4 Check List โมเดลธุรกิจคุณเหมาะกับ E-commerce อย่างไร

4 Check List โมเดลธุรกิจคุณเหมาะกับ E-commerce อย่างไร

หากคุณกำลังต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ E-commerce เพื่อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเริ่มต้นจากศูนย์หรือเปลี่ยนจากธุรกิจ Offline มาเป็น Online คุณจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง Business Model ของธุรกิจ หรือรูปแบบการขาย การเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตของธุรกิจคุณเอง

ในแต่ละตัวเลือกนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ เพื่อให้คุณได้เริ่มทำธุรกิจ E-commerce ได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ โดยหลักแล้วการทำธุรกิจ Ecommerce จะมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • B2B – Business to Business
  • B2C – Business to Consumer
4 Check List โมเดลธุรกิจคุณเหมาะกับ E-commerce อย่างไร

คำถามก็คือ คุณต้องการที่จะขายใคร?

แม้ว่าสิ่งที่คุณต้องการจะขายนั้น เป็นสินค้ารูปแบบเดียวกัน แต่ลักษณะการขายที่แตกต่างกันทำให้เกิด Business Model ที่แตกต่างกันด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายผลิตภัณฑ์ความสวยความงาม หากคุณโฟกัสไปที่การขายให้กับตัวแทนจำหน่าย ห้างร้าน สรรพสินค้า ในจำนวนเยอะ ๆ นั่นหมายถึงคุณกำลังทำในรูปแบบของ B2B แต่หากคุณโฟกัสการขายไปที่ผู้ใช้สินค้าโดยตรงเลย ก็จะกลายเป็นรูปแบบของ B2C

ธุรกิจแบบ B2B

คือการขายสินค้าระหว่างบริษัทกับบริษัท ซึ่งมีข้อดีข้อเสียเมื่อเปรียบเทียบกับการขายแบบ B2C ดังนี้

ข้อดี การขายระหว่างบริษัท จะมีปริมาณการสั่งซื้อที่สูงกว่า จำนวนการสั่งซื้อในแต่ละรอบจะมากขึ้น ยิ่งในกรณีที่บริษัทคู่ค้ามีการเติบโตมากยิ่งขึ้น

ข้อเสีย จำนวนบริษัทที่ค้าขายด้วยย่อมมีน้อยกว่าจำนวนผู้บริโภคที่ธุรกิจแบบ B2C รวมไปถึง ระยะเวลาในการปิดการขายจะยาวนานขึ้น เนื่องจากการซื้อขายในนามบริษัทจะมีผู้ตัดสินใจร่วมกันหลายฝ่าย อาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายเดือนกว่าที่จะปิดการขายได้ รวมไปถึงเครดิตในการชำระเงิน กว่าที่เงินสดจะเข้ามาอาจกินเวลาอย่างน้อย 30 ถึง 60 วันขึ้นไป

ธุรกิจแบบ B2C

หมายถึงธุรกิจของคุณขายสินค้าหรือบริการโดยตรงกับผู้บริโภคที่ใช้สินค้านั้น ๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดของจำนวนธุรกิจทั้งหมด

ข้อดี สามารถเก็บเงินจากผู้บริโภคได้ทันทีเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการของบริษัท

ข้อเสีย มีจำนวนการสั่งซื้อต่อ 1 ใบเสร็จ ต่ำกว่าแบบ B2B จึงจำเป็นจะต้องอาศัยจำนวนคำสั่งซื้อที่ค่อนข้างมาก และจะต้องมีระบบการจัดการกับข้อมูลของลูกค้าจำนวนมหาศาล

 

4 Check List โมเดลธุรกิจคุณเหมาะกับ E-commerce อย่างไร

ประเภทสินค้าที่คุณต้องการขายคือประเภทใด?

Physical Product

สินค้าที่จับต้องได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักคุ้นชินกับการขายสินค้าในรูปแบบนี้ ซึ่งเป็นที่นิยมในการค้าขายสำหรับ Ecommerce มากที่สุด แต่ก็ยังมีความท้าทายในเรื่องของการสต็อคสินค้า การจัดเก็บสินค้า การส่งสินค้า และการรับประกันสินค้าในกรณีที่สินค้าเกิดความเสียหายในระหว่างการจัดส่ง

Digital Product

ณ ปัจจุบันสินค้าประเภทดิจิตอล ที่สามารถให้ลูกค้าดาวน์โหลดสินค้าผ่านออนไลน์ได้ทันทีที่ชำระเงินเข้ามา ข้อดีของสินค้าประเภทดิจิตอลก็คือ ไม่ต้องสต็อคสินค้า สามารถทำซ้ำได้โดยแทบไม่มีต้นทุนอื่น ๆ เพิ่มเติม จึงทำให้ส่วนต่างของกำไรนั้นสูงกว่ามาก รวมไปถึงไม่ต้องปวดหัวกับการจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียของสินค้าประเภทนี้ก็คือ การละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ

Services

การขายการให้บริการทางออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น การให้คำปรึกษาออนไลน์, การรับทำเว็บไซต์, การรับจ้างเขียนบทความ ซึ่งข้อดีก็คือ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีสินค้า เพียงใช้ความรู้ ความสามารถ ของบุคคลากรที่มีอยู่ ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ในทันที แต่ข้อเสียก็คือ ธุรกิจประเภทนี้ จำเป็นที่จะต้องใช้บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้นหากต้องการที่จะขยายธุรกิจ จะมีปัญหาเรื่องของการหาคนที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามารองรับกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

4 Check List โมเดลธุรกิจคุณเหมาะกับ E-commerce อย่างไร

คุณจะผลิตสินค้าด้วยวิธีการใด?

ผลิตสินค้าด้วยตนเอง

การผลิตสินค้าด้วยตนเองนั้น ข้อดีก็คือคุณสามารถควบคุมคุณภาพของแบรนด์ให้อยู่ในมาตรฐานที่ดีได้อย่างแม่นยำ แต่ก็ต้องอาศัยทักษะอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น บุคคลากรที่มีฝีมือในการผลิต ยิ่งเป็นสินค้าประเภทหัตถกรรมแล้ว คุณอาจจะต้องเจอกับปัญหาของกำลังผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น รวมไปถึงความท้าทายในการจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตสินค้าอีกด้วย

หาโรงงานผู้ผลิตสินค้า

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คุณสามารถหาโรงงานผู้ผลิตสินค้าแทนที่คุณจะต้องทำมันขึ้นมาเอง ซึ่งในปัจจุบันมีโรงงานที่มีทรัพยากรที่เพียบพร้อมในการผลิตสินค้าและตีแบรนด์ให้กับคุณพร้อมเสร็จสรรพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณอาจจะต้องหาแหล่งผลิตสินค้าจากประเภทที่มีค่าแรงที่ต่ำกว่า เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการผลิต อย่างเช่น โรงงานที่จีน ไ้ตหวันหรืออินเดีย เป็นต้น

การซื้อสินค้าขายส่ง

การซื้อสินค้าในราคาขายส่งนั้น เป็นรูปแบบที่ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากคุณสามารถติดต่อกับเจ้าของแบรนด์หรือผู้ผลิตได้ทันที ซึ่งคุณสามารถซื้อในราคาที่ต่ำแล้วนำไปขายในราคาที่สูงกว่า ข้อดีก็คือ มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า เนื่องจากคุณสามารถค้นคว้าและวิจัยก่อนการซื้อได้ว่า สินค้าแบรนด์ใด มีความน่าเชื่อสูง มีการทำการตลาดที่ดี มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่ต้องกังวลว่า มันจะขายได้หรือไม่ อย่างในกรณีที่ผลิตสินค้าขึ้นมาเอง ความเสี่ยงอยู่ที่เมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้ว แต่อาจไม่มีใครต้องการซื้อมันเลยก็ได้ ส่วนข้อเสียก็คือ กำไรต่อหน่วยอาจไม่มากนัก และไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง

 

4 Check List โมเดลธุรกิจคุณเหมาะกับ E-commerce อย่างไร

คำถามสุดท้ายก็คือ คุณเลือกที่จะแข่งขันในรูปแบบใด?

การลงเข้าแข่งขันในธุรกิจ Ecommmerce นั้น สามารถกำหนดอนาคตของธุรกิจคุณได้เลย มันสำคัญมากที่คุณจะต้องเลือกว่า คุณจะเข้าแข่งขันกับคู่แข่งในการตลาดด้วยรูปแบบใด

แข่งขันด้านราคา

แน่นอนว่า การแข่งขันในรูปแบบนี้ ไม่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีเงินทุนไม่หนาพอ เพราะหากคุณเลือกที่เข้าแข่งขันในรูปแบบของราคา คุณอาจจะต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหญ่ ที่มีเงินทุนเยอะ สายป่านยาว และท้ายที่สุดพวกเขาจะลดราคาต่ำจนกระทั่งคุณอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีกำไรเหลือ แถมเสี่ยงขาดทุน แล้วล้มหายตายจากไปในที่สุด จากนั้นเจ้าตลาดก็จะกลับมาขายในราคาดังเดิม

แข่งขันในด้านคุณภาพสินค้า

หากคุณเลือกที่จะแข่งขันในด้านคุณภาพของสินค้า จะทำให้คู่แข่งลดลงได้อย่างมหาศาล แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น ระยะเวลาในการผลิตที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้มีราคาสินค้าสูง ซึ่งจำนวนในการสั่งซื้ออาจลดลง ยกตัวอย่างเช่น หากนึกถึงสมาร์ทโฟน ที่มีคุณภาพสูง ราคาสูง ดังนั้น จำนวนออเดอร์จะลดลง แต่จำนวนคู่แข่งก็ลดลงตามไปด้วย

การแข่งขันด้วยการมีตัวเลือกที่มากกว่า

หากเปรียบเทียบร้านค้า Ecommerce เล็ก ๆ แม้ว่าอาจจะมีราคาที่ต่ำกว่า แต่ด้วยตัวเลือกที่น้อยกว่า Ecommerce เจ้าใหญ่ ๆ ผู้คนก็อาจจะเลือกอุดหนุนกับเจ้าที่มีตัวเลือกเยอะกว่า เพื่อสะดวกในการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้า ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ Amazon.com ที่มีตัวเลือกสินค้าอย่างมหาศาล เรียกได้ว่ามีสากกระเบือยันเรือรบ ทำให้ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาในการอยู่หน้าเว็บไซต์เพื่อเลือกดูและซื้อสินค้า แต่ความท้าทายก็คือ การจัดการกับจำนวนสินค้าที่มหาศาล อีกทั้งการจัดเก็บ การจัดส่ง การสต็อคสินค้า จะต้องทำได้อย่างดีเยี่ยม

การแข่งขันด้วยการเพิ่มมูลค่าทางใ

นี่คือหนึ่งในวิถีที่ดีที่สุดในการเข้าแข่งขันในตลาด เนื่องจาก ผู้คนมักซื้อสินค้าด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล ดังนั้น มันขึ้นอยู่กับว่า คุณสร้างภาพลักษณ์และคำอธิบายเกี่ยวกับสินค้า รวมไปถึงการเล่าเรื่องที่ดีมากพอ จะทำให้สินค้าธรรมดา ๆ ชิ้นหนึ่ง กลายเป็นสินค้าที่มีคุณค่าทางจิตใจได้เป็นอย่างดี และผู้คนก็มักจะเลือกซื้อเพียงเพราะมันถูกใจพวกเขา ดังนั้น ความท้าทายของการแข่งขันในรูปแบบนี้ก็คือ การทำการตลาดให้มีความโดดเด่น มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งของคุณ

แข่งขันด้วยการให้บริการที่เป็นเลิศ

มันอาจจะยากสักหน่อยสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจทำให้การบริการได้ไม่ทั่วถึง แต่หากสามารถสร้างพื้นฐานการให้บริการที่ดีตั้งแต่แรก มันจะเกิดการตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งเป็นการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด หลาย ๆ ธุรกิจอาจไม่มีความแตกต่างในด้านผลิตภัณฑ์เลย แต่วัผลแพ้ชนะกันด้วยการบริการที่ดีกว่า ซึ่งข้อดีก็คือ หากคุณมั่นใจในการให้บริการที่ดีกว่า คุณก็สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงกว่าด้วย

และนี่คือชุดคำถาม ที่คุณจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ ก่อนการเริ่มต้นทำธุรกิจ Ecommerce ซึ่งมันจะช่วยให้คุณมีโอกาสในการประสบความสำเร็จที่เพิ่มขึ้น และนอกจากนั้นคุณยังจะรู้สึกสนุกและตื่นเต้นไปกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์

 

Resources

  • https://www.shopify.com/blog/17240328-how-to-choose-an-ecommerce-business-model

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

Step by Step เว็บไซต์ Pretty Presets กับกรณีศึกษาเริ่มธุรกิจออนไลน์เริ่มต้นด้วยเงินลงทุนหลักพันบาท
7 ขั้นตอน สร้าง Facebook Ads ให้ได้กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ (ด้วยเครื่องมือ Facebook Ads Manager)