9 เช็คลิสต์ที่คุณควรรู้สำหรับสร้างผลลัพธ์ให้ธุรกิจผ่านเว็บไซต์

9 เช็คลิสต์ที่คุณควรรู้ สำหรับการสร้างผลลัพธ์ให้ธุรกิจผ่านเว็บไซต์

 

รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันมีเว็บไซต์มากถึง 1,740 ล้านเว็บไซต์ทั่วโลก

คุณรู้หรือไม่ว่าปัจจุบันมีเว็บไซต์อยู่ทั้งหมดจำนวน 1,744,517,326 เว็บไซต์ ถ้าจะตีเอาตัวเลขกลมๆก็ประมาณ 1,740 ล้านเว็บไซต์ โดยประมาณครับ (เป็นข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2020 ) ซึ่งตัวเลขนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่อย่างตลอดเวลา และคุณรู้หรือไม่ว่าเว็บไซต์แรกที่ออกสู่สาธารณะ ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1991*(1) และในช่วงเวลาเกือบ 2 ทศวรรษนี้มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากถึง 4.54 พันล้านคนทั่วโลก นับเป็น 59% ของประชากรทั้งหมดทั่วโลกเลยทีเดียว*(2)

แล้วเว็บไซต์อะไรละที่คนเข้าใช้งานมากที่สุดละ? คำตอบที่ทุกคนคิดในใจน่าจะเป็น Google ซึ่งไม่ผิดครับ เว็บไซต์ Google เป็น เว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเข้าใช้งานมากที่สุดในโลก*(2)

 

ผลโพลจาก Hootsuit ปี 2020 เว็บไซต์ยอดนิยม 20 อันดับในประเทศไทยภาพประกอบจาก: https://www.slideshare.net/DataReportal/

 

และแน่นอนครับในประเทศไทยก็เช่นเดียวกันครับ Google เป็นเว็บไซต์ที่คนไทยเข้าใช้งานมากที่สุด*(2)เช่นเดียวกัน

นั้นเป็นเพราะว่า Google เป็นเสมือนห้องสมุดที่คุณสามารถค้นหาข้อมูลที่มีอยู่มากมายบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ และการค้นหาข้อมูลผ่านทาง Google นั้นในปัจจุบันนับเป็นเรื่องปกติของทุกคน ถึงขนาดมีคำพูดติดปากกันว่า “ถ้าอยากรู้อะไรให้ถามอากู๋ (Google)” แต่คำถามที่น่าสนใจสำหรับวันนี้คือ “แล้วทำอย่างไรถึงจะให้คนหาเว็บไซต์เราเจอละ?” “แล้วจะทำอย่างไรให้เว็บไซต์เราน่าสนใจดูโดดเด่น น่าสนใจ น่าดึงดูดละ?” “จะทำอย่างไรให้เว็บไซต์เราช่วยเราขายของได้ละ”

 

ผลโพลจาก Hootsuit ปี 2019 เว็บไซต์ยอดนิยม 10 อันดับในประเทศไทย

ภาพประกอบจาก: https://www.slideshare.net/DataReportal/

 

ทำอย่างไรให้คนค้นหาเว็บไซต์เราเจอ? ทำอย่างไรให้เว็บไซต์เราน่าสนใจ?

วิธีที่จะทำให้เว็บไซต์เราถูกพบเจอได้มากที่สุดใน Google โดยไม่เสียเงินจ่ายค่าโฆษณา คือการทำ SEO (Search Engine Optimization) และวิธีที่ดีที่สุดคือการทำกฎของ Google และเงื่อนไขต่างๆที่ทาง Google กำหนดเอาไว้ เพราะทาง Google นั้นมีการให้คะแนนสำหรับเว็บไซต์ต่างๆที่ทำตามกฎ และเงื่อนไขเหล่านี้อยู่ (ในปัจจุบัน Google มีเงื่อนไขในการให้คะแนนอยู่มากกว่า 200 ปัจจัยด้วยกัน)

และในวันนี้เรามี 9 สิ่งที่คุณสามารถทำได้โดยไม่ต้องเสียเงิน เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณเป็นที่ชื่นชอบของ Google

 

1.) Domain Name 

 

การเลือกชื่อ Domain ให้ตรงกับคีย์เวิร์ด

ภาพประกอบจาก   https://www.shutterstock.com

 

วิธีการที่ง่ายที่สุดในการทำ SEO คือการเลือกชื่อ Domain Name ให้ตรงกับกลุ่ม Keyword ที่คุณต้องการ ชื่อ Domain Name ควรจะต้องสั้นกระชับ และเลือกใช้นามสกุลที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น .co.th สำหรับบริษัทที่เปิดในประเทศไทย .net มักจะเป็นเว็บไซต์สำหรับ network ต่างๆ .ac.th จะเป็นเว็บไซต์ประเภทการศึกษา เป็นต้น

แต่ตรงส่วนนี้โดยทั่วไปทุกคนจะเลือกชื่อ Domain Name ให้เหมือนกับชื่อบริษัท หรือ brand ของตนเอง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกตินะครับ ส่วนเรื่องการเลือกใช้นามสกุล ผมอยากให้เลือกให้เหมาะสมกับประเภทของเว็บไซต์นั้นๆครับ หากเราเลือกได้ถูก Google จะทราบโดยทันทีว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ประเภทไหน

 

2.) Site Structure

 

Site Structure หรือ การจัดวางโครงสร้างเว็บไซต์ นั้นคือการจัดเรียยงข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์เรา และแบ่งออกมาให้ชัดเจนว่า หน้าไหนควรจะมีเนื้อหา content แบบไหน หน้าไหนเราต้องการที่จะสื่อสารอะไร

การจัดวางโครงสร้างเว็บไซต์นั้นมีประโยชน์อย่างมากกับทั้งผู้เข้ามาใช้งาน (Users) และ Google ในมุมของผู้ใช้งาน (Users) หากเราจัดวางโครงสร้างเว็บไซต์ได้ดี จะสามารถทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์เราได้ง่าย หาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวก และรู้ได้อย่างชัดเจนว่าถ้าเรากดไปที่หน้านี้จะต้องเจอกับข้อมูลอะไรบ้าง

ส่วนในมุมของ Google นั้นแน่นอนว่าการจัดวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จะทำให้ Google เข้าใจเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น และรู้ว่าจะต้องดึงข้อมูลส่วนไหนไปแสดงผลให้กับผู้ค้นหานั้นเอง

ดังนั้นหาใครยังไม่ได้มีการวางโครงสร้างที่ชัดเจน ผมขอแนะนำให้ลองเริ่มทำดูนะครับ

 

3.) Mobile Responsive / Mobile Optimization

 

การนำเสนอเว็บไซต์เพื่อให้คนค้นหาได้ง่ายโดยการทำ mobile responsive

ภาพประกอบจาก: https://lithiosapps.com

 

เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านทางมือถือเป็นจำนวนมาก สูงถึง 97% จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมดในประเทศไทย*(2) ทำให้ Google นั้นให้ความสำคัญอย่างมากกับเว็บไซต์ที่สามารถแสดงผลได้ดีบนมือถือ เพราะนั้นจะมันจะทำให้ใช้งานได้ง่าย และได้รับประสบการณ์ที่ดีกับเว็บไซต์นั้นๆ และแน่นอนว่า Google เองก็ต้องการ และชื่นชอบที่จะนำเสนอเว็บไซต์ที่คนค้นหาใช้งานได้ง่าย ดังนั้นอย่ามองข้ามการทำ Responsive / Mobile Optimization นะครับ

 

4.) Quality Content

 

การสร้างบทความให้มีคุณภาพ

ภาพประกอบจาก: https://www.classy.org/blog

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ SEO คือการที่เรามี content คุณภาพ หรือ original content ที่เราเขียนขึ้นเอง เพราะเนื้อหาที่ดี ตรงประเด็น จะทำให้ Google รู้ว่าเว็บไซต์คุณกำลังสื่อสารอะไร และยิ่งคุณมีเนื้อหาแบบนี้ออกมาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ Google รู้สึกว่าคุณมีการอัปเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เว็บไซต์คุณจะติดอันดับได้โดยไม่ยากเลย

ข้อห้ามอย่างนึงที่หลายคนมักจะเข้าใจผิด คือ การที่เราโพสเนื้อหาเดิมซ้ำๆกันในเว็บไซต์ แต่ก่อนอาจจะเป็นการเพิ่ม Traffic ที่ดีให้กับเว็บไซต์ แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นแบบนั้นอีกต่อไป เพราะ Google จะมองว่าเราไป copy บทความมาจากที่อื่น นอกจากจะไม่ Ranking ให้เรายังอาจจะทำให้อันดับเว็บไซต์ของเรานั้นแย่ลงกว่าเดิมอีกด้วย

5.) User eXperience (UX) & User Interface (UI)

 

ความแตกต่างระหว่าง UX และ UI

ภาพประกอบจาก: https://medium.com/

 

หลายคนอาจจะเคย หรือไม่เคยได้ยิน 2 คำนี้ แต่ก่อนอื่นผมจะอธิบายให้ทุกคนเข้าใจในความหมายเบื้องต้นก่อนนะครับ

User eXperience (UX) คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้ในการใช้งาน หรือความพอใจของผู้ใช้งาน

User Interface     (UI)  คือ สิ่งที่ใช้โต้ตอบกับผู้ใช้งาน หรือ หน้าตาเว็บไซต์นั้นเอง

 

ถ้าจะให้ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ UX คือ การที่เราทำให้คนใช้งานรู้สึกใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย และ UI คือ การที่เราทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกถึงความสวยงาม แน่นอนว่า 2 สิ่งนี้มันจะไม่ไปด้วยกันได้อย่างง่ายๆ อย่างตัวอย่างรูปด้านล่างครับ

และแน่นอนว่า Google ให้ความสำคัญกับ UX มากกว่า แต่หลายท่านอาจจะบอกว่า “ถ้าเป็นแบบนี้เว็บไซต์เราก็ไม่สวยถูกใจนะสิ” ใช่ครับ UX และ UI นั้นมักจะมีความขัดแย้งกันอยู่ในตัวพอสมควร แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถทำให้ UX และ UI ออกมาได้ดีทั้งคู่ไม่ได้นะครับ

ดังนั้นถ้าหากคุณสามารถทำให้ทั้ง UX/UI นี้ไปด้วยกันได้แล้ว เว็บไซต์ของคุณจะเป็นเว็บไซต์ที่ทั้ง Google และผู้ใช้งานชื่นชอบอย่างแน่นอนครับ

 

6.) Page Speed

 

วิธีนำเสนอเว็บไซต์ที่คนค้นหาผ่าน Google Page Speed

ภาพประกอบจาก: https://ampforwp.com

 

ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะไม่ชอบเว็บไซต์ที่กดเข้าไปแล้วโหลดอะไรไม่ขึ้นสักอย่าง ปล่อยให้เรารออยู่นาน ใช่ครับและนี้คืออีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้หลายๆคนกดปิดเว็บไซต์เราไปหากเว็บไซต์ของคุณทำงานได้ช้า และ Google เองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไม่ใช่น้อยครับ

หากคุณอยากรู้ว่าเว็บไซต์ของคุณทำงานเร็วหรือไม่ ลองทดสอบกับเว็บไซต์ของ Google ได้เลยครับที่ Google PageSpeed  Insights ในเว็บไซต์นี้จะทำให้คุณทราบว่าเว็บไซต์คุณได้คะแนนเท่าไหร และจะต้องทำอย่างไรเพื่อปรับปรุงให้เว็บไซต์ของคุณเร็วขึ้น

 

7.) Alt Tag

 

การทำ Alternative Text

ภาพประกอบจาก: https://www.volusion.com

 

อย่างที่ทุกคนทราบว่า Google นั้นฉลาด แต่มันก็ยังไม่ได้ฉลาดมากพอที่จะสามารถรู้ได้ว่า “รูปภาพนี้ คือรูปภาพอะไร หรือเกี่ยวข้องกับคำว่าอะไร” และวิธีการที่จะทำให้ Google รู้ว่ารูปภาพนี้ คือรูปภาพอะไร คือการบอกกับ Google ครับ โดยการใส่สิ่งที่เราเรียกกันว่า Alt Tag

ซึ่งการใส่ Alt Tag นั้นถ้าเป็นไปได้เราควรที่จะใส่ให้ครบทุกภาพ (ถึงแม้ว่าผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ขี้เกียจใส่ก็ตาม) และประโยชน์จากการใส่ Alt Tag นี้ จะทำให้รูปภาพของเรานั้นไปปรากฎอยู่ใน Google Image ซึ่งมีคนใช้งาน Google Image นี้ไม่น้อยเลยทีเดียว และหลายคนที่ชอบเข้าเว็บไซต์เราผ่านทาง Google Image (ตัวผมคนหนึ่งละที่ทำแบบนั้น)

 

8.) Internal Link

 

การใช้ Internal Link เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่และไปยังส่วนอื่นของเว็บไซต์

ภาพประกอบจาก: https://www.searchenginejournal.com

 

หนึ่งในวิธีการง่ายๆที่ทำได้จริง คือ การทำ Internal Link คือการที่เราใส่ลิงค์ลงไปในที่ต่างๆของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานไปยังส่วนอื่นๆของเว็บไซต์ ซึ่งนี้คือหนึ่งในวิธีที่จะดึงให้ผู้ใช้งานอยู่ในเว็บไซต์ของเราได้นานยิ่งขึ้น และแน่นอนว่า Google เองก็ชื่นชอบมันด้วยเช่นกัน

 

9.) Meta Tag

 

การทำ Meta-Tags ใน SEOภาพประกอบจาก: https://www.searchenginemagazine.com

 

Metadata Elements หรือ Mate Tag คือ code ที่อยู่ส่วนบนของหน้าเว็บไซต์ (Head) ที่สำคัญเจ้า Meta Tag นี้เป็นส่วนที่จะบอกกับ Google ว่า เว็บไซต์ของคุณมีลักษณะอย่างไร เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร แสดงผลด้วยภาษาอะไร ใครเป็นคนเขียน และมีคำค้นหาว่าอะไรบ้าง

เจ้า Meta Tag นี้เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปครับ หรือหลายคนเขียนแต่เขียนด้วยรูปแบบเดียวกันหมดทั้งเว็บไซต์ ลองกลับไปตรวจสอบ Meta Tag ในเว็บไซต์ของคุณดูนะครับ และลองปรับแต่งในแต่ละหน้าให้เหมาะสมกับเนื้อหาของหน้านั้นๆ ผมเชื่อว่าเว็บไซต์ของคุณจะมีอันดับที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

 

อ้างอิง:

  1. ข้อมูลจาก 100+ Internet Statistics & Facts For 2020 You Should Know About
  2. Digital 2020 Report จาก We Are Social & Hootsuite

 

Phatsarun-Sawatayanon

 

 

 

 

ผู้เขียน:     ภัทร์ศรัณย์ สวาทยานนท์
ตำแหน่ง : Managing Director of MIMO Project Co.,Ltd.
                UX/UI &  Website Experienced Developer  และ  Website Development Consultant
เรียบเรียง: STEPS Academy

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

5 เหตุผลทำไมธุรกิจของคุณถึงควรเริ่มต้นมี Weblog
5 ไอเดียทำคอนเทนต์บน IGTV อย่างไรให้น่าสนใจ