เนื่องจากกลุ่มคน Gen Z เติบโตมาพร้อมกับสื่อออนไลน์ และเทคโนโลยี การทำโฆษณา และคอนเทนต์ในรูปแบบที่ซ้ำ ๆ หรือไม่สร้างสรรค์อาจไม่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายนี้อีกต่อไป เมื่อนักการตลาด และผู้ที่ทำคอนเทนต์ในยุคดิจัทัลศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z นี้ จะเข้าใจว่า
กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ นิยมค้นหาข้อมูลสินค้าเพื่อการตัดสินใจซื้อ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าที่ต้องการ และ ด้วยการเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่จะกลายเป็น กำลังซื้อที่สำคัญในอนาคต ธุรกิจต่าง ๆ ควรทำความเข้าใจ เพื่อเจาะตลาดกลุ่มนี้ และสร้างการรับรู้แบรนด์และเพิ่มยอดขายด้วยการทำคอนเทนต์ให้ถูกใจ และสามารถสร้างยอดขายได้
ในส่วนของบทความนี้ STEPS Academy ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ กรณีศึกษาของแบรนด์ที่ทำคอนเทนต์การตลาดสำหรับ Generation Z เพื่อผู้ประกอบการ หรือนักการตลาด ให้เห็นเทคนิค ไอเดีย ในการสร้างคอนเทนต์คุณภาพ และสามารถสื่อสารได้อย่างตรงกับความคาดหวัง ความเชื่อถือ และตรงใจ กับคนกลุ่มนี้ได้มากยิ่งขึ้น
Gen Z คือใคร ?
Generation Z คือ ผู้ที่เกิดในช่วง ปี 1996 – 2010 วัยรุ่นกลุ่มนี้เกิดมาในยุคที่แวดล้อมไปด้วย สื่อ นวัฒกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย จึงทำให้เข้าใจในเทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างดี รู้ทันเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความ Social-Minded ชอบการปฏิสัมพันธ์กับสังคม
จากลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายนี้ คือ เติบโตมาพร้อมกับสมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย มีสังคมบนโลกออนไลน์สูง ทำให้กลุ่มคนนี้ชอบคอนเทนต์ที่มีความจริงใจ ไม่ชอบคอนเทนต์ที่นำเสนอแบบชวนเชื่อ มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่สร้างคุณค่าที่ชัดเจน มักจะให้ความเชื่อถือไว้วางใจกับสิ่งที่สามารถตรวจสอบพิสูจน์ได้
#1: วิเคราะห์ Customer Persona เพื่อทำความเข้าใจความต้องการ เป้าหมาย และความกังวลของ Gen Z
การวิเคราะห์ Customer Persona โดยผ่านการเรียนรู้พฤติกรรม ลักษณะความสนใจ และทำความเข้าใจว่าพวกเขาได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการตลาดแบบรู้ใจ และสามารถการสร้างการสื่อสารที่ตรงใจลูกค้ากลุ่ม Gen Z ได้มากขึ้น
ตัวอย่างของคอนเทนต์ที่คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญ:
- LGBTQ หรือ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ Gen Z จะให้ความสนใจในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพการเป็นมนุษย์ และไม่สนับสนุนการค้ามนุษย์
- Diversity คนกลุ่มนี้มองว่าความหลากหลายทางเชื้อชาติที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคม
- Social Responsibility เราอาจจะเห็นได้ว่า Gen Z นั้นให้คุณค่าแก่ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยกลุ่มคนเหล่านี้มักจะสนับสนุน ซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีจุดยืนในการปฏิบัติต่อสังคมที่ดี มีจริยธรรม
ตัวอย่าง แบรนด์ Parade นำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับ LGBTQ+ สิทธิและเสรีภาพ
โดยแบรนด์ Parade ให้ความสำคัญกับการแสดงออกและสนับสนุนสิทธิ LGBTQ + ด้วยค่านิยมที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน จึงสามารถสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ และได้รับการมีส่วนร่วมจากกลุ่ม Gen Z
#2: ใช้ Customer Persona เพื่อสร้างคอนเทนต์ Be Transparent & Accountable
การสร้างกลยุทธ์การทางตลาดให้เหมาะกับ Gen Z อันดับแรก เราต้องมั่นใจว่าคอนเทนต์ที่เรานำเสนอมีความโปร่งใส สามารถอธิบาย และ ตรวจสอบได้ เพราะอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่า กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จะใช้รูปแบบการเข้าถึงเว็บไซต์ บัญชีโซเชียลมีเดีย ของแบรนด์นั้น ๆ เพื่ออ่านความคิดเห็น คำวิจารณ์ ค้นหารีวิว ต่าง ๆ ในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะเชื่อถือสินค้าของแบรนด์ได้หรือไม่
ตัวอย่าง แบรนด์ Cocokind นำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับ Black Lives Matter
โดยแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว Cocokind ประกาศว่าจะมีการก้าวไปข้างหน้า โดยการสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการแต่งหน้าตามสีผิวและเชื้อชาติ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึง วัฒนธรรมของบริษัทที่แบรนด์ยึดถือและให้ความสำคัญกับแคมเปญ Black Lives Matter ที่สามารถดึงดูดความความสนใจของคนกลุ่ม Gen Z
#3: ใช้ Data-Driven Marketing เพื่อทำ Personalization
ใช้หลักการ การต่อยอดด้วยข้อมูล โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อทำคอนเทนต์ ทำการโฆษณา ให้ตอบโจทย์กับชาว Gen Z เป็นการทำ Personalization หรือ การทำการตลาดเฉพาะบุคคล ในลักษณะทำให้เหมือนรู้ใจลูกค้า ซึ่งการทำการตลาดวิธีนี้ได้มาจากการที่กลุ่มเป้าหมายได้ทำการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบางอย่างที่สนใจ และถูกเก็บข้อมูล โดยธุรกิจจะนำผลลัพธ์ที่ได้มาทำการตลาด เป็นเหมือนว่า ‘ได้คัดเลือก’ มาให้กลุ่มคนเหล่านั้นโดยเฉพาะ
นอกจากนี้ ในการสร้างการมีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึง Gen Z ไม่จำเป็นต้องเน้นความสวยงามของคอนเทนต์ที่คัดสรรมาอย่างดีเยี่ยม แต่แบรนด์ต้องแสดงให้เห็นความโดดเด่น จุดยืน และแสดง Personality ได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่าง แบรนด์ Starface นำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับ แสดงให้เห็นคุณค่า เอกลักษณ์ของแบรนด์
จากภาพด้านบน Starface เป็นแบรนด์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันสิวที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือ โปรไฟล์โซเชียลมีเดีย เราจะพบว่าทุกอย่างเต็มไปด้วยโทนสีเหลืองสดใส รูปดาว และสัญลักษณ์ใบหน้ายิ้ม
โดยทางแบรนด์ Starface ยังสามารถโปรโมตผลิตภัณฑ์ของตนได้ โดยใช้วิธี แบบที่ไม่ต้องจริงจัง ซีเรียสมากจนเกินไป เน้นไปในสไตล์ที่ง่าย ๆ สบาย ๆ ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จอย่างมาก อีกทั้งแพลตฟอร์มของ TikTok ยังสามารถช่วยในการนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์ และทำให้ลิงก์กับ Gen Z ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างมากทีเดียว
จากภาพด้านล่างเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ของแบรนด์ที่การทำการตลาดร่วมกันซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่คนรุ่นใหม่ ของแบรนด์ Crocs และ KFC
#4: ใช้ Keyword ให้ถูกใจและอยู่ในกระแส
การเลือกใช้ภาษาของคน Gen Z ด้วยการเลือก Keyword ให้ตอบโจทย์ จะทำให้มีคน Search คอนเทนต์เรามากขึ้น โดยเราสามารถใช้ Long Tail Keyword โดยการใช้คำค้นหา ต่อ ๆ กัน ยาว ๆ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างหลากหลาย
หากเราได้ทดลองค้นหาข้อมูลบน Google เราอาจจะเจอ Keyword ที่คน Gen Z ใช้ในการค้นหา เช่น ‘แป้งพัฟฟ์รองพื้น คุมมัน กันน้ำ ไม่โป๊ะ’ เพราะถ้าหาก Keyword ที่เราใช้สามารถเข้าถึงคนเหล่านี้ได้ ก็จะมีโอกาสมากที่กลุ่มคน Gen Z จะมาเป็นลูกค้าของแบรนด์เรา
ตัวอย่าง แบรนด์ Fenty Beauty นำเสนอคอนเทนต์โดยใช้ Hashtag
การใช้ #Hashtag ให้น่าสนใจ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความดึงดูดสายตาแล้ว ยังเป็นอีกโอกาสในการทำการตลาด ที่สามารถสืบค้นว่า มีผู้คนได้โพสต์ หรือ แชร์ เกี่ยวกับ แฮชแท็ก นั้น ๆ อย่างไร อาจจะทำให้เกิดเป็นกระแสและได้รับการมีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย อย่างแบรนด์ Fenty Beauty สร้างแฮชแท็กที่เป็น ชื่อรุ่น คอลเล็กชั่น ให้มีความโดดเด่นขึ้นมาและสามารถเชื่อมโยงกับคอนเทนต์ต่าง ๆ ของ Hashtag นี้
#5: สร้างแพลตฟอร์มและเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับกลุ่ม Gen Z
โดยลักษณะทั่วไปของคน Gen Z จะไม่สามารถอยู่กับอะไรได้นาน ในส่วนของการสร้างแพลตฟอร์ม และ เว็บไซต์ข้อนี้ วิธีที่ง่ายที่สุดเลยก็คือ ให้เราเลือกทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ Gen Z มีส่วนร่วมอยู่แล้ว และ ทำการปรับปรุงคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
นอกจากนี้ การเน้นไปที่คอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดความสนใจได้อย่างรวดเร็ว การสร้างความบันเทิง สนุกสนาน ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จะเป็นวิธีที่ช่วยดึงดูดคนอ่าน และสามารถเพิ่มอัตราการคลิกได้มากขึ้นเพราะมีโอกาสค่อนข้างสูงที่ชาว Gen Z จะเลื่อนผ่าน หรือ สลับไปมาระหว่างแอป ถ้าหากคอนเทนต์ของเราไม่สามารถสร้างความดึงดูดได้ภายในเวลาสั้น ๆ
ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการมองเห็นที่กลุ่มคนเหล่านี้จะเห็นแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้น และ มากขึ้น อีกวิธีหนึ่งก็คือ การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มในช่องทางที่หลากหลาย โดยการโพสต์พร้อมกันบนแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น เมื่อโพสต์ Facebook แล้วก็ตั้งค่าให้ลิงก์กับการโพสต์บน Instagram ด้วย เพื่อเป็นการขยายช่องทาง หลาย ๆ ช่องทาง และ ที่สำคัญการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ จะช่วยให้คนที่เป็น Target Audiences มีโอกาสเห็นที่จะเห็นแบรนด์ของเราเพิ่มขึ้น
สรุป
ข้อมูลจาก:
https: // later.com