ทักษะจำเป็นที่ต้องมีกับ Content Marketer ตำแหน่งสุดฮิตในสายงาน Digital

cover

คำถาม : หากอยากเป็นนักการตลาดด้านคอนเทนต์จำเป็นต้องมีทักษะอะไรบ้าง ?

คุณเอมมี่ : หลายๆคนคิดว่าจะต้องจบด้านนักเขียนมารึเปล่า ซึ่งมันไม่เกี่ยวกัน แต่ถ้าจบด้านนี้มาก็จะเป็นพื้นฐานการเริ่มต้นที่ดีเพื่อที่จะนำพื้นฐานมาพัฒนาในการใช้ทักษะด้านภาษา คนที่อยากมาทำงานด้าน Content Marketing ควรมีทักษะดังต่อไปนี้

1.ทักษะการพัฒนาความรู้รอบตัว

สำหรับเรื่องนี้จะนับว่าเป็นทักษะก็ย่อมได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสังเกตุและใส่ใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเราว่า มีการเปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบอะไรต่อชีวิตเรา บ้าง เช่น การมี AI ( Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์) เข้ามาแต่เราอาจจะรับรู้ว่า AI คือสมองกลแค่นั้น แต่หากเราอยากทำงานด้านคอนเทนต์เราต้องไปศึกษาลงลึกว่ามีผลกระทบอะไรบ้างต่อชีวิตมนุษย์ ต่อเรื่องของธุรกิจ เรื่องของการท่องเที่ยว เรื่องของโรงพยาบาล แม้กระทั่งเรื่องของการรักษาคน  เรื่องต่างๆรอบตัวที่เกิดขึ้นเราจะนำมาปรับใช้อย่างไรบ้าง เพื่อนำมาถ่ายทอดให้ได้เป็นประโยชน์มากที่สุดแก่ผู้อ่าน

เพราะความรู้รอบตัวเป็นเรื่องสำคัญมากซึ่งมันจะเกิดขึ้นได้จากการฟังและการอ่าน เหมือนเวลาที่เราอยากฝึกภาษาใดภาษาหนึ่งถ้าเราไม่เคยฟังไม่เคยอ่านเลยหรือเราไม่เคยเห็นใครพูดภาษานี้มาก่อนเลยแล้วเราจะเข้าใจมันได้อย่างไร การที่เราฟังเยอะอ่านเยอะ เราจะมีคลังคำศัพท์อยู่ในหัวเยอะ คอนเทนต์ก็เปรียบเสมือนการเล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย หรือจะเล่าให้ซับซ้อนก็สามารถทำได้ ยิ่งเรามีคลังคำศัพท์ คลังประสบการณ์อยู่เยอะ เราจะเล่าเรื่องได้ดีขึ้น

2.ทักษะการฟังและการอ่าน

คือทักษะการรับสารที่ดี คนที่ทำงานด้านคอนเทนต์คือคนที่มีหน้าที่สื่อสารออกไป แต่ก่อนที่เราจะนำสารออกไปเราต้องมีทักษะการรับสารเข้ามา อีกส่วนนึงเอมมี่คิดว่าต้องออกไปท่องเที่ยว ไปดูโลกกว้าง  เวลาถ่ายทอดจะได้เป็นการถ่ายทอดจากหลากหลายมุมความคิดเห็นไม่ใช่การนำเสนอจากความคิดเห็นของเราเพียงมุมเดียว

คนที่ทำคอนเทนต์อยู่บ้านอย่างเดียวหรือเขียนจากสิ่งที่เราอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ ก็สามารถทำได้ แต่เราต้องออกไปเอาประสบการณ์จริงด้วยเพราะผู้อ่านก็ต้องการคอนเทนต์ที่สร้างมาจากประสบการณ์จริง

3.ทักษะการสื่อสาร พูดคุยกับคนแปลกหน้า

         อย่างเช่นเราไปร้านอาหารก็ไปดูว่าคนที่เขาเป็นเจ้าของเขามีความคิดยังไง ทำไมถึงมาเปิดร้านอาหาร  มันคือการเปิดรับฟังมุมมองของผู้อื่นที่มีมุมมองแตกต่างออกไป

คอนเทนต์สำหรับเอมมี่คือ วิทยาศาสตร์และศิลปะในตัวเดียวกัน สำหรับส่วนของวิทยาศาสตร์ก็คือ มีสถิติบางส่วน มีหลักการ มีเหตุและผล โครงเรื่องในการเล่าเรื่อง ตัวละครจำนวนเท่าไหร่ และอีกส่วนคือศาสตร์ด้านศิลปะที่มันจะเกิดขึ้นจากตัวของเรา ซึ่งมันอาจจะถ่ายทอดไม่ได้ คนที่ทำคอนเทนต์จะต้องไปหาเอกลักษณ์ของตัวเองให้ได้ มันจะเกิดขึ้นจากการที่เราเห็นเยอะ เสพเยอะ ไปคุยกับคนอื่นแล้วได้ไอเดีย การอ่านเยอะ ดูเยอะก็เป็นสิ่งที่สำคัญ อย่าตีกรอบตัวเองว่าฉันอ่านอย่างเดียว เราอาจจะลองดูหนัง ดูซีรี่ย์ มันก็ได้อีกแง่มุม ลองฟังหลายๆเรื่อง  หลายๆประเภท เราก็จะได้เก่งขึ้นในเรื่องของคอนเทนต์

4.ทักษะกล้าลอง

ไม่แน่ใจว่านี่เรียกว่าทักษะได้หรือไม่แต่…

ส่วนใหญ่น้องๆในปัจจุบันกลัวการที่ทำออกมาแล้วไม่ดี แต่สำหรับการผลิตงานด้านคอนเทนต์ คือศาสตร์และศิลป์ที่จะดีได้คือต้องฝึกต้องลองก็เหมือนทุกอย่างในชีวิต ไม่มีใครเริ่มต้นแล้วทำได้ดีเลย ยิ่งทำเยอะ พลาดเยอะ ยิ่งเรียนรู้ แต่ไม่ใช่พลาดซํ้าแล้วไม่จำ เพราะเรื่องคอนเทนต์เป็นเรื่องการสื่อสารหากเราพลาดซํ้าก็อาจจะทำให้สารที่เราสื่อหมดความน่าเชื่อถือไปได้

มันต้องลองลงมือทำ คนที่ทำคอนเทนต์เก่งๆขึ้นอยู่กับประสบการณ์ เอมมี่ก็ยังเชื่อเรื่องประสบการณ์ที่สะสมอยู่ดี ประสบการณ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้น ไม่ใช่ว่าคนที่ทำมา 5 ปี จะเก่งกว่าคนที่ทำมา 3 ปี เพราะบางครั้งคนทำนานกว่า แต่ความเสมอต้นเสมอปลาย ความขยัน น้อยกว่า ทำแบบไม่ค่อยตั้งใจ ก็ถือว่าประสบการณ์อาจจะน้อยกว่าคนที่ทำมา 3 ปี แต่ขยันมากหายใจเข้าออกเป็นเรื่องคอนเทนต์ เพราะทักษะคือการที่เราทำเยอะเราได้เยอะ

ณัฐวีร์ ตันติสัจจธรรม STEPS Academy

ส่วนใหญ่น้องๆก็จะพูดว่า หนูอยากทำหลายอย่างเลย หนูอยากทำอาชีพ Content Marketer อยากลองยิงโฆษณา อยากทำ Production ขออย่างเดียวคือ ตัดสินใจ และ Take Action(ลงมือทำ)

ทุกอาชีพโดยส่วนใหญ่ของคน 80 % ยังไม่ได้ Take Action เลยไม่ได้เกิดความคืบหน้าสักที และบวกกับ อุปนิสัยใหม่ ที่ต้องทำอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

เราจะต้องทำทุกวัน ทำอย่างสม่ำเสมอ เหมือนกับว่าวันนี้ลองทำตัวนี้ดู ลองทำตัวนู้นดี ลองเขียนแบบนี้ดู แล้วมันจะทำให้เราเก่งขึ้น ได้เรียนรู้มากขึ้น ไม่ใช่เขียนแล้วไม่กล้านำออกมาสู่ที่สาธารณะ การที่เรานำคอนเทนต์เราออกสู่ที่สาธารณะ มันคือความกล้า กล้าที่จะลองทำว่าคอนเทนต์ของเราจะถูกใจกับที่สาธารณะชอบรึป่าว ถูกใจกับคนกลุ่มแบบไหน ไม่ถูกใจกับกลุ่มคนแบบไหน นี่คือสิ่งที่ดี เรากล้าที่จะเอาลงไปเร็วเท่าไหร่ เราจะได้รู้ว่าเราต้องพัฒนาส่วนไหน Feedback เท่าไหร่ ทุกวันนี้เอมมี่ยังต้อง Feedback ตัวเอง เหมือนสมมติว่าลงคอนเทนต์ไปแล้วแต่ Engage(การมีส่วนร่วม) ไม่ได้ดี แต่ก็มีคนเข้ามาอ่านอยู่เรื่อยๆ นั้นก็แสดงว่าเป็นการประกอบให้คนที่จะพิจารณาเราให้ดูเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญจริงๆ เหมือนกับการเป็นคอนเทนต์ที่เหมาะสำหรับการส่งต่อ บอกต่อไปอีก ถือว่าเป็นอีกทักษะหนึ่ง

5.ทักษะการตั้งคำถาม

อย่างเช่น เดินไปเจอคุณลุงท่านหนึ่งกำลัง Drip กาแฟอยู่ตรงร้านตึกแถวเล็กๆ อย่างช้าๆ ในขณะที่โลกภายนอกกำลังเร่งรีบ เราต้องเริ่มสังเกตุแล้วก็ตั้งคำถามว่าทำไมเขาถึงมีสมาธิกับกาแฟขนาดนั้น ทำไมคุณลุงอายุเยอะแล้วถึงมาทำกาแฟอย่างเดียว เขาขายกาแฟงอย่างเดียวหรือเปล่า เขาทำเพราะรัก หรือทำเพราะยังมีลูกค้าอยากให้ทำ กาแฟเขาแตกต่างกับคนอื่นยังไง? คนแบบไหนชอบกินกาแฟของเขาบ้าง? และถ้าวันนี้เขาอยากขยายธุรกิจเขาต้องทำอะไรบ้าง?  มันคือการตั้งคำถามเพื่อที่ให้เราหาคำตอบ และทำให้เราตัดสินใจไปพูดคุยค้นหาคำตอบ ยิ่งเรามีคำตอบอยู่ในตัวเยอะ มันทำให้เราได้ประสบการณ์จากคนอื่นเหมือนเป็นการย่อยประสบการณ์ ทำให้คลังประสบการณ์เราเยอะขึ้นจากการตั้งคำถาม ดีกว่าการนั่งอยู่บ้านเฉยๆ และจินตนาการเองอย่างเดียว คอนเทนต์เราจะไม่ได้พัฒนาไปมากกว่าที่เคยไป

นักเขียนคอนเทนต์ที่ดีคือคนที่มีประสบการณ์ทั้งของตัวเราและของคนอื่นเยอะเพียงพอที่จะถ่ายทอดออกมาเพื่อให้คนเข้าใจและรับรู้ผ่านคอนเทนต์อีกที เรียกสั้นๆง่ายๆว่า Experience Sharing แชร์ประสบการณ์ผ่านคอนเทนต์นั้นเอง

 

คำถาม : เวลาที่เขียนคอนเทนต์จะมีบางจังหวะที่เราคิดไม่ออก คุณเอมมี่มีการรับมือยังไงคะ ?

คุณเอมมี่ : สำหรับเอมมี่ก็มีช่วงเวลานั้น  เอมมี่ก็จะปล่อยเบลอคือการยังไม่ทำมัน ปล่อยว่างเปล่า บางทีในสมองเรามีความคิดที่เต็มไปหมด เราไม่ได้ปล่อยหรือเปิดโอกาสให้ช่องว่างหรือไอเดียใหม่ๆเข้ามา ทำให้เราคิดไม่ออก ส่วนตัวของเอมมี่เวลาที่เขียนคอนเทนต์ต้องอยู่คนเดียว จริงๆอยู่กับคนอื่นก็เขียนได้ แต่การอยู่คนเดียวคือ การปล่อยจิตให้ว่างเช่นกัน

บวกกับเลือกสถานที่ที่เสริมพลังงานสร้างสรรค์ของเรา ส่วนตัวพลังงานของเอ็มมี่จะเกิดขึ้นเมื่อมองเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่นร้านกาแฟ

ส่วนตัวเอ็มมี่ก็ยังคงชอบ Starbucks ที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีคนเข้ามาประชุมงานกัน มีคนมานั่งเล่นหมากรุก กินกาแฟ มีบาริสต้าแนะนำกาแฟใหม่ๆ มีคุณแม่สอนการบ้านลูก ต่างๆ นาๆ

     เวลาที่เอมมี่ได้มองผู้คนเอมมี่จะเกิดคำถาม อย่างเช่น ทำไมคนนี้ถึงชอบแบบนี้ ทำไมคนนี้ถึงทำแบบนี้ พอมันเกิดคำถามมันก็จะเกิดไอเดีย มันจะคิดได้เรื่อยๆ มันคือสิ่งที่เราต่อยอดไปได้ หรือถ้าบางครั้งเราคิดไม่ออกเราก็หยุดพักไปอ่านหนังสือของคนอื่นเขาบ้าง  ไปอ่านคอนเทนต์ของคนอื่นบ้าง ไปท่องเที่ยวทำกิจกรรมไร้สาระ ไปคุยกับเพื่อนต่างอาชีพ ถ้าสุดท้ายแล้วยังคิดไม่ออกก็คือนอน สำหรับเอมมี่คือไม่ได้นอนหลับไปเลยแต่หมายถึงว่าการนอนสมาธิ เวลาที่เราปล่อยให้ตัวเองว่างเปล่า เอมมี่ว่ามันคือการ Refresh แล้วก็จะได้ไอเดียใหม่ๆขึ้นมาได้ง่ายขึ้น

ณัฐวีร์ ตันติสัจจธรรม STEPS Academy

คำถาม : ระหว่างการทำโฆษณาเพียงอย่างเดียวกับการทำคอนเทนต์เพียงอย่างเดียว แบบไหนดีกว่ากัน ?

คุณเอมมี่ :โฆษณา หรือ คอนเทนต์ที่ไม่ซื้อโฆษณา ทั้งหมดก็คือคอนเทนต์ หรือ Message ที่เราต้องการสื่อออกไป ต้องเข้าใจว่าโฆษณาคือ Push Marketing  ให้เห็นถึงสินค้าและบริการของเรา โปรโมชั่นต่างๆ อย่างชัดเจน

เอมมี่ถือว่ามันคือ Sell-Content กับ Non-Sell Content เพราะฉะนั้นทุกอย่างคือคอนเทนต์อยู่ภายใต้ร่มการสื่อสารคันเดียวกัน  ถ้าถามว่าลูกค้าแยกออกไหมว่าขายกับไม่ขายต่างกันยังไง ยังไงลูกค้าก็แยกออกอยู่แล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่าจะยอมรับรึป่าวว่ายอมให้ขาย อย่างเช่น เอมมี่จะซื้อรถ 1 คัน ก็ค้นหาดูข้อมูล เอมมี่ไปเปิดรีวิวดูนั่นคือการที่ยอมให้ขาย ขายมาเลยเอมมี่ยอมให้ขาย จะใส่รายละเอียดสินค้าอะไรใส่มาเลยเท่ากับว่าจะอยู่ในขั้นตอนการจะตัดสินใจซื้อละ (Consideration) แต่ถ้าเอ็มมี่อยู่ในขั้นของการยังหา Hidden Want หรือความต้องการที่ซ่อนอยู่ไม่เจอ ตัวอย่างเช่น

ก่อนหน้านี้เอมมี่มีความคิดว่ารถไม่จำเป็น และมีคนมานำเสนอคอนเทนต์ให้เอมมี่ เห็นการเปรียบเทียบระหว่าง การซื้อรถเอง และ การนั่ง Grab หรือ Uber มีข้อดีข้อเสียเป็นยังไง ซื้อรถเองแบบรถอีโคคาร์พอเปรียบเทียบแล้วอาจจะประหยัดกว่าก็ได้ เพราะถ้าคุณเป็นนักธุรกิจที่วันนึงต้องเดินทางวันละหลายๆ ที่ การซื้อรถส่วนตัวอาจจะดีกว่า

พร้อมให้เหตุผลในคอนเทนต์อีกว่า หากเดินทาง 4 ที่ จากจุดนึงไปอีกจุดนึง จากที่เราคิดว่าวางแผนดีแล้วอาจจะกลายเป็นไม่ดี เพราะการเดินทางรอบนึงอาจจะ 100 – 200 บาท  หนึ่งวัน 4 ที่เท่ากับ 800 x 30 = 24,000 บาท เราควรจะซื้อรถดีกว่า แต่ถ้าเป็นอีโคคาร์ที่ช่วยให้เอมมี่ประหยัดได้มากกว่านั้น แบบนี้เรียกว่า Content Awareness ต้องปลุกความต้องการที่ซ่อนอยู่ภายในให้เกิดขึ้น  คอนเทนต์นี้ก็ไม่เน้นขาย เราแทบจะไม่พูดถึงแบรนด์ แต่หากวันหนึ่งที่ลูกค้าแบบเอ็มมี่เลื่อนขั้นจากไม่มีความต้องการกลายเป็นต้องการ เราอาจจะนำเสนอคอนเทนต์เช่น คาแร็คเตอร์แบบคุณเหมาะกับอีโคคาร์แบบไหน ทำให้ผู้ชมอยาก Engage อยากจะทำ Quiz อย่างเช่น ราศีของคุณเหมาะกับอีโคคาร์สีไหน

เรียกว่าเราใช้คอนเทนต์กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ความอยากซื้อ อยากหาข้อมูล อยากตัดสินใจ เพราะฉะนั้นแล้วเราจะต้องวางกลยุทธ์ทุกๆลำดับขั้นตอนของลูกค้า (Customer Journey)

นี่คือสิ่งที่เอมมี่อยากบอกทุกคนที่เอมมี่พยายามอธิบายทุกคนเค้าเข้าใจบางคนบอกว่าทำคอนเทนต์ 1 บทความก็ดังได้เลย สำหรับเอมมี่ เอมมี่จะบอกว่ามันต้องคิดกลยุทธ์ให้เยอะขึ้น เราถึงจะเก็บตกลูกค้าได้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้บนโลกออนไลน์

ณัฐวีร์ ตันติสัจจธรรม STEPS Academy

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

อัพเดท 5 การเปลี่ยนแปลงฟีเจอร์บน Facebook ก่อนเข้าสู่ปี 2019
ก้าวต่อไปของการสร้าง Content Marketing ให้เกิดผลลัพธ์ในปี 2019