อัปเดตเทรนด์! การสร้างแบรนด์ให้เหมาะกับคนยุคดิจิทัล ในปี 2020

branding-trend-for-2020

1. “โลโก้” ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะแก่การนำไปใช้ที่หลากหลาย

เนื่องจาก “แบรนด์” จำเป็นจะต้องอยู่ในทุกๆที่ ที่ผู้คนพบเห็น เพื่อสร้างการจดจำและคุ้นเคยกับแบรนด์ จากที่เคยมีเพียงหน้าร้านแบบออฟไลน์ แล้วค่อยโปรโมทบนช่องทางออนไลน์ ช่องทางโฆษณา อาจจะไม่เพียงพอแล้วในตอนนี้ เพราะถ้าคุณต้องการให้ธุรกิจเติบโตในยุคนี้ที่เป็นยุคดิจิทัล คุณจำเป็นจะต้องมีเว็บไซต์ของร้าน และนำเสนอออกไปบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆด้วย

และด้วยเทรนด์การทำธุรกิจในยุคดิจิทัลนี้เอง ทำให้แบรนด์ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของโลโก้ไปด้วย โดยในปัจจุบัน การออกแบบโลโก้จะต้องเอื้อให้สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นขนาด ความซับซ้อน แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของโลโก้ที่จดจำได้อยู่ เพื่อให้สามารถใช้โลโก้นี้ได้เหมาะสมกับช่องทางและสิ่งที่คุณจะนำไปใช้งาน

ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะมีโลโก้หลักที่ใช้งานบนเว็บไซต์หนึ่งแบบ และสร้างโลโก้ย่อยที่อาจจะลดทอนบางอย่างของโลโก้หลักลงไปให้เรียบง่ายขึ้น เพื่อใช้กับช่องทาง Instagram หรือใช้เป็นลายน้ำบนรูปภาพต่างๆ เป็นต้น

ดังตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่า รูปแบบของโลโก้แต่ละแบรนด์นั้น มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นหลากหลายแบบ เพื่อเอื้อต่อการนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับช่องทาง และสิ่งที่จะนำไปใช้ได้มากขึ้น

branding-trend-for-2020ที่มา : financesonline.com

หากลองสังเกตแบรนด์สินค้าแฟชั่นดังๆ เราจะเห็นได้ว่า แบรนด์เหล่านี้มักจะให้ความสำคัญกับโลโก้มากๆ โดยโลโก้ของแบรนด์พวกเขามักจะอยู่ในทุกๆส่วน บนทุกๆช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์ บนโซเชียลมีเดีย หรือแม้กระทั่งบนผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ผลิตออกมา อย่างรูปสินค้าด้านล่าง ที่มีการใส่โลโก้แบรนด์ลงไปในสินค้าด้วย 

branding-trend-for-2020 branding-trend-for-2020ที่มา : instagram/chanelofficial

ดังนั้นการออกแบบโลโก้ให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้งานได้หลากหลาย จึงเป็นอีกเทรนด์สำคัญของการสร้างแบรนด์ที่เราต้องคำนึงถึงด้วย เพราะยิ่งเราสามารถสอดแทรกโลโก้ลงไปในทุกๆส่วนของธุรกิจได้มากเท่าไหร่ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในการจดจำแบรนด์ได้ดีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นด้วยค่ะ

 

2. ใช้ “แฮชแท็ก” โปรโมทแบรนด์

อีกหนึ่งเทรนด์ที่นิยมใช้กันในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือการใช้ “แฮชแท็ก”

จากข้อมูลของ Omnicore Agency ระบุไว้ว่า ทุกวันนี้ 7 ใน 10 ของแฮชแท็กที่มีบนช่องทาง Instagram เกี่ยวข้องกับแบรนด์ทั้งสิ้น ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่ธุรกิจใช้แฮชแท็กนั้น เพราะวิธีนี้ช่วยเพิ่ม Engagement ได้ถึง 50% และยังช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์อีกด้วย

การใช้แฮชแท็กส่วนใหญ่ จะเป็นการขอให้ลูกค้าโพสต์เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เพิ่งซื้อจากแบรนด์ไป โดยติดแฮชแท็กของแคมเปญที่แบรนด์จัดตั้งขึ้น

การใช้แฮชแท็ก ช่วยให้เกิด User Generated Content (UGC) หรือคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นมาโดยลูกค้าได้ ซึ่งแบรนด์สามารถขออนุญาติจากลูกค้า เลือกนำมาโพสต์บนโซเชียลมีเดีย เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าคนอื่นๆ อยากที่จะแชร์ประสบการณ์การใช้สินค้าร่วมด้วยมากขึ้น นอกจากนี้คอนเทนต์ที่มาจากลูกค้าเอง มักจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อได้มากกว่าด้วยค่ะ

ตัวอย่างภาพการแชร์จากผู้ใช้งานสินค้ายาทาเล็บของแบรนด์ Essie ซึ่งมีการใช้แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เช่น #essie #essielove #essiepolish เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้พบเห็นคอนเทนต์นี้รู้จักแบรนด์เพิ่มมากขึ้นค่ะ

branding-trend-for-2020ที่มา : financesonline.com

การใช้แฮชแท็ก จึงเป็นอีกเทรนด์ที่ธุรกิจมักจะนำมาใช้ โดยเฉพาะบนช่องทาง Instagram ที่การค้นหาผ่านแฮชแท็กเป็นที่นิยมมากๆ เป็นวิธีที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและแบรนด์ได้ดี ซึ่งส่งผลต่อความภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น และช่วยเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ด้วยเช่นกัน เมื่อลูกค้าแชร์รูปสินค้าและบริการพร้อมแฮชแท็กกระจายออกไป

นอกจากนี้ การใช้แฮชแท็กยังช่วยในการสังเกตผลตอบรับจากลูกค้าว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไรบ้างต่อสินค้า และบริการของคุณ อีกทั้งแฮชแท็ก ยังช่วยให้แบรนด์ได้เห็นไอเดียดีๆที่ต่างออกไปจากลูกค้า นำมาพัฒนาคอนเทนต์ในช่องทางของแบรนด์ต่อได้อีกด้วยค่ะ

 

3. สร้างกลุ่มสังคมออนไลน์ เพิ่มความมั่นใจในแบรนด์

การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า มีมากมายหลายแบบ หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นบนโพสต์ การพูดคุยทางกล่องข้อความ การคุยโทรศัพท์ อีเมล รวมถึงการใช้แฮชแท็กอย่างที่ได้กล่าวไป แต่นอกจากวิธีการเหล่านี้ ยังมีอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้เช่นเดียวกัน และยังเปิดให้มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างลูกค้ากับลูกค้ากันเองได้ด้วย นั่นก็คือ “กลุ่มชุมชนออนไลน์ (Online Community)” นั่นเอง

ตัวอย่าง Online Community ของแบรนด์ Starbucks และ Sephora

Starbucks

branding-trend-for-2020ที่มา : landt.co

Sephora

branding-trend-for-2020

ที่มา : landt.co

กลุ่มชุมชนออนไลน์ (Online Community) ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับลูกค้าในการพูดคุยโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสบายๆ เกี่ยวกับแบรนด์ เป็นการเชื่อมต่อลูกค้าเข้ากับคนที่ชื่นชอบหรือสนใจในสิ่งเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยสร้างสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างกลุ่มคนเหล่านี้กับแบรนด์ด้วย 

มีสถิติจาก the-cma.com ระบุไว้ว่า 37% ของผู้ซื้อสินค้ามักจะติดใจแบรนด์ เพราะกลุ่มชุมชนออนไลน์ (Online Community) ที่แบรนด์จัดให้ การมีกลุ่มนี้เป็นตัวเลือกเข้ามาให้กับลูกค้าได้มีโอกาสรับรู้ พูดคุยเกี่ยวกับแบรนด์มากขึ้น ช่วยให้พวกเขาไว้วางใจในแบรนด์ และเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อ

นอกเหนือจากนี้ การมีกลุ่มชุมชนออนไลน์ที่ผู้คนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแบรนด์กัน ยังช่วยให้เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น บนแพลตฟอร์มของเราเองเลย ช่วยลดขั้นตอนในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ไปได้

ด้านล่างเป็นตัวอย่างกลุ่มชุมชนออนไลน์บนเว็บไซต์ของแบรนด์ Sephora ที่ผู้สนใจสามารถพูดคุยเกี่ยวผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอางค์ของ Sephora สามารถเข้าไปรับชมแลกเปลี่ยนภาพการใช้สินค้า อัปเดตกิจกรรม รวมถึงพูดคุยหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความงาม มาแลกเปลี่ยนกันได้ เป็นต้น

branding-trend-for-2020ที่มา : sephora.com

 

4. เน้น “ความจริง” มากกว่า “ความสมบูรณ์แบบ”

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นในแบรนด์ต่างๆเกิดขึ้นได้ยากกว่าเดิม เนื่องจากความง่ายและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนช่องทางออนไลน์ ทำให้การนำเสนอให้เห็นถึง “ความจริง” นั้น เป็นที่ต้องการของผู้คน มากกว่าการนำเสนอที่เน้นความสมบูรณ์แบบมากเกินไป 

ผลวิจัยของ Stackla ระบุว่า 86% ของผู้ซื้อมองว่า ความจริง ความแท้ ความถูกต้อง เป็นปัจจัยสำคัญของพวกเขาในการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกว่า 90% ของกลุ่ม millennials กล่าวว่า ความจริง ความแท้ ความถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ โดยพวกเขาชอบแบรนด์ที่ “เป็นของจริง (Real) และธรรมชาติไม่ปรุงแต่ง (Organic)” มากกว่าแบรนด์ที่สร้างภาพลักษณ์ว่า “สมบูรณ์แบบ (Perfect)” 

ตัวอย่างภาพถ่ายโฆษณาจากแบรนด์เครื่องสำอางค์ของ Kylie Jenner ที่เน้นเผยผิวนางแบบ เพื่อนำเสนอความจริงของผิวพรรณผู้หญิง ที่มีความบกพร่องบนใบหน้าเป็นปกติธรรมดา แต่ก็มีความงามที่เป็นเอกลักษณ์ ดึงดูดใจได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นกระแสที่สร้างความโด่งดังให้กับแบรนด์ของ Kylie เป็นอย่างมากค่ะ 

branding-trend-for-2020ที่มา : dailymail.co.uk

ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า รูปถ่ายโฆษณาเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการปรับแต่งแก้ไขอย่างหนัก มีการใช้นายแบบ นางแบบที่สมบูรณ์แบบในภาพ อาจจะไม่มีเสน่ห์แล้วสำหรับผู้ซื้อในยุคสมัยนี้ พวกเขาชอบมากกว่าที่จะทำธุรกิจ ทำการซื้อขายกับแบรนด์ที่ซื่อสัตย์กับพวกเขา

ตัวอย่างที่ดีชิ้นหนึ่งเป็นของแบรนด์ McDonald’s ที่เคยเกิดประเด็นการถกเถียงเรื่องของส่วนผสมของอาหาร ว่าภาพอาหารที่พวกเขานำเสนอนั้นจริงหรือไม่ เนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นของแท้ 100% หรือเปล่า ทำให้ทางแบรนด์ตัดสินใจ เผยแพร่วิดีโอเบื้องหลังว่าพวกเขามีกระบวนการถ่ายทำรูปภาพสำหรับการโฆษณากันอย่างไร เพื่อแสดงความโปร่งใส รวมถึงปล่อยแคมเปญ “Our Food, Your Questions” เพื่อตอบคำถามยอดนิยมที่ผู้คนสงสัย โดยสร้างเป็นตอนๆนำเสนอบนเว็บไซต์ เพื่อจัดการกับความเข้าใจผิดต่างๆเกี่ยวกับแบรนด์ และควบคุมข่าวลือในเชิงลบเกี่ยวกับอาหารของพวกเขา

ตัวอย่างวิดีโอที่ทาง McDonald’s จัดทำขึ้นเพื่อพาไปดูเบื้องหลังกระบวนการถ่ายทำ เพื่อไขข้อข้องใจให้กับผู้บริโภค

จากตัวอย่างนี้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ แสดงกระบวนการผลิตต่างๆ หรืออาจจะแบ่งปันที่มาของวัตถุดิบ รวมถึงวิธีที่คุณใช้ในการตรวจสอบคุณภาพ แบ่งปันลงในช่องทางต่างๆ ก็จะช่วยให้ลูกค้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับแบรนด์คุณมากขึ้น รวมถึงเพิ่มความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกันด้วย

 

5. การสร้างแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคม

ในปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคไม่ได้มองเฉพาะแค่ตัวสินค้าอีกต่อไป เพราะ 87% ของลูกค้ามักจะซื้อของกับแบรนด์ ที่แบ่งปันเรื่องราวบางอย่าง รวมถึงบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของแบรนด์ 

โดยในปี 2017 มีคำกล่าวหนึ่งจาก Cone Communications ที่ศึกษาด้าน CSR กล่าวว่า “ในตอนนี้ แบรนด์ต่างๆ ไม่เพียงแต่ต้องนำเสนอว่าแบรนด์ของคุณมีอยู่เพื่ออะไรเท่านั้น แต่จะต้องนำเสนอด้วยว่าคุณยืนหยัด ต่อสู้เพื่อสิ่งไหนด้วย” ทั้งนี้เพราะ 46% ของผู้คนเชื่อว่า แบรนด์ต่างๆมักจะมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่ดีกว่านั่นเองค่ะ

อย่างแบรนด์รองเท้าสัญชาติอเมริกา “Toms” ซึ่งเป็นแบรนด์หนึ่งที่มีกลยุทธ์ในการรับผิดชอบต่อสังคมที่มีประสิทธิภาพมาก บางคนถึงกับบอกว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในแบรนด์ ที่ข่วยนำขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอีกด้วย

พวกเขาเริ่มต้นโดยร่วมมือกับหลายองค์กร หลายสถาบัน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือหลายๆปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม พวกเขามีแคมเปญเกี่ยวกับการยุติความรุนแรงจากการใช้อาวุธปืน มีการส่งเสริมความเท่าเทียม และสร้างความตะหนักในด้านสุขภาพจิตและอื่นๆ 

ด้วยการให้ลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์นี้ สามารถเลือกบริจาคให้กับภาคส่วนไหนก็ได้ที่ต้องการในทุกๆการซื้อแต่ละครั้ง ซึ่งแคมเปญนี้ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นอกเหนือไปจากการซื้อขายสินค้าธรรมดาทั่วๆไป

branding-trend-for-2020ที่มา : financesonline.com

การนำเสนอแง่มุมของแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แบรนด์ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่กระแสของการอนุรักษ์ การรณรงค์เพื่อสังคมกำลังเป็นที่นิยม และผู้คนเห็นความสำคัญของสิ่งเหล่านี้มากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้แบรนด์เข้าถึงใจของลูกค้าได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ

 

6. ร่วมมือกับ Influencer 

Influencer หรือผู้มีอิทธิพลในด้านต่างๆบนสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของแบรนด์ในยุคสมัยนี้ ถ้าคุณสามารถเลือก Influencer ได้เหมาะสมและถูกต้อง คุณแทบจะไม่จำเป็นต้องกังวลเลย ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ใช่ ตรงกับความสนใจที่เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ เพราะ Influencer เหล่านี้จะมีกลุ่มผู้ชมที่ให้ความสนใจ ติดตาม และมีส่วนร่วมในเรื่องนั้นๆอยู่แล้ว เป็นการคัดกรอง เพื่อเข้าถึงกลุ่มความสนใจได้ดีในยุคปัจจุบัน

อย่างอุตสาหกรรมเกม ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้นมากๆ ผ่าน Influencer บนแพลตฟอร์ม Video Streaming รวมถึง YouTuber ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ 

อย่างในปี 2015 ที่ถึงแม้ออนไลน์อาจจะยังไม่เป็นที่นิยมมากเท่าปัจจุบัน แต่การ Streaming Video ของ Influencer ในฝั่งเกมส์ ที่ชื่อว่า Felix Kjellberg หรือที่รู้จักกันในนาม “PewDiePie” ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ถึง 2.2 ล้านวิว จากการ streaming เล่นเกมส์เพียงแค่ 11 นาทีเท่านั้น

ตัวอย่างวิดีโอของ “PewDiePie” บนช่องทาง YouTube ที่มีผู้รับชมถึง 10 กว่าล้านวิว

ที่มา : youtube/PewDiePie

ด้วยผลลัพธ์การเข้าถึงคนที่ตรงกลุ่มความสนใจ ทั้งยังเข้าถึงได้จำนวนมากมายขนาดนี้ ทำให้ 79% ของแบรนด์มีการลงทุนในด้าน Influencer Marketing รวมถึง 22% ก็มีการวางแผนที่จะลองใช้กลยุทธ์นี้เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน

สำหรับแบรนด์ไหนที่ต้องการให้คนรู้จักมากขึ้น เข้าถึงคนได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย การร่วมมือกับ Influencer ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ และให้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ได้ดีทีเดียวในปัจจุบันค่ะ

 

7. ผสมผสานออฟไลน์และออนไลน์

การสร้างสมดุลของประสบการณ์ลูกค้าทั้งฝั่งออฟไลน์และออนไลน์ เป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ในยุคนี้ เพราะการไม่ปิดกั้นเส้นแบ่งของออฟไลน์และออนไลน์ ช่วยมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร และน่าจดจำให้กับแบรนด์ของคุณได้

ดังตัวอย่างดีๆ ซึ่งเป็นแคมเปญของ McDonald ที่ใช้เกมส์ Pick N Play ผสมผสานระหว่างออฟไลน์คือบิลบอร์ด กับออนไลน์ คือการเล่นเกมส์บนเว็บไซต์ในมือถือ จัดตั้งขึ้นในสตอกโฮล์มประเทศสวีเดน 

แคมเปญนี้ลูกค้าสามารถเล่นเกมส์ที่แสดงบนบิลบอร์ดได้ โดยใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวบังคับควบคุม ซึ่งใครที่สามารถเล่นเกมส์จนมีชีวิตรอดได้เกิน 30 วินาที ก็จะได้คูปองอาหารของ McDonald ฟรี 

การผสมผสานออฟไลน์กับออนไลน์นี้ สร้างกระแสฮือฮาให้กับแบรนด์เป็นอย่างมาก ทำให้คนกลับมาให้ความสนใจกับ McDonald มากขึ้น รวมถึงช่วยส่งเสริมการขายให้กับสาขาของ McDonald ในละแวกนั้น ให้มีคนไปใช้บริการมากขึ้นด้วยค่ะ

branding-trend-for-2020ที่มา : financesonline.com

และทั้งหมดนี้คือเทรนด์ในการสร้างแบรนด์ ที่คุณจะต้องคำนึงถึง หากอยากที่จะเติบโตในยุคออนไลน์ปัจจุบันนี้ สรุปให้อีกครั้งว่าประกอบไปด้วย

  • การออกแบบโลโก้
    ที่ต้องคำนึงให้ง่ายต่อการนำไปปรับใช้กับหลายๆช่องทาง หลายๆวัตถุประสงค์
  • การใช้แฮชแท็ก
    ในการโปรโมทแบรนด์บนช่องทางออนไลน์
  • สร้างกลุ่มสังคมออนไลน์
    ที่ลูกค้าสามารถพูดคุยกันเอง สอบถามปัญหาเกี่ยวกับแบรนด์ได้
  • นำเสนอแบรนด์โดยเน้น “ความจริง” มากกว่า “ความสมบูรณ์แบบ”
    เพื่อแสดงถึงความซื่อสัตย์ที่มีต่อลูกค้า
  • นำเสนอในส่วนของการรับผิดชอบที่แบรนด์มีต่อสังคมด้วย
  • ร่วมมือกับ Influencer
    เพื่อเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มคนที่ตรงความสนใจได้เพิ่มมากขึ้น
  • สุดท้ายผสมผสานระหว่างออฟไลน์และออนไลน์ควบคู่กันไป
    เพื่อสร้างความแปลกใหม่ ก็จะเป็นผลดีต่อการสร้างแบรนด์ในยุคปัจจุบันนี้ค่ะ

ที่มา
financesonline.com

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

5 ขั้นตอน นำร้านอาหารให้บริการบน LINE MAN ฝ่าวิกฤติ COVID-19
สรุปสถิติ!! Digital Branding พัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่จดจำในใจผู้บริโภค ในปี 2020