาฝากทุกท่านดังต่อไปนี้

1.Inform Ad Targeting

Inform Ad Targeting

ภาพจาก ariomarketing.com

เคยไหมคะที่เลือกซื้อสินค้าไปแล้ว แต่ยังกลับเห็นโฆษณาสินค้าตัวเดิมอีกบ่อยครั้ง หรือในบางครั้งที่พบโฆษณาสินค้าที่แสดงผลได้ไม่ครบถ้วนเมื่อรับชมบนมือถือ ข้อผิดพลาดเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลแค่เพียงการสร้างความน่ารำคาญให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังหมายถึงงบประมาณที่เสียไปบนโฆษณาอย่างไม่มีประสิทธิภาพเช่นกันค่ะ 

ดังนั้นนักการตลาดสามารถนำ Data มาใช้ในการสร้างเคมเปญการโฆษณาออนไลน์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

แบรนด์ A ขายสินค้าสกินแคร์ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 23 –  55 ปี ต้องการเพิ่มปริมาณยอดขายบนเว็บไซต์ของปี 2022 ให้สูงจากเดิม 30% จากข้อมูลที่แบรนด์ A ทำการเก็บจาก Google Analytic ค้นพบว่าผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ส่วนใหญ่มีอายุ 25 – 35 ปี และมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์มากที่สุด โดยเข้าผ่าน Mobile Device เป็นส่วนใหญ่ 

จากข้อมูลที่กล่าวมานักการตลาดแบรนด์ A สามารถปรับเคมเปญทางการตลาดได้โดยการ

  • สร้างโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 25-35 ปี 
  • มีการ Optimize โฆษณาให้สามารถรับชมผ่าน Mobile Device 
  • สร้างโฆษณาผ่านทาง Social Media ได้แก่ Instagram,Facebook,Twitter โดยพิจารณาช่องทางจาก Third party data ที่ได้ทำการค้นคว้ามาเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหลักมากที่สุด
  • สร้าง Creative Ads ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้รับชม ด้วยการทำ A/B Testing เพื่อสร้างเคมเปญโฆษณาอย่างตรงใจกลุ่มเป้าหมาย

 

2. Segment Email list

 

Segment Email list

ภาพจาก searchcustomerexperience

Email Marketing เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า ซึ่งถือเป็นเครื่องมือ CRM ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของผู้ติดตามได้ โดยนักการตลาดสามารถ Segmentation ถังผู้ติดตามเพื่อทำการนำเสนอสินค้าหรือบริการให้เหมาะสมกับผู้ติดตามที่มีความสนใจแตกต่างกันโดยวสามารถเลือกแบ่งได้จาก

  • Purchase History หรือ ประวัติการสั่งซื้อสินค้า เพื่อทำการนำเสนอสินค้าผ่านทาง Email ได้อย่างเหมาะสม
  • Time of Purchase หรือ ช่วงเวลาที่เลือกซื้อสินค้า
  • Purchasing Behavior หรือพฤติกรรมในการซื้อโดยสามารถแบ่งได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจเช่น ผู้บริโภคที่ชอบซื้อสินค้าโปรโมชั่น, ผู้บริโภคที่มีปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งในจำนวนมาก เป็นต้น
  • ข้อมูลด้าน Demographic ทั่วไปเช่น เพศ อายุ การศึกษา เป็นต้น

โดยการทำ Email Marketing Segmentation เช่นนี้จะช่วยให้นักการตลาดในการเพิ่ม Conversion rate หรือโอกาศในการปิดการขายที่เพิ่มขึ้น, Open rate หรือ อัตราในการเปิดอ่าน Email ที่สูงขึ้น และลดอัตราการกด Unsubscribe อีกด้วยค่ะ

 

3. Website Personalization

 

Website Personalization

ภาพจาก growmatik.ai

Website Personalization เป็นกระบวนการในการปรับแต่งเว็บไซต์ให้สอดคล้องไปกับผู้ใช้งานที่มีความต้องการ และความสนใจในตัวสินค้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทุกการคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ของแบรนด์เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดจึงต้องอาศัยการทำ Website Personalization เพื่อนำเสนอข้อมูล หรือสินค้าให้ตรงตามความเหมาะสมของลูกค้าที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลนั่นเองค่ะ โดยการทำ Website Personalization มีประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยลด customer acquisition cost หรือต้นทุนการได้มาซึ่งลูกค้า
  • เพิ่ม Engagement หรือ การมีส่วนร่วมบนเว็บไซต์
  • ลดปัญหา  Cart abandonment 
  • ช่วย Sale ในการปิดการขายได้มากยิ่งขึ้น
  • Website Friendly ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานเว็บไซต์ของเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น มองหาสินค้าหรือข้อมูลจากแบรนด์ได้ตรงตามความต้องการในเวลาที่รวดเร็ว

 

สรุป

ในการทำ Data Marketing หรือ การทำการตลาดด้วยข้อมูลถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการนำเครื่องมือทางการตลาดมาช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจค่ะ จึงกล่าวได้ว่านอกจากแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว นักการตลาดยังต้องทำความเข้าใจกลยุทธ์ในการนำข้อมูลที่มีอยู่ไปต่อยอดและพัฒนาเพื่อให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุดค่ะ

สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนกลยุทธ์ได้คมขึ้นเพื่อสร้างจุดแข็งที่แท้จริงให้กับธุรกิจพร้อมประหยัดเวลาลองผิดลองถูก ด้วย Data Marketing ไปกับหลักสูตร ‘DATA MARKETING STRATEGY’

 

ที่มา

https:// www.invoca.com

https:// www.invespcro.com

https:// foryouandyourcustomers.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

6 แนวทางในการทำ Digital Content Marketing ในปี 2022 พร้อมตัวอย่างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ
3 Features สำคัญที่ต้องมีใน CRM ยุคปัจจุบัน